การศึกษาวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของวิทยาลัย เพื่อนำมาลงในโปรแกรมที่สถาบันพระบรมราชชนก จะส่งมาให้ทาง เมล เป็นโปรแกรมวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา ต่อจำนวนนักศึกษาที่ผลิตได้ในแต่ละปี นั้น มีอัตราคิดเป็นจำนวนเงินเท่าไร ต่อการผลิตนักศึกษา 1 คน และจะต้องรับนักศึกษาจำนวนเท่าไร ถึงจะคุ้มทุน โดยใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามแบบฟอร์ม(โปรแกรมที่ สบช.กำหนด) โดยภาพรวมในการอบรมครั้งนี้วิทยากรได้สอนหลักการทางเศรษฐศาสตร์ในการวิแคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาคิดต้นทุน และปัจจัยที่มีผลกระทบในการคิดต้นทุน ดังนี้
- ปัจจัยนำเข้าการผลิตบริการสุขภาพ ประกอบด้วย
- ต้นทุนที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน (คน อุปกรณ์ วิธีการ)
- ต้นทุนที่อยู่ในรูปของตัวเงิน(งบประมาณด้านการจัดบริการสุขภาพ)
- ประเภทของต้นทุน (cost classification) ประกอบด้วย
- ต้นทุนที่จับต้องได้ (Tangible costs)
- ต้นทุนที่จับต้องไม่ได้(Intangible costs)
- ต้นทุนทางการแพทย์(Medical costs)
- ต้นทุนส่วนที่ไม่ใช่การ แพทย์(Non medical costs)
- ต้นทุนค่าลงทุน(Capital costs)
- ต้นทุนดำเนินการ(Operationa(Recurrent)costs)
- ต้นทุนทางตรง(Direct costs)
- ต้นทุนทางอ้อม(Indirect costs)
- ต้นทุนแยกตามพฤติกรรมของต้นทุน
- ต้นทุนคงที่ (fixed cost:FC)
- ต้นทุนผันแปร(Variable cost:VC)
- ต้นทุนรวม(Totle cost:TC หรือ Full cost)
- ต้นทุนเฉลี่ย(Average cost) = ต้นทุนต่อหน่วย(Unit cost)
ตัวอย่างต้นทุนคงที่ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเสื่อมราคา รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่ผันแปรไปตามปริมาณของนักศึกษา หรือบุคลากร
ตัวอย่างต้นทุนผันแปร เช่น ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
ต้นทุนรวม คือ ต้นทุนคงที่ บวกด้วยต้นทุนผันแปร
ต้นทุนเฉลี่ย คือ ต้นทุนรวมหารด้วย จำนวนนักศึกษา = Unit cost
v โดยภาพรวมแล้วข้อมูลที่เกี่ยวกข้องกับต้นทุนต่อหน่วยการผลิตประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
- 1.ค่าแรง
- 2.ค่าวัสดุ
- 3.ค่าครุภัณฑ์
สรุปจากการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี: นางสาคร ฤทธิ์เต็ม
(0)