Category Archives: การวิจัย/ผลงานวิชาการ

นวตกรรมระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ

นวตกรรมระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ

ระบบ healthy-monitoring คลิก
คู่มือการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ คลิก
คู่มือการใช้งานสำหรับ อสม  คลิก
คู่มือการใช้งานสำหรับผู้ป่วย คลิก
เสียงสะท้อนจากบุคลากรด้านสุขาภาพ คลิก

……………………………………………………………………………………………..

นวตกรรมระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ 

                ระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ เป็นนวตกรรมเชิงกระบวนการในสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มุ่งเน้นการสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย ที่มีปัจจัยเอื้อในการกระตุ้น ย้ำเตือนความรุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัว อสม. รับรู้ เข้าใจ สถานะสุขภาพของผู้ป่วยที่ถูกต้องตามระดับความรุนแรง พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ เชื่อมโยงไปสู่พฤติกรรมของผู้ป่วยได้ทั้งพฤติกรรมที่พึงประสงค์และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงให้รับรู้อาการที่อันตรายจากโรคเบาหวานได้ โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ๗   ด้าน              คือ  1) ทรัพยากรชุมชน 2) บุคคลากรทางการแพทย์ 3) องค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็น 4) การตัดสินใจ                 5) เครื่องมือ 6) สภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ และ 7) กระบวนการของระบบการดูแลสุขภาพ ซึ่งออกแบบเป็นระบบย่อยที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของระบบการดูแล ๓ ระบบย่อย คือ         1) การจัดการการเยี่ยมบ้าน 2) การจัดการข้อมูลและสารสนเทศทางสุขภาพเพื่อการตัดสินใจในการบริการสุขภาพในระดับหมู่บ้านที่ดำเนินการโดยประชาชน สามารถสนับสนุนการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เอื้อต่อการตัดสินใจ    ในการให้บริการสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจากชุมชนไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิและทุติยภูมิที่มีคุณภาพ และ 3) การจัดการระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โดยเป้าหมายสำคัญคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการดูแลตามแนวคิดของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เน้นการปรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยการพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชน (Primary Health Care Strengthening) สามารถผสมผสานและเชื่อมโยงการบริการสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ และทุติยภูมิให้ผู้รับบริการเข้าถึงสะดวก คล่องตัว และลดความแออัด ณ สถานบริการสุขภาพ แต่ยังคงไว้ซึ่งการรับบริการที่มีคุณภาพ คือ การลดระดับความรุนแรงของอาการ และคงสภาพในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ยังครอบคลุมการเฝ้าระวังการสัมผัสกรณีมีโรคระบาดอุบัติใหม่ ระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะมีระบบย่อย 3 ระบบย่อย ดำเนินการประสานอย่างเชื่อมโยงกัน ดังนี้
คลิกเพื่อดูรายละเอียดฉบับเต็ม

(0)

การพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ได้มาตรฐาน

การพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ได้มาตรฐาน

สรุปจากการประชุม “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการวิจัยขั้นสูง: การพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ได้มาตรฐาน”  ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย นางสาวภาวดี  เหมทานนท์  และ นางรัถยานภิศ   พละศึก

การออกแบบการวัด

        ๑. การกำหนดตัวแปร

ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่สามารถวัดความผันแปรที่เกิดขึ้นได้ตามสิ่งที่ศึกษา ความผันแปรที่เกิดขึ้นอาจวัดได้ในรูปของปริมาณหรือคุณภาพ เช่น รายได้ อายุ ปริมาณผลผลิต (ซึ่งไม่ใช่ตัวคงที่)

๑.๑ ประเภทของตัวแปร

๑.๑.๑ จำแนกตัวแปรตามลักษณะที่แปรค่า

๑) ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variable) แปรค่าเป็นตัวเลข

๒) ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) แปรค่าเชิงคุณลักษณะ

๑.๑.๒ จำแนกตัวแปรตามลักษณะการวัด

๑) ตัวแปรขาดตอน (Discrete variable) ตัวแปรที่มีค่าเป็นหน่วยที่แต่ละหน่วยเป็นอิสระไม่ต่อเนื่องกัน มีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น เพศ จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเห็นด้วย/ ไม่เห็นด้วย

๒) ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous variable) ตัวแปรที่สามารถให้ค่าเป็นค่าที่ต่อเนื่อง มีค่าเป็นทศนิยมหรือเศษส่วนได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก รายได้ อายุ

๑.๑.๓ จำแนกตามความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

๑) ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable)

๒) ตัวแปรตาม (Dependent variable)

๑.๑.๔ จำแนกตามความสามารถในการควบคุมตัวแปร

๑) ตัวแปรที่สามารถควบคุมได้ เช่น ตัวแปรจัดกระทำ (Active/ experimental/ treatment variable)

๒) ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตัวแปรคุณลักษณะ (Attribute/ organism variable) Read the rest of this entry (2547)