มหกรรมคุณภาพประจำปี ๒๕๕๓ “คุณภาพที่ยั่งยืน ส่งผลคืนสู่สังคม

มหกรรมคุณภาพประจำปี ๒๕๕๓ “คุณภาพที่ยั่งยืน ส่งผลคืนสู่สังคม
ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 16 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 17 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  มหกรรมคุณภาพประจำปี ๒๕๕๓ “คุณภาพที่ยั่งยืน ส่งผลคืนสู่สังคม
  วันที่บันทึก  20 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ การพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน เพื่อเป็นการประกันให้ได้ว่าผู้รับบริการจะได้รับบริการที่มีคุณภาพตอบสนอง ความต้องการของผู้รับบริการภายใต้การทำงานที่มีความสุขของผู้ให้บริการ หน่วยงานย่อมเกิดผลงานที่ดีและมีคุณภาพ และจำเป็นต้องมีการเผยแพร่ผลงานต่างๆให้เป็นที่รู้จักเพื่อการแลกเปลี่ยนและ ร่วมกันเรียนรู้จากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน นำไปสู่การพัฒนางานให้มาคุณภาพต่อไป ดังนั้นการประชุมมหกรรมคุณภาพประจำปี ๒๕๕๓ จึงมีการนำเสนอผลงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ หลากหลายเรื่อง ได้แก่ -ปรับงานประจำ(เจ)ทำเป็นงานวิจัย ธรรมด๊า(ที่ไม่ธรรมดา) เวทีโลกกัน(ได้อย่างไร) -ทางด่วนการให้บริการทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง -Good Delivery ส่งถึงมือ ส่งถึงใจ ส่งถึงไว -อย่าติดกับดักเครื่องมือคุณภาพ -ประสบการณ์การช่วยเหลือแม่ที่มีปัญหาหัวนมสั้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -เฝ้าระวัง ROP ในทารกคลอดก่อนกำหนด -พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือทารกที่มีภาวะลิ้นติดให้สามารถดูดนมแม่ได้ -เมื่อหนูอยากกลับบ้าน -Clinical Tracer การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ -รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย -การลดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง -โครงการบริการประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย -เพื่อนช่วยเพื่อนในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -การดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียแบบองค์รวมจากโรงพยาบาลชุมชนโดนการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่าย -มองคนด้วยใจ ลดภัยตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การนำเสนอผลงานวิจัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               นำความรู้ที่ได้จากการประชุมไปขยายผลและปรับใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาและพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนเอง

(335)

โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาพยาบาลในภาคใต้เพื่อก้าวทันวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนในการสอบประมวลความรอบรู้และการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล

โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาพยาบาลในภาคใต้เพื่อก้าวทันวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนในการสอบประมวลความรอบรู้และการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
  ผู้บันทึก :  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 18 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 18 พ.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาพยาบาลในภาคใต้เพื่อก้าวทันวิชาการ พยาบาลอนามัยชุมชนในการสอบประมวลความรอบรู้และการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพพยาบาล
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555


 รายละเอียด
       ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข   ได้กล่าวทักทายและให้ทุกสถาบันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ

การมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมในการสอบประมวลความรอบรู้และการสอบขึ้นทะเบียน

ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง นอกจากนั้นได้นำเสนอถึงแรงจูงใจที่ทางคณะพยาบาลศาสตร์ให้กับภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขซึ่งมีดังนี้ เงินค่าตอบแทนเมื่อสอบผ่าน๑๐๐%  ได้ ๒๐,๐๐๐ บาท และคิดภาระงานให้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าอาจารย์ต้องเตรียมแหล่งเรียนรู้สำหรับ นักศึกษาได้แก่ สื่อบุคคล (รุ่นพี่-รุ่นน้อง, เพื่อนช่วยเพื่อน) กระบวนการ วิธีการ เนื้อหาที่จัดติว/สอบ

แนวทางความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษา  ที่ประชุมได้วางเป้าหมายไว้ดังนี้

๑.      เพื่อให้นักศึกษาสอบประมวลความรอบรู้วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนผ่านในรอบแรกไม่       น้อยกว่า ๘๐ %

๒.    เพื่อให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนรอบแรกผ่าน  ๑๐๐%

มติที่ประชุม เสนอแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาดังนี้

๑.     ผลิตสื่อทบทวนความรู้ โดยการสรุปเนื้อหาสาระทบทวน

๒.    ทำแบบทดสอบ

๓.    ทำ Concept mapping

แต่ในปี ๒๕๕๕  นั้นจะดำเนินการจัดทำแบบทดสอบวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน      โดยยึดตาม Blue print    ของสภาการพยาบาลและมอบหมายให้แต่ละสถาบันรับผิดชอบหัวข้อในการจัดทำข้อสอบตามรายละเอียดในตาราง โดยจัดทำข้อสอบหัวข้อละ ๓ ชุด

 

หัวเรื่อง

เนื้อหา

รวม

(ข้อ)

ผู้รับผิดชอบ

๑. การสาธารณสุขและการพยาบาลอนามัยชุมชนและบทบาทหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน ๑.๑ แนวคิด หลักการสาธารณสุขและการพยาบาลอนามัยชุมชน

๑.๒ ระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย

๑.๓ บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน

๑.๔ ลักษณะงานพยาบาลอนามัยชุมชน

มอ.

๒. แผนพัฒนาชุมชน ๒.๑ สภาพปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

๒.๒ นโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพ

๒.๓ แนวทางการแก้ปัญหาสาธารณสุข

วพบ.ตรัง

๓. วิทยาการระบาด ๓.๑ แนวคิดและหลักการทางวิทยาการระบาด

๓.๒ การเกิดและการกระจายโรคในชุมชน

๓.๓ ดัชนีอนามัย

๓.๔ การเฝ้าระวัง การสอบสวน และการป้องกันการ

ควบคุมโรคติดต่อและไม่ติดต่อ

มอ.

๔. นวัตกรรมและกลวิธี

การสาธารณสุข

๔.๑ ความหมาย แนวคิดของนวัตกรรมสาธารณสุข

๔.๒ แนวทางและกลวิธีดำเนินงานสาธารณสุข :

สาธารณสุขมูลฐาน จปฐ. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเข้มแข็ง การมีส่วนร่วมของชุมชน ฯลฯ

วพบ.ตรัง

 

 

 

หัวเรื่อง

เนื้อหา

รวม

(ข้อ)

ผู้รับผิดชอบ

๕. กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน ๕.๑ การประเมินชุมชน : การรวบรวม การวิเคราะห์การนำเสนอข้อมูลสุขภาพชุมชน

๕.๒ การวินิจฉัยชุมชน และการจัดลำดับความสำคัญ

๕.๓ การวางแผนงาน

๕.๔ การดำเนินงานตามแผน

๕.๕ การประเมินผล

๑๒

วพบ. สุราษฎร์

๖. แนวทางการดำเนินงานอนามัยชุมชน ๖.๑ การอนามัยครอบครัว

๖.๒ การอนามัยโรงเรียน

๖.๓ การอาชีวอนามัย

๖.๔ อนามัยสิ่งแวดล้อม

๒๐

วพบ.นครศรีฯ

๗. การบรรเทา

สาธารณภัย

๗.๑ หลักการบรรเทาสาธารณภัย

๗.๒ การวางแผนการดูแลผู้ประสบปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ณ ที่จุดเกิดเหตุและระหว่างการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาล

วพบ.สงขลา

๘. การรักษาพยาบาลขั้นต้น ๘.๑ การประเมินภาวะสุขภาพ

๘.๒ การรักษาพยาบาลขั้นต้นด้านอายุรกรรม

๘.๓  การรักษาพยาบาลขั้นต้นด้านศัลยกรรม

๘.๔ การรักษาพยาบาลขั้นต้นด้านปัจจุบันพยาบาลและภาวะฉุกเฉิน

 

๑๕

วพบ.สงขลา

 

    กำหนดการในการจัดทำแบบทดสอบ

๑.      กำหนดส่งข้อสอบและรวบรวมข้อสอบภายในสถาบัน ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕

๒.    วิเคราะห์ข้อสอบ พร้อมเฉลยข้อสอบ เดือน กรกฎาคม – ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕

๓.     ส่งข้อสอบให้สถาบันคู่ในการร่วมตรวจเช็คข้อสอบ ภายใน  ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕

๔.     ส่งข้อคิดเห็นกลับคืนสถาบันรับผิดชอบ ภายใน ๑๕ กันยายน ๒๕๕๕

๕.     สถาบันรับผิดชอบส่ง files ข้อสอบทั้งหมดให้กับ มอ. ภายใน ๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕

๖.      มอ. ส่งต้นฉบับชุดข้อสอบกลับไปยังทุกสถาบันเครือข่าย  ภายใน ๑๕ ตุลาคม  ๒๕๕๕

 

รายชื่อสถาบันที่ร่วมรับผิดชอบ

๑.  ม. สงขลานครินทร์         ส่งข้อสอบให้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การ จัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการสอบประมวลความรอบรู้และการสอบขึ้นทะเบียน รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ในวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการดูแลรักษาขั้นต้น


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(448)

มิติใหม่ด้านการบริการและการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ

มิติใหม่ด้านการบริการและการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ
ผู้บันทึก :  นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 5 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 8 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  มิติใหม่ด้านการบริการและการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               การติดตั้งและการตั้งค่าการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ พัฒนาระบบโดยมหาวิทยลัยมหาสารคาม ชื่อโปรแกรม UlibM V6 เป็นโปรแกรมที่ให้ใช้งานฟรี มีการพัฒนาต่อเนื่อง ติดตั้งไว้ที่เซิฟเวอร์ http://58.137.175.53/ulib ให้บรรณารักษ์ทดลองใช้งานก่อนว่าข้อดีข้อเสียอย่างไรและดีกว่าโปรแกรมที่เรา มีอย่างไร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการและใช้งานโปรแกรมห้องสมุด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การจัดการและใช้งานโปรแกรมห้องสมุด

(254)

โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 ผู้บันทึก :  นางอารยา วชิรพันธ์ และ นาง จิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 27 เม.ย. 2555   ถึงวันที่  : 29 เม.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  จ.นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด
โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (E–learning)       วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา  และ วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

1.ได้ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละวิชา  วิเคราะห์ปัญหา  อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนและได้เลือกเนื้อหาในการที่จะนำมาทำเป็น E–learning  เช่น  การซักประวัติ   การตรวจร่างกาย   การแปลผลทางห้องปฏิบัติการ  การทำหัตถการต่างๆ

2. จัดทำสื่อการเรียนการสอนในการที่จะนำมาทำเป็น E–learning  ของแต่ละวิชา  วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา  และ วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  ลงใน web  E–learning  ของ  สถาบันพระบรมราชชนก

 

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ประยุกต์ในการเรียนการสอน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(272)

การบริหารจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสาร กับการพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด

การบริหารจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสาร กับการพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด
ผู้บันทึก :  นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 2 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 4 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การบริหารจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสาร กับการพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2553

 รายละเอียด
               1.Storage ManageMent การบริหารจัดการเก็บข้อมูล สำรองข้อมูล สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรวมถึงเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ข้อมูล โปรแกรมที่ใช้ การจัดการผู้ใช้ การรักษาความปลอดภัย 2.องค์กรแห่งการเรียนรู้ จัดทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ต้องเริ่มจากการจัดทำการจัดการความรู้ การจัดการความรู้จะต้องมีคณะกรรมการที่ชัดเจน แนวทางการใช้งาน ในการทำให้เกิดผลสำเร็จ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การจัดทำฐานข้อมูล การจัดการความรู้ KM ให้เกิดขึ้นในวิทยาลัย เป็นฐานข้อมูลการจัดการความรู้ที่มีข้อมูลมาก – จะสร้างเป็นฐานข้อมูลที่สามารถจำนวนการโพสข้อความและการสร้างหัวข้อเนื้อหา เพื่อนับจำนวนการโพสของสมาชิก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               – การจัดทำฐานข้อมูล การจัดการความรู้ KM ให้เกิดขึ้นในวิทยาลัย เป็นฐานข้อมูลการจัดการความรู้ที่มีข้อมูลมาก – จะสร้างเป็นฐานข้อมูลที่สามารถจำนวนการโพสข้อความและการสร้างหัวข้อเนื้อหา เพื่อนับจำนวนการโพสของสมาชิก


(292)