พยาบาลจิตเวชในระบบบริการ สุขภาพ ยุคความรู้ คุณภาพและความเท่าเทียม

พยาบาลจิตเวชในระบบบริการ สุขภาพ ยุคความรู้ คุณภาพและความเท่าเทียม
ผู้บันทึก :  นางขวัญธิดา พิมพการ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 28 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  พยาบาลจิตเวชในระบบบริการ สุขภาพ ยุคความรู้ คุณภาพและความเท่าเทียม
  วันที่บันทึก  29 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด
การ ประชุมวิชาการ เรื่อง พยาบาลจิตเวชในระบบบริการสุขภาพ ยุคความรู้ คุณภาพและความเท่าเทียม เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชขั้น สูง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางและสามารถพัฒนาสมรรถนะแห่งตนสำหรับการเป็น APN และการมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพ   ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ

                    – ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและการจัดการผลลัพธ์ในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งเป้าหมายของการบริการสุขภาพ ต้องมีความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้สูงสุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพการรักษา

- PMHN Practice ในระบบบริการสุขภาพยุคความรู้ คุณภาพ และความเท่าเทียม ซึ่งขอบเขตและสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประกอบด้วย ๙ สมรรถนะ

สมรรถนะที่๑ มีความสามารถในการพัฒนา จัดการ และกำกับระบบการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะโรค

สมรรถนะที่๒ มีความสามารถในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน

สมรรถนะที่๓ มีความสามารถในการประสานงาน

สมรรถนะที่๔ มีความสามารถในการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสอน การฝึก การเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ

สมรรถนะที่๕ มีความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มที่ตนเองเชี่ยวชาญ

สมรรถนะที่๖ มีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

สมรรถนะที่๗ มีความสามารถในการให้เหตุผลทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

สมรรถนะที่๘ มีความสามารถในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

สมรรถนะที่๙ มีความสามารถในการจัดการ และประเมินผลลัพธ์

- Adult and geriatric PMHNP การพัฒนาบทบาท APN ซึ่ง การประเมินภาวะสุขภาพ คลอบคลุมกาย จิต สังคม จิตวิญญาณ มีการใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อบอกความรุนแรงของอาการ และการประเมินผลลัพธ์ของการให้การพยาบาล การเลือกใช้เครื่องมือนั้นต้องพิจารณาว่ามีความเที่ยงตรงที่เชื่อถือได้

- Child and adolescent PMHNP การ ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ควรศึกษาร่วมกับแหล่งทรัพยากรสำหรับการดำรงชีวิตที่ปรากฏอยู่ในตัวของทุกคน และเป็นความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อตัวผู้ป่วย เช่น บิดามารดา ผู้ดูแล เป็นต้น

- PMHNP: Professional practice and ethical reasoning การ ตัดสินใจเชิงจริยธรรม เป็นกระบวนการใช้เหตุผลทางจริยธรรม ที่นำเอาขั้นตอนในการวิเคราะห์คุณค่าและความเชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแนวคิดทางจริยธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรม เพื่อบอกว่าสิ่งใดควรทำ-ไม่ควรทำ ถูก-ไม่ถูก

- Evidence-based PMHNP ทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิพากษ์งานวิจัย เน้นความเหมาะสม คุ้มค่า

- PMHNP: Change agent and case management, APN  จะต้องมี Intervention เน้นการพยาบาล Direct care ที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติเองอย่างเฉพาะเจาะจงกับเป้าหมาย และเป็นต้นแบบในการเป็นเจ้าของ Intervention นั้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ในการบริการวิชาการและพัฒนาบุคลากร ในฐานะพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานสุขภาพจิตและจิตเวช


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(492)

“มุมมองใหม่ : การพัฒนาองค์กร

“มุมมองใหม่ : การพัฒนาองค์กร
ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  สัมมนาและศึกษาดูงาน
  เมื่อวันที่ : 31 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 2 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กาญจนบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  “มุมมองใหม่ : การพัฒนาองค์กร
  วันที่บันทึก  20 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด
๑.การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ร่วมบริการ จังหวัดกาญจนบุรี

                    ศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี (Government Counter Service of Kanchanaburi) คือศูนย์บริการการร่วมรูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดหน่วยให้บริการในลักษณะของเคาน์เตอร์หรือหน่วยงานเคลื่อนที่ไป ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีประชาชนสัญจรไปมาจำนวนมาก

           ศูนย์ บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแนวคิดเชิงนวัตกรรมของการจัดการให้บริการภาครัฐในยุคใหม่ เพื่อพัฒนาและยกระดับการบริการจากภาครัฐที่ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้กำหนดให้กระทรวง จังหวัด และอำเภอจัดให้มีศูนย์ร่วมบริการขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการ ติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องต่างๆ โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี มีบริการหลัก จำนวน ๒๗ บริการ คือ

๑.การให้บริการข้อมูล/ข่าวสาร จำนวน ๙ งานบริการ

๑.๑ ข้อมูลตำแหน่งว่าง/ข่าวสารการรับสมัครงาน

๑.๒ เอกสารเผยแพร่ด้านภาษี

๑.๓ เอกสารข่าวสารด้านไข้หวัดนก

๑.๔ ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า

๑.๕ การบริการข้อมูลทางสถิติ

๑.๖ ข่าวการรับสมัครฝึกอาชีพ

๑.๗ ประชาสัมพันธ์งานด้านประกันสังคม

๑.๘ สิทธิประโยชน์แรงงานในต่างประเทศ

๑.๙ ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน

๒.การให้บริการรับเรื่องส่งต่อ จำนวน ๙ งานบริการ

๒.๑ การลงทะเบียนผู้สมัครงาน

๒.๒ แจ้งตำแหน่งงานว่างจากนายจ้าง

๒.๓ ขอติดตั้งประปา

๒.๔ การขอใบแทนภาษีมูลค่าเพิ่ม

๒.๕ การรับจดทะเบียนคนพิการ

๒.๖ ต่อสมุดคนพิการ

๒.๗ รับข้อร้องเรียนกรณีนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

๒.๘ ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน

๒.๙ รับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรม

๓.การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ จำนวน ๙ งานบริการ

๓.๑ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีทุกประเภท ทาง INTERNET

๓.๒ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทาง INTERNET

๓.๓ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

๓.๔ การขออนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย

๓.๕ ขอแบบแปลนบ้าน/อาคารพาณิชย์

๓.๖ งานทะเบียน

๓.๗ รับแจ้งความ

๓.๘ งานบัตรประจำตัวประชาชน

๓.๙ งานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี

           ศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับรางวัล ดังนี้

-รางวัลเสริมสร้างภาพลักษณ์ดีเด่น เคาน์บริการประชาชนจังหวัด

-รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน

-รางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน

               ๒. ได้ฟังสัมมนาหัวข้อ “ใครคิดว่าการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐนั้นไม่สำคัญ”

จาก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง กฎหมาย และความก้าวน้าทางเทคโนโยลีสารสนเทส ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้รัฐบาลต้องปฏิรูประบบราชการ ที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับ เคลื่อนควบคู่กับการพัฒนาองค์กร โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารประเทศไปจากเดิม มาเป็นแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) องค์กรได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีการบริหารงานไปจากเดิมเป็นการให้ความสำคัญต่อทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (input) และอาศัยกฎระเบียบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง สุจริตและเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินการในแง่ของผลผลิต(output) และผลลัพธ์ (outcome)ความคุ้มค่าของเงิน (value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการโดยนำ เทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้มีประสิทธิภาพก่อให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุดขององค์กร

พระ ราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้กำหนดเกณฑ์ประเมินคุณภาพ ๗ หมวด และสำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดภาคบังคับในการพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดที่ ๑๒ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) น้ำหนักร้อยละ ๒๐ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

ระดับ ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมายถึง ความสำเร็จที่ส่วนราชการระดับสำนักกองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินระดับมาตรฐานสากล เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จทั้งต่อความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการ

                 ๓. ได้ฟังบรรยายเรื่อง Benchmarking แต้มต่อพัฒนาองค์กร (เอกสาร)

                 ๔.ดูงาน บริษัทกระดาษไทย จำกัด (โรงงาน) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

                  บริษัทกระดาษไทย จำกัด (โรงงาน) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ใช้ Total Productive Management (TPM) หรือการจัดการผลผลิตทั่วทั้งองค์กร ,มี Concept : Increasing Production BAD to Zero (B=break down, A=Accident, D=Defect) ประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด อุบัติเหตุเป็นศูนย์

Total Productive Management  (TPM) ใช้หลัก

        –ปรับปรุงคน

         -ปรับปรุงเครื่องจักร

          -ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร

          ๘ เสาหลักของ Total Productive Management  (TPM)

           ๑. การดูแลเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

           ๒.การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง(Kobetsu Kazen)

           ๓.การบำรุงรักษาตามแผน(Planned Maintenance)

           ๔.การฝึกอบรม(Education Training)

           ๕.การบริหารให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น(Initial Phase Management)

           ๖.การรักษาคุณภาพ(Quality Management)

           ๗.การเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน(Administrative &Supporting Department)

           ๘.การจัดสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย(Safety, Health and Environment)

          บริษัทกระดาษไทย จำกัด (โรงงาน) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้รับรางวัล

- The Deming Application Prize

-Thailand Quality Award


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

        

            ได้นำหลักการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน มาประยุกต์ใช้ในการสอนรายวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล ในหัวข้อ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารและสิทธิของประชาชน

-ได้ นำหลักการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน มาประยุกต์ใช้ในการบริการวิชา เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จทั้งต่อความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(282)

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการจักการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๒ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการและขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรเพื่อเพิ่มทักษะการดูแลสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Health Care)

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการจักการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๒ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการและขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรเพื่อเพิ่มทักษะการดูแลสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Health Care)
ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 ม.ค. 2513   ถึงวันที่  : 1 ม.ค. 2513
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการจักการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๒ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการและขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรเพื่อ เพิ่มทักษะการดูแลสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Health Care)
  วันที่บันทึก  7 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

                         ๑.กรอบแนวคิด และผังความรู้ในรายวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชาทางการพยาบาล

                           ๒.การจัดรายละเอียดของวิชาตามกรอบแนวคิด และผังความรู้ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

                                ๓.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

                           การประชุมครั้งที่ ๒ ได้ฟังบรรยาย “กรอบแนวคิด และผังความรู้ในรายวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชาทางการพยาบาล” ได้ประชุมกลุ่มย่อยจัดรายละเอียดของวิชาตามกรอบแนวคิดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculumsmapping)และจัดทำ ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ในเนื้อหาแต่ละบทของรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต และเขียนแผนการสอน สื่อการสอน และการวัดประเมินผล โดยวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายวิชาเพื่อจัดทำผังข้อสอบ (Test specification) และสร้างข้อสอบรายวิชาเขียนรายละเอียดวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตตามผังข้อสอบ   นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่  ๒๗- ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ได้ชุดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ไปใช้ในการเรียนการสอนในวิทยาลัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(291)

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการจักการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๑ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการจักการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๑ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
 ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 30 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 1 เม.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการจักการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๑ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
  วันที่บันทึก  16 เม.ย. 2554


 รายละเอียด
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

                         ๑.ประเด็นการออกแบบการสอนแบบบูรณาการ ๖ รายวิชาการพยาบาล

                           ๒.การจัดทำรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ให้สอดคล้องกับรายละเอียดวิชา (มคอ๓) และผังมโนทัศน์

                                ๓.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

                          ๔. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายวิชาเพื่อจัดทำผังข้อสอบ (Test specification) และสร้างข้อสอบรายวิชาเขียนรายละเอียดวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตตามผังข้อสอบ                                                          

 การประชุมครั้งที่ 1 ได้ประชุมกลุ่มย่อยจัดทำรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculums mapping)และจัดทำ ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ในเนื้อหาแต่ละบทของรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต และเขียนแผนการสอน สื่อการสอน และการวัดประเมินผล โดยวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายวิชาเพื่อจัดทำผังข้อสอบ (Test specification) และสร้างข้อสอบรายวิชาเขียนรายละเอียดวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตตามผังข้อสอบ   นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่  ๙-๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ได้ชุดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ไปใช้ในการเรียนการสอนในวิทยาลัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ปฏิบัติการสอนโดยใช้เทคนิคและการสื่อสารที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อ ให้การสอนมีประสิทธิภาพ

(282)

การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 เรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต ”

การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 เรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต ”
ผู้บันทึก :  นายสุทัศน์ เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 เรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต “
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต เป็นการให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรสุขภาพที่มีคุณสมบัติต้องเป็น ผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต และในการเป็นสถาบันอุดมศึกษานอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาแล้ว ต้องมุ่งผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพให้สามารถทำหน้าที่พัฒนาระบบสุขภาพ ชุมชน ในทิศทางของการพัฒนาการจัดบริการสุขภาพด้วยหัวใจและมีความเข้าใจในมนุษย์ โดยรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ในการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวใจความเป็นมนุษย์ การสอนสุขภาพ : เข้าถึงชีวิตเข้าถึงสุขภาพ หัวใจความเป็นมนุษย์…. ความเอื้ออาทร ..สู่การเข้าใจชีวิต ความเข้าใจมนุษย์ เป็นหลักที่วิชาชีพพยาบาลถือเป็นที่หนึ่ง การทำงานกับชีวิตคน หากไม่เข้าใจคน ไม่เข้าใจสุขภาพในความคิดของประชาชนแล้วการให้บริการจะถึงใจประชาชนก็คงทำ ได้ยาก การสอนสุขภาพ…เข้าใจชีวิตเข้าถึงสุขภาพ มองต่างมุมเรื่องสุขภาพชาวบ้านคิดอย่างไร สาธารณสุขคิดอย่างไรถ้ามีความเข้าใจตรงกันแล้วจะทำให้การจัดการเรียนการสอน มีความเข้าใจประชาชนมากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการจะให้บริการที่เข้าถึง เข้าใจ ในตัวผู้รับบริการอย่างแท้จริงนั้น ผู้ให้บริการต้องมีการเรียนรู้จากชีวิตจริง เพื่อที่จะทำความเข้าใจ ที่มาที่ไปในเหตุผลของการกระทำพฤติกรรมของคนและปรับทัศนคติในการมองโลกโดย ไม่ใช้กรอบของตัวเองในการตัดสิน มองเห็นความเป็นจริงของผู้รับบริการที่มีบริบทพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่แตก ต่างกัน และกระบวนการดังกล่าวต้องมีเริ่มต้น และพัฒนามาจากการการเรียนการสอนและหลักสูตรที่ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิด ทักษะการมองความจริงของคน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะติดตัวนำไปสู่การให้บริการด้วยหัวใจความเป็น มนุษย์จากความเอื้ออาทรไปสู่ความเข้าใจชีวิต อันจะนำไปสู่การให้บริการที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับ บริการมากที่สุด


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการศึกษาด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การจัดการสอนบูรณาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการศึกษา ด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ การสอนทางสุขภาพ ที่เข้าใจชีวิตและเข้าถึงสุขภาพ

(263)