ความเชื่อในเรื่องการบำบัดรักษา ตามรูปแบบของ แสทเทียร์ ( Satir Therapeutic Beliefs )
๑.การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ถึงแม้ว่ายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงภายนอก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายในเกิดขึ้นแล้ว
๒.พ่อแม่ย่อมทำอย่างดีที่สุดแล้วในเวลานั้น
๓.เราทุกคนล้วนมีทรัพยากรพร้อมอยู่แล้วภายในตัวเอง ที่จะนำมาใช้จัดการให้เราได้
พัฒนาและประสบความสำเร็จ
๔.เรามีตัวเลือกเสมอ โดยเฉพาะที่จะนำมาต่อกรกับความบีบคั้นต่างๆ แต่ไม่ใช่นำทางเลือกมาใช้ตอบโต้กับสถานการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหานั้น
๕.การบำบัดรักษาจำเป็นต้องเน้นไปที่สุขภาพและความเป็นไปได้ มากกว่าจะเน้นที่พยาธิสภาพ
๖.การมีความหวัง เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้คนเปลี่ยนแปลงตัวเอง
๗.มนุษย์จะเชื่อมสัมพันธ์กันโดยใช้ความเหมือนกัน เป็นพื้นฐานในการเชื่อม และมนุษย์พัฒนางอกงามขึ้นโดยใช้ความแตกต่างกันเป็นฐาน
๘.เป้าหมายหลักของการบำบัดรักษา คือ การทำให้บุคคลสามารถเป็นผู้เลือกกำหนดด้วยตัวเองได้
๙.ความเป็นเราที่ฉายปรากฏขึ้นมาเด่นชัดนี้ เกิดจากพลังชีวิต จิตวิญญาณแบบเดียวกันหมด พวกเราทุกคนคือผลพวงของพลังชีวิตแบบเดียวกัน
๑๐.คนส่วนมากมักเลือกทางที่ตนคุ้นเคยมากกว่าทางที่เหมาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยามที่มีภาวะกดดัน บีบคั้นมากๆ
๑๑.ตัวของปัญหานั้นที่จริงไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการจัดการกับปัญหาต่างหากที่เป็นปัญหา
๑๒.อารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรา ทุกคนล้วนมีสิ่งนี้
๑๓.คนเราล้วนมีพื้นฐานที่เป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น เราจำเป็นต้องค้นหาขุมทรัพย์ล้ำค่า
ภายในตัวเรา เพื่อจะได้ยืนยันให้มั่นใจในความมีคุณค่าของตัวเรา และเราจำเป็นต้องค้นหาขุมทรัพย์ล้ำค่าภายในอันนั้นของเราได้
๑๔.บิดา มารดามักทำอุปนิสัยที่เขาคุ้นเคย ทำซ้ำๆ ตามที่เขาเคยเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เขาจะทำเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
๑๕.เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่เราอาจเปลี่ยนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเราได้
๑๖.การสำนึกในบุญคุณและการยอมรับสิ่งต่างๆในอดีต จะเพิ่มศักยภาพในการบริหาร
จัดการปัจจุบันกาลของเรา
๑๗.เป้า หมายหนึ่งในการยกระดับความเป็นตัวเราทั้งมวลรวมเต็มตัวได้ ก็คือการยอมรับบิดามารดาในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ แล้วให้เราเข้าถึงความต้องการท่านในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีคุณค่ามากกว่า จะยอมท่านเพราะเพียงแค่ท่านมีบทบาทหน้าที่เป็นพ่อแม่เรา
๑๘.วิธีการจัดการกับชีวิตก็คือการฉายออกถึงผลของระดับความมีคุณค่าของตนเองที่อยู่
เบื้องใต้ผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าสูงเท่าไร ผู้นั้นก็จะยิ่งมีวิธีการปรับตัวบริหารชีวิตได้อย่างกลมกลืนเป็นมวลเดียวกัน
๑๙. สภาวะต่างๆของมนุษย์มีลักษณะเป็นสากล ดังนั้น จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน
สถานการณ์ต่างๆในวัฒนธรรมต่างๆและสภาพแวดล้อมต่างๆได้
๒๐. สภาวการณ์ (process) คือ วีทางของการเปลี่ยนแปลงเรื่องราว ข้อเท็จจริง (content) แก่นสารของชีวิต คือตัวที่ก่อให้เกิดบริบท ที่ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา
๒๑. ความจริงใจ โปร่งใส สอดคล้องกับความรู้สึก (congruence) และการมีคุณค่าน่าภูมิใจ (self-esteem) ของตน เป็นแก่นสำคัญของงานเวอร์จิเนีย แสทเทียร์
๒๒. สัมพันธภาพที่เข้มแข็งของมนุษย์สร้างจากความเสมอภาคกัน
|