ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 6 ก.ย. 2553 ถึงวันที่ : 6 ก.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้ | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : มหกรรมบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้ | |
วันที่บันทึก 13 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
เสวนา “การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักศึกษา” การดำเนินงานของเครือข่ายฯ เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา มีสถาบันระดับอุดมศึกษาในเขตภาคใต้เข้าร่วมทั้งหมด ๓๐ สถาบัน โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นแม่ข่าย เน้นการดำเนินงานในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิตในอุดมคติไทย ใช้คำสำคัญ ๖ คำ ได้แก่ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา ยึดวิสัยทัศน์ที่ว่า “บัณฑิตคิดเป็น ทำเป็น อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม” วิธีการเรียนการสอนนอกจากการบรรยายแล้ว สื่อมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ก่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมนอกชั้นเรียน เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะในสังคม เสริมสร้างความสามัคคี ความสมานฉันท์ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตัวอย่างของกิจกรรม/โครงการ เช่น โครงการแบ่งปันรอยยิ้มจากพี่สู่น้อง ณ สถานสงเคราะห์บ้านเด็กสงขลา การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ในรายวิชามนุษย์และการอยู่ร่วมกัน พบว่า การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ครูสามารถทำได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ดู โดยที่นักศึกษาอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกสอน เทคนิคการสอนที่ใช้ ได้แก่ การเล่าเรื่องคุณธรรม ผ่านการ์ตูนคุณธรรมเซน ตั้งคำถามให้คิดเมื่อดูวิดิโอจบ การร้องเพลงที่มีความหมายสะท้อนให้คิด (ค่าน้ำนม) ดึงผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนร้องเพลง การเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมโครงการเรียนรู้วิถีชุมชน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ๒ คืน ๓ วัน กับพ่อแม่บุญธรรม และมีการต่อยอดในรายวิชาอาการกับสุขภาพ โดยกลับไปทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพพ่อแม่บุญธรรม “กินอย่างไรให้ปลอดโรค” การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ มีการบูรณาการกิจกรรมนักศึกษาสู่การเรียนการสอนในรายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง “โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน สานฝันพ่อ บ่อเกิดความยั่งยืน” เช่น การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำ) ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รู้คุณค่าทรัพยากร (สร้างฝายแม้ว) เพิ่มสวัสดิการเศรษฐกิจครัวเรือน (บัญชีเงินออม) การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ยะลา ในรายวิชา คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งอาจารย์ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ดึงสถาบันครอบครัว ปราชญ์ชาวบ้าน สถาบันศาสนา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานักศึกษา ทุกกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำ ต้องมีการสะท้อนคิดว่า ทำเพื่ออะไร ได้ข้อคิดอะไรบ้างจากกิจกรรม การหล่อหลอมเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ต้องร่วมกันทุกภาคส่วน การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฎ สงขลา บนพื้นฐานความเชื่อว่า มีความดีอยู่ในคนทุกคน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ คนที่ดีอยู่แล้ว และคนที่อยากทำความดี แต่ไม่มีโอกาส ผ่านการทำโครงการทำดีไม่ยาก ง่ายนิดเดียว เช่น ช่วยอาจารย์ถือของ เก็บขยะ กวาดใบไม้ ทำความสะอาดโรงอาหาร (การทำความดี ทำวันละนิด แต่ทำบ่อยๆ) โครงการคนดีในดวงใจ ค้นหาคนดี นำเสนอผ่านทางวิดิโอคลิป การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในระยะต่อไป ได้แก่ -สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนัก ศึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท/กิจกรรม กำหนดการนำเสนอภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ -เสวนาทัศนะการสอนเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยผู้นำศาสนา -ค่ายคุณธรรม นำความรู้ เพื่อสร้างแกนนำนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา ๓ คน/สถาบัน (ต่างศาสนา) และกรรมการเครือข่ายฯ -โครงการค้นหาคนดี ให้นักศึกษาเลือกนักศึกษาที่เป็นคนดีที่สุด ๑ คนและถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ -สมุดรวบรวมความดี (ปรัชญา แนวคิด) -หนังสือรวบรวมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม -หนังสือพิมพ์สีขาว ให้แต่ละสถาบันรวบรวมเรื่องราวที่นักศึกษาสะท้อนความดีที่ตนเองมีประสบการณ์ ตรง/จากผู้อื่น คัดเลือกส่งแม่ข่าย -คู่มือสำหรับอาจารย์ที่สอนจริยศาสตร์ในหมวดวิชา การศึกษาทั่วไป
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธธรมจริยธรรมให้นักศึกษา ผ่านทางเทคนิคการสอนต่างๆ เช่น การเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความตรงต่อเวลา
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ |
(325)