โครงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ

โครงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ
ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 10 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 11 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ AUTOGENIC TRAINING เป็นศาสตร์ซึ่งประยุกต์มาจากหลักการสะกดจิต ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรปกว่า ๕๐ ปี ในปัจจุบันมีการนำมาดัดแปลงเพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ดีขึ้น และจากการประเมินผลและการศึกษาวิจัยของสถาบันเพื่อพัฒนาจิตและกายพบว่าเมื่อ ใช้ควบคู่กับหลักการทำสมาธิและการพัฒนาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงจะมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้ – ทำให้สมาธิและความจำดีขึ้น – เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง – เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน – ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตในภาพรวมดีขึ้น – ช่วยระงับอารมณ์เศร้าโศกเสียใจจากการสูญเสียสิ่งที่รัก – - เพิ่มแรงจูงใจและความกระตือรือร้น – แก้ปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ – ช่วยบรรเทาอาการปวด – ขจัดความวิตกกังวลและความรู้สึกซึมเศร้า – บรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน และอาการปวดเรื้อรังต่างๆ – บรรเทาอาการภูมิแพ้ – ขจัดนิสัยไม่ดีออกไป – เลิกบุหรี่ – ควบคุมน้ำหนักตัว – เป็นคนอารมณ์ดีอยู่เสมอ สดชื่นแจ่มใส และสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลให้กับจิตใต้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ขั้นตอนการฝึก AUTOGENIC TRAINING ๑. การชักนำ ขั้นตอนนี้จะทำให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย เช่น การฝึก การหายใจอย่างถูกวิธี การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นขั้นตอน ๒. ทำให้จิตอยู่ในภวังค์ ขั้นตอนนี้คลื่นสมองจะอยู่ในช่วงคลื่น ALPHA WAVE และจะอาศัยขบวนการวาดจินตนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวาดภาพการนลงสู่ที่สูง เช่น จากลิฟท์ชั้นที่ ๒๐ และค่อยๆลงต่อจนถึงชั้นล่างสุด ซึ่งจะทำให้จิตลงสู่ภวังค์โดยง่าย ๓. การป้อนโปรแกรมจิตใต้สำนึก ในขั้นตอนนี้ ผู้ฝึกจะสามารถป้อนโปรแกรมให้จิตใต้สำนึกทำงาน เพื่อพัฒนาตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งหากการกระทำได้อย่างเหมาะสมสามารถพัฒนาตนเองได้ภายในช่วงระยะเวลา ๒๑-๒๘ วัน ๔. การยุติโปรแกรม เมื่อจะเลิกโปรแกรม AUTOGENIC TRAINING จะเริ่มต้นด้วยการนับย้อนกลับนำจาก ๑-๑๐ และทำให้ร่างกายทุกส่วนตื่นตัว ซึ่งเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมจะมีความรู้สึกสดชื่นแข็งแรงโดยทันที กฎ ๑๐ ประการ สำหรับป้อนข้อมูลให้จิตใต้สำนึก ๑. ใช้คำสั่งที่เป็นปัจจุบันกาล ๒. ต้องเป็นคำสั่งเชิงบวก ๓. ควรป้อนข้อมูลให้กับจิตฯครั้งละไม่เกิน ๓ คำสั่ง ๔. มีรายละเอียดบ้างตามสมควร มีความหมายตรงๆ ๕. ใช้คำพูดง่ายๆไม่กำกวม ๖. ใช้คำพูดที่ตื่นเต้น มีชีวิตชีวา และประทับใจ ๗. ข้อมูลที่ป้อนให้กับจิตใต้สำนึก ควรมีความเป็นไปได้ ๘. การป้อนข้อมูลต้องป้อนให้กับตนเองและคนใกล้ชิดเท่านั้น ๙. ข้อมูลที่ป้อนต้องประกอบด้วยสัมผัสทั้ง๕ (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส )จะได้ผลเร็ว ๑๐. ควรป้อนข้อมูลขณะที่ฝึก AUTOGENIC TRAINING ในขั้นที่๕ ขณะที่อยู่ในอัลฟา


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – นำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา – นำไปใช้ในกิจกรรมครอบครัวเดียวกัน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(288)

โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่ายตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรับรองการประเมินสถาบัน

โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่ายตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรับรองการประเมินสถาบัน
ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 3 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 3 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่ายตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรับรองการประเมินสถาบัน
  วันที่บันทึก  9 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๓ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและการตัดสินใจ ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ คำอธิบายตัวบ่งชี้ : สถาบันควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและการตัดสินใจที่สอดคล้อง กับนโยบายและการวางแผนระดับสถาบัน เพื่อให้เป็นระบบที่สมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภายในและภายนอก เป็นระบบที่ใช้งานได้ทั้งเพื่อการบริหาร การวางแผน และการตัดสินใจ ของผู้บริหารทุกระดับ เพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจทุกด้านของบุคลากรเพื่อการติดตามตรวจสอบและ ประเมินการดำเนินงานตลอดจนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาสถาบัน ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว ต้องมีความสะดวกในการใช้งานโดยประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้ เกณฑ์มาตรฐาน ๑. มีแผนระบบสารสนเทศ (Information Systen Plan ) ๒. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ ๓. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ๔. มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบ สารสนเทศ ๕. มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๔ ระบบบริหารความเสี่ยง ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ คำอธิบายตัวบ่งชี้ : เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัย กิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปแบบของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียง และการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือความคุ้มค่า ) เพื่อให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ใน ระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าและโอกาส ในการเกิด เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้า หมายของสถาบันตามยุธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ เกณฑ์มาตรฐาน ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็น คณะกรรมการหรือคณะทำงาน ๒. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้ – ความเสี่ยงด้านทรัพยากร ( การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่) – ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน – ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ – ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริการหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ – ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณ ของอาจารย์ และบุคลากร – ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ณ์ภายนอก ๓. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จาก การวิเคราะห์ในข้อ ๒ ๔. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน ๕. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง ๖. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัด ไป


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำไปจัดกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านประกันคุณภาพการสึกษา

(276)

ประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 เรื่อง “ รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน

ประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 เรื่อง “ รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน
ผู้บันทึก :  นางอารยา วชิรพันธ์ นางนรานุช ขะระเขื่อน
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 10 ก.ย. 2555   ถึงวันที่  : 11 ก.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 เรื่อง “ รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
ประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 เรื่อง

“ รวมพลังสามัคคี  ทำดีเพื่อแผ่นดิน”  ระหว่างวันที่   10-11-   กันยายน 2555  ณ    โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร  มีกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม  โดยขับเสภาเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร  และเฉลิม  ฉลองพุทธชยันตี  ๒๖๐๐  ปีแห่งการเรียนรู้ของพระพุทธเจ้า    มีปาฐกถาพิเศษเรื่อง  รวมพลังสามัคคี  ทำดีเพื่อแผ่นดิน    มีกิจกรรมบุญสหาย  นำบุญ  สู่ประเทศชาติ   มีเสวนาเรื่อง  พลังสามัคคี เพื่อสังคมไทย, รวมพลังทำดีเพื่อแผ่นดิน,  และมีการนำเสนอผลงานดีเด่น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(314)

บทบาทของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ

บทบาทของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ
 ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม/ประชุม/สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 24 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 24 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯสาขาภาคใต้
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  บทบาทของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               การจัดการภัยพิบัติ (Disaster management) ระยะของการจัดการภัยพิบัติ มี ๔ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ การป้องกันและบรรเทา จะต้องมีการวางแผนในการป้องกันความเสียหาย หรือลดความรุนแรงให้ได้ โดย ครอบคลุม การวางแผนด้าน นโยบาย การเตรียมบุคลากร การเตรียมเครื่องมือ เทคโนโลยี และจะต้องบอกให้ได้ว่าจะมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับระดับบุคคลและ ชุมชน ระยะที่ ๒ การเตรียมการรับภัยพิบัติ ในระยะนี้สิ่งที่ต้องตระหนักและเตรียมการ คือ จะรับมือกับสาธารณภัยนั้นอย่างไร เช่นถ้ามี อาสาสมัคร จะต้องมีการอบรม เตรียมความพร้อม เตรียมระบบการช่วยเหลือ และเครื่องมือต่างๆให้พร้อม มีการซ้อมรับมือภัยพิบัติ ประเมินความต้องการของชุมชน และแหล่งให้ความช่วยเหลือต่างๆที่มี เตรียมระบบการสื่อสารและสถานีต่างๆที่จะให้การช่วยเหลือ เช่น สถานที่ให้การพยาบาล สถานที่อพยพ เป็นต้น ระยะที่ ๓ การเผชิญกับภัยพิบัติและการตอบสนอง เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น จะมีการกระทำที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด เพื่อรักษาชีวิตของคนให้ได้มากที่สุดรวมถึงการดูแลผุ้ได้รับบาดเจ็บ และป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม พยาบาลต้องดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินให้ได้ โดยเฉพาะการคิดกรองผู้ป่วย ( Triage) และต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงการป้องกันการแพร่กระจายเชื่อ หรือโรคระบาดที่จะเกิดขึ้น และในระยะนี้ การปฏิบัติการพยาบาลต่างๆต้องเป็นไปตามมาตรฐานแต่ปรับเปลี่ยนได้ตาม สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ในระยะเผชิญเหตุนี้ พยาบาลมีความสำคัญที่จะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย ( Trauma Life Support) A : Air way with c-spine protection B : Breating and ventilation C : Circulation and control bleeding D : Disability E : Exposure/environment ด้านจิตใจ ( Phychological respone Normal Protective reactions Acute stess disorder Posttroumatic stress disorder (PTSD) ระยะที่ ๔ การฟื้นฟูสภาพ ในระยะนี้ พยาบาล จะต้อง ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และต่อเนื่อง ดูแลร่างกายและจิตใจ ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลสุขภาพและที่สำคัญคือต้องมีการบันทึกและ ประเมินผล สมรรถนะของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ ( Disaster nursing competency ) : Risk reduction, disease prevention and health promotion : Policy development and planning : Ethical practice, legal practice and accountability : Communication and information sharing : Education and preparedness : Care of the community : Care of individuals families : Psychological care : Care of vulnerable populations : Long – term recovery of individual, families and communities


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการและวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำความรู้ ไปปรับใช้เพื่อช่วยเหลือสาธารณะเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น

(327)

การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน

การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
ผู้บันทึก :  นางเกษร ปิ่นทับทิม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 4 ก.ค. 2555   ถึงวันที่  : 6 ก.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555


 รายละเอียด
แนวทางการรักษาผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน พิจารณาจาก ๑) จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุไทย

๒) ลักษณะเฉพาะของผู้สูงอายุไทย ๔ ประการ ๓) โรคเรื้อรังและผลกระทบ ๔) เป้าหมายและแนวทางในการจัดการโรคเรื้อรัง (DM, HT) ในวัยผู้สูงอายุมีสภาพปัญหา ๔ ประเด็นคือ ๑) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระดับพื้นฐานเนื่องจากความชราภาพถึง ระดับเรื้อรังหรือทุพพลภาพ ๒) ผู้สูงอายุมีแนวโน้มต้องอยู่ตามลำพังมากขึ้น ๓) ผู้สูงอายุตกอยู่ในภาวะยากจน ๔) สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เหมาะสม (สภาพทางเดิน ห้องสุขา ยานพาหนะในการเดินทาง ที่อยู่อาศัย สถานที่จัดบริการต่างๆ)

                การดูแลในชุมชนในวัยผู้สูงอายุนั้น เป้าหมายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ฟื้นหาย เจ็บป่วยเรื้อรัง ทุพพลภาพ  และ ระยะสุดท้าย นอกจากนั้นยังพบว่าศัตรูของสุขภาพ ได้แก่ การติดเชื้อโรคต่างๆ กระดูกบาง/พรุน หลอดเลือดไม่สมบูรณ์ สมองทึบ สมองเสื่อม มะเร็งต่างๆ ปัญหาและโรคที่พบบ่อย ได้แก่                  ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ตา-ต้อกระจก  ต้อหิน หูตึง  นอนไม่หลับ หลงลืม เวียนมึนศีรษะ   การทรงตัวไม่ดี                                                                                                                                                                                                                                                     

การขับถ่าย – อุจจาระ ปัสสาวะ ไขมันในเลือดสูง ขาดอาหาร/ขาดสารอาหาร ซีด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้อเสื่อม เบาหวาน กระดูกพรุน มะเร็ง 

                ภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุไทยมีดังนี้ ๑) อัมพาตครึ่งซีก มีสาเหตุมาจาก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือด ความเครียด อ้วน สูบบุหรี่ และการดำเนินชีวิต ๒) อัมพาตครึ่งท่อน มีสาเหตุมาจาก อุบัติเหตุ และมะเร็ง  ๓) กระดูกพรุน  มีสาเหตุมาจาก หกล้ม ขาหัก ปวดหลัง หลังค่อม การดำเนินชีวิต          

๔) อ้วน จากการดำเนินชีวิต ๕) สมองเสื่อม (จากหลอดเลือด)  มีสาเหตุมาจาก ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ๖) โรคหัวใจ มีสาเหตุมาจาก ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ (เหนื่อย ถุงลมโป่งพอง) อ้วน ความเครียด สิ่งแวดล้อม และการดำเนินชีวิต

                เป้าหมายการดูแลผู้สูงอายุ  คือ เพื่อคงความมีสุขภาพดี ค้นพบโรค (กาย/ใจ) ในระยะแรก รักษา ถูกต้องทันเวลา ฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสม ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากที่สุดโดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้จะมีโรคเรื้อรัง  ให้การดูแลระยะสุดท้ายเพื่อการจากไปอย่างสมศักดิ์ศรี    

                ปัญหา ที่พบเมื่อผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน ได้แก่ การช่วยเหลือตนเอง ปัญหาการสื่อสาร/ความจำ/หลงลืม/เอะอะ ก้าวร้าว ปัญหาระบบทางเดินหายใจ ปัญหาการกลืน ปัญหาการขาดสารอาหาร ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาการนอนหลับ ส่วนปัญหาที่พบของญาติผู้ดูแล ได้แก่ ขาดผู้ดูแล ขาดความรู้/ทักษะในการดูแล ไม่มั่นใจในการปฏิบัติ การขัดแย้งภายในครอบครัว ผู้ดูแลมีปัญหาเจ็บป่วย เครียด วิตกกังวล เหนื่อย ท้อแท้ ขาดผู้พามาพบแพทย์ ปัญหาเศรษฐกิจ

                ความต้องการของผู้ป่วย/ผู้ดูแล  อยากให้ แจ้งข้อมูลการเจ็บป่วย การรักษา มั่นใจว่ากลับไปอยู่ที่บ้านได้ปลอดภัย  มีการจัดอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพที่บ้าน ได้รับคำปรึกษา วิธีการดูแล อยากให้มี Self help group   ต้องการมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาล และสามารถคิดตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ต้องการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ต้องการเวลาในการดูแล ส่วน Home Health Care Nursing เป็น ระบบบริการสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จองค์รวม ที่จัดให้แก่บุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เด็กถูกทอดทิ้ง ทำร้ายร่างกาย ผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยมีเป้าหมาย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ และช่วยให้ผู้เจ็บป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วม และสามารถดูแลตนเองได้ตามความสามารถ และศักยภาพ และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยน                    สิ่ง แวดล้อม ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย จัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมกับภาวะเจ็บป่วยของแต่ละคน และสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ  เป้า หมายหลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการดูแลตนเองได้ภายใต้องค์ประกอบที่ สำคัญคือ ผู้ดูแลและครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่บ้าน แหล่งประโยชน์ในชุมชน

                METHOD Model นำมาใช้ในการสอน สาธิต ชี้แนะผู้ป่วย ผู้ดูแลครอบครัวในเรื่อง M (Medication & Adverse effect) ยาที่ได้รับซึ่งประกอบด้วย ชื่อยา วัตถุประสงค์การใช้ยา วิธีการให้ยา ขนาด เทคนิคการให้ ปริมาณ จำนวนครั้ง ข้อควรระวังในการใช้ E (Environment & Equipment) ความรู้ในการจัดการ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสม การใช้แหล่งประโยชน์ในชุมชน การฝึกทักษะในการใช้อุปกรณ์การดูแลและสามารถดูแลเครื่องมือเครื่องใช้ได้ อย่างถูกต้อง T (Treatment) ความรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับ การฝึกทักษะในการดูแลที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การให้อาหารทางสายยาง การดูดเสมหะ การใช้ออกซิเจน การใช้เครื่องช่วยหายใจ  H (Health) ผู้ ป่วย/ผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับโรค การดำเนินโรค การตรวจวินิจฉัย และการรักษาพยาบาลที่ได้รับ ตลอดจนการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การปรับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับข้อจำกัดด้านสุขภาพ  รวมทั้งปรับตัวให้ส่งเสริมต่อการฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การประเมินและการจัดการภาวะฉุกเฉิน  O = Outpatient & Referral การมาตรวจตามนัด ตลอดจนการส่งต่อ การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องไปยังแหล่งประโยชน์ที่เหมาะสม  D = Diet การ รับประทานอาหารและน้ำได้ถูกต้องงเหมาะสมกับข้อจำกัดด้านสุขภาพ การทำอาหารปั่น หรือการใช้อาหารเสริม วิธีการให้อาหาร และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นการขาดสารอาหาร ปอดอักเสบ  แหล่งประโยชน์ในชุมชน และสังคม ได้แก่ สื่อแหล่งข้อมูล ครู พระ กองทุนต่างๆ หน่วยบริการสุขภาพในชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน ข้อมูลเพื่อการส่งต่อ นั้นต้องส่งสาเหตุของการเกิดโรค การรักษา การดูแลขณะอยู่โรงพยาบาล และภายหลังจำหน่าย การติดตามตามแผนการรักษา ภูมิหลังของผู้ป่วย ประวัติ และแผนภูมิของผู้ดูแลและครอบครัว สิ่งแวดล้อม การให้ความรู้ข้อมูล สอน สาธิตการดูแล และการใช้อุปกรณ์การดูแลต่างๆ ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย หรือความสามารถของผู้ดูแล  การบริหารยาที่บ้าน และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการบริหารยาคลาดเคลื่อน สิ่งที่ต้องการให้แหล่งประโยชน์ดูแลต่อ การส่งต่อข้อมูลกลับ

ผลลัพธ์ ของการพยาบาลที่บ้าน ๑) ผู้ป่วย/ผู้ดูแลสามารถบอกได้ถึงการดำเนินโรคและการดูแลตนเอง/ดูแลผู้ป่วยได้ ถูกต้อง ๒) ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้/ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยได้ ๓) สามารถบริหารยาได้ถูกต้อง ๔) รับประทานอาหาร และน้ำได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ๕) ผู้ดูแลสามารถปฏิบัติการดูแลได้ เช่น การทำกิจวัตรประจำวันทดแทน การพยาบาลที่ซับซ้อนได้ เช่น การให้อาหารทางสายยาง การทำแผล การดูดเสมหะ ๖) ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ๗) ผู้ดูแลสามารถเคลื่อนย้ายและออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม ๘) ลดภาระของผู้ดูแล ๙) ลดความเครียด/ความวิตกกังวลของผู้ดูแล ๑๐) ผู้ดูแลและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๑๑) ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว ๑๒) ผู้ดูแลและครอบครัวพึงพอใจในการบริการ ส่วนปัญหาและอุปสรรค ๑) ปัญหาจากผู้ป่วย: ภาวะสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อน ทางด้านจิตใจ ๒) ปัญหาจากผู้ดูแล/ ครอบครัว : ขาดผู้ดูแล ไม่มีผู้พามาติดตามการรักษา ๓) ปัญหาจากพยาบาล และ๔) ปัญหาจากระบบ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
  การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ

การพยาบาลครอบครัวและชุมชน

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(407)