Grant Proposal Writing Workshop

Grant Proposal Writing Workshop
ผู้บันทึก :  นางสาว ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 13 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 15 ต.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิเทศสัมพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  Grant Proposal Writing Workshop
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ การเขียนขอทุนสาธารณสุขจากต่างประเทศผู้เขียนขอทุนต้องรู้จักที่จะสร้างตน เองให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทางด้านวิชาการ โดยการทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ การเผยแพร่ผลงานของตนเองโดยการตีพิมพ์หรือนำเสนอผลงานในระดับชาติและนานา ชาติ มีประสบการณ์หรือผลงานที่ทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่ต้องการขอทุน ผู้ขอทุนควรมีการสร้างเสริมความสามารถของตนเองในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในองค์กร การจัดทำ Journal club นอกจากนั้นควรมีการส่งเสริมให้องค์กรที่ตนเองอยู่เป็นที่รู้จัก มีเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะขอทุน โดยมีพันธกิจขององค์กรที่ชัดเจน มีการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคคลและองค์กรในระดับท้องถิ่น มีการเผยแพร่ผลงานของบุคลากรในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดทำประวัติผู้ขอทุน (Curriculum Vitae) ของบุคลากรและขององค์กร และ มีแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของบุคคลในการองค์กรในการทำวิจัย เช่น การมีฐานข้อมูลสำหรับสืบค้นงานวิจัยที่สามารถใช้งานได้จากระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตในสถาบัน การมีการจัดทำการประกันคุณภาพงานวิจัย การจัดระบบอำนวยความสะดวกในการทำวิจัยแก่บุคลากร รวมถึงการทำงานกับบุคคลที่อยู่สาขาอาชีพต่าง ไม่จำกัดเฉพาะบุคลากรทางการพยาบาลหรือสาธารณสุข หัวข้อในการเขียนขอทุนควรเป็นทุนที่ขอเพื่อการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือมีผลต่อ การออกนโยบาย ต้องสามารถเขียนชี้ให้เห็นได้ว่าผลที่ได้รับจากการดำเนินการตามโครงการที่ เขียนขอทุน จะส่งผลต่อนโยบายอย่างไร การเขียนขอทุนให้เป็นที่น่าสนใจควรนำเสนอปัญหาในท้องถิ่นที่คาดว่าจะเป็นที่ สนใจขององค์กรต่างประเทศ เช่น เรื่องของการประกันสุขภาพ การกระจายระบบบริการสุขภาพสู่ท้องถิ่นเป็นต้น นอกจากนั้นลักษณะของโครงร่างการขอทุนที่ดีควรจะสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข (knowledge gap) และชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งคำตอบเหล่านั้น (close gap) จากผลที่ได้รับจากการทำวิจัยเรื่องที่เขียนเสนอขอทุน ข้อมูลที่ใช้ในการสนับสนุนความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาควรมาจากการสืบค้น อย่างเป็นระบบ (systemic review) และที่สำคัญวิจัยที่เขียนขอทุนควรเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ผลที่ได้รับจากการทำวิจัยสามารถที่จะนำไปใช้กับพื้นที่อื่นได้ (Generalize) และต้องแสดงได้ว่าผู้ให้ทุนจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนการทำวิจัยครั้ง นี้อย่างไร ตัวอย่างรายชื่อทุนวิจัยต่างประเทศที่นำมาเสนอในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ Rockefeller Foundation, EU, WHO, AUSIAD


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ประกอบการเขียนขอทุนวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับแก่ผู้ร่วมงานที่ต้องการเขียนขอทุนวิจัยต่างประเทศ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ และงานวิเทศสัมพันธ์

(276)

Grant proposal writing workshop

Grant proposal writing workshop
 ผู้บันทึก :  อ.จามจุรี แซ่หลู่
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 13 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 15 ต.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  Grant proposal writing workshop
  วันที่บันทึก  14 ม.ค. 2554


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ แหล่งทุนต่างประเทศ แหล่งทุนต่างประเทศมีอยู่ด้วยกันหลายแหล่งทุน ดังนี้ – American Foundation for Aids Research เป็นแหล่งทุนที่ให้การศึกษาเรื่องโรคเอดส์ในด้านการแพทย์และสังคมศาสตร์ ทุนที่กำหนดไว้ประมาณ 50,000 เหรียญสหรัฐต่อปี – Captian James Cook Research สนับสนุนการวิจัยในสาขา anthropology, biology, geography, geophysics, history, medicine, oceanography – Commission of the European Communities for South East Asia สนับสนุนทุนวิจัยในด้าน tropical and subtropical agriculture และ medicine, health and nutrition in tropical and subtropical areas – สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา (โครงการญี่ปุ่นศึกษา) สนับสนุนให้นักวิจัยไทยไปทำการวิจัยระยะสั้นในญี่ปุ่น มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือนสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ – Friedrich-Ebert-Stiftung สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านการพัฒนาสังคมและสาธารณสุข – International Atomic Energy Agency สนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการ Research contact แก่สถาบันที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก โดยกำหนดสาขาการวิจัยที่เกี่ยวข้องคือ food and agriculture, human health, physic and chemical science, marine environment, nuclear power, nuclear fuel cycle, radioactive waste management, nuclear safety, safeguards – International Bank for Reconstruction and Development สนับสนุนการวิจัยในสาขา energy, agriculture and rural development, transportation, telecommunications, urban development, industry, education, population, health – International Bureau of Education สนับการวิจัยในสาขาการศึกษา – International Committee on Applied Research in Population สนับทุนการวิจัยทางด้านประชากรศาสตร์ การวิจัยประยุกต์ทางประชากรศาสตร์ – International Center for Research on Woman ให้ทุนการทำวิจัยเรื่องสตรีและเอดส์ – International Development Research Center สนับสนุนการวิจัยทางด้าน agriculture, food nutrition science, information science, population and health science, social science and human resource – International Development Research Center สนับสนุนการวิจัยทางด้านการศึกษา แนวทางการเขียนโครงการเพื่อขอทุน เรื่องที่จะทำวิจัยต้องสร้างศาสตร์ใหม่ๆ ตอบความต้องการ แก้ไขปัญหา นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ต้องมีข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นต้องศึกษา สำหรับการค้นหาแหล่งทุนสามารถหาได้จาก internet, newspapers, professional journals ต้องหาแหล่งทุนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ภูมิหลังและเหตุผลความจำเป็นจะเป็นส่วนที่เขียนยากมาก จะต้องมองตั้งแต่ในเรื่องของแผนชาติ และโครงการที่ทำให้แผนชาติดำเนินไปได้อย่างไร เขียนงบประมาณและระยะเวลาในการทำวิจัยให้ละเอียด เขียนประวัติของทีมวิจัย เน้นในด้านประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยและการคัดออก เขียนรายละเอียดในสิ่งที่ต้องการขอการสนับสนุน เช่น เงิน เครื่องมือ ที่ปรึกษา หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาเทคนิค เพราะผู้อ่านงานวิจัยอาจไม่มีความชำนาญในเรื่องที่ศึกษา กำหนดเป้าหมายหลักในการทำวิจัยให้ชัดเจน ซึ่งรายละเอียดของการเขียนควรจะต้องทำตามแนวทางการเขียนของแต่ละแหลงทุน สิ่งที่สำคัญต้องกระชับ ไม่ผิดหลักการเขียนภาษาอังกฤษ พยายามเขียนให้น่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ก่อนที่จะส่งเอกสารไปขอทุนอ่านทบทวนอีกครั้ง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอ เกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอ จะพิจารณาในเรื่องความสอดคล้องกับแผนพัฒนาระดับชาติ แผนกระทรวง สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล/เร่งด่วน สอดคล้องกับนโยบาย สอดคล้องกับความต้องการ เสริมงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความซ้ำซ้อนของโครงการ (ในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงาน) สามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ความพร้อมของหน่วยงาน (งบประมาณ อัตรากำลัง Absorptive capacity) สัดส่วนของความร่วมมือที่ต้องการ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑. ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน การวิจัย ๒ ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การขอทุนวิจัย

(311)

การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”

การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
  ผู้บันทึก :  นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 10 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
  วันที่บันทึก  21 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               โรคข้อเสื่อมหรือโรคข้อต่อเสื่อม (Osteoarthritis หรือ Degenrative Joint Disease หรือ Degenerative Arthritis) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของความพิการได้มากในคนสูงอายุ พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุมีมากมายแต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามโรคนี้มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของข้อต่อ โดยมีการทำลายของกระดูกอ่อนมากกว่าการสร้าง อาการสำคัญคือการปวดข้อ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนักตัวลง การออกกำลังกายที่พอเหมาะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและพยุงกระดูก แต่อย่างไรก็ตามควรงดการออกกำลังกายชนิดที่ทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมาก การออกกำลังกายที่แนะนำว่าควรปฏิบัติและเหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ การปั่นจักรยาน แต่ควรปรับระดับของจักรยานให้เหมาะสมกับความสูงและความยาวของขาเพื่อป้องกัน การเกิดอันตรายจากการผิดท่าขณะการออกกำลังกาย นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ไม้เท้าช่วยรับน้ำหนัก สำหรับยาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมแต่ได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มยาที่รักษาตามอาการ และกลุ่มยาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการรุดหน้าของโรค ยาในกลุ่มรักษาตามอาการ ได้แก่ ยาบรรเทาปวด เช่น ยา paracetamol ส่วนกลุ่มยา NSAIDs มีใช้ทั้งชนิดที่เป็น Cyclooxygenase (COX) nonspecific inhibitors เช่น Ibuprofen, Piroxicam เป็นต้น ส่วนยาจำพวก COX 2 specific inhibitor จะทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารน้อยหรือไม่ระคายเคืองเลย เช่น ยา Celecoxib และ Refecoxib ส่วนยาอีกจำพวกที่ไม่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารคือ ยาที่ออกฤทธิ์ช้า เช่น ยา Diacerein, Chondroitin Sulfate, และ Hyaluronic acid ส่วนยาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการรุดหน้าของโรค ประกอบไปด้วยยาที่ออกฤทธิ์ช่วยป้องกันเซลล์กระดูกอ่อนไม่ให้ถูกทำลายและช่วย ซ่อมแซมกระดูกอ่อนส่วนที่ถูกทำลายไป ยาในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย ยา Diacerein ยานี้จะใช้ในการบรรเทาปวดและลดการอักเสบ ปกป้องกระดูกอ่อน กระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน อย่างไรก็ตามผู้ที่รับประทานยานี้อาจมีอาการไม่พึงประสงค์ ได้ เช่น ถ่ายเหลว ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน หรือแสบท้อง นอกจากนั้นผู้รับประทานยาอาจมีปัสสาวะสีเหลืองเข้มแต่ไม่พบพิษต่อไตและระบบ เลือด


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำไปใช้ประกอบการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               นำไปใช้ประกอบการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน

(286)

ประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”

ประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 10 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               Osteoporosis โดย ศ.นพ.สารเนตร ไวคกุล ภาวะกระดูกพรุน พบในสตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกระดูกหัก ปวดเรื้อรัง และคุณภาพชีวิตลดลง จุดประสงค์ในการรักษาคือ ลดปัจจัยเสี่ยงของกระดูกหัก เพิ่มหรือดำรงมวลกระดูก เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการปวด วิธีการรักษา ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เต้าหู้ ปลาตัวเล็กตัวน้อย ควรดื่มกาแฟ วันละ ๒ แก้ว และออกกำลังกาย การใช้ยากระตุ้นการสร้างเนื้อกระดูกและยาลดการสลายกระดูก การให้ยาแก้ปวด ให้วิตะมินดี เค ให้ฮอร์โมนเทียม Alterative medicine โดย พ.ท.นพ.วิภู กำเนิดดี และ นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์ การแพทย์ทางเลือก หรือ หลัก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ การแพทย์แผนไทยได้แก่ การนวด กดจุด ลูกประคบ นวดน้ำมัน ยาสมุนไพร ใช้ภูมิปัญญาไทย ดำเนินชีวิตโดยใช้หลักธรรมชาติให้มากที่สุด การแพทย์แผนจีน ได้แก่ การกดจุด ฝังเข็ม ปล่อยเลือด ครอบแก้ว โดยการปรับสมดุลของพลังชี่ (ลมปราน) ที่ไหลเวียนในร่างกาย Back pain โดย พ.ท.นพ.วิภู กำเนิดดี พันเอก(พิเศษ)รศ.นพ.วรัท ทรรศนะวิภาส และ ผศ.พญ. ศศิกานต์ นิมมานรัชต์ การปวดหลัง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ หมอนรองกระดูกเคลื่อน ก้อนเนื้อ การตีบแคบของกระดูกสันหลัง เป็นต้น เกิดอาการปวดเรื้องรัง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การรักษาอาการปวดทำได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด หรือการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวด การฝังเข็ม ต้องป้องกันการาดเจ็บซ้ำของกระดูกสันหลัง และเสริมสร้างความแข็งแรง/ยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายกล้าม เนื้อหลัง สีข้างและหน้าท้อง Exercise for Aging โดย ดร.นพ.ฉกาจ ผ่องอักษร การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ควรมีการตรวจคัดกรองสุขภาพก่อนออกกำลังกาย เพื่อหาข้อจำกัดที่มีอันตรายต่อสุขภาพ และหารูปแบบที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย เช่น แอโรบิก การบริหารเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ การทดสอบความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ เช่น Chair stand test, Arm curl test, 6 minute walk test เป็นต้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การเรียนการสอนวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

(352)

การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”

การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
ผู้บันทึก :  นางสาวชลกร ภู่สกุลสุข และ นางขวัญธิดา พิมพการ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
  วันที่บันทึก  16 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               การบรรยายเรื่อง “ชีวิตคือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือชีวิต” โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต โลกปัจจุบันนี้ ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอด ดังนั้น ในการดำเนินชีวิตจึงอาศัยการปรับตัวอย่างมาก ซึ่งการปรับตัวนั้นต้องอาศัยความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญ มีการยกตัวอย่างบุคคลหลากหลายอาชีพที่ได้มาศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตคือ ต้องจัดการชีวิตของตนให้เป็นระเบียบและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ก่อน มีการตั้งเป้าหมายในชีวิต เพื่อเป็นเส้นชัยให้เราเดินไปถึง อยู่อย่างไรให้พอเพียงในยุคนี้ เรียนรู้ให้สามารถอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เชื่อมั่น รู้ว่ารากเหง้าของตนมาจากไหน คนเราไม่มีใครไม่รู้อะไรเลย และไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ดังนั้น เราจึงควรมาเรียนรู้ด้วยกัน พร้อมกัน ต้องมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการระเบิดจากข้างใน นั่นคือ การมีจิตสำนึกของตัวเอง ครอบครัว และชุมชน มีการยกตัวอย่างการพัฒนาชุมชนโดย อบต. ซึ่งทำครบวงจร ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยสรุป ขั้นตอนของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย ๓ S ได้แก่ รอด (Survived) พอเพียง (Sufficient) และ ยั่งยืน (Sustainable) และอาศัยขุมทรัพย์ในชุมชน ได้แก่ ทุนทรัพยากร ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม การได้รับปริญญาชีวิต ต้องมีการปรับวิธีคิด จัดระเบียบชีวิต และสร้างสมดุลให้กับชีวิต ข. การบรรยายเรื่อง “การปฎิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา การจัดการศึกษาในประเทศไทย อาจจะไม่เป็นที่พึงพอใจของคนในสังคมเท่าไรนัก มีการจัดการศึกษาสำหรับคนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น ผู้พิการ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีปริมาณมาก เป็นของรัฐ ๒ ใน ๓ แต่คุณภาพไม่แน่ใจ บางสาขามีปริมาณมาก คนเรียนมาก พบข้อจำกัดในการกำกับสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ความเป็นอิสระทางวิชาการ การเมือง มีคนต้องการเรียนในสายสามัญ เข้าสู่มหาวิทยาลัยมาก ต้องมีการปรับสัดส่วนให้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น โดยอีกประมาณ ๘ ปีข้างหน้าต้องปรับสัดส่วนสายอาชีพต่อสามัญ เป็น ๖๐ ต่อ ๔๐ การปฏิรูปการศึกษาของไทย ต้องเปิดช่องทางอื่นๆ ให้ได้เรียน มากกว่าเข้ามหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาด และใช้ TQF มาควบคุม สิ่งที่มหาวิทยาลัยยังต้องพัฒนาอีกต่อไปคือ การวิจัย การเป็นมหาวิทยาลัยที่แท้จริง คือ การบุกเบิกความรู้ใหม่ๆ ไม่ใช่ ผู้สอนหนังสือเท่านั้น รวมทั้งการบริการวิชาการ เอาความรู้ที่ได้จากการวิจัยย่อยสู่คนในสังคม ไม่ใช่ ทำแค่พิธีกรรม หน้าที่มหาวิทยาลัย เน้นคุณภาพบัณฑิต มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ กระจายสู่ชาวบ้าน ค. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา “เปลี่ยนความคิด พิชิตความจริง” ทัศนคติกับการเรียนการสอน ทัศนคติเป็นเรื่องของมุมมอง การคิดของแต่ละคน การปรับมุมมอง ต้องใช้สถานการณ์จริง และทำซ้ำๆๆๆ การสอนทัศนคติและเนื้อหาสาระต้องควบคู่กัน ควรรับฟังความคิดของผู้อื่น ดูเงื่อนไข ความจำเป็นของเค้าก่อนตัดสิน ง. เสวนา “ครอบครัวเดียวกัน” ตัวแทนนักศึกษา ๕ วิทยาลัย (พะเยา ขอนแก่น จักรีรัช ชลบุรี และนครศรีธรรมราช) เล่าถึงกิจกรรมครอบครัวเดียวกันของแต่ละวิทยาลัย และความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักศึกษาทุกวิทยาลัยรู้สึกอบอุ่น กล้าพูด สามัคคี เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จ. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา “ทฤษฎีการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ในชีวิตจริง” การศึกษาคือการเรียนรู้ ไม่ควรให้กรอบทฤษฎีมาทำให้ปิดกั้นไม่เห็นชีวิตจริง เน้นการเรียนรู้จากการสังเกต ประสบการณ์ชีวิต ปฏิบัติจริง ด้วยน้ำมือและหัวใจ มากกว่าท่องจำจากตำรา ธรรมชาติการเรียนรู้ของคน เริ่มจากปัญหาความต้องการของบุคคล เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สรุปเป็นแนวคิดรวบยอด นำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับชีวิตจริง คิดค้นต่อยอดทฤษฎีอื่นๆได้ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติของตนให้ดียิ่งขึ้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอนที่ศึกษาสภาพจริงในรายวิชาที่รับผิดชอบ ได้แก่ รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ การพยาบาลจิตเวช


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การ จัดการเรียนการสอนที่ศึกษาสภาพจริงในรายวิชาที่รับผิดชอบ ได้แก่ รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ การพยาบาลจิตเวช

(339)