ผู้บันทึก : นางเกษรา วนโชติตระกูล | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ | |
เมื่อวันที่ : 8 มี.ค. 2553 ถึงวันที่ : 9 มี.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น | |
จังหวัด : ขอนแก่น | |
เรื่อง/หลักสูตร : พัฒนาครูต้นแบบและสร้างความเข้าใจในนวัตกรรมของหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ | |
วันที่บันทึก 3 พ.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
1. การคิดเป็นหัวใจการเรียนรู้ พื้นฐานความเข้าใจการคิดย่อมส่งผลต่อวิธีคิด กระบวนการคิดประกอบด้วย การเปิดใจ เปิดความคิดให้กว้างจากการเรียนรู้ ค้นคว้าลึกซึ้งกว้างไกลจากประสบการณ์เดิม การปิด เพื่อสรุป ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ 2. กลไกสำคัญของกระบวนการคิด การคิดวิเคราะห์เน้นการศึกษาค้นคว้า ให้เกิดความกระจ่างและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นการใคร่ครวญสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ กระบวนการคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์จึงเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 3. การพิจารณาการคิด 4 ด้าน เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ 1) การแยกพิจารณาแต่ละส่วน เป็นการพิจารณารายละเอียดแต่ละส่วนจะเกิดความเข้าใจที่ดี เมื่อสามารถ ประกอบส่วนเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะขจัดปัญหาที่กล่าวว่า “เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า” 2) การพิจารณาให้เห็นภาพรวม การมองภาพใหม่และความเชื่อมโยงสู่เรื่องอื่น ต่างจากข้อแรกที่เปรียบเทียบว่า “เห็นป่า” 3) การวิเคราะห์ความซับซ้อน ดูความลึกซึ้ง ความซับซ้อนและรูปแบบที่เกิดขึ้น ช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์เรื่องนี้กับเรื่องอื่น 4) การจับประเด็นหลักของเรื่องนั้นออกมาให้ได้ 4. ระดับการคิดวิเคราะห์ ระดับที่ 1 เริ่มจากวัตถุประสงค์ โดยถามว่าทำไมต้องทำ จะทำให้ กระบวนการคิดมีทิศทาง เพื่อคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ระดับที่ 2 มุ่งเน้นประเด็นกระบวนการ โดยถามว่าทำอย่างไร การคิดวิเคราะห์จะช่วยในการเปรียบเทียบ เชื่อมโยง สรุป สังเคราะห์และประเมินค่าจะเป็นประโยชน์ ในการวิเคราะห์ระบบที่ละเอียดอ่อน เหตุและผล แนวคิดที่ซับซ้อน ความสัมพันธ์ เหตุการณ์ ความคิด และบุคคลลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขั้นตอนในกิจกรรมต่างๆ 5. ความคิดสร้างสรรค์ขยายแนวคิดไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ 1) การเปิดแนวคิดให้กว้าง ริเริ่มสิ่งใหม่ นวัตกรรม การเชื่อมโยงสู่มิติอื่นๆ 2) เป็นประโยชน์ในสถานการณ์ที่ต้องคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ หาวิธีการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิม 3) ออกแบบปรับปรุงยุทธศาสตร์และกระบวนการ 4) เปลี่ยนวิธีคิด กระบวนการและแนวปฏิบัติเป็นรูปแบบใหม่ 5) เปลี่ยนภาพลักษณ์ 6. การคิดด้วยความเอื้ออาทรให้ความสำคัญ 5 ประการ 1) คุณค่า การคำนึงถึงเจตคติและพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง 2) อารมณ์ การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกเพื่อหาความต้องการ และความถูกต้อง 3) ความรู้สึก การคำนึงถึงความรู้สึกของแต่ละบุคคล ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรม 4) ความเห็นอกเห็นใจ ความละเอียดอ่อนในผลกระทบที่อาจจะพึงมีต่อผู้อื่น 5) อุดมการณ์ ความพยายามที่จะอุดช่องว่างระหว่างความเป็นจริง และอุดมการณ์ 7. ความคิดเชิงตรรกะ / ความคิดเชิงระบบ (Logical Thinking / System Thinking) การคิดเชิงเหตุผล มีตรรกะ มีการวางแผนเป็นขั้นตอน ลำดับเรื่องราวก่อนหลัง มองจากภาพรวม (Bird Eye View) ใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์ 8. การขาดความคิดเชิงระบบในการทำงาน จุดอ่อนคือไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคืออะไร ควรเริ่มต้นอย่างไร สับสนกับสิ่งที่ทำอยู่ เช่น การทำกิจกรรม 5 ส วัตถุประสงค์ คือ การขจัดความสูญเปล่าในที่ทำงานให้หมดไป การทำกิจกรรม 5 ส ส่วนใหญ่ เน้นที่กิจกรรมทำให้ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ บุคลากรจึงขาดแรงจูงใจ และไม่บรรลุความสำเร็จ 9. การคิดเป็นระบบ สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล มีขั้นตอน มีเป้าหมายชัดเจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 10. ปัจจัยส่งเสริมการคิดเป็นระบบ 1) ใช้คำถามว่า ทำไม ในการวิเคราะห์หาเหตุผล ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว 2) มี Scenario ลำดับเรื่องราวก่อนหลัง 3) การแยกแยะความสำคัญของเรื่องราวในแต่ละเรื่องด้วยการเปรียบเทียบ 4) การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 5) ใช้เหตุผลในการคิดและตัดสินใจ 11. Local Thinking สังคมไทยจะมีสิ่งที่คาดหวังแต่ยังขาดการคิดถึงวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้า หมายอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนและเหตุผล ดังจะเห็นได้จากคำพูดของเรา เช่น “ถ้าโชคดีคงจะชนะ” “ไม่เป็นไรเดี๋ยวก็คงจะดีเอง” “เมื่อไรจะรวยสักที” “เช้าสั่งเย็นเปลี่ยน” การคิดที่เป็นระบบคืออะไร คือ การคิดที่มีลำดับขั้นตอนและเป็นเหตุเป็นผล ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน แล้วเขียนภาพในการบรรลุเป้าหมาย โดยมีลำดับขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผล การเขียนภาพ (Scenario) จะต้องให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการใช้กำลังแรงน้อยที่สุด ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 (Family and Community Nursing II) รหัสวิชา พย.1411 หน่วยกิต 3(3-0-6) คำอธิบายรายวิชา ศึกษาแนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ และมีภาวะวิกฤติแบบองค์รวม การให้บริการสุขภาพที่บ้าน การให้คำปรึกษาและเวชปฏิบัติครอบครัว วิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชนระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกระบวนการศึกษาค้นคว้า บริหารจัดการทีมงาน เลือกใช้ทรัพยากร นวัตกรรม เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และชุมชน ด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน หน่วยที่ 1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รู้และเข้าใจแนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยง มีปัญหาสุขภาพและมีภาวะวิกฤติแบบองค์รวม การให้บริการสุขภาพที่บ้าน การให้คำปรึกษาและเวชปฏิบัติครอบครัว โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการพยาบาล คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายแนวคิดหลักการการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยง มีปัญหาสุขภาพ และภาวะวิกฤติได้ 2. วิเคราะห์และวินิจฉัยภาวะเสี่ยง ภาวะที่มีปัญหาสุขภาพ และภาวะวิกฤติของครอบครัวและชุมชนได้ 3. ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว และชุมชนที่มีภาวะเสี่ยง มีปัญหาสุขภาพ และมีภาวะวิกฤติให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความเอื้ออาทร เนื้อหาสาระ 1. แนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพ 1.1 การประเมินปัญหาสุขภาพครอบครัวและชุมชน 1.2 แนวทางการพยาบาลครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวม 1.3 การพัฒนาสุขภาพครอบครัวและชุมชนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ปัญหาสุขภาพครอบครัวที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข 2.1 ปัญหาตามโครงสร้างครอบครัว 2.2 ปัญหาตามหน้าที่ครอบครัว 2.3 ครอบครัวในภาวะวิกฤติ 3. ครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง 3.1 ครอบครัวที่แตกแยก 3.2 ครอบครัวที่พ่อแม่อายุน้อย 3.3 ครอบครัวมีบุตรยาก 3.4 ครอบครัวที่สมาชิกเจ็บป่วย 4. การให้การบริการสุขภาพที่บ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว 4.1 หลักการให้บริการสุขภาพที่บ้าน 4.2 วิธีการให้บริการสุขภาพที่บ้าน 4.3 การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้บริการสุขภาพที่บ้าน 4.4 บทบาทการพยาบาลในงานเวชปฏิบัติครอบครัว กระบวนการวิเคราะห์ 1) การจำแนก 2) การจัดหมวดหมู่ 3) การสรุปอย่างสมเหตุผล 4) การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ 5) การคาดการณ์บนพื้นฐานข้อมูล กระบวนการพยาบาล 1) การประเมิน 2) การวินิจฉัยพยาบาล 3) วางแผนพยาบาล 4) การปฏิบัติการพยาบาล 5) การประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้ (ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ และกระบวนการพยาบาล) กระบวนการคิดวิเคราะห์ 1. การจำแนก – นักศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพครอบครัวที่มี ภาวะเสี่ยง และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย – วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทร หลักจริยธรรม และสิทธิมนุษยชน 2. การจัดหมวดหมู่ – แบ่งกลุ่มนักศึกษาทำ mind mapping เกี่ยวกับครอบครัวที่มีปัญหาและภาวะเสี่ยง ต่อปัญหาสุขภาพ 3. การสรุปอย่างสมเหตุผล – แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้เหตุผลทางวิชาการ และสรุป 4. การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ – แบ่งกลุ่มศึกษากรณีศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาและบริบทสุขภาพ – วิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 5. การคาดการณ์บนพื้นฐานข้อมูล – แต่ละกลุ่มคาดการณ์ภาวะเสี่ยงครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพ กระบวนการพยาบาล 1. การประเมิน – ศึกษาค้นคว้าระบบการดูแลสุขภาพที่บ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว – นำข้อมูลมาวางแผนเป็นกรอบแนวคิดที่จะใช้การประเมิน – ปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพทั้งข้อมูลชั้นต้นและข้อมูลชั้นรอง 2. การวินิจฉัยพยาบาล – นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อนำไปวางแผนการพยาบาล 3. วางแผนพยาบาล – เขียนแผนพยาบาลการดูแลสุขภาพที่บ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว – ตรวจสอบความถูกต้องด้วยหลักทฤษฎีการพยาบาล การดูแลอย่างเอื้ออาทร หลัก จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. การปฏิบัติการพยาบาล – นำแผนพยาบาลที่บูรณาการการดูแลอย่างเอื้ออาทร หลักจริยธรรม สิทธิมนุษยชน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ และสังเกตบันทึกผลการปฏิบัติ 5. การประเมินผล – ประเมินผลการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไข สื่อและแหล่งเรียนรู้ 1. กรณีศึกษา 2. เว็บไซด์ 3. ชุมชนและครอบครัวบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา หรือที่นักศึกษาสนใจ 4. เอกสารการพยาบาลครอบครัวและชุมชน *5. แผนภาพการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน *6. ผังความคิดการทำงานชุมชน *7. เครื่องมือเรียนรู้ชุมชน การวัดและประเมินผล 1) การทดสอบ 2) การสังเกต 3) การตรวจผลงาน
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
1. การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ 2. การพัฒนาครูต้นแบบ 3. นวัตกรรมของหลักสูตร
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจั่ดการเรียนการสอน และการพัฒนาครู |
(294)