การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 19 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 19 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ
  วันที่บันทึก  24 พ.ค. 2553


 รายละเอียด
               ก. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ -วิทยากรได้บรรยายถึงการอุดมศึกษาไทยว่า มีการให้โอกาสการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับประชาชนดีมาก แต่ในเชิงคุณภาพแย่ มีบัณฑิตที่บกพร่องด้านสติปัญญา คุณธรรมอีกมาก -การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ต้องพัฒนาบัณฑิตให้เป็นศึกษิตที่สมบูรณ์ โดยมีความรู้เป็นฐาน สิ่งสำคัญคือ คุณธรรม จริยธรรม ความคิด ดังพระราชดำรัสของ ในหลวงที่ว่า “สติรู้ตัว ปัญญารู้คิด สุจริตจริงใจ’” -การปฏิรูปการศีกษาของไทย ต้องมาจากองค์รวม เริ่มจากต้นเหตุ ปฐมวัย ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ตามลำดับขั้น แต่ไทยทำพร้อมกัน ผู้สอน ผู้เรียนไม่พร้อม จึงล้มเหลว -การขยายตัวของสถาบันอุดมศึกษาไทย เร็วมาก ทำในรูปแบบต่างๆ เช่น เปิดสถาบันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกชน การยกฐานะวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัย การเพิ่มวิทยาเขตต่างๆ บางครั้งก็เป็นการหลอกลวงผู้เรียน การควบคุมคุณภาพล้มเหลว สภาสถาบันเป็นผู้อนุมัติ เป็นการกระจายอำนาจในช่วงที่ไม่ถูกเวลา ปัจจุบัน เรากำลังทำลายประเทศ อย่างเป็นระบบ โดยคิดเรื่องเงินเป็นใหญ่ ผู้จัดการศึกษาต้องมีมโนสำนึก จริงจัง จริงใจ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา -โดยสรุปแล้ว เส้นทางคุณภาพการอุดมศึกษาไทย แม้ว่าเดินมาได้ครึ่งทางแล้ว ยังอีกยาวไกล -การนำสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ต้องประกอบด้วยนิสิตที่ดี อาจารย์ที่ดี เครื่องมือเครื่องใช้ที่ดี และบรรยากาศที่ดี โดยอาจารย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการประกันคุณภาพ อาจารย์เป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยก็เป็นเช่นนั้น -TQF เป็นเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ไม่ควรยึดติดกับแบบฟอร์ม ข. บรรยาย เรื่อง QA & TQF โดย อาจารย์วิภา เพ็งเสงี่ยม และดร.เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ วิทยากรได้บรรยายถึงมาตรฐานอุดมศึกษา ๓ ด้าน ได้แก่ คุณภาพบัณฑิต การบริหารจัดการการอุดมศึกษา และการสร้าง พัฒนาสังคมฐานความรู้ โดย TQF เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสาขาวิชา เป็นการเสริมความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เน้นความสอดคล้องของการจัดการเรียนการสอน เทคนิคการสอน การวัดประเมินผล กับมาตรฐานการเรียนรู้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนรายวิชา… ต้องมีการวิเคราะห์ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชาเทคนิคการสอน การวัดประเมินผล กับมาตรฐานการเรียนรู้.


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเรียนการสอนรายวิชาต่างๆกับTQF

(290)

พัฒนาครูต้นแบบและสร้างความเข้าใจในนวัตกรรมของหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ

พัฒนาครูต้นแบบและสร้างความเข้าใจในนวัตกรรมของหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ
 ผู้บันทึก :  นางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 8 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 9 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  จังหวัด :  ขอนแก่น
  เรื่อง/หลักสูตร :  พัฒนาครูต้นแบบและสร้างความเข้าใจในนวัตกรรมของหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ
  วันที่บันทึก  3 พ.ค. 2553


 รายละเอียด
               1. การคิดเป็นหัวใจการเรียนรู้ พื้นฐานความเข้าใจการคิดย่อมส่งผลต่อวิธีคิด กระบวนการคิดประกอบด้วย การเปิดใจ เปิดความคิดให้กว้างจากการเรียนรู้ ค้นคว้าลึกซึ้งกว้างไกลจากประสบการณ์เดิม การปิด เพื่อสรุป ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ 2. กลไกสำคัญของกระบวนการคิด การคิดวิเคราะห์เน้นการศึกษาค้นคว้า ให้เกิดความกระจ่างและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการใคร่ครวญสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ กระบวนการคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์จึงเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 3. การพิจารณาการคิด 4 ด้าน เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ 1) การแยกพิจารณาแต่ละส่วน เป็นการพิจารณารายละเอียดแต่ละส่วนจะเกิดความเข้าใจที่ดี เมื่อสามารถ ประกอบส่วนเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะขจัดปัญหาที่กล่าวว่า “เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า” 2) การพิจารณาให้เห็นภาพรวม การมองภาพใหม่และความเชื่อมโยงสู่เรื่องอื่น ต่างจากข้อแรกที่เปรียบเทียบว่า “เห็นป่า” 3) การวิเคราะห์ความซับซ้อน ดูความลึกซึ้ง ความซับซ้อนและรูปแบบที่เกิดขึ้น ช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์เรื่องนี้กับเรื่องอื่น 4) การจับประเด็นหลักของเรื่องนั้นออกมาให้ได้ 4. ระดับการคิดวิเคราะห์ ระดับที่ 1 เริ่มจากวัตถุประสงค์ โดยถามว่าทำไมต้องทำ จะทำให้ กระบวนการคิดมีทิศทาง เพื่อคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ระดับที่ 2 มุ่งเน้นประเด็นกระบวนการ โดยถามว่าทำอย่างไร การคิดวิเคราะห์จะช่วยในการเปรียบเทียบ เชื่อมโยง สรุป สังเคราะห์และประเมินค่าจะเป็นประโยชน์ ในการวิเคราะห์ระบบที่ละเอียดอ่อน เหตุและผล แนวคิดที่ซับซ้อน ความสัมพันธ์ เหตุการณ์ ความคิด และบุคคลลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขั้นตอนในกิจกรรมต่างๆ 5. ความคิดสร้างสรรค์ขยายแนวคิดไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ 1) การเปิดแนวคิดให้กว้าง ริเริ่มสิ่งใหม่ นวัตกรรม การเชื่อมโยงสู่มิติอื่นๆ 2) เป็นประโยชน์ในสถานการณ์ที่ต้องคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ หาวิธีการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิม 3) ออกแบบปรับปรุงยุทธศาสตร์และกระบวนการ 4) เปลี่ยนวิธีคิด กระบวนการและแนวปฏิบัติเป็นรูปแบบใหม่ 5) เปลี่ยนภาพลักษณ์ 6. การคิดด้วยความเอื้ออาทรให้ความสำคัญ 5 ประการ 1) คุณค่า การคำนึงถึงเจตคติและพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง 2) อารมณ์ การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกเพื่อหาความต้องการ และความถูกต้อง 3) ความรู้สึก การคำนึงถึงความรู้สึกของแต่ละบุคคล ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรม 4) ความเห็นอกเห็นใจ ความละเอียดอ่อนในผลกระทบที่อาจจะพึงมีต่อผู้อื่น 5) อุดมการณ์ ความพยายามที่จะอุดช่องว่างระหว่างความเป็นจริง และอุดมการณ์ 7. ความคิดเชิงตรรกะ / ความคิดเชิงระบบ (Logical Thinking / System Thinking) การคิดเชิงเหตุผล มีตรรกะ มีการวางแผนเป็นขั้นตอน ลำดับเรื่องราวก่อนหลัง มองจากภาพรวม (Bird Eye View) ใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์ 8. การขาดความคิดเชิงระบบในการทำงาน จุดอ่อนคือไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคืออะไร ควรเริ่มต้นอย่างไร สับสนกับสิ่งที่ทำอยู่ เช่น การทำกิจกรรม 5 ส วัตถุประสงค์ คือ การขจัดความสูญเปล่าในที่ทำงานให้หมดไป การทำกิจกรรม 5 ส ส่วนใหญ่ เน้นที่กิจกรรมทำให้ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ บุคลากรจึงขาดแรงจูงใจ และไม่บรรลุความสำเร็จ 9. การคิดเป็นระบบ สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล มีขั้นตอน มีเป้าหมายชัดเจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 10. ปัจจัยส่งเสริมการคิดเป็นระบบ 1) ใช้คำถามว่า ทำไม ในการวิเคราะห์หาเหตุผล ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว 2) มี Scenario ลำดับเรื่องราวก่อนหลัง 3) การแยกแยะความสำคัญของเรื่องราวในแต่ละเรื่องด้วยการเปรียบเทียบ 4) การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 5) ใช้เหตุผลในการคิดและตัดสินใจ 11. Local Thinking สังคมไทยจะมีสิ่งที่คาดหวังแต่ยังขาดการคิดถึงวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้า หมายอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนและเหตุผล ดังจะเห็นได้จากคำพูดของเรา เช่น “ถ้าโชคดีคงจะชนะ” “ไม่เป็นไรเดี๋ยวก็คงจะดีเอง” “เมื่อไรจะรวยสักที” “เช้าสั่งเย็นเปลี่ยน” การคิดที่เป็นระบบคืออะไร คือ การคิดที่มีลำดับขั้นตอนและเป็นเหตุเป็นผล ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน แล้วเขียนภาพในการบรรลุเป้าหมาย โดยมีลำดับขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผล การเขียนภาพ (Scenario) จะต้องให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการใช้กำลังแรงน้อยที่สุด ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 (Family and Community Nursing II) รหัสวิชา พย.1411 หน่วยกิต 3(3-0-6) คำอธิบายรายวิชา ศึกษาแนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ และมีภาวะวิกฤติแบบองค์รวม การให้บริการสุขภาพที่บ้าน การให้คำปรึกษาและเวชปฏิบัติครอบครัว วิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชนระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกระบวนการศึกษาค้นคว้า บริหารจัดการทีมงาน เลือกใช้ทรัพยากร นวัตกรรม เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และชุมชน ด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน หน่วยที่ 1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รู้และเข้าใจแนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยง มีปัญหาสุขภาพและมีภาวะวิกฤติแบบองค์รวม การให้บริการสุขภาพที่บ้าน การให้คำปรึกษาและเวชปฏิบัติครอบครัว โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการพยาบาล คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายแนวคิดหลักการการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยง มีปัญหาสุขภาพ และภาวะวิกฤติได้ 2. วิเคราะห์และวินิจฉัยภาวะเสี่ยง ภาวะที่มีปัญหาสุขภาพ และภาวะวิกฤติของครอบครัวและชุมชนได้ 3. ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว และชุมชนที่มีภาวะเสี่ยง มีปัญหาสุขภาพ และมีภาวะวิกฤติให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความเอื้ออาทร เนื้อหาสาระ 1. แนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพ 1.1 การประเมินปัญหาสุขภาพครอบครัวและชุมชน 1.2 แนวทางการพยาบาลครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวม 1.3 การพัฒนาสุขภาพครอบครัวและชุมชนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ปัญหาสุขภาพครอบครัวที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข 2.1 ปัญหาตามโครงสร้างครอบครัว 2.2 ปัญหาตามหน้าที่ครอบครัว 2.3 ครอบครัวในภาวะวิกฤติ 3. ครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง 3.1 ครอบครัวที่แตกแยก 3.2 ครอบครัวที่พ่อแม่อายุน้อย 3.3 ครอบครัวมีบุตรยาก 3.4 ครอบครัวที่สมาชิกเจ็บป่วย 4. การให้การบริการสุขภาพที่บ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว 4.1 หลักการให้บริการสุขภาพที่บ้าน 4.2 วิธีการให้บริการสุขภาพที่บ้าน 4.3 การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้บริการสุขภาพที่บ้าน 4.4 บทบาทการพยาบาลในงานเวชปฏิบัติครอบครัว กระบวนการวิเคราะห์ 1) การจำแนก 2) การจัดหมวดหมู่ 3) การสรุปอย่างสมเหตุผล 4) การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ 5) การคาดการณ์บนพื้นฐานข้อมูล กระบวนการพยาบาล 1) การประเมิน 2) การวินิจฉัยพยาบาล 3) วางแผนพยาบาล 4) การปฏิบัติการพยาบาล 5) การประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้ (ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ และกระบวนการพยาบาล) กระบวนการคิดวิเคราะห์ 1. การจำแนก – นักศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพครอบครัวที่มี ภาวะเสี่ยง และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย – วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทร หลักจริยธรรม และสิทธิมนุษยชน 2. การจัดหมวดหมู่ – แบ่งกลุ่มนักศึกษาทำ mind mapping เกี่ยวกับครอบครัวที่มีปัญหาและภาวะเสี่ยง ต่อปัญหาสุขภาพ 3. การสรุปอย่างสมเหตุผล – แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้เหตุผลทางวิชาการ และสรุป 4. การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ – แบ่งกลุ่มศึกษากรณีศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาและบริบทสุขภาพ – วิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 5. การคาดการณ์บนพื้นฐานข้อมูล – แต่ละกลุ่มคาดการณ์ภาวะเสี่ยงครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพ กระบวนการพยาบาล 1. การประเมิน – ศึกษาค้นคว้าระบบการดูแลสุขภาพที่บ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว – นำข้อมูลมาวางแผนเป็นกรอบแนวคิดที่จะใช้การประเมิน – ปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพทั้งข้อมูลชั้นต้นและข้อมูลชั้นรอง 2. การวินิจฉัยพยาบาล – นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อนำไปวางแผนการพยาบาล 3. วางแผนพยาบาล – เขียนแผนพยาบาลการดูแลสุขภาพที่บ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว – ตรวจสอบความถูกต้องด้วยหลักทฤษฎีการพยาบาล การดูแลอย่างเอื้ออาทร หลัก จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. การปฏิบัติการพยาบาล – นำแผนพยาบาลที่บูรณาการการดูแลอย่างเอื้ออาทร หลักจริยธรรม สิทธิมนุษยชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ และสังเกตบันทึกผลการปฏิบัติ 5. การประเมินผล – ประเมินผลการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไข สื่อและแหล่งเรียนรู้ 1. กรณีศึกษา 2. เว็บไซด์ 3. ชุมชนและครอบครัวบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา หรือที่นักศึกษาสนใจ 4. เอกสารการพยาบาลครอบครัวและชุมชน *5. แผนภาพการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน *6. ผังความคิดการทำงานชุมชน *7. เครื่องมือเรียนรู้ชุมชน การวัดและประเมินผล 1) การทดสอบ 2) การสังเกต 3) การตรวจผลงาน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              1. การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ 2. การพัฒนาครูต้นแบบ 3. นวัตกรรมของหลักสูตร


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจั่ดการเรียนการสอน และการพัฒนาครู

(293)

การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์
  ผู้บันทึก :  นางสาวจันทิมา ช่วยชุม
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 12 ต.ค. 2552   ถึงวันที่  : 5 ก.พ. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์
  วันที่บันทึก  27 เม.ย. 2553


 รายละเอียด
               1.เข้าใจระบบการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และระบบอุดมศึกษาซึ่งทั้งสองระบบต่างก็ให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาผู้ เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และเป็นคนที่มีความสุข หากแต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ก็จะเน้นกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่สร้างความท้าทายให้เกิดแก่ครูผู้สอน โดยสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีการฝึกอบรมวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลาก หลาย ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย การลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนการดำเนินการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร รวมทั้งการนำศาสตร์ทางจิตปัญญาศึกษาและแนวทางการวัดและประเมินผลที่ทำให้รู้ ถึงพัฒนาการของผู้เรียนตามสภาพจริงอีกด้วย ซึ่งการเข้าร่วมการอบรมระยะสั้นสาขาการจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์ มีผลดีอย่างยิ่งที่จะขับเคลื่อนให้ผู้สอนมีแนวทางในการปฏิบัติการจัดการ เรียนการสอนให้ทันยุคสมัยและสู่ระบบการศึกษาสากลมากยิ่งขึ้น 2.การเขียนแผนการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจรูปแบบการเขียนแผนการสอนทั้งในชั้นเรียนและในคลินิก ความแตกต่างของแผนการสอนทั้งสองแบบ รวมทั้งเห็นความสำคัญและการใช้แผนการสอนมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียน การสอน เพราะการจะพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ได้ดีนั้นต้องมีการทบทวนแผนการสอนและ กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นในการเรียนรู้แต่ละครั้ง 3.การได้สร้างเครือข่าย ที่มีความหลากหลายทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ การได้มุมมองที่แตกต่างระหว่างสถาบัน การนำจุดเด่นของแต่ละสถาบันมาพัฒนาองค์กรของตนให้มีความโดดเด่นและเป็นอัต ลักษณ์ของวิทยาลัยต่อไป 4. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การต่อยอดและการวัดประเมินผลที่เห็นการพัฒนาของผู้ เรียนได้ตามสภาพจริง ซึ่งการใช้แนวทางดังกล่าวย่อมเป็นการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้ เรียน และความสามารถในการถ่ายทอดวิชาความรู้และคุณลักษณะของครูที่ดีไปยังผู้เรียน หรือศิษย์ด้วย โดยการเข้าร่วมการอบรมระยะสั้นสาขาการจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์ เป็นหนทางหนึ่งที่จะพัฒนาผู้สอนให้รู้จักใช้แนวทางการวัดและประเมินผลการ เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              1.การเขียนแผนการสอนทั้งในชั้นเรียน และในคลินิก 2. การเขียนแผนนิเทศ 3. การจัดสร้างข้อสอบและแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ 4. กระบวนการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

(277)

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
 ผู้บันทึก :  นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 2 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 5 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก (ส่วนวิจัย)
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยต้องรู้ว่าเบื้องหลังของข้อมูลคืออะไร การวิเคราะห์ข้อมูลจะแสดงความเป็นตัวตนของผู้วิจัย การอ่านมาก การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การตีความ และการหาความหมาย ซึ่งทั้งสามอย่างจะไปด้วยกัน และนักวิจัยต้องไม่มีกรอบว่าผลการวิเคราะห์ต้องได้ข้อมูลที่เป็นคำตอบที่เรา ต้องการ โดยมีวิธีการ ดังนี้ แบบที่ ๑ มีวิธีการ ดังนี้ ๑. อ่านข้อมูลทั้ง case หลาย ๆ รอบ จนมองเห็นนัยยะของข้อมูล เพื่อนำไปสู่การเข้าใจภาพรวม และได้แนวคิดคร่าว ๆ ว่ามีนัยยะอะไรซ่อนอยู่ ๒. ทำแก่น(สาระ) ของข้อมูล ทำจนครบทุกหน้าของแต่ละ Case แล้วสรุปแก่นรวมของ Case ที่ ๑ จากนั้นทำเช่นนี้ทุก Case แล้วเปรียบเทียบความต่าง ความเหมือนของแต่ละ Case จะทำให้ทราบแก่น (สาระหลัก) ของเรื่อง แบบที่ ๒ ใช้ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) ซึ่งเป็นระบบของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Management) ได้รับการพัฒนาโดย Glazer and Strauss (1967) พัฒนาวิธีการนี้โดยหวังให้นักวิจัยสามารถพัฒนาทฤษฎีของตัวเอง ซึ่งเป็น Low Level Theory ทฤษฎีฐานรากมีสาระสำคัญ ๓ อย่าง คือ ๑. ข้อมูลดิบที่มีอยู่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นฐานที่นักวิจัยจะพัฒนาขึ้นมาเป็นสมมติฐาน และพัฒนาเป็นแนวคิด และทฤษฎี (เปรียบเทียบกับการขุดดิน แล้วปั้นดิน) ๒. ไม่ควรตั้งแนวคิด สมมติฐาน หรือทฤษฎีไว้ล่วงหน้า ๓. มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบตลอดเวลา จึงจะเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ในแบบที่ ๒ มี ดังนี้ ๑. Theoretical Sampling (อาจเป็นคน เหตุการณ์ สถานการณ์) ในขณะเก็บข้อมูล จะมีคำถามวิจัยย่อย ๆ เพิ่มมาทำให้เราทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลอะไรเพิ่มเติม? จากใคร? นั่นคือ เมื่อเก็บข้อมูลก็จะต้องมีการกรอง เก็บ และกรอง จนกว่าข้อมูลที่ได้จอดสนิท (อิ่มตัว) ๒. Theoretical Saturation หาจุดอิ่มตัวของข้อมูล ๓. Theoretical Sensitivity เป็นความไวเชิงทฤษฎี มีลักษณะคล้าย navigator ว่าเราจะไปทิศทางไหน เก็บข้อมูลอะไรเพิ่มเติม จากใคร ดังนั้น Theoretical Sensitivity จะต้องอยู่ในหัวใจของนักวิจัย จากนั้นทำการกำหนดรหัส อ่านแก่นของแต่ละ Case จะได้ Central Assumption ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรายงานการวิจัยที่ต้องขยายในแต่ละบท ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบนี้สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและรวมกลุ่มได้ ชัดเจน การทำรหัส คือ การแยกข้อมูลออกมาให้เห็นชัดเป็นกลุ่มย่อย ทำให้เห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ประโยชน์ของการทำรหัส คือ ๑. การแยกแยะ จัดกลุ่ม เชื่อมโยงข้อมูล/แนวคิด ๒. ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น ๓. การเชื่อมโยงข้อมูล แนวคิดย่อย ๆ ๆ ๆ รวมเข้าด้วยกัน ทำให้เห็นแนวคิดใหญ่ได้ครอบคลุมมากขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเหมือน Jigsaw Puzzle และเกมส์ ๒๐ คำถาม โดยคำถาม คือ ทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมเป็นอย่างนี้…. แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล Inductive Approach (อุปนัย/อุปทาน) มี ๓ ขั้นตอน ๑. ต้องมีข้อมูลดิบ (Raw Data / Empirical evidence) ๒. แปลงข้อมูลดิบให้เป็นแนวคิด (Concept) ย่อย ๆ เช่น มาม่า ไวไว บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ การแปลงข้อมูลดิบเป็นแนวคิดต้องหาเหตุผลทั้งจากชุมชนและทฤษฎี ๓. การเชื่อมร้อยแนวคิดหลายแนวคิดเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ (Relationship) ซึ่งออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น – การตอบโจทย์ / คำถามการวิจัย หรือ – การสร้างสมมติฐาน หรือ – การสร้างแบบจำลอง หรือ – การพัฒนาทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิชาการต้องการให้เกิดมากที่สุด โดยทฤษฎีใหม่ มี ๓ ระดับ คือ Low Level Theory, Middle-range Theory และ Grand Theory (การศึกษาเรื่องเดียวหลาย ๆ ครั้ง สามารถสร้างทฤษฎีได้ง่ายกว่า) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นผู้วิจัยต้องเชื่อว่า ๑. เหตุผล ความเชื่อทางบวก เป็นแนวทางสร้างสรรค์ ๒. เหตุผล ความเชื่อที่เป็นกลางไม่อันตราย ๓. เหตุผล ความเชื่อทางลบ เป็นอันตราย ซึ่งต้องหาทางแก้ไขโดยอยู่ในกรอบความคิดของคนท้องถิ่น ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Inductive Approach ขั้นตอนที่ ๑ Free – free – listing and pile-sorting โดยการเขียนสิ่งที่ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้สึกเร้าใจอย่างอิสระ เช่น เขียนชื่อผีที่ตนเองรู้จัก ในกระดาษเปล่า (๕ – ๑๐ ชื่อ) ขั้นตอนที่ ๒ ผู้วิจัยบันทึกข้อมูล (รายชื่อผีที่ได้ทั้งหมด) พร้อมกับสอบถามผู้ให้ข้อมูลว่าแต่ละชื่อนั้นใช่ผีจริงหรือไม่ ถ้าไม่ใช่แยกไปไว้กลุ่มต่างหาก (เริ่มกระบวนการ enter, clean และแยกแยะข้อมูล) สำหรับชื่อผีที่ใช้ ผู้วิจัยถามต่อพร้อมบันทึกว่าผีแต่ละตนนั้นส่วนใหญ่อยู่ที่ไหน และทำหน้าที่อะไร ซึ่งสามารถให้ครอบคลุมข้อมูลที่อยู่ภายใต้กลุ่ม เช่น ชื่อผีต่าง ๆ ที่น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มบ้านก็เรียกชื่อกลุ่มหรือติดป้ายว่า “ผีบ้าน” ซึ่งอาจได้กลุ่มดังนี้ ขั้นตอนที่ ๓ นำข้อมูลมาแยกแยะ จำแนก และจัดกลุ่มที่เหมือนกันจัดไว้ด้วยกันแล้วตั้งชื่อ ขั้นตอนที่ ๔ การเชื่อมโยงข้อมูล จากการจัดกลุ่มข้อมูลในขั้นตอนที่ ๓ ผู้วิจัยจะมองเห็นชัดเจนว่าผีแต่ละกลุ่มนั้นมีถิ่นที่อยู่ชัดเจน นำข้อมูลที่ได้มาพล๊อต (Plot) ลงบนกระดาษตามที่อยู่ของแต่ละกลุ่ม แสดงถึงการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งอาจได้ภาพของการเชื่อมโยงข้อมูล และประกอบการสร้างความรู้เรื่องผีของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งอาจจะได้ภาพของการเชื่อมโยงและประกอบการสร้างข้อมูลหรือความรู้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๕ การตีความและการให้ความหมาย ระบบที่เห็นอยู่ในภาพมีลักษณะเป็นระบบความคิด ความเชื่อเรื่องจักรวาลของคนไทยโดยทั่วไป รวมทั้งความเชื่อเรื่องการปกปักษ์รักษาและการลงโทษ (เมื่อมนุษย์กระทำความผิด) ซึ่งถือได้ว่าความเชื่อเรื่องผีได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ/ กลไกในการควบคุมสังคมประการหนึ่ง ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าผีต่างประเทศไม่สามารถจัดเข้าอยู่ในกรอบนี้ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบ กรอบความคิดเรื่องจักวาลของท้องถิ่น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านการทำวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้

(1223)

การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการสอนเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓

การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการสอนเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 18 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 18 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  จังหวัด :  ตรัง
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการสอนเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               ก. การสัมนาการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยรศ.ดร.จิราพร เกศพิชญวัฒนา และผศ.ดร.สุวิณี วิวัฒน์วานิช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรได้บรรยายภาพลักษณะของนักศึกษาในปัจจุบันว่าเป็น generation Y ที่มีความมั่นใจสูง เก่งด้านเทคโนโลยี แต่ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนใจหรือสมาธิในการเรียนสั้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนผู้สอนต้องให้ความรัก กำลังใจ ให้รางวัลเมื่อทำงานสำเร็จ การมอบหมายชิ้นงานที่ ท้าทาย ไม่น่าเบื่อ กิจกรรมการเรียนการสอนที่เร้าความสนใจ จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ดังนั้นครูจึงควรที่จะคิดค้นนวัตกรรม หรือพัฒนาวิธีการสอน/รูปแบบการสอนใหม่ๆ ไม่ควรใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียว ขั้นต่อมาควรมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ วางแผนการจัดทำรูปแบบการสอน การทดลองใช้และการประเมินผล ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นช่วงที่ ๓ คือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและวางรูปแบบการสอน ข. การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่แต่ละวิทยาลัยได้รับมอบหมายไปจากการ ประชุมครั้งที่ผ่านมา – “การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ” โดยอาจารย์จากวพบ.สุราษฎร์ธานี ใช้รูปแบบการบรรยาย เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ สู่การประเมินสุขภาพ โดยการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Comprehensive assessment) ทั้งกาย จิต สังคม ซึ่งมีการใช้แบบประเมินมาตรฐานต่างๆ เช่น แบบประเมิน ADL IADL แบบประเมินภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม การประเมินสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ระบบการสนับสนุนในการดูแลผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ควรมีการนำเสนอแบบประเมิน/เครื่องมือที่ใช้ประเมินที่หลากหลายกับผู้เรียน ได้ทราบ และบอกถึงแหล่งที่จะสามารถค้นคว้าได้ โดยผู้สอนควรมีกรณีศึกษาให้ผู้เรียนได้มีการฝึกคิดว่าควรจะใช้เครื่องมือใด ในการประเมินกรณีศึกษานั้นๆ รวมทั้งผู้สอนควรมีการสรุปผังความคิดรวบยอดในการประเมินสภาพให้กับนักศึกษา ด้วย เพื่อป้องกันการหลงประเด็นในการนำไปสู่การปฏิบัติ -”ทฤษฎีการสูงอายุ” วพบ.นครศรีธรรมราช ใช้รูปแบบการเรียนที่เน้นสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาลักษณะการสูงอายุจากผู้สูงอายุก่อนเข้าชั้นเรียน ผู้สอนสุ่มนักศึกษาเพื่อนำเสนอ โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีการสูงอายุ ที่ประชุมได้เสนอแนะว่า การนำเข้าสู่บทเรียน อาจใช้รูปภาพของผู้สูงอายุที่หลากหลาย แล้วให้ผู้เรียนเลือกว่าต้องการเป็นผู้สูงอายุแบบใด หรือใช้คำถามเปิดประเด็นว่า “ทำไมถึงแก่” เปิดโอกาสให้อภิปรายก่อนเข้าสู่บทเรียน เพิ่มเติมการชะลอความเสื่อมตามหลักทฤษฎีนั้นๆ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เป็นการประเมินผลว่านักศึกษามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด -“การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ” วพบ.นครศรีธรรมราช ประกอบด้วยหัวข้อ ปัจจัยที่มีอิทธิพล การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ การเชื่อมโยงสู่ทฤษฎีการสูงอายุ และปัญหาทางสุขภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง จัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้รูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ ข้อเสนอแนะของที่ประชุม อาจจะมอบหมายให้นักศึกษาทำวิดิโอคลิปจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงตามวัย มอบหมายให้ดูหนังที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ก่อนเข้าชั้นเรียน -“ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของผู้สูงอายุ” วพบ.ตรัง ที่ประชุมเสนอว่า ควรใช้Geriatric Giant เป็นเนื้อหาหลักในการสอน สำหรับปัญหาตามระบบต้องสอดแทรกไปในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ และปัญหาทางจิต.


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษา เช่น การเล่นเกมส์ การมอบหมายให้ทำคลิปวิดิโอสัมภาษณ์ เพื่อให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่น่าเบื่อ ท้าทายความสามารถของนักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเรียน การสอนรายวิชา…จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย การประเมินภาวะสุขภาพ.

(350)