ผู้บันทึก : นางสาวจามจุรี แซ่หลู่, นางวันดี แก้วแสงอ่อน และ นางสาวลักษณ์นันท์ เดชบุญ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553 ถึงวันที่ : 10 ก.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช | |
จังหวัด : นครศรีธรรมราช | |
เรื่อง/หลักสูตร : การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ” | |
วันที่บันทึก 13 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
Osteoporosis (กระดูกพรุน) ร่างกายของคนเราจะมีการสร้างและการทำลายของกระดูกตลอดเวลา และมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้คงทนกับการใช้แรงต่างๆ เซลล์กระดูกที่สร้างขึ้นมาจะมีอายุอยู่ได้นานมากประมาณ 10 ปี ในการสร้างกระดูกจะมี osteocyte เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ ซึ่งการกระตุ้นจะส่งผ่านไปยังเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายขนเป็นตัวรับรู้ แล้วส่งข้อมูลผ่านไปยังเซลล์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการรับรู้ได้ทุกเซลล์กระดูก ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า communication of osteocyte โดยปกติร่างกายจะมีการสร้างและการทำลายของเซลล์กระดูกที่สมดุลกัน เมื่อไรที่ทำให้ขาดความสมดุลของการสร้างและการทำลายก็ทำให้เกิดภาวะกระดูก พรุนได้ ภาวะกระดูกพรุนพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงจะพบได้บ่อยในช่วงที่หมดประจำเดือนใหม่ๆ กระดูกพรุนในผู้หญิงและในผู้ชายจะแตกต่างกัน กระดูกพรุนในผู้หญิงจะเกิดจากการทำลายมาก ส่วนในผู้ชายเกิดจากการสร้างกระดูกน้อย ทำให้ผู้หญิงมีกระดูกเสียหายและบางมากกว่าผู้ชาย วัตถุประสงค์ของการรักษากระดูก คือการทำให้มีการทำงานภายในเซลล์มีการทำงานที่ดี คงความหนาแน่นของมวลกระดูกไว้ ลดปวด ลดความพิการผิดรูป ป้องกันการเกิดการหักของกระดูก ป้องกันการเกิด และการค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงและให้ความรู้ การรักษาทำได้โดยทั้งใช้ยาและไม่ใช้ยา โดยไม่ใช้ยาแนะนำให้ดื่มนมและไม่ควรดื่มพร้อมกับผัก เพราะในผักจะมีสารที่ทำให้ลดการดูดซึมของแคลเซียม แนะนำให้ผู้ป่วยเดินออกแดดบางในช่วงเช้า รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง การออกกำลังกาย การจัดท่าทางของร่างกายที่ถูกต้อง ในผู้หญิงหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟมากกว่าวันละสองแก้ว เพราะว่าแคลเซียมจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะมากกว่าปกติ การรักษาโดยการใช้ยา วิธีการใช้ยาที่ดีที่สุดคือการพยายามจะทำให้เกิดความสมดุลของการสร้างและการ ทำลาย ในการใช้ยาต้องระวัง เพราะว่ายาบางตัวทำให้กระดูกแข็งแต่เปราะได้ง่าย ยาที่ใช้มีทั้งยาที่กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก ยาพวกฮอร์โมนซึ่งส่วนใหญ่จะจ่ายโดยสูติแพทย์ การให้แคลเซี่ยม (Calcitonin) ให้ parathyroid hormone ยาออกฤทธิ์ต้านเซลล์ที่ทำลายกระดูก เป็นยาในกลุ่ม bisphophonate เช่น alendonate ให้วิตามินเค ยาprotaxose เป็นยาที่ช่วยในการสร้างกระดูก ยาทุกตัวที่ใช้ไม่ได้แนะนำให้ใช้ตลอดชีวิต เป็นการใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น เมื่อเริ่มอายุมากขึ้น ก็เริ่มด้วยการให้ฮอร์โมน ต่อไปจึงจะเริ่มให้ยาตัวอื่นๆ การปวดหลัง (Low Back Pain) ภาวะของอาการปวดหลังพบได้มาก เมื่อมีอาการปวดหลังผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจให้แน่ชัดเพื่อหาสาเหตุที่ทำ ให้เกิดอาการปวด ซึ่งอาการปวดอาจเกิดได้จากการผิดปกติของการเลื่อนของหมอนรองข้อกระดูก หมอนรองกระดูกถูกกด กระดูกเลื่อน กระดูกหัก การรักษาอาการปวด สามารถรักษาได้หลายๆ วิธี เช่นการให้ยาลดปวด ในรายที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผลก็รักษาโดยการผ่าตัด การฝังเข็ม การออกกำลังกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยรองรับการกระแทก ของกระดูก ยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ (1) Non-opioids- paracetamol, NSAIDs, and Selective COX-2 Inhibitors; (2) Opioids- Weak opioids (Codeine, Tramadol) and Strong opioids (Morphine, Fentanyl); and (3) Adjuvants- antidepressants and anticonvulsants การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เมื่อคนเราอายุมากขึ้นสิ่งที่ลดลงคือ อัตราการเผาผลาญพลังงานลดลง การบีบตัวของหัวใจลดลง มีประสิทธิภาพลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความหนาแน่นของกระดูกลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน การขยายตัวของปอดไม่เต็มที่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีความดันในขณะหัวใจคลายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดมาการตีบตัวหนาตัว มากขึ้น ทำให้แรงต้านการบีบตัวเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเห็นว่ามีความเสื่อมเกิดขึ้นเหมือนกันแต่จะเกิดช้ากว่าคนที่ออกกำลังกาย หรืออาจพูดได้ว่าการออกกำลังกายทำให้ช่วยชะลอความสูงวัยได้ การออกกำลังกายในขณะที่สูงวัยก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการชะลอ ความเสื่อมได้เหมือนกันและเกิดความฟิตของร่างกายได้ การออกกำลังกายในผู้สูงวัยจะปลอดภัยหรือไม่ ก็ต้องตรวจร่างกายดูก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นการดูปัญหาสุขภาพ เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนและหาวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงข้อห้ามต่างๆ จะปกติแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม แข็งแรงดี เริ่มมีความเสี่ยง มีโรคประจำตัวอยู่ ปัจจัยเสี่ยง อายุมาก มีโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง ไม่มีกิจวัตรประจำวัน ก่อนที่จะออกกำลังกายเพื่อความปลอดภัยควรจะได้ตรวจสอบ Senior Fitness Test (SFT) เป็นการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา ความคล่องตัว น้ำหนักตัว การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเมื่อวัดจะบอกถึงการทำหน้าที่ในการใช้งาน การทดสอบโดยการลุกนั่งจากเก้าอี้เพื่อดูกำลังขา เพื่อบอกว่าสามารถขึ้นลงบันไดได้ไม่ นั่งกอดอกแล้วลุกขึ้นลงแล้วดูว่าทำได้กี่ครั้ง ทดสอบโดยการยกน้ำหนักประมาณ 5-8 ปอนด์ ดูว่ามีความทนไม่ ทำได้โดยการเดินในเวลา 6 นาที ว่าเดินได้ประมาณกี่เมตร ทดสอบโดยการยกเข่า ทดสอบการยืดขาแล้วใช้มือไปแตะ ทดสอบโดยการเอื้อมมือไปแตะมืออีกข้างด้านหลัง วัดความเร็วในการเดิน การวัด body mass index (normal ไม่เกิน 23) ข้อมูลของการตรวจสอบที่ได้จะช่วยบอกแนวทางในการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับ ผู้สูงวัยได้ ซึ่งการออกกำลังกายจะมีทั้ง Aerobic exercise เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ Strengthening Exercise เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Flexible Exercise การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น Balance Exercise เป็นการออกกำลังกายเพื่อรักษาความสมดุล การทรงตัว เช่นการรำมวยจีน การเต้นรำ Functional Exercise Training โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โรคข้อเสื่อม เป็นโรคเกี่ยวกับข้อที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของความพิการได้มากในคน สูงอายุ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามโรคนี้มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของข้อต่อ โดยมีการทำลายของกระดูกอ่อนมากกว่าการสร้าง อาการสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ปวดข้อ การอักเสบ ซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่มีการทำลายกระดูกอ่อนแล้วก่อให้เกิดปัจจัยที่ไป กระตุ้นกระบวนการอักเสบขึ้นในน้ำไขข้อ (synovial fluid) พบว่าข้อที่เสื่อมจะมีการสร้าง cytoclines และสารสื่อชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบขึ้นมาเป็นปริมาณมาก การรักษาโรคข้อเสื่อม มีทั้งการให้คำแนะนำและการใช้ยา การให้คำแนะนำ ทำได้โดยแนะนำให้ลดน้ำหนัก การออกกำลังกายที่พอเหมาะเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงช่วยพยุงกระดูก งดการออกกำลังกายที่ทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมาก สำหรับการใช้ยา ยาที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ยาที่รักษาตามอาการ แบ่งออกเป็น 1.1 ยาบรรเทาปวด (analgesics) และยาบรรเทาอาการกลุ่ม NSAIDs ยาบรรเทาปวดที่ใช้กันมากได้แก่ paracetamol ส่วนยากลุ่ม NSAIDs มีใช้ทั้งชนิดที่เป็น cyclooxygenase (COX) nonspecific inhibitors เช่น ibuprofen, diclofenac ซึ่งยาเหล่านี้จะออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ชนิด COX-2 selective inhibitors เช่น nimesulid, nabumetone ชนิด COX-2 specific inhibitors เช่น celecoxib เป็นยาที่ไม่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร 1.2 Slow-acting, anti-osteoarthitic drugs ยาจะออกฤทธิ์อย่างช้าๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบของข้อเสื่อมได้ ไม่ระคายเคืองทางเดินอาหาร 2. ยาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการรุดหน้าของโรค (disease modifying-anti-osteoarthitic drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช่วยปกป้องเซลล์กระดูกอ่อนไม่ให้ถูกทำลายและช่วยซ่อมแซม กระดูกอ่อนที่ถูกทำลายไป ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ diacerein ช่วยบรรเทาอาการของโรคข้อเสื่อมได้ดี ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ใช้รับประทานในขนาดครั้งละ 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง จากการศึกษาในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่ายานี้อาจมีฤทธิ์ช่วยชะลอการรุดหน้าของ โรคข้อเสื่อมได้
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การสอนภาคปฏิบัติ ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง |
(321)