การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ด้านบริหารจัดการหลักสูตรของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ๑๒-๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จ.ปทุมธานี : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
การบริหารหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศในศตวรรษที่ ๒๑ บรรยายโดย ดร.ลิลลี่ ศิริพร
ผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีคุณลักษณะ ๔ ประการ (โชติมาพร, ๒๕๕๕) ดังนี้
-วิธีการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ ประเมินได้
-วิธีการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
-เครื่องมือสำหรับการทำงาน สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี
-ทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน เป็นพลเมืองที่ดี มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
การปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา (พลศักดิ์, ๒๕๕๖)
ผู้เรียน : ต้องได้รับการพัฒนาทักษะทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาและการสื่อสาร การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ปลูกฝังให้มีนิสัยในการใฝ่รู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
ผู้สอน : ต้องลดการบรรยาย เป็นผู้สนับสนุนชี้แนะ กำหนดภาระงานให้ชัดเจน ได้แก่ การสอน การวิจัย การให้บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินผลการสอนเพื่อปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพ
วิธีการเรียนการสอน : เน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้เกิดการคิดวิเคราะห์ วิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหา ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา ส่งเสริมการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
หลักสูตร : จัดให้เป็นหลักสูตรบูรณาการ ฝึกประสบการณ์ตรง และมีสมาคมวิชาชีพดูแลควบคุมมาตรฐานหลักสูตร
๒) การบริหารข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๗ โดย ดร.อัจฉรา จั่นเพ็ชร์ และ ดร.ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล
- มีการประชุมเพื่อพิจารณา test blue print ทั้ง ๘ รายวิชา ซึ่งทาง สบช.จะสรุปรวบรวมส่งให้วิทยาลัยต่อไป
- การคัดเลือกข้อสอบจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่
๑) เด็ก จิตเวช และสูติศาสตร์ วันที่ ๑๒-๑๖ มค. ๒๕๕๘
๒) ชุมชน กฎหมาย ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วันที่ ๑๙-๒๓ มค. ๒๕๕๘ โดยให้มีตัวแทนอาจารย์จากแต่ละเครือข่ายตามคุณสมบัติที่กำหนดคือ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขานั้นๆ มีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า ๕ ปี โดย วพบ.นครศรีธรรมราช รับผิดชอบในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ จิตเวช และกฎหมาย ทั้งนี้ ต้องส่งข้อสอบทั้ง ๘ รายวิชา ๒ ชุด ให้ สบช. เพื่อคัดเลือก
- กำหนดการสอบ วันที่ ๓๐-๓๑ มี.ค. ๒๕๕๘
- สอบซ่อมครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๐ เม.ย. – ๑ พ.ค. ๒๕๕๘
- สอบซ่อมครั้งที่ ๒ ภายในกลางเดือน พ.ค. ๒๕๕๘
๓) สบช. จะจัดให้มีการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษให้นักศึกษาทุกคน ในวันที่ ๗-๘ ก.พ.๕๘ โดยประสานให้ทางสถาบัน knowledge plus จัดทำข้อสอบ
๔) เทคนิคการเขียนและแนวทางการปรับปรุงข้อสอบแบบเลือกตอบ โดย รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์
การ เขียนตัวคำถาม ควรเขียนให้อยู่ในรูปคำถาม เน้นประเด็นที่ต้องการถามให้ชัดเจน ถามให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระที่ต้องการ ถามในสิ่งที่เป็นหลักวิชาการ สามารถหาข้อยุติได้ หลีกเลี่ยงการถามโดยใช้การปฏิเสธซ้อน ถามในสิ่งที่เป็นตัวอย่าง แบบอย่างที่ดี
การเขียนตัวเลือก แต่ละข้อต้องเป็นเอกพันธ์ เป็นอิสระจากกัน ระมัดระวังการใช้คำถามปลายเปิด-ปลายปิด ระวังการชี้แนะคำตอบระหว่างข้อสอบแต่ละข้อ หลีกเลี่ยงคำฟุ่มเฟือย ตัวถูกต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ตัวลวงต้องมีความเป็นไปได้
๕) ซอฟแวร์ระบบ Open TQF : ผศ.นวลศรี เด่นวัฒนา
ได้ รายงานความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศ ขณะนี้สามารถนำเข้าข้อมูล มคอ.๗ ได้แล้ว โดยรองฝ่ายวิชาการเป็นผู้ดูแลระบบ (admin) เป็นผู้บันทึกข้อมูลพื้นฐานในทุกมคอ.