ผู้บันทึก : นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 9 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 10 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย) มหาวิทยาลัยมหิดลและภาคีเครือข่าย | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : “เพศกับบุหรี่: จุดเน้นการตลาดในผู้หญิง” | |
วันที่บันทึก 31 ส.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ จากผลการสรุปสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทยปี พ.ศ. 2552 ของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) พบว่าอัตราการบริโภคยาสูบของประชาชนลดลงจาก 21.22% ในปี พ.ศ.2550 เป็น 20.70% ในปี พ.ศ. 2552 แต่จำนวนผู้บริโภคยาสูบกลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 10.86 ล้านคนในปี พ.ศ. 2550 เป็นจำนวน 10.90 ล้านคนในปี พ.ศ. 2552 จากการเพิ่มขึ้นของนักสูบหน้าใหม่ นอกจากนั้นยังพบว่า ช่วงอายุที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุด คือ ประชากรอายุ 25-59 ปี รองลงมาคือช่วงอายุ 19 – 24 ปี ช่วงอายุ 60 ปี และ 15 – 18 ปีตามลำดับ และเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มอายุ 15 – 24 ปีมีอัตราสูบบุหรี่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จากการศึกษายังพบว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีการศึกษาน้อย อยู่ในชนบท และยากจน จากรายงานพบว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชมีผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 21.84 ของประชากร การออกมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 พบว่ามาตรการด้านการเพิ่มภาษีบุหรี่และการห้ามโฆษณาจัดว่าเป็นมาตรการที่มี ประสิทธิผลสูงสุดในการลดอัตราการบริโภคยาสูบ รองลงมาคือการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ด้วยสื่อ มาตรการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและมาตรการเตือนภัยจากบุหรี่และในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 เรื่องการกำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดัง กล่าวเป็นเขตสูบบุหรี่หรือปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2553 โดยสถานที่ที่ประกาศเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ทั้งหมดได้แก่ สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ สถานศึกษา และสถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สถานที่ออกกำลังกายและสถานการกีฬา ร้านค้า สถานบริการและสถานบันเทิง บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร สถานบริการทั่วไป สถานที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะทั่วไปและยานพาหนะและสถานีขนส่งสาธารณะ และศาสนสถาน สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ ในปี พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำขวัญว่า “Gender and Tobacco with an emphasis on marketing to women” ให้แก่ประเทศสมาชิกและประชาคมโลก โดยประเทศไทยได้ขานรับนโยบายนี้โดยการให้ความสำคัญและมุ่งเป้าหมายไปยังการ ควบคุมยาสูบและส่งเสริมการปลอดบุหรี่ในผู้หญิง จากการอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นของเพศกับบุหรี่: จุดเน้นการตลาดในผู้หญิง สรุปได้ว่าการสูบบุหรี่ในผู้หญิงเป็นการแสดงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการปลด ปล่อยตนเองจากอำนาจของเพศชาย และเป็นการแสดงความเท่าเทียมของเพศหญิงต่อเพศชายในมุมมองของผู้หญิงที่สูบ บุหรี่ ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้หญิงหลุดพ้นจากค่านิยมนี้ ควรมีมาตรการที่แยกการสูบบุหรี่ออกจากความก้าวหน้าในการแสดงความเท่าเทียม ทางเพศ นอกจากวิทยากรยังอ้างอิงถึงผลการวิจัยที่ระบุว่าผู้หญิงมีอัตราเสี่ยงต่อ อันตรายจากการสูบบุหรี่มากกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีการย่อยสลายสารนิโคตินช้ากว่าเพศชาย มีโอกาสเสพติดสารนิโคตินสูงกว่าเพศชาย มีความไวต่อสารพิษและสารก่อมะเร็งมากกว่าเพศชาย และมีกระบวนการกำจัดสารพิษต่างๆแย่กว่าเพศชาย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่นอกจากจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับผู้ชายแล้วการสูบ บุหรี่ยังส่งผลโดยตรงต่อการชราก่อนวัย โดยส่งผลกระทบต่อความชราของเซลล์ผิวหนัง และทำให้มีหนังมีความยืดหยุ่นลดลง ผู้หญิงที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายในระยะตั้งครรภ์ยัง ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และน้ำหนักตัวตัวทารกแรกคลอดด้วย
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
นำไปใช้ประกอบการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเรียนการสอนรายวิชา.การส่งเสริมสุขภาพ |
(335)