ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ | |
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : สัมมนา | |
เมื่อวันที่ : 19 พ.ค. 2553 ถึงวันที่ : 19 พ.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : ปทุมธานี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ | |
วันที่บันทึก 24 พ.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
ก. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ -วิทยากรได้บรรยายถึงการอุดมศึกษาไทยว่า มีการให้โอกาสการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับประชาชนดีมาก แต่ในเชิงคุณภาพแย่ มีบัณฑิตที่บกพร่องด้านสติปัญญา คุณธรรมอีกมาก -การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ต้องพัฒนาบัณฑิตให้เป็นศึกษิตที่สมบูรณ์ โดยมีความรู้เป็นฐาน สิ่งสำคัญคือ คุณธรรม จริยธรรม ความคิด ดังพระราชดำรัสของ ในหลวงที่ว่า “สติรู้ตัว ปัญญารู้คิด สุจริตจริงใจ’” -การปฏิรูปการศีกษาของไทย ต้องมาจากองค์รวม เริ่มจากต้นเหตุ ปฐมวัย ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ตามลำดับขั้น แต่ไทยทำพร้อมกัน ผู้สอน ผู้เรียนไม่พร้อม จึงล้มเหลว -การขยายตัวของสถาบันอุดมศึกษาไทย เร็วมาก ทำในรูปแบบต่างๆ เช่น เปิดสถาบันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกชน การยกฐานะวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัย การเพิ่มวิทยาเขตต่างๆ บางครั้งก็เป็นการหลอกลวงผู้เรียน การควบคุมคุณภาพล้มเหลว สภาสถาบันเป็นผู้อนุมัติ เป็นการกระจายอำนาจในช่วงที่ไม่ถูกเวลา ปัจจุบัน เรากำลังทำลายประเทศ อย่างเป็นระบบ โดยคิดเรื่องเงินเป็นใหญ่ ผู้จัดการศึกษาต้องมีมโนสำนึก จริงจัง จริงใจ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา -โดยสรุปแล้ว เส้นทางคุณภาพการอุดมศึกษาไทย แม้ว่าเดินมาได้ครึ่งทางแล้ว ยังอีกยาวไกล -การนำสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ต้องประกอบด้วยนิสิตที่ดี อาจารย์ที่ดี เครื่องมือเครื่องใช้ที่ดี และบรรยากาศที่ดี โดยอาจารย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการประกันคุณภาพ อาจารย์เป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยก็เป็นเช่นนั้น -TQF เป็นเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ไม่ควรยึดติดกับแบบฟอร์ม ข. บรรยาย เรื่อง QA & TQF โดย อาจารย์วิภา เพ็งเสงี่ยม และดร.เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ วิทยากรได้บรรยายถึงมาตรฐานอุดมศึกษา ๓ ด้าน ได้แก่ คุณภาพบัณฑิต การบริหารจัดการการอุดมศึกษา และการสร้าง พัฒนาสังคมฐานความรู้ โดย TQF เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสาขาวิชา เป็นการเสริมความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เน้นความสอดคล้องของการจัดการเรียนการสอน เทคนิคการสอน การวัดประเมินผล กับมาตรฐานการเรียนรู้
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเรียนการสอนรายวิชา… ต้องมีการวิเคราะห์ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชาเทคนิคการสอน การวัดประเมินผล กับมาตรฐานการเรียนรู้.
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเรียนการสอนรายวิชาต่างๆกับTQF |
(291)