Category Archives: การเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนแบบ SBL: สอนด้วยใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

การจัดการเรียนการสอนแบบ SBL: สอนด้วยใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกลยุทธ์การสอนที่นำมาใช้มีหลากหลาย แต่ในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา กลยุทธ์การสอนแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นเนื่องจากมีความต้องการในการพัฒนาให้ผู้เรียนมีการคิดเชิงวิเคราะห์มากขึ้น และในช่วงที่ไม่สามารถขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยและในชุมชนได้เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 การสอนแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงได้ถูกนำมาใช้พัฒนานักศึกษาทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง ภาคปฏิบัติ ส่วนที่นำไปใช้มากที่สุดคือนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในการให้การพยาบาล จากการติดตามการนำไปใช้พบว่าผลที่ได้จากการนำไปใช้ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นวิชาแรกที่นักศึกษาได้เริ่มเข้าสู่วิชาชีพพยาบาล ผลการประเมินพบว่านักศึกษากลัว ตื่นเต้น วิตกกังวล เครียด มือสั่น เป็นลมเมื่อไปปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ไม่ได้เข้าไปปฏิบัติสถานการณ์จำลองด้วยตนเองทำให้ไม่มั่นใจเมื่อไปปฏิบัติจริงเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลไม่ครบ ปฏิบัติการพยาบาลได้ไม่ถูกต้อง และเมื่อไปฝึกปฏิบัติต่อยอดในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลอื่นๆ เช่น ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ ฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก นักศึกษาไม่สามารถจำขั้นตอนและปฏิบัติการพยาบาลได้หรือปฏิบัติได้แต่ช้าและยังไม่คล่องแคล่ว ส่วนอาจารย์เมื่อพานักศึกษาฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย อาจารย์รู้สึกอารมณ์เสีย โกรธ เหนื่อย ล้า ท้อแท้ เมื่อนักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติการพยาบาลได้ อาจารย์ต้องสอนนักศึกษาซ้ำๆ ทั้งๆ ที่เรียนผ่านมาแล้ว

แบบฟอร์มรายงานการจัดการเรียนรู้ k006 
แบบฟอร์มการนำการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์ k010 (0)

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

หลักทั่วไปในการออกข้อสอบ มีดังนี้คือ
๑) กำหนดจุดมุ่งหมายการสอนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
๒) เตรียมตารางวิเคราะห์หลักสูตร
๓) ภาษาที่ใช้ควรชัดเจน เข้าใจง่าย
๔) เขียนข้อสอบแต่ละข้อ  ลงในบัตรแต่ละใบ
๕) เตรียมเฉลยและกำหนดคะแนนในขณะเขียนข้อสอบ
๖) เขียนข้อสอบให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการในตารางวิเคราะห์หลักสูตร และ
๗) เขียนข้อสอบทันทีที่สอนเนื้อหาวิชานั้นจบ

ประเภทของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

สามารถแบ่งตามลักษณะการเขียนตอบ คือ แบบอัตนัย และแบบปรนัย

ข้อสอบแบบเลือกตอบ/ปรนัย มีหลักการสร้างข้อคำถามดังนี้

๑.     ต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ มีความชัดเจนในการถาม
๒.     ประเด็นที่ถามต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นปรนัย
๓.     หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ โดยเฉพาะปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ ถ้าจำเป็นต้องใช้การขีดเส้นใต้ หรือทำตัวทึบให้ชัดเจน
๔.     การใช้ภาษาให้กระชับ ตรงประเด็น ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย
๕.     สิ่งที่ถามต้องเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์
๖.     สิ่งที่ถามต้องหาข้อยุติได้ตามหลักวิชา เพื่อให้ผู้สอบได้ใช้ความคิด ไม่ควรถามในสิ่งที่เป็นความเชื่อ
๗.     ถามให้ตรงตามเนื้อหาที่ต้องการ
๘.     คำถามต้องยั่วยุให้ผู้สอบใช้ความคิด

หลักการสร้างตัวเลือก

๑.     ต้องมีความเป็นเอกพันธ์ (homogeneity) เป็นเรื่องราวเดียวกัน
๒.     ต้องมีความเป็นไปได้ ไม่แย้งกับหลักวิชา
๓.     ต้องเป็นอิสระขาดจากกัน
๔.     แบบปลายปิดปลายเปิด
๕.     ภาษาต้องรัดกุม ชัดเจน
๖.     การจัดเรียงต้องเป็นระเบียบ ตามลำดับ
๗.     ตัวที่แนะคำตอบ (มีคำชี้แนะซ้ำกันในข้อคำถาม)
๘.     ความสั้นยาวของตัวเลือกถูก ตัวลวง

การวัดผลแบบอิงเกณฑ์

เป็นการตรวจสอบความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่ามีพฤติกรรม และคุณลักษณะต่างๆ ถึงระดับเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ถ้าผู้เรียนมีพฤติกรรม ความสามารถถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถือว่าบรรลุเป้าหมาย และเป็นผู้เรียนที่เรียนรู้แล้ว

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วย

๑) เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถสังเกต และสอบวัดได้อย่างชัดเจน
๒) กำหนดเกณฑ์การรอบรู้ในสมรรถภาพ หรือพฤติกรรมนั้น
๓) เขียนข้อสอบ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงถึงความสามารถที่ต้องการวัด และ
๔) ตัดสินความรอบรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์ โดยเทียบกับมาตรฐานต่ำสุดตามวัตถุประสงค์

ในการออกข้อสอบครั้งนี้ มีผลการวิเคราะห์ข้อสอบเก่า ซึ่งประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อสอบหลังนำไปใช้มีดังนี้ คือ ๑) ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานตัวข้อสอบและคำตอบ ๒) กรณีข้อสอบแบบเลือกตอบ ทำให้ทราบประสิทธิภาพของตัวเลือก ๓) ได้แนวทางในการสร้างข้อสอบที่ดี ๔) ได้ข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอน และ ๕) ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพเก็บไว้ เพื่อสร้างคลังข้อสอบและพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานต่อไป

        สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดทำข้อสอบวัดความรู้รวบยอด ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ : นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

(0)

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

เครื่อง มือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง ต้องใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองที่กำหนด โดยจัดห้องและเตรียมความพร้อม ดังนี้

1. หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองในแต่ละเรื่องได้

 

2. Computer และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3. เครื่องมือและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Suction Defibrillator Monitor NIBP O2 pipeline EKG รถ Emergency พร้อมอุปกรณ์ Infusion pump และเครื่องมืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4. วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเวชภัณฑ์มิใช่ยาที่ใช้ทำหัตถการต่าง ๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Set IV Syringe Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดให้ O2 ชุดสวนปัสสาวะ ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5. เวชภัณฑ์ ประกอบด้วยยา สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยตามสถานการณ์จำลองที่กำหนดในแต่ละโรค

6. เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนผู้ป่วยให้ครบถ้วนตามแบบของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกหลักของวิทยาลัยนั้น ๆ

7. อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

 

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Simulation

ปัญหาการใช้หุ่นและเทคโนโลยีสถานการณ์ SBL เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้สอนใน SBL จําเป็นต้องการทราบวิธีที่จะแก้ไขเมื่อพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ แก้ไขได้โดย

- ตรวจสอบว่าวาล์วสีน้าเงินเปิดอยู่

- ปล่อยลมออกจากเครื่องปั้มลม (compressor)เนื่องจากบางครั้งอาจมีลมค้างอยูในเครื่อง

อาจทําให้เครื่องไม่ทํางานการปล่อยลมทําได้โดยการเปิดวาล์วสีแดงและเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

- ตรวจสอบท่อและข้อต่อระหว่างเครื่องปั้มลมและหุ่นให้เสียบเข้าด้วยกัน

- ตรวจดูว่า Software กําลังทํางานอยู่โดยดูจาก Linkbox

 

2. ปัญหาการวัดค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์ ในบางครั้งมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินค่าความดันโลหิตให้ถูกต้อง แต่อาจพบได้ว่านักเรียนวัดค่าได้ไม่ตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น ให้ดําเนินการดังนี้

- ตรวจดูการตั้งค่า Korotkoff Sounds ให้ตั้งค่าเสียงให้ดังที่สุด

- Calibrate ค่าแรงดัน Systolic และ Diastolic ที่หุ่นและที่โปรแกรมให้ตรงกัน

- Auscultatory Gap on/off feature ตรวจสอบหูฟังว่ามีการเปิดหรือปิด

- วิธีการ Calibrate ค่าความดันโลหิต ดําเนินโดยใช้คน 2 คน ว่ามีไฟสีแดงขึ้นแสดงว่าเครื่อง

ทํางานอยู่ คนแรกเข้าไปในโปรแกรมควบคุมหุ่น ไปที่เมนู แล้ว click Calibrate เพื่อกําหนดค่าความดันโลหิตให้ตรงกับสถานการณ์ และคนที่สอง ให้บีบ cuff BP ค้างไว้ให้ได้ค่าตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น

3. จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน ให้ดําเนินการดังนี้

- ตรวจสอบที่ Linkbox ว่ามีไฟแดงสว่างขึ้นหรือไม่ และดูการเชื่อมต่อของสายระหว่าง

Linkbox กับว่ามีการเชื่อมต่อหรือไม่

- ตรวจสอบสายการเชื่อมต่อของสายระหว่างหุ่นกับจอภาพ

- Reboot หุ่นและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน

4. ไม่มีเสียงออกจากหุ่น ให้ไปที่โปรแกรมและดําเนินการดังนี้

- คลิกเมนู Edit ที่มุมซ้ายบน

- เลือก รูปไมโครโฟน

- คลิกเลือก ไมโครโฟน In use “Primary Sound Capture Driver”

- กําหนดค่าความดังของเสียง

- ตรวจสอบที่ปุ่มลําโพงที่มุมล่างขวา

5. จอภาพผู้ป่วยค้าง ดําเนินแก้ไขโดยใช้โปรแกรม elo เมื่อปุ่มไอคอนโปรแกรมนี้ จะปรากฏอยู่ที่มุมล่างซ้ายของเมนู bar ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้ดําเนินการดังนี้

- Double คลิกที่ไอคอน elo และคลิกที่ปุ่ม “รูปเป้าปืน” และกด “esc” ที่คีย์บอร์ด

- สัมผัสที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยตามต้องการที่จะให้ปรากฏค่า EKG หรือ HR

6. สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้ มักเกิดจากการออกแบบสถานการณ์ไม่ถูกต้อง Scenario จะดําเนินการไปข้างหน้า โดยไม่สามารถย้อนกลับสู่สถานการณ์เดิมได้ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลง จะต้องกําหนด Frame สถานการณ์ใหม่และคลิกเชื่อมสถานการณ์ให้ถูกต้อง ต่อเนื่องกันแก้ไขทําได้โดยการกลับเข้าไปแก้ไขและออกแบบสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง

 

การสร้างสถานการณ์จำลองบากแผลในลักษณะต่างๆ

           Moulage มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า การทําต้นแบบ เป็นการทํา Trauma effect  เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประเมินผู้ป่วยที่มีบาดแผลลักษณะเสมือนจริง เช่น ซีด เขียว มีเหงื่อออก ผื่นแดง แผลฟกช้า แผลฉีกขาด โดยมีเทคนิคที่ถูกต้อง ดังนี้

- ควรล้างมือให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์

- Trauma effect product มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามควรให้คําแนะนํากับผู้ที่แพ้ง่าย

- ระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณรอบดวงตา จมูก และปาก

- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล

- Trauma effect product ทุกชนิดสามารถล้างออกได้ แต่อาจใช้เสื้อผ้าที่เก่าแล้ว

- ควรถอด contact lenses เพื่อลดอันตรายและการระคายเคืองต่อดวงตา

- Wooden spatula ไม่ควรใช้ปนกัน

- Sponge wedges ควรใช้แยกกันแต่ละคน

- Eye makeup applicators และไม่พันสําลี ใช้ single use

- Sponge wedges applicator

- Sweat Applicator Sponge

วิธีทํา แผลฝกช้ำ มีเหงื่อและสารคัดหลั่ง ทา shock color cream ให้ทั่วใบหน้า ใช้ wooden spatula ตัก blue bruise gel  เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ แล้วใช้นิ้วมือป้ายเจลลงบนปลายจมูก ริมฝีปาก รอบดวงตา และโหนกแก้ม หากใช้ปริมาณมากเกินไป sponge wedges ซับออก หลังจากนั้นใช้ sweat applicator sponge

วิธีทํา แผลฝกช้ำ เขียว ซีด  ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือทาและตบเบาๆลงบนบริเวณที่ต้องการทําแผลฟกช้า ใช้ blue bruise gel ป้ายทับลงไปให้เกิดเงาของสี ใช้ bruise wheel ป้ายทับลงไปให้เกิดสีคล้าชัดเจนขึ้น ใช้ wet wipe ซับออก

วิธีทํา แผลฉีกขาด มีเลือดออก  ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้า (Bruise) แล้วใช้ plastic spatula ตัก scab/scratch product  เล็กน้อย แล้วกรีดลงบนแผลบนบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้แผลดูมีความลึก และเติม sticky blood ลงไปบนรอยแผลที่สร้างไว้ เพื่อให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกมาจากแผล

วิธีทํา บาดแผล ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้า จากนั้นสร้างแผลเพิ่มเติมให้มีลักษณะของแผลพุพอง โดยใช้ yellow bruise gel ป้ายลงไปบนแผลเป็นวงกลม รอให้น้ำระเหยเพื่อให้แผลดูเสมือนจริง เติม sticky blood ลงบนแผล พ่น black spray และใช้ wet wipe เช็ดสเปรย์บางส่วนออก แผลจะดูเสมือนจริงมากขึ้น

เทคนิคการสร้างบาดแผลโดยใช้ scar wax วิธีทํา ปั้น wax ให้เป็นรูปทรงยาวแล้วแปะลงบนผิวหนัง กดขอบให้เรียบไปกับผิวหนัง จากนั้นใช้ plastic spatula กรีดลงบน wax ป้าย sticky blood  ให้ดูเสมือนเป็นลิ่มเลือดอยู่บนปากบาดแผล เติม face blood หรือเศษกระจกปลอม นอกจากนี้ ยังมีบาดแผลสําเร็จรูปทําจากซิลิโคนที่มีลักษณะนิ่ม  ใช้สร้างบาดแผลที่เป็นลักษณะของCompound fracture หรือ Gun shot wound วิธีทํา ใช้บาดแผลซิลิโคน  ทากาวและแปะลงบนผิวหนัง ให้แนบสนิท จากนั้นสร้างแผลให้เสมือนจริงโดยเติม fresh scab/scratch  product ขั้นตอนสุดท้าย เติม face blood ให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกจากแผล


สรุปจากการประชุม การพัฒนาทีมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วันที่   2-3 ก.ย.  2558 หน่วยงานที่จัด  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี : นายสิงห์   กาญจนอารี / นายปกรณ์  ประทุมวรรณ
(0)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลักสูตร และปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษากันอย่าง กว้างขวางด้วยเหตุผลหลายอย่าง อาทิเนื้อหาแน่นมาก และไม่สอดคล้องกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงที่บัณฑิตจะออกไปทำงาน  การเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่าการคิดและการแก้ปัญหา   การเรียนการสอนไม่ได้เตรียมผู้เรียนให้มีการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีพ   ผู้เรียนไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้  การเรียนเรียนไปเพื่อสอบ เป็นต้น  มีการนำแนวทางการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนรู้โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) มาใช้ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning, PBL) ก็เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีปรัชญาสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานได้เริ่มแพร่หลาย  ตั้งแต่โรงเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ได้นำเอาไปใช้เป็นหลักสูตรทั้งหมดของโรงเรียนแพทย์ เมื่อ พ.ศ.2512 จากนั้นจึงมีผู้ให้ความสนใจและนำมาใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ Read the rest of this entry (0)

การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนแบบ E-learning

การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนแบบ E-learning

          สรุปจากการประชุม การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนแบบ E-learning ณ  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินทร จ. ชลบุรี  หน่วยงานที่จัด กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ   ระหว่างวันที่  3 – 7 พฤศจิกายน  2557 โดย นางจิตฤดี  รอดการทุกข์ 

ยุทธศาสตร์ไอที 2020 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (ICT 2020) เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัจุบันแบบ online

สร้างนวตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่21
ห้องเรียนกลับด้าน(flipped classroom)
การเรียนแบบผสมประสาน(blended classroom)
ชมคลิปวิดีโอ Bridging our future ห้องเรียนอัจฉริยะเกิดขึ้นได้รอบตัว ทุกที่ทุกเวลา สามารถค้นหาข้อมูลผ่นระบบonline ซึ่งต้องมีระบบเครือข่ายที่พร้อมต่อการสนับสนุนการเรียนรู้ คลิป a day made of glass เป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยี glass ให้เกิดประโยชน์ และคลิป a day made of glass 2 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของวัยรุ่นในกรใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สิ่งประดิษฐ์สร้างนวตกรรมและต่อยอดนำไปใช้อย่างแพร่หลายจะกลายเป็นเทคโนโลยี
กระทรวงไอซีที ได้สร้างแฟรมเวิร์ค 2020 (SMART Thailand 2020)
Smart hearth and smart learning นโยบายที่เกี่ยวข้อง สร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มี ICT literacy คือการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ
information literacy คือการกรองเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆอย่างชาญฉลาด
media literacy คือการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม การใช้ประโยชน์จาก
Social media เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสร้างสรรค์สินค้าและบริการและเรียนลัดในกระบวนการการสร้างนวตกรรม (โดยแนวทาง Open innovation)
21st century student outcome and support system ผู้สอนต้องเตรียมสภาพการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
สร้างสภาพการเรียนรู้แบบ online หรือสภาพการเรียนรู้แบบเสมือน
ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะการสื่อสารผ่าน ICT เช่น facebook, post group, video conference
ทักษะในกรทำงานร่วมกันทั้งภายในและนอกสถานศึกษา จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ (ไอสไตน์)
สื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนยุคใหม่ Teaching and Learning media Cloud Computing เป็นการจัดเก็บข้อมูลและประมวณผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีค่าใช้จ่ายแปรผันตรงตามจำนวนผู้ใช้ (ผู้ใช้มาก จ่ายมาก) ใช้ google apps for education โดยใช้เครื่องมือของ google ได้เลยโดยที่ต้องไม่ต้องซื้อซอร์ฟแวร์ เช่น การทำแบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ จะสามารถอัปเดตแบบ real time ได้ทันที ควรใช้ระบบของ google มี app หลากหลายและไม่เสียค่าใช้จ่าย ข้อแนะนำควรใช้ username and password เดียวกันจะสามารถเข้าระบบต่างๆของ google ได้หมดทุก app

Google Apps for Education การใช้ฐานข้อมูลใน google map การใช้ microsofe office 365 จะเป็นการซื้อ microsofe office รายเดือนของ google Gen C Learner ลักษณะจำเพาะของ gen c ได้แก่ การแชร์เช็คอิน, การหาเพื่อนออนไลน์, taking a selfie, ถ่ายรูปอาหาร, ต้องใช้ app ไอคอนในการทำสิ่งต่างๆ เช่น ค้นหาข้อมูล เก็บข้อมูล ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย กระดาน smart bord มี wifi wirless มี STML ในการปรับเปลี่ยนภาพหน้าจอให้เหมาะกับการใช้, Khanacademy (http://www.khanacademy.org/) ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆโดยเฉพาะวิดีโอเพื่อการศึกษาจะมีคลิปการเรียนรู้หลากหลายที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น ใน you tube หาคำว่า share และ embed แล้ว goppy code web หรือค้นหาคำว่า Embed แล้ว gop code ของวิดีโอนั้น ไม่ถือว่าเป็นละเมิดลิขสิทธิ์, AR : Augmented Reality Social media landscape 2014 จัดอันดับยอดนิยม 1.facebook, 2.twitter, 3.google plus You tube จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในปี 2014 ต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยากรู้เรื่องอะไรผู้เรียนจะสามารถพิมพ์คำค้นหาข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะมีคลิปในเรื่องที่ค้นหาที่หลากหลาย Weblog สามารถค้นหาข้อมูลได้จาก Gotoknow.org ศูนย์รวมข้อมูลความรู้ Researcher.in.th เป็นศูนย์รวมงานวิจัย (http://www.researchgate.net/literature..Literature.html) (https://www.academia.edu) ควรสมัครเป็นสมาชิกเพราะจะได้ข้อมูลงานวิจัยเป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและอังกฤษ Mahara (http://mahara.org), Joomla (http://www.joomla.org) , WordPress (http://www.wordpress.org), Wikipedia สารานุกรมออนไลน์ แต่เป็นข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิงไม่ได้ ต้องหาแหล่งที่มาว่าอ้างอิงที่ไหนแล้วเข้าไปใช้ในต้นฉบับที่อ้างอิงมา Learning environment and Technology tools สิ่งแรกคือต้องมีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้มีทักษะอะไร กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นและถ่ายทอดเป็น Bloom’s taxonomy : เกณฑ์สูงสุดคือผู้เรียนต้องสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ (creating) 21st century skills and literacies for ipads apps, windows apps, google apps : จะมี app ต่างๆให้ใช้ตามความเหมาะสมต่อทักษะกรเรียนรู้ในแต่ละด้าน การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สอนน้อยเรียนมาก ก้าวข้ามสาระวิชา ผู้เรียนบอกว่าอยากเรียนอะไร ร่วมมือ>แข่งขัน เรียนเป็นทีม>บุคคล เรียนโดยลงมือทำ : PBL มีการประเมินแนวใหม่ ไม่เน้นถูกผิด ประเมินเป็นทีม ข้อสอบไม่เป็นความลับ Flipped Classroom ศึกษาเนื้อหาที่บ้าน ใช้สื่อออนไลน์เข้าช่วย ทำการบ้านและกิจกรรมที่ห้องเรียน เน้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบ Activity today (แบบเดิม คือ lecture today) Concept of flipped classroom 1.Online for content Solution online contents: to e-book, LMS, document (pdf/google docs), slideshare, streaming, online quiz 2.Face to face for meaningful activity ได้แก่ Youtube education (https://youtube.com/education) From e-learning to open learning Open Courseware เป็นระบบการเรียนรู้ที่ใครๆก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ เช่น การแชร์ power point ควรเข้าไปติด creative commons license เพื่อเป็นการสงวนลิขสิทธิ์ Open Education Resources : ODR เป็นการใช้สื่อคลิปวิดีโอที่ใครๆก็สามารถเข้าไปใช้ได้ Massive open online courses : MOOC เน้นการเรียนรู้ในวิชาหลักที่สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้พร้อมกันหรือใช้สื่อเดียวกัน เรียนเหมือนกันได้ในหลายๆสถานศึกษา โดยมีหลายๆสถาบันที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันสร้างเนื้อหาวิชา มีทั้งแบบที่เรียนฟรีและจ่ายเงิน หรือลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนก็ได้ โดยมี content คือ Udacity and Coursera เป็นข้อมูลที่คนสร้าง MOOC ต้องรู้ DOCC : มีองค์กรหลักเพียงองค์กรเดียวในการสร้างเนื้อหาวิชาและปล่อยให้สถาบันอื่นนำไปใช้ได้ Open Learning Community Tools : Moodle Moodle MOOC เป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ watch, listen, reflect, transpersonal, active learning Blended learning : เป็นการเรียนผสมผสานระหว่างออนไลน์และ face to face การเรียนผสมผสานแบบแนวตั้ง (50 : 50) การเรียนผสมผสานแบบแนวนอน สามารถแบ่งรูปแบบการสอนได้ตามความเหมาะสม (50 : 50) อาจแบ่งรูปแบบการสอนของแต่ละชั่วโมงโดยคิดจากสัดส่วนหน่วยกิจ การเลือกใช้แนวตั้งกับแนวนอนโดยดูจาก วินัยต่อการเรียนรู้ เช่น ปี1 จะเป็นแนวตั้ง หรือ แนวนอนแต่ช่วงแรกผู้สอนต้องพบผู้เรียนบ่อยๆ เพื่อแนะแนวทางในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสอนแบบ E-Learning ให้ประสบความสำเร็จ

1.การวิเคราะห์ ต้องดู: ความต้องการ, ผู้เรียน, จุดประสงค์, เนื้อหา, บริบทที่เกี่ยวข้อง

2.การออกแบบการเรียนการสอน

3.การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้

4.การนำไปใช้ ลงมือสอน

5.การประเมิน โดยประเมินจาก (E1 : 80) คือ ค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนแต่ละหน่วย และ (E2 : 80) คือ ค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ทำแบบทดสอบหลังกรเรียนเมื่อเรียนครบทุกหน่วย

การนำสื่ออิเล็กโทรนิกส์ไปใช้

1.สื่อหลัก ใช้แทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดผ่านสื่อ

2.สื่อเติม ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาในสื่อเติม

3.สื่อเสริม เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออิเล็กโทรนิกส์อื่นๆ (0)