ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และ นางเกษรา วนโชติตระกูล | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 26 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต” | |
วันที่บันทึก 6 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
ก. การบรรยายเรื่อง “ชีวิตคือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือชีวิต” โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต โลกปัจจุบันนี้ ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอด ดังนั้น ในการดำเนินชีวิตจึงอาศัยการปรับตัวอย่างมาก ซึ่งการปรับตัวนั้นต้องอาศัยความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญ มีการยกตัวอย่างบุคคลหลากหลายอาชีพที่ได้มาศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตคือ ต้องจัดการชีวิตของตนให้เป็นระเบียบและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ก่อน มีการตั้งเป้าหมายในชีวิต เพื่อเป็นเส้นชัยให้เราเดินไปถึง อยู่อย่างไรให้พอเพียงในยุคนี้ เรียนรู้ให้สามารถอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เชื่อมั่น รู้ว่ารากเหง้าของตนมาจากไหน คนเราไม่มีใครไม่รู้อะไรเลย และไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ดังนั้น เราจึงควรมาเรียนรู้ด้วยกัน พร้อมกัน ต้องมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการระเบิดจากข้างใน นั่นคือ การมีจิตสำนึกของตัวเอง ครอบครัว และชุมชน มีการยกตัวอย่างการพัฒนาชุมชนโดย อบต. ซึ่งทำครบวงจร ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยสรุป ขั้นตอนของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย ๓ S ได้แก่ รอด (Survived) พอเพียง (Sufficient) และ ยั่งยืน (Sustainable) และอาศัยขุมทรัพย์ในชุมชน ได้แก่ ทุนทรัพยากร ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม การได้รับปริญญาชีวิต ต้องมีการปรับวิธีคิด จัดระเบียบชีวิต และสร้างสมดุลให้กับชีวิต ข. การบรรยายเรื่อง “การปฎิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา การจัดการศึกษาในประเทศไทย อาจจะไม่เป็นที่พึงพอใจของคนในสังคมเท่าไรนัก มีการจัดการศึกษาสำหรับคนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น ผู้พิการ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีปริมาณมาก เป็นของรัฐ ๒ ใน ๓ แต่คุณภาพไม่แน่ใจ บางสาขามีปริมาณมาก คนเรียนมาก พบข้อจำกัดในการกำกับสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ความเป็นอิสระทางวิชาการ การเมือง มีคนต้องการเรียนในสายสามัญ เข้าสู่มหาวิทยาลัยมาก ต้องมีการปรับสัดส่วนให้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น โดยอีกประมาณ ๘ ปีข้างหน้าต้องปรับสัดส่วนสายอาชีพต่อสามัญ เป็น ๖๐ ต่อ ๔๐ การปฏิรูปการศึกษาของไทย ต้องเปิดช่องทางอื่นๆ ให้ได้เรียน มากกว่าเข้ามหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาด และใช้ TQF มาควบคุม สิ่งที่มหาวิทยาลัยยังต้องพัฒนาอีกต่อไปคือ การวิจัย การเป็นมหาวิทยาลัยที่แท้จริง คือ การบุกเบิกความรู้ใหม่ๆ ไม่ใช่ ผู้สอนหนังสือเท่านั้น รวมทั้งการบริการวิชาการ เอาความรู้ที่ได้จากการวิจัยย่อยสู่คนในสังคม ไม่ใช่ ทำแค่พิธีกรรม หน้าที่มหาวิทยาลัย เน้นคุณภาพบัณฑิต มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ กระจายสู่ชาวบ้าน ค. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา “เปลี่ยนความคิด พิชิตความจริง” ทัศนคติกับการเรียนการสอน ทัศนคติเป็นเรื่องของมุมมอง การคิดของแต่ละคน การปรับมุมมอง ต้องใช้สถานการณ์จริง และทำซ้ำๆๆๆ การสอนทัศนคติและเนื้อหาสาระต้องควบคู่กัน ควรรับฟังความคิดของผู้อื่น ดูเงื่อนไข ความจำเป็นของเค้าก่อนตัดสิน ง. เสวนา “ครอบครัวเดียวกัน” ตัวแทนนักศึกษา ๕ วิทยาลัย (พะเยา ขอนแก่น จักรีรัช ชลบุรี และนครศรีธรรมราช) เล่าถึงกิจกรรมครอบครัวเดียวกันของแต่ละวิทยาลัย และความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักศึกษาทุกวิทยาลัยรู้สึกอบอุ่น กล้าพูด สามัคคี เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จ. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา “ทฤษฎีการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ในชีวิตจริง” การศึกษาคือการเรียนรู้ ไม่ควรให้กรอบทฤษฎีมาทำให้ปิดกั้นไม่เห็นชีวิตจริง เน้นการเรียนรู้จากการสังเกต ประสบการณ์ชีวิต ปฏิบัติจริง ด้วยน้ำมือและหัวใจ มากกว่าท่องจำจากตำรา ธรรมชาติการเรียนรู้ของคน เริ่มจากปัญหาความต้องการของบุคคล เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สรุปเป็นแนวคิดรวบยอด นำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับชีวิตจริง คิดค้นต่อยอดทฤษฎีอื่นๆได้ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติของตนให้ดียิ่งขึ้น
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาศึกษาจากสภาพจริง เช่น การสัมภาษณ์จากผู้ป่วย การสังเกตอาการของผู้ป่วย และการประเมินผลที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจ้ดการเรียนการสอนรายวิชาภาคทฤษฎีและภาพปฏบิติ |
(342)