โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่ายตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรับรองการประเมินสถาบัน

โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่ายตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรับรองการประเมินสถาบัน
ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 3 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 3 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่ายตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรับรองการประเมินสถาบัน
  วันที่บันทึก  9 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๓ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและการตัดสินใจ ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ คำอธิบายตัวบ่งชี้ : สถาบันควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและการตัดสินใจที่สอดคล้อง กับนโยบายและการวางแผนระดับสถาบัน เพื่อให้เป็นระบบที่สมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภายในและภายนอก เป็นระบบที่ใช้งานได้ทั้งเพื่อการบริหาร การวางแผน และการตัดสินใจ ของผู้บริหารทุกระดับ เพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจทุกด้านของบุคลากรเพื่อการติดตามตรวจสอบและ ประเมินการดำเนินงานตลอดจนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาสถาบัน ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว ต้องมีความสะดวกในการใช้งานโดยประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้ เกณฑ์มาตรฐาน ๑. มีแผนระบบสารสนเทศ (Information Systen Plan ) ๒. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ ๓. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ๔. มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบ สารสนเทศ ๕. มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๔ ระบบบริหารความเสี่ยง ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ คำอธิบายตัวบ่งชี้ : เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัย กิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปแบบของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียง และการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือความคุ้มค่า ) เพื่อให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ใน ระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าและโอกาส ในการเกิด เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้า หมายของสถาบันตามยุธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ เกณฑ์มาตรฐาน ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็น คณะกรรมการหรือคณะทำงาน ๒. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้ – ความเสี่ยงด้านทรัพยากร ( การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่) – ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน – ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ – ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริการหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ – ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณ ของอาจารย์ และบุคลากร – ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ณ์ภายนอก ๓. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จาก การวิเคราะห์ในข้อ ๒ ๔. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน ๕. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง ๖. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัด ไป


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำไปจัดกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านประกันคุณภาพการสึกษา

(277)

Comments are closed.