ผู้บันทึก : นายสิงห์ กาญจนอารี | |
กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายบริหาร | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : อบรม/ประชุม/สัมมนา | |
เมื่อวันที่ : 24 ธ.ค. 2553 ถึงวันที่ : 24 ธ.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯสาขาภาคใต้ | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : บทบาทของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ | |
วันที่บันทึก 8 มี.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
การจัดการภัยพิบัติ (Disaster management) ระยะของการจัดการภัยพิบัติ มี ๔ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ การป้องกันและบรรเทา จะต้องมีการวางแผนในการป้องกันความเสียหาย หรือลดความรุนแรงให้ได้ โดย ครอบคลุม การวางแผนด้าน นโยบาย การเตรียมบุคลากร การเตรียมเครื่องมือ เทคโนโลยี และจะต้องบอกให้ได้ว่าจะมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับระดับบุคคลและ ชุมชน ระยะที่ ๒ การเตรียมการรับภัยพิบัติ ในระยะนี้สิ่งที่ต้องตระหนักและเตรียมการ คือ จะรับมือกับสาธารณภัยนั้นอย่างไร เช่นถ้ามี อาสาสมัคร จะต้องมีการอบรม เตรียมความพร้อม เตรียมระบบการช่วยเหลือ และเครื่องมือต่างๆให้พร้อม มีการซ้อมรับมือภัยพิบัติ ประเมินความต้องการของชุมชน และแหล่งให้ความช่วยเหลือต่างๆที่มี เตรียมระบบการสื่อสารและสถานีต่างๆที่จะให้การช่วยเหลือ เช่น สถานที่ให้การพยาบาล สถานที่อพยพ เป็นต้น ระยะที่ ๓ การเผชิญกับภัยพิบัติและการตอบสนอง เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น จะมีการกระทำที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด เพื่อรักษาชีวิตของคนให้ได้มากที่สุดรวมถึงการดูแลผุ้ได้รับบาดเจ็บ และป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม พยาบาลต้องดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินให้ได้ โดยเฉพาะการคิดกรองผู้ป่วย ( Triage) และต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงการป้องกันการแพร่กระจายเชื่อ หรือโรคระบาดที่จะเกิดขึ้น และในระยะนี้ การปฏิบัติการพยาบาลต่างๆต้องเป็นไปตามมาตรฐานแต่ปรับเปลี่ยนได้ตาม สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ในระยะเผชิญเหตุนี้ พยาบาลมีความสำคัญที่จะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย ( Trauma Life Support) A : Air way with c-spine protection B : Breating and ventilation C : Circulation and control bleeding D : Disability E : Exposure/environment ด้านจิตใจ ( Phychological respone Normal Protective reactions Acute stess disorder Posttroumatic stress disorder (PTSD) ระยะที่ ๔ การฟื้นฟูสภาพ ในระยะนี้ พยาบาล จะต้อง ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และต่อเนื่อง ดูแลร่างกายและจิตใจ ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลสุขภาพและที่สำคัญคือต้องมีการบันทึกและ ประเมินผล สมรรถนะของพยาบาลในการจัดการภัยพิบัติ ( Disaster nursing competency ) : Risk reduction, disease prevention and health promotion : Policy development and planning : Ethical practice, legal practice and accountability : Communication and information sharing : Education and preparedness : Care of the community : Care of individuals families : Psychological care : Care of vulnerable populations : Long – term recovery of individual, families and communities
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
นำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการและวิชาการ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
นำความรู้ ไปปรับใช้เพื่อช่วยเหลือสาธารณะเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น |
(328)