ผู้บันทึก : นางรัถยานภิศ พละศึก | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ | |
เมื่อวันที่ : 2 มี.ค. 2553 ถึงวันที่ : 5 มี.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก (ส่วนวิจัย) | |
จังหวัด : กรุงเทพฯ | |
เรื่อง/หลักสูตร : การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ | |
วันที่บันทึก 24 มี.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยต้องรู้ว่าเบื้องหลังของข้อมูลคืออะไร การวิเคราะห์ข้อมูลจะแสดงความเป็นตัวตนของผู้วิจัย การอ่านมาก การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การตีความ และการหาความหมาย ซึ่งทั้งสามอย่างจะไปด้วยกัน และนักวิจัยต้องไม่มีกรอบว่าผลการวิเคราะห์ต้องได้ข้อมูลที่เป็นคำตอบที่เรา ต้องการ โดยมีวิธีการ ดังนี้ แบบที่ ๑ มีวิธีการ ดังนี้ ๑. อ่านข้อมูลทั้ง case หลาย ๆ รอบ จนมองเห็นนัยยะของข้อมูล เพื่อนำไปสู่การเข้าใจภาพรวม และได้แนวคิดคร่าว ๆ ว่ามีนัยยะอะไรซ่อนอยู่ ๒. ทำแก่น(สาระ) ของข้อมูล ทำจนครบทุกหน้าของแต่ละ Case แล้วสรุปแก่นรวมของ Case ที่ ๑ จากนั้นทำเช่นนี้ทุก Case แล้วเปรียบเทียบความต่าง ความเหมือนของแต่ละ Case จะทำให้ทราบแก่น (สาระหลัก) ของเรื่อง แบบที่ ๒ ใช้ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) ซึ่งเป็นระบบของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Management) ได้รับการพัฒนาโดย Glazer and Strauss (1967) พัฒนาวิธีการนี้โดยหวังให้นักวิจัยสามารถพัฒนาทฤษฎีของตัวเอง ซึ่งเป็น Low Level Theory ทฤษฎีฐานรากมีสาระสำคัญ ๓ อย่าง คือ ๑. ข้อมูลดิบที่มีอยู่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นฐานที่นักวิจัยจะพัฒนาขึ้นมาเป็นสมมติฐาน และพัฒนาเป็นแนวคิด และทฤษฎี (เปรียบเทียบกับการขุดดิน แล้วปั้นดิน) ๒. ไม่ควรตั้งแนวคิด สมมติฐาน หรือทฤษฎีไว้ล่วงหน้า ๓. มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบตลอดเวลา จึงจะเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ในแบบที่ ๒ มี ดังนี้ ๑. Theoretical Sampling (อาจเป็นคน เหตุการณ์ สถานการณ์) ในขณะเก็บข้อมูล จะมีคำถามวิจัยย่อย ๆ เพิ่มมาทำให้เราทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลอะไรเพิ่มเติม? จากใคร? นั่นคือ เมื่อเก็บข้อมูลก็จะต้องมีการกรอง เก็บ และกรอง จนกว่าข้อมูลที่ได้จอดสนิท (อิ่มตัว) ๒. Theoretical Saturation หาจุดอิ่มตัวของข้อมูล ๓. Theoretical Sensitivity เป็นความไวเชิงทฤษฎี มีลักษณะคล้าย navigator ว่าเราจะไปทิศทางไหน เก็บข้อมูลอะไรเพิ่มเติม จากใคร ดังนั้น Theoretical Sensitivity จะต้องอยู่ในหัวใจของนักวิจัย จากนั้นทำการกำหนดรหัส อ่านแก่นของแต่ละ Case จะได้ Central Assumption ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรายงานการวิจัยที่ต้องขยายในแต่ละบท ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบนี้สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและรวมกลุ่มได้ ชัดเจน การทำรหัส คือ การแยกข้อมูลออกมาให้เห็นชัดเป็นกลุ่มย่อย ทำให้เห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ประโยชน์ของการทำรหัส คือ ๑. การแยกแยะ จัดกลุ่ม เชื่อมโยงข้อมูล/แนวคิด ๒. ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น ๓. การเชื่อมโยงข้อมูล แนวคิดย่อย ๆ ๆ ๆ รวมเข้าด้วยกัน ทำให้เห็นแนวคิดใหญ่ได้ครอบคลุมมากขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเหมือน Jigsaw Puzzle และเกมส์ ๒๐ คำถาม โดยคำถาม คือ ทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมเป็นอย่างนี้…. แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล Inductive Approach (อุปนัย/อุปทาน) มี ๓ ขั้นตอน ๑. ต้องมีข้อมูลดิบ (Raw Data / Empirical evidence) ๒. แปลงข้อมูลดิบให้เป็นแนวคิด (Concept) ย่อย ๆ เช่น มาม่า ไวไว บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ การแปลงข้อมูลดิบเป็นแนวคิดต้องหาเหตุผลทั้งจากชุมชนและทฤษฎี ๓. การเชื่อมร้อยแนวคิดหลายแนวคิดเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ (Relationship) ซึ่งออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น – การตอบโจทย์ / คำถามการวิจัย หรือ – การสร้างสมมติฐาน หรือ – การสร้างแบบจำลอง หรือ – การพัฒนาทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิชาการต้องการให้เกิดมากที่สุด โดยทฤษฎีใหม่ มี ๓ ระดับ คือ Low Level Theory, Middle-range Theory และ Grand Theory (การศึกษาเรื่องเดียวหลาย ๆ ครั้ง สามารถสร้างทฤษฎีได้ง่ายกว่า) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นผู้วิจัยต้องเชื่อว่า ๑. เหตุผล ความเชื่อทางบวก เป็นแนวทางสร้างสรรค์ ๒. เหตุผล ความเชื่อที่เป็นกลางไม่อันตราย ๓. เหตุผล ความเชื่อทางลบ เป็นอันตราย ซึ่งต้องหาทางแก้ไขโดยอยู่ในกรอบความคิดของคนท้องถิ่น ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Inductive Approach ขั้นตอนที่ ๑ Free – free – listing and pile-sorting โดยการเขียนสิ่งที่ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้สึกเร้าใจอย่างอิสระ เช่น เขียนชื่อผีที่ตนเองรู้จัก ในกระดาษเปล่า (๕ – ๑๐ ชื่อ) ขั้นตอนที่ ๒ ผู้วิจัยบันทึกข้อมูล (รายชื่อผีที่ได้ทั้งหมด) พร้อมกับสอบถามผู้ให้ข้อมูลว่าแต่ละชื่อนั้นใช่ผีจริงหรือไม่ ถ้าไม่ใช่แยกไปไว้กลุ่มต่างหาก (เริ่มกระบวนการ enter, clean และแยกแยะข้อมูล) สำหรับชื่อผีที่ใช้ ผู้วิจัยถามต่อพร้อมบันทึกว่าผีแต่ละตนนั้นส่วนใหญ่อยู่ที่ไหน และทำหน้าที่อะไร ซึ่งสามารถให้ครอบคลุมข้อมูลที่อยู่ภายใต้กลุ่ม เช่น ชื่อผีต่าง ๆ ที่น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มบ้านก็เรียกชื่อกลุ่มหรือติดป้ายว่า “ผีบ้าน” ซึ่งอาจได้กลุ่มดังนี้ ขั้นตอนที่ ๓ นำข้อมูลมาแยกแยะ จำแนก และจัดกลุ่มที่เหมือนกันจัดไว้ด้วยกันแล้วตั้งชื่อ ขั้นตอนที่ ๔ การเชื่อมโยงข้อมูล จากการจัดกลุ่มข้อมูลในขั้นตอนที่ ๓ ผู้วิจัยจะมองเห็นชัดเจนว่าผีแต่ละกลุ่มนั้นมีถิ่นที่อยู่ชัดเจน นำข้อมูลที่ได้มาพล๊อต (Plot) ลงบนกระดาษตามที่อยู่ของแต่ละกลุ่ม แสดงถึงการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งอาจได้ภาพของการเชื่อมโยงข้อมูล และประกอบการสร้างความรู้เรื่องผีของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งอาจจะได้ภาพของการเชื่อมโยงและประกอบการสร้างข้อมูลหรือความรู้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๕ การตีความและการให้ความหมาย ระบบที่เห็นอยู่ในภาพมีลักษณะเป็นระบบความคิด ความเชื่อเรื่องจักรวาลของคนไทยโดยทั่วไป รวมทั้งความเชื่อเรื่องการปกปักษ์รักษาและการลงโทษ (เมื่อมนุษย์กระทำความผิด) ซึ่งถือได้ว่าความเชื่อเรื่องผีได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ/ กลไกในการควบคุมสังคมประการหนึ่ง ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าผีต่างประเทศไม่สามารถจัดเข้าอยู่ในกรอบนี้ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบ กรอบความคิดเรื่องจักวาลของท้องถิ่น
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
ด้านการทำวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้ |
(1224)