การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒

การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒
 ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม, นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และ นางสาวขจิต บุญประดิษฐ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 2 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 6 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒
  วันที่บันทึก  11 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ หัวข้อ “ความจำเป็นในการสอบรวบยอดนักศึกษาพยาบาลก่อนสำเร็จการศึกษา (Exit exam) บรรยายโดย นางสาวส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก สาระโดยสรุป กล่าวถึงความจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ให้มีความเท่าเทียมกัน โดยการประเมินความรู้ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งการประชุมในครั้งที่ ๒ นี้ เน้นการคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพและครอบคลุมสาระสำคัญต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมาจากสาขาวิชาต่างๆ ดำเนินการคัดเลือกข้อสอบที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกมาแล้วจำนวนหนึ่งจากการ ประชุมในครั้งแรก และในครั้งที่ 2 ให้พิจารณา test blue print ซึ่งสามารถปรับให้ครอบคลุมสาระสำคัญ หรือประเด็นที่เห็นว่าควรจะต้องมี และดำเนินการสร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับระดับการวัดและสาระ จำนวน 1 ฉบับ หัวข้อ “หลักการสร้างข้อสอบรอบยอดเพื่อทดสอบนักศึกษา (exit exam)” โดย รศ.ดร.สมบูรณ์ ชิตพงศ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สาระโดยสรุป 1. ระบบการศึกษา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ – ปรัชญา – หลักสูตร – การจัดการเรียนรู้ – การวัดและประเมิน – การวิจัย ซึ่งส่วนนี้จะให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปพัฒนาทุกๆ ส่วนสำคัญของระบบการศึกษา ทั้งนี้การวัดและประเมิน เป็นการตรวจสภาพการพัฒนาของผู้เรียน บทบาทการวัดและประเมินจึงคล้ายกับเป็นตัวช่วยในการ “ค้น” (Discovery) ให้พบจุดเด่น – ด้อย ในแต่ละคน เพื่อช่วยให้สามารถ “พัฒนา” Development” ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมาย ได้อย่างตรงจุด นั้นต้องอาศัยผลจากการวัดและประเมินเป็นฐานข้อมูล ในการกำกับแนวทางการพัฒนาให้มุ่งตรงไปสู่เป้าหมาย ได้ตรงจุดอยู่เสมอ ตามรูปแบบพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้ในหน่วยใดก็ตาม ผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายขึ้นไว้เสียก่อน จากนั้นจึงมาพิจารณาดูว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมพื้นฐานหรือมีความพร้อมเพียงพอ ต่อการที่จะเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายนั้นแล้วหรือยัง ถ้ายังต้องพัฒนาให้พร้อมเสียก่อน จึงค่อยจัดการเรียนรู้ (สอดคล้องกับพื้นฐานของแต่ละคน) จากนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบว่ากิจกรรมที่จัดให้ผลอย่างไร ซึ่งทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ ต้องอาศัยการวัดและประเมินถึง สามขั้นตอน ดังนี้ 1. การวัดและประเมินก่อนจัดการจัดการเรียนรู้ (Pre-assessment) เป็นการวัดและประเมินพฤติกรรมพื้นฐานหรือความพร้อมของผู้เรียน อย่างน้อย 3 ประการ คือ พื้นฐานความรู้ที่จำเป็นในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ เช่น หลักการ ทฤษฏีฯ ความสามารถทางสมองอันเป็นพัฒนาการทางด้านปัญญา และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งหากยังบกพร่องในพื้นฐานเรื่องใด ก็จำเป็นต้องสร้างให้พร้อมในด้านนั้นๆ เสียก่อน 2. การวัดและประเมินขณะดำเนินการจัดการเรียนรู้ (Formative-assessment) เป็นการวัดและประเมินการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวัดความรอบรู้ (Mastered) และไปตามลำดับ (Hierarchy) ของโครงสร้างในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ การวัดประเมินในช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อบรรลุสู้เป้าหมายในการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่สามารถสังเกตและวัดได้ หรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม และสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุได้ในแต่ละคาบเวลา เรียน 3. การวัดและประเมินหลังจากการจัดการเรียนรู้ (Summative assessment) เป็นการประเมินความรู้รวบยอดของการเรียนรู้ทั้งหมด ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการวัดมีอย่างน้อย 2 ประการคือ พฤติกรรมเชิงบูรณาการ (Integration) และ พฤติกรรมเด่นที่ต้องการเน้น 2. พฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Taxonomy of Education Objectives) จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ มีอยู่ 3 ด้าน ตามลำดับขั้นของการเรียนรู้ ดังนี้ 2.1 ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถด้านการคิด ได้แก่ เชาวน์ปัญญา ความถนัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฯ พฤติกรรมที่บ่งการกระทำ 2.2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นความรู้สึก (Feeling) ทางจิตใจ อารมณ์ ได้แก่ ความสนใจ ค่านิยม ความซาบซึ้ง เจตคติ ความเชื่อถือ ศรัทธา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมต่างๆ 2.3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถในการกระทำ (Doing) ซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ร่วมกัน (Coordination) ของจิตใจ กับส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายในการปฏิบัติการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ลักษณะเครื่องมือวัดที่ดี แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด มี 3 แหล่ง คือ 3.1 ผู้รู้ในสาขาวิชา (Subject Matter Specialist) 3.2 ผู้รู้ในเทคนิคในการถาม (Test Technician) 3.3 ผู้สอบ (Consumer) ทำหน้าทีสะท้อนว่าข้อคำถามใดเหมาะสมกับผู้สอบหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด ได้แก่ 1. Validity (ความตรง) หมายถึงว่าเครื่องมือวัดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ ต้องการวัด โดยทั่วไปมี 3 ชนิดที่สำคัญคือ 1) Content Validity (ตรงตามเนื้อหา) คือวัดในเนื้อหาที่มีในหลักสูตร /รายวิชา 2) Construct Validity (ตรงตามโครงสร้าง) คือวัดในพฤติกรรมหรือคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่ระบุในหลักสูตร /รายวิชา 3) Criterion-related Validity แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ a. Concurrent Validity (ตรงตามสภาพ) คือวัดได้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ของบุคคลนั้นในขณะนั้น b. Predictive Validity (ตรงตามพยากรณ์) คือวัดได้สอดคล้องกับความเป็นจริง ที่จะเกิดขึ้นของบุคคลนั้นในอนาคต 2. Reliability (ความเที่ยง) หมายถึงความคงเส้นคงวาในการได้คะแนนของบุคคล ซึ่งถ้าไม่มีเงื่อนไขใดเปลี่ยนแปลงไป ข้อสอบนี้ วัดกี่ครั้งก็ตาม แต่ละคนไม่ควรได้คะแนนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 3. Objective (ความเป็นปรนัย) คือความถึงซึ่งคุณสมบัติ 3 ประการคือ c. เข้าใจตรงกัน ผู้เข้าสอบคิดตรงกันว่า ข้อคำถามนั้นถามอะไร หรือถามให้ตอบในแง่ใด d. ตรวจให้คะแนนตรงกัน ในคำตอบหนึ่งๆ ใครก็ตามที่ตรวจให้คะแนนคำตอบข้อนั้นของผู้สอบคนหนึ่งคะแนนที่ผู้สอบคนนั้น ไม่ควรแตกต่างกัน e. แปลคะแนนตรงกัน ในค่าคะแนนหนึ่ง ๆ ใครก็ตามที่ได้คะแนนนั้น ทุกคนบอกได้ตรงกันว่า ผู้ได้คะแนนเป็นคนอย่างไร (เก่ง – อ่อน, ได้ – ตก) สรุป เครื่องมือวัดที่ขาดคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อ แสดงว่าเครื่องมือวัดนั้นมีความเป็นอัตนัย (Subjectivity ) สูงนั้นเอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 และ 2


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การวัดและประเมินผลในรายวิชาที่รับผิดชอบ

(275)

การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒

การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒
  ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม, นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และ นางสาวขจิต บุญประดิษฐ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 2 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 6 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาคุณภาพข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาล ครั้งที่ ๒
  วันที่บันทึก  11 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ หัวข้อ “ความจำเป็นในการสอบรวบยอดนักศึกษาพยาบาลก่อนสำเร็จการศึกษา (Exit exam) บรรยายโดย นางสาวส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก สาระโดยสรุป กล่าวถึงความจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ให้มีความเท่าเทียมกัน โดยการประเมินความรู้ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งการประชุมในครั้งที่ ๒ นี้ เน้นการคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพและครอบคลุมสาระสำคัญต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมาจากสาขาวิชาต่างๆ ดำเนินการคัดเลือกข้อสอบที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกมาแล้วจำนวนหนึ่งจากการ ประชุมในครั้งแรก และในครั้งที่ 2 ให้พิจารณา test blue print ซึ่งสามารถปรับให้ครอบคลุมสาระสำคัญ หรือประเด็นที่เห็นว่าควรจะต้องมี และดำเนินการสร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับระดับการวัดและสาระ จำนวน 1 ฉบับ หัวข้อ “หลักการสร้างข้อสอบรอบยอดเพื่อทดสอบนักศึกษา (exit exam)” โดย รศ.ดร.สมบูรณ์ ชิตพงศ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สาระโดยสรุป 1. ระบบการศึกษา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ – ปรัชญา – หลักสูตร – การจัดการเรียนรู้ – การวัดและประเมิน – การวิจัย ซึ่งส่วนนี้จะให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปพัฒนาทุกๆ ส่วนสำคัญของระบบการศึกษา ทั้งนี้การวัดและประเมิน เป็นการตรวจสภาพการพัฒนาของผู้เรียน บทบาทการวัดและประเมินจึงคล้ายกับเป็นตัวช่วยในการ “ค้น” (Discovery) ให้พบจุดเด่น – ด้อย ในแต่ละคน เพื่อช่วยให้สามารถ “พัฒนา” Development” ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมาย ได้อย่างตรงจุด นั้นต้องอาศัยผลจากการวัดและประเมินเป็นฐานข้อมูล ในการกำกับแนวทางการพัฒนาให้มุ่งตรงไปสู่เป้าหมาย ได้ตรงจุดอยู่เสมอ ตามรูปแบบพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้ในหน่วยใดก็ตาม ผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายขึ้นไว้เสียก่อน จากนั้นจึงมาพิจารณาดูว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมพื้นฐานหรือมีความพร้อมเพียงพอ ต่อการที่จะเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายนั้นแล้วหรือยัง ถ้ายังต้องพัฒนาให้พร้อมเสียก่อน จึงค่อยจัดการเรียนรู้ (สอดคล้องกับพื้นฐานของแต่ละคน) จากนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบว่ากิจกรรมที่จัดให้ผลอย่างไร ซึ่งทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ ต้องอาศัยการวัดและประเมินถึง สามขั้นตอน ดังนี้ 1. การวัดและประเมินก่อนจัดการจัดการเรียนรู้ (Pre-assessment) เป็นการวัดและประเมินพฤติกรรมพื้นฐานหรือความพร้อมของผู้เรียน อย่างน้อย 3 ประการ คือ พื้นฐานความรู้ที่จำเป็นในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ เช่น หลักการ ทฤษฏีฯ ความสามารถทางสมองอันเป็นพัฒนาการทางด้านปัญญา และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งหากยังบกพร่องในพื้นฐานเรื่องใด ก็จำเป็นต้องสร้างให้พร้อมในด้านนั้นๆ เสียก่อน 2. การวัดและประเมินขณะดำเนินการจัดการเรียนรู้ (Formative-assessment) เป็นการวัดและประเมินการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวัดความรอบรู้ (Mastered) และไปตามลำดับ (Hierarchy) ของโครงสร้างในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ การวัดประเมินในช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อบรรลุสู้เป้าหมายในการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่สามารถสังเกตและวัดได้ หรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม และสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุได้ในแต่ละคาบเวลา เรียน 3. การวัดและประเมินหลังจากการจัดการเรียนรู้ (Summative assessment) เป็นการประเมินความรู้รวบยอดของการเรียนรู้ทั้งหมด ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการวัดมีอย่างน้อย 2 ประการคือ พฤติกรรมเชิงบูรณาการ (Integration) และ พฤติกรรมเด่นที่ต้องการเน้น 2. พฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Taxonomy of Education Objectives) จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุ มีอยู่ 3 ด้าน ตามลำดับขั้นของการเรียนรู้ ดังนี้ 2.1 ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถด้านการคิด ได้แก่ เชาวน์ปัญญา ความถนัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฯ พฤติกรรมที่บ่งการกระทำ 2.2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นความรู้สึก (Feeling) ทางจิตใจ อารมณ์ ได้แก่ ความสนใจ ค่านิยม ความซาบซึ้ง เจตคติ ความเชื่อถือ ศรัทธา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมต่างๆ 2.3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถในการกระทำ (Doing) ซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ร่วมกัน (Coordination) ของจิตใจ กับส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายในการปฏิบัติการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ลักษณะเครื่องมือวัดที่ดี แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด มี 3 แหล่ง คือ 3.1 ผู้รู้ในสาขาวิชา (Subject Matter Specialist) 3.2 ผู้รู้ในเทคนิคในการถาม (Test Technician) 3.3 ผู้สอบ (Consumer) ทำหน้าทีสะท้อนว่าข้อคำถามใดเหมาะสมกับผู้สอบหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด ได้แก่ 1. Validity (ความตรง) หมายถึงว่าเครื่องมือวัดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ ต้องการวัด โดยทั่วไปมี 3 ชนิดที่สำคัญคือ 1) Content Validity (ตรงตามเนื้อหา) คือวัดในเนื้อหาที่มีในหลักสูตร /รายวิชา 2) Construct Validity (ตรงตามโครงสร้าง) คือวัดในพฤติกรรมหรือคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่ระบุในหลักสูตร /รายวิชา 3) Criterion-related Validity แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ a. Concurrent Validity (ตรงตามสภาพ) คือวัดได้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ของบุคคลนั้นในขณะนั้น b. Predictive Validity (ตรงตามพยากรณ์) คือวัดได้สอดคล้องกับความเป็นจริง ที่จะเกิดขึ้นของบุคคลนั้นในอนาคต 2. Reliability (ความเที่ยง) หมายถึงความคงเส้นคงวาในการได้คะแนนของบุคคล ซึ่งถ้าไม่มีเงื่อนไขใดเปลี่ยนแปลงไป ข้อสอบนี้ วัดกี่ครั้งก็ตาม แต่ละคนไม่ควรได้คะแนนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 3. Objective (ความเป็นปรนัย) คือความถึงซึ่งคุณสมบัติ 3 ประการคือ c. เข้าใจตรงกัน ผู้เข้าสอบคิดตรงกันว่า ข้อคำถามนั้นถามอะไร หรือถามให้ตอบในแง่ใด d. ตรวจให้คะแนนตรงกัน ในคำตอบหนึ่งๆ ใครก็ตามที่ตรวจให้คะแนนคำตอบข้อนั้นของผู้สอบคนหนึ่งคะแนนที่ผู้สอบคนนั้น ไม่ควรแตกต่างกัน e. แปลคะแนนตรงกัน ในค่าคะแนนหนึ่ง ๆ ใครก็ตามที่ได้คะแนนนั้น ทุกคนบอกได้ตรงกันว่า ผู้ได้คะแนนเป็นคนอย่างไร (เก่ง – อ่อน, ได้ – ตก) สรุป เครื่องมือวัดที่ขาดคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อ แสดงว่าเครื่องมือวัดนั้นมีความเป็นอัตนัย (Subjectivity ) สูงนั้นเอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 และ 2


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การวัดและประเมินผลในรายวิชาที่รับผิดชอบ

(345)

ระชุมวิชาการ เรื่อง Update in surgical Nursing

ระชุมวิชาการ เรื่อง Update in surgical Nursing
ผู้บันทึก :  นาย สิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 27 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 29 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการ เรื่อง Update in surgical Nursing
  วันที่บันทึก  5 ส.ค. 2554

 รายละเอียด

Update in Surgical Nursing

Update in Uro surgery

-          CA Bladder

-          Urinary incontinence

-          Prostate : BPH, CA prostate

-          Acute kidney injury (AKI)

Update in GI surgery

-          GERD

-          Constipation

Update in Hepatobiliary and pancreatic surgery

-          Benign tumors

-          Malignant tumors

-          Liver abscess

 

-          Gallstone and its complications

-          CholangioCA

Update in Colorectal surgery

Update in Neuro surgery

-          Deepbrain stimulation

-          Awake craniotomy

-          Cyber Knife

Nursing management of hemorrhagic stroke

Trauma care and spiritual dimension at ER setting

Current Management of TBI: nursing application from guideline to clinical

Practice

Update in vascular surgery

-          EVAR

-          Vascular access for hemodialysis

Nursing care in patients with vascular problems

Update in breast surgery: TRAM, LD Fap

Story telling: A Journey of breast cancer survivor and care provider

 

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ ในงานวิชาการ คือ การสอนในชั้นเรียน และการนิเทศในคลินิก

(305)

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑
 ผู้บันทึก :  นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฎิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 3 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 4 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑
  วันที่บันทึก  23 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีดังนี้ ๑. การเตรียมการออกข้อสอบ ผู้ออกข้อสอบจะต้องทราบคำตอบว่าใช้สอบใคร สอบทำไม สอบอะไร และ เลือกใช้ข้อสอบแบบใด ๒. เกณฑ์ในการออกข้อสอบ (ว่าควรใช้ข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย) ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ ๑) จุดมุ่งหมายของการทดสอบ ๒) เวลาที่ใช้ในการ สร้างข้อสอบและการให้คะแนน ๓) จำนวนผู้สอบ ๔) การจัดพิมพ์ข้อสอบ ๕) ทักษะของผู้ออกข้อสอบ และ ๖) การนำข้อสอบมาใช้อีก ๓. การสร้างข้อสอบปรนัยแบบชนิดเลือกตอบ – ข้อสอบแบบนี้ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ตัวคำถามและตัวเลือก สามารถนำไปวัด พฤติกรรมได้มากกว่าข้อสอบชนิดอื่นๆ คือวัดได้ตั้งแต่ระดับความจำจนถึงขั้นการประเมินค่า – หลักการสร้างคำถามแบบข้อสอบปรนัย ๑) ข้อคำถามต้องเป็นประโยคสมบูรณ์ ชัดเจน ผู้อ่านอ่านแล้วทราบทันทีว่าคำถามต้องการทราบอะไร ๒) เขียนคำถามให้ชัดเจนตรงจุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการทราบ ๓) ข้อคำถามแต่ละข้อควรถามเรื่องเดียว ๔) ไม่ควรใช้คำปฏิเสธในข้อคำถาม ๕) คำถามควรใช้คำเฉพาะที่จำเป็น ไม่ใช้คำเยิ่นเย้อ ๖) อย่าใช้คำบางคำเป็นการแนะคำตอบแก่ผู้สอบ – ลักษณะการเขียนตัวเลือก ๑) ตัวถูก- ผิด ไม่เด่นเกินไป ๒) เขียนตัวเลือกให้อิสระจากกัน ๓) เรียงลำดับตัวเลือกจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย ๔)ในข้อสอบฉบับหนึ่งๆ ควรกระจายตัวเลือกให้มีทุกตัวเลือกในจำนวนเท่าๆกัน ๔. ระดับการวัดด้านสติปัญญา ที่แสดงถึงสมรรถภาพของสมอง แบ่งเป็น ๖ ด้าน คือ ๑) ความรู้ – ความจำ เป็นการถามความรู้ ข้อเท็จจริงในเนื้อเรื่อง หรือเกี่ยวกับวิธีการ หรือความคิดรวบยอด ๒) ความเข้าใจ คำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่ผู้ตอบต้องใช้กระบวนการคิด ตรึกตรอง ทบทวนและเชื่อมโยงเนื้อหา และต้องไม่ใช่คำถามที่เคยถามผู้เรียนในชั้นเรียน เพราะถ้าใช้คำถามเดิมก็จะกลายเป็นการถามเกี่ยวกับความจำ ลักษณะคำถามควรถามให้แปลความ ตีความ หรือขยายความ ๓) การนำไปใช้ เป็นการถามความสามารถในการนำสาระสำคัญต่างๆ ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ลักษณะคำถามควรถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ ถามให้แก้ปัญหา ถามเหตุผลในการนำหลักวิชาไปปฏิบัติ ๔) การวิเคราะห์ เป็นการถามความสามารถในการแยกเรื่องราวออกเป็นส่วนย่อย เช่น การวิเคราะห์ส่วนประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ ๕) การสังเคราะห์ เป็นการถามความสามารถในการนำเอาข้อเท็จจริงและเงื่อนไขของเรื่องราวมาลงสรุป เป็นข้อยุติ และอนุมานผลรวมจากหลายสาเหตุ หรือจากความคิดเห็นหลายกระแสมาผสมผสานเกิดเป็นหลักการใหม่ เช่น สังเคราะห์การสื่อความหมาย สังเคราะห์แผนงาน สังเคราะห์ความสัมพันธ์ ๖) การประเมินค่า เป็นการตีราคาสิ่งต่างๆโดยสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าดี – เลวอย่างไร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาลมารดาและทารก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              แนวทางการจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาการพยาบาลมารดาและทารก

(324)

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลมารดา ทารก ครั้งที่ ๑

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลมารดา ทารก ครั้งที่ ๑
 ผู้บันทึก :  นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 3 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 4 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลมารดา ทารก ครั้งที่ ๑
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2553


 รายละเอียด
               1. ได้แนวทางการออกข้อสอบแบบปรนัย 2. ระดับการวัดของข้อสอบมี 6 ระดับ คือ 2.1 จำ 2.2 เข้าใจ 2.3 นำไปใช้ 2.4 วิเคราะห์ 2.5 สังเคราะห์ 2.6 ประเมินค่า 3. ได้เครือข่ายในการทำข้อสอบ 4. ได้รู้จักกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ซึ่งวิทยาลัยสามารถนำมาเป็นแหล่งข้อมูลบุคลากร ในการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดทำข้อสอบในอนาคตได้ 5. ได้ข้อสอบกลางในภาพรวมของสบช. วิชาการพยาบาลมารดา ทารก จำนวน 75 ข้อ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการติวนักศึกษาของทุกวิทยาลัยในเครือข่ายของสบช.


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลมารดา ทารก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลมารดา ทารก

(387)