ผู้บันทึก : นางจิราภรณ์ กาญจนะ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : สัมมนาและศึกษาดูงาน | |
เมื่อวันที่ : 31 พ.ค. 2554 ถึงวันที่ : 2 มิ.ย. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | |
จังหวัด : กาญจนบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : “มุมมองใหม่ : การพัฒนาองค์กร | |
วันที่บันทึก 20 มิ.ย. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
๑.การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ร่วมบริการ จังหวัดกาญจนบุรี
ศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี (Government Counter Service of Kanchanaburi) คือศูนย์บริการการร่วมรูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดหน่วยให้บริการในลักษณะของเคาน์เตอร์หรือหน่วยงานเคลื่อนที่ไป ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีประชาชนสัญจรไปมาจำนวนมาก ศูนย์ บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแนวคิดเชิงนวัตกรรมของการจัดการให้บริการภาครัฐในยุคใหม่ เพื่อพัฒนาและยกระดับการบริการจากภาครัฐที่ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้กำหนดให้กระทรวง จังหวัด และอำเภอจัดให้มีศูนย์ร่วมบริการขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการ ติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องต่างๆ โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี มีบริการหลัก จำนวน ๒๗ บริการ คือ ๑.การให้บริการข้อมูล/ข่าวสาร จำนวน ๙ งานบริการ ๑.๑ ข้อมูลตำแหน่งว่าง/ข่าวสารการรับสมัครงาน ๑.๒ เอกสารเผยแพร่ด้านภาษี ๑.๓ เอกสารข่าวสารด้านไข้หวัดนก ๑.๔ ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า ๑.๕ การบริการข้อมูลทางสถิติ ๑.๖ ข่าวการรับสมัครฝึกอาชีพ ๑.๗ ประชาสัมพันธ์งานด้านประกันสังคม ๑.๘ สิทธิประโยชน์แรงงานในต่างประเทศ ๑.๙ ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน ๒.การให้บริการรับเรื่องส่งต่อ จำนวน ๙ งานบริการ ๒.๑ การลงทะเบียนผู้สมัครงาน ๒.๒ แจ้งตำแหน่งงานว่างจากนายจ้าง ๒.๓ ขอติดตั้งประปา ๒.๔ การขอใบแทนภาษีมูลค่าเพิ่ม ๒.๕ การรับจดทะเบียนคนพิการ ๒.๖ ต่อสมุดคนพิการ ๒.๗ รับข้อร้องเรียนกรณีนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ๒.๘ ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน ๒.๙ รับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรม ๓.การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ จำนวน ๙ งานบริการ ๓.๑ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีทุกประเภท ทาง INTERNET ๓.๒ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทาง INTERNET ๓.๓ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ๓.๔ การขออนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ๓.๕ ขอแบบแปลนบ้าน/อาคารพาณิชย์ ๓.๖ งานทะเบียน ๓.๗ รับแจ้งความ ๓.๘ งานบัตรประจำตัวประชาชน ๓.๙ งานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี ศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับรางวัล ดังนี้ -รางวัลเสริมสร้างภาพลักษณ์ดีเด่น เคาน์บริการประชาชนจังหวัด -รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน -รางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน ๒. ได้ฟังสัมมนาหัวข้อ “ใครคิดว่าการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐนั้นไม่สำคัญ” จาก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง กฎหมาย และความก้าวน้าทางเทคโนโยลีสารสนเทส ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้รัฐบาลต้องปฏิรูประบบราชการ ที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับ เคลื่อนควบคู่กับการพัฒนาองค์กร โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารประเทศไปจากเดิม มาเป็นแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) องค์กรได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีการบริหารงานไปจากเดิมเป็นการให้ความสำคัญต่อทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (input) และอาศัยกฎระเบียบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง สุจริตและเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินการในแง่ของผลผลิต(output) และผลลัพธ์ (outcome)ความคุ้มค่าของเงิน (value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการโดยนำ เทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้มีประสิทธิภาพก่อให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุดขององค์กร พระ ราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้กำหนดเกณฑ์ประเมินคุณภาพ ๗ หมวด และสำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดภาคบังคับในการพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดที่ ๑๒ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) น้ำหนักร้อยละ ๒๐ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ระดับ ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมายถึง ความสำเร็จที่ส่วนราชการระดับสำนักกองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินระดับมาตรฐานสากล เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จทั้งต่อความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการ ๓. ได้ฟังบรรยายเรื่อง Benchmarking แต้มต่อพัฒนาองค์กร (เอกสาร) ๔.ดูงาน บริษัทกระดาษไทย จำกัด (โรงงาน) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี บริษัทกระดาษไทย จำกัด (โรงงาน) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ใช้ Total Productive Management (TPM) หรือการจัดการผลผลิตทั่วทั้งองค์กร ,มี Concept : Increasing Production BAD to Zero (B=break down, A=Accident, D=Defect) ประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด อุบัติเหตุเป็นศูนย์ Total Productive Management (TPM) ใช้หลัก –ปรับปรุงคน -ปรับปรุงเครื่องจักร -ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ๘ เสาหลักของ Total Productive Management (TPM) ๑. การดูแลเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) ๒.การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง(Kobetsu Kazen) ๓.การบำรุงรักษาตามแผน(Planned Maintenance) ๔.การฝึกอบรม(Education Training) ๕.การบริหารให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น(Initial Phase Management) ๖.การรักษาคุณภาพ(Quality Management) ๗.การเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน(Administrative &Supporting Department) ๘.การจัดสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย(Safety, Health and Environment) บริษัทกระดาษไทย จำกัด (โรงงาน) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้รับรางวัล - The Deming Application Prize -Thailand Quality Award |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
ได้นำหลักการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน มาประยุกต์ใช้ในการสอนรายวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล ในหัวข้อ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารและสิทธิของประชาชน -ได้ นำหลักการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน มาประยุกต์ใช้ในการบริการวิชา เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จทั้งต่อความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
(283)