ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ | |
เมื่อวันที่ : 18 มี.ค. 2553 ถึงวันที่ : 18 มี.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง | |
จังหวัด : ตรัง | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการสอนเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ | |
วันที่บันทึก 24 มี.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
ก. การสัมนาการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยรศ.ดร.จิราพร เกศพิชญวัฒนา และผศ.ดร.สุวิณี วิวัฒน์วานิช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรได้บรรยายภาพลักษณะของนักศึกษาในปัจจุบันว่าเป็น generation Y ที่มีความมั่นใจสูง เก่งด้านเทคโนโลยี แต่ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนใจหรือสมาธิในการเรียนสั้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนผู้สอนต้องให้ความรัก กำลังใจ ให้รางวัลเมื่อทำงานสำเร็จ การมอบหมายชิ้นงานที่ ท้าทาย ไม่น่าเบื่อ กิจกรรมการเรียนการสอนที่เร้าความสนใจ จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ดังนั้นครูจึงควรที่จะคิดค้นนวัตกรรม หรือพัฒนาวิธีการสอน/รูปแบบการสอนใหม่ๆ ไม่ควรใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียว ขั้นต่อมาควรมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ วางแผนการจัดทำรูปแบบการสอน การทดลองใช้และการประเมินผล ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นช่วงที่ ๓ คือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและวางรูปแบบการสอน ข. การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่แต่ละวิทยาลัยได้รับมอบหมายไปจากการ ประชุมครั้งที่ผ่านมา – “การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ” โดยอาจารย์จากวพบ.สุราษฎร์ธานี ใช้รูปแบบการบรรยาย เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ สู่การประเมินสุขภาพ โดยการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Comprehensive assessment) ทั้งกาย จิต สังคม ซึ่งมีการใช้แบบประเมินมาตรฐานต่างๆ เช่น แบบประเมิน ADL IADL แบบประเมินภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม การประเมินสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ระบบการสนับสนุนในการดูแลผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ควรมีการนำเสนอแบบประเมิน/เครื่องมือที่ใช้ประเมินที่หลากหลายกับผู้เรียน ได้ทราบ และบอกถึงแหล่งที่จะสามารถค้นคว้าได้ โดยผู้สอนควรมีกรณีศึกษาให้ผู้เรียนได้มีการฝึกคิดว่าควรจะใช้เครื่องมือใด ในการประเมินกรณีศึกษานั้นๆ รวมทั้งผู้สอนควรมีการสรุปผังความคิดรวบยอดในการประเมินสภาพให้กับนักศึกษา ด้วย เพื่อป้องกันการหลงประเด็นในการนำไปสู่การปฏิบัติ -”ทฤษฎีการสูงอายุ” วพบ.นครศรีธรรมราช ใช้รูปแบบการเรียนที่เน้นสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาลักษณะการสูงอายุจากผู้สูงอายุก่อนเข้าชั้นเรียน ผู้สอนสุ่มนักศึกษาเพื่อนำเสนอ โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีการสูงอายุ ที่ประชุมได้เสนอแนะว่า การนำเข้าสู่บทเรียน อาจใช้รูปภาพของผู้สูงอายุที่หลากหลาย แล้วให้ผู้เรียนเลือกว่าต้องการเป็นผู้สูงอายุแบบใด หรือใช้คำถามเปิดประเด็นว่า “ทำไมถึงแก่” เปิดโอกาสให้อภิปรายก่อนเข้าสู่บทเรียน เพิ่มเติมการชะลอความเสื่อมตามหลักทฤษฎีนั้นๆ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เป็นการประเมินผลว่านักศึกษามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด -“การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ” วพบ.นครศรีธรรมราช ประกอบด้วยหัวข้อ ปัจจัยที่มีอิทธิพล การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ การเชื่อมโยงสู่ทฤษฎีการสูงอายุ และปัญหาทางสุขภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง จัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้รูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ ข้อเสนอแนะของที่ประชุม อาจจะมอบหมายให้นักศึกษาทำวิดิโอคลิปจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงตามวัย มอบหมายให้ดูหนังที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ก่อนเข้าชั้นเรียน -“ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของผู้สูงอายุ” วพบ.ตรัง ที่ประชุมเสนอว่า ควรใช้Geriatric Giant เป็นเนื้อหาหลักในการสอน สำหรับปัญหาตามระบบต้องสอดแทรกไปในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ และปัญหาทางจิต.
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษา เช่น การเล่นเกมส์ การมอบหมายให้ทำคลิปวิดิโอสัมภาษณ์ เพื่อให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่น่าเบื่อ ท้าทายความสามารถของนักศึกษา
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเรียน การสอนรายวิชา…จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย การประเมินภาวะสุขภาพ. |
(351)