“Thai-Finnish Conference on Wellness Service”

“Thai-Finnish Conference on Wellness Service”
ผู้บันทึก :  นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 6 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 6 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  Health and Sport Center มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  “Thai-Finnish Conference on Wellness Service”
  วันที่บันทึก  31 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ การจัดประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อ ความสุข (Wellness Model) และเทคโนโลยีการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและรูปแบบการจัดบริการ และเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) ในแวดวงผู้ให้บริการ Wellness ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้มีตัวแทนจากบริษัท Life Science Industry, Finpro และตัวแทนจากบริษัท Business Development, CorusFit Oy ของประเทศฟินแลนด์มาบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท และให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหัวใจ ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องจาก มีการทำ World-class Research และ Excellent Education และมีแหล่งทุนที่มั่นคง มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นประเทศฟินแลนด์ยังมีการสนับสนุนการลงทุนธุรกิจรายย่อยเพื่อกิจการ ด้านสุขภาพ และเปิดโอกาสให้บริษัทในต่างชาติร่วมลงทุน ซึ่งร้อยละ 90 ของสินค้าด้านสุขภาพในประเทศฟินแลนด์เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก นอกจากนั้นประเทศฟินแลนด์ยังส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันของศูนย์วิทยา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ บริษัท Life Science Industry, Finpro เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพของชาวฟินแลนด์และร่วมมือกับประเทศอื่น ในเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี โดยบริษัทได้มีการสร้างเครือข่ายกว่า 40 ประเทศในแถบยุโรป เอเชีย อเมริกาและแอฟริกา โดยการทำงานจะมุ่งเน้นในการป้องกันโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและเน้นการใช้ Biomaterials, Conceptualizing Health Care Concepts, Food safety, Ecology products, Wireless solution, Information technology, Biotechnology, Nanotechnology, และให้บริการแบบองค์รวม ส่วนบริษัท CORUSFIT ของประเทศฟินแลนด์ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนา ผลิตและบำรุงรักษา Evidence-based Physical Exercise Prevention และ Rehabilitation Concepts ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเฝ้าระวัง ในการประชุมครั้งนี้บริษัท CORUSFIT ได้นำเสนอโปรแกรม CORUSCARDIO ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายเพื่อการป้องกันการ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CORUSCARDIO PROGRAME) รวมถึงการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ (CORUSCARDIO CAD) ทั้งสองโปรแกรมจะดำเนินงานโดยยึดหลักการให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกาย แบบแอโรบิคแบบหยุดพักเป็นช่วงๆ (Interval Aerobic Training) ร่วมกับการให้บริการตรวจเช็คร่างกายทางการแพทย์และการทำ Maximal Exercise Test โดยขณะที่ออกกำลังกายจะมีผู้มีความรู้และประสบการณ์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด โดยการออกกำลังกายจะทำอาทิตย์ละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3-6 เดือน โดยแต่ละครั้งของการออกกำลังกายจะใช้เวลา 60 นาที โดยการออกกำลังกายจะเป็นการผสมระหว่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการออกแรง ต้าน ผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับบริการติดตามผลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ โภชนาการในระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมเช่นกัน ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมมีปริมาณของ Estimated Maximal Oxygen Uptake สูงขึ้น และมีการลดลงของ Waist Circumference, Total Cholesterol, Triglycerides, Fasting Blood Glucose, และ Diastolic Blood Pressure สำหรับประเทศไทยสถาบันโรคทรวงอกทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ จากที่โรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สามรองจาก อุบัติเหตุและโรคมะเร็งในประเทศไทย และจำนวนผู้ป่วยจากโรคหัวใจขาดเลือดได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจากโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แผนกผู้ ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 3 เท่าและที่แผนกผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น 7-17 เท่า สถาบันโรคทรวงอกได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินโครงการเพื่อลด การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน ไม่ออกกำลังกาย และผู้ที่สูบบุหรี่ สถาบันโรคทรวงอกได้ยึดหลักการบูรณาการความรู้ ประสานเครือข่าย สร้างความสามารถในการดูแลตนเองของประชาชน เสริมความต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวก เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสร้างองค์ ความรู้ด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูโรคหัวใจและหลอดเลือดให้แก่ประชาชน ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในการดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้ จ่ายที่แพงและไม่จำเป็น สถาบันได้มีการบูรณาการองค์ความรู้ทางการแพทย์และมุ่งปรับใช้ให้เหมาะสมกับ บุคคล ได้แก่ ประชาชน ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เลือกวิธีการเรียนรู้จากการกระทำและเห็นจริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ เกิดทักษะแล้วนำไปใช้ปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิต มุ่งกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดความสนใจ มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ในการปฏิบัติ และมีการติดตามและเพิ่มองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการประสานงานกับกลุ่มต่างๆในเครือข่าย อันได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้นำ/ อาสาสมัคร ชุมชน ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชนทุกแขนง และใช้เทคนิคการบรรยายทางวิชาการ สาธิต/การแสดงตัวอย่างของจริงและหุ่นจำลอง ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะ และถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดไปยังผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ปรับกับตนเอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การจัดการเรียนการสอนวิชาการส่งเสริมสุขภาพ – การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย/ประชาชน – สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) ในแวดวงผู้ให้บริการ Wellness ทั้งจากประเทศไทยและฟินแลนด์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเรียนการสอนรายวิชา.การส่งเสริมสุขภาพ

(394)

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้านการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้านการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
ผู้บันทึก :  นางสาวจามจุรี แซ่หลู่
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 17 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 20 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้านการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
  วันที่บันทึก  23 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการได้รู้ว่า การจัดการเรียนการสอน อาจารย์จะต้องมีความรู้ตั้งแต่ในเรื่องของหลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิต การวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตร กรอบมโนทัศน์ของหลักสูตรและการนำไปใช้ การสอนภาคปฏิบัติ การสอนภาคทฤษฎี การเขียนแผนการสอน การเขียนแผนการนิเทศ และการวัดและประเมินผลการเรียน หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้คือหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในการจัดทำหลักสูตรในแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับวิทยาลัยพยาบาลใน แต่ละแห่งจะเป็นสถาบันสมทบที่ไหน เพราะว่าสถาบันสมทบนั้นจะต้องมาตรวจสอบและติดตามหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอนอยู่ตลอด จึงจำเป็นต้องจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถาบันสมทบในแต่ละแห่งด้วยเช่นกัน กระบวนการจัดทำหลักสูตรนั้น เมื่อวิทยาลัยพยาบาลใดต้องการที่จะทำหลักสูตร ก็ต้องแจ้งให้สถาบันพระบรมราชชนกทราบว่าต้องการจัดทำหลักสูตร แล้วส่งผ่านไปที่สภาการพยาบาล หลังจากนั้นก็ส่งผ่านไปที่สถาบันสมทบให้พิจารณาดูอีกครั้ง เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็ส่งไปที่สภาการพยาบาลอีกครั้ง เพื่อให้สภาการพยาบาลอนุมัติ แล้วส่งกลับไปที่สถาบันสมทบเพื่อส่งไปที่ สกอ. (สำนักงานการศึกษาระดับอุดมศึกษา) อีกครั้ง หลักสูตรคือแบบแผนของประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดที่สถาบันการศึกษาจัดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและสัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่วาง ไว้หรือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดประสบการณ์ของผู้สอนทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำหรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ทั้งหมด 144 หน่วย และโครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต 1.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 13 หน่วยกิต 1.3 กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต 1.4 กลุ่มวิชาพลานามัยและสันทนาการ 2 หน่วยกิต 2. หมวดวิชาเฉพาะ 108 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 33 หน่วยกิต 2.2 กลุ่มวิชาชีพพยาบาล 75 หน่วยกิต 3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต กรอบมโนทัศน์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์และการนำไปใช้ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ปรัชญาของหลักสูตร จะเน้นความเป็นมนุษย์ สิ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ตามความเชื่อ ความศรัทธาและปัญญา โดยให้ความสำคัญในสองเรื่องคือ ความละเอียดอ่อนของความเป็นมนุษย์ (human dimension) โดยจะเน้นในเรื่องของความเป็นองค์รวม(ร่างกาย จิตใจ สังคม) และอีกส่วนหนึ่งจะเน้นในเรื่อง การแก้ปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดความทุกข์ (scientific dimension) คือความรู้ในเชิงวิชาชีพ ฉะนั้นการจัดหลักสูตรที่สำคัญก็คือการผสมประสานในทั้งสองส่วนโดยใช้การสนทนา (Dialogue) ในการผสานความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบุคคลและวิทยาศาสตร์ ความมีเหตุผลอย่างแท้จริง ทำให้เกิดสัมพันธภาพแห่งการเยียวยา (healing relationship) ความเป็นกัลยาณมิตร (therapeutic alliance) จากปรัชญาของหลักสูตร จะเห็นได้ว่ามโนทัศน์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องที่สำคัญจะประกอบด้วย 3 มโนทัศน์ (concept) คือ ความเป็นมนุษย์ (human being) กิจกรรมการพยาบาล (the scientific activity) การดูแลอย่างเอื้ออาทร (professional caring) 1. ความเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพจำเพาะของตนเอง มีเป้าหมายที่จะค้นหาความหมายของชีวิต Subjective Feeling ขึ้นกับบริบท สภาพการณ์ของแต่ละคน (ประสบการณ์ การรับรู้ ความคิด ความรู้สึก) ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมของบุคคล 2. กิจกรรมการพยาบาล (scientific activity) เป็นวิทยาศาสตร์เนื่องจากเป็นการใช้กระบวนการแก้ไขปัญหา ประเมินอย่างมีวิจารณญาณ การเลือกใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ฉะนั้นในการที่จะทำในส่วนนี้ได้จะต้องมีการใฝ่หาความรู้ โดยการอ่าน การทำความเข้าใจให้เกิดความถ่องแท้ให้มากขึ้น ศึกษาการวิจัยเพื่อให้ได้ในสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่ดีๆ ไปปฏิบัติ 3. การดูแลเชิงวิชาชีพ (Professional caring) ประกอบด้วย caring ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจทั้งในเรื่อง scientific caring และ humanistic caring อีกส่วนหนึ่งคือ nursing care ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ specific nursing procedures ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญจะทำอย่างไรให้ทั้งสองส่วนไปด้วยกัน คือ การพยาบาลที่ต้องคำนึงถึงทั้งความมีเหตุมีผล เป็นวิทยาศาสตร์และเป็นการดูแลที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของบุคคลทั้งใน แง่ของความเชื่อ ความคิด ผลลัพธ์ที่ต้องการของหลักสูตร จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ประสิทธิผลของความหมายเชิงวิชาชีพ (Professional meaning) และประสิทธิผลของความหมายด้านผู้ป่วย (Client meaning) Professional meaning ต้องการให้นักศึกษาบรรลุในเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องมีเหตุผล มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Rational) ด้านเทคนิค (Technical) และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotive) ส่วน Client meaning นักศึกษาต้องทำความเข้าใจการดูแลตนเองที่ผู้ป่วยใช้ และการจัดการตนเองของผู้ป่วย ตรงนี้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของแต่ละบุคคล แต่ละท้องถิ่น เข้าใจความจำเพาะของบุคคล เข้าใจความแตกต่างของบุคคล เข้าใจในข้อจำกัดของผู้รับบริการพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของชีวิต การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ อาจารย์จะต้องเข้าใจหลักสูตร เข้าใจปรัชญา เข้าใจโครงสร้าง นำไปจัดทำประมวลรายวิชา ออกแบบการเรียนรู้ (ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องวิธีการสอน เนื้อหาที่สอน การประเมินผล และประสบการณ์) ต้องเข้าใจในประมวลรายวิชา (Course syllabus) แล้วถอดประมวลรายวิชามาเป็นแผนการจัดการการเรียนรู้ ดำเนินการสอน และประเมินผล การเรียนการสอนในคลินิก (clinical teaching ) และการเขียนแผนการนิเทศ คลินิกจะมีความสำคัญมากต่อการเรียนการสอนการพยาบาล เพราะ คลินิกเป็นแหล่งความรู้ที่ดี มีทั้งสถานการณ์จริง ช่วยให้ได้ฝึกการแก้ปัญหา การตัดสินใจทางคลินิก และการจัดการและบริหารเวลา คลินิกเป็นแหล่งของการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเอื้ออาทร ความมีน้ำใจ ความใส่ใจ การช่วยเหลือ และการไม่ทอดทิ้ง คลินิกช่วยให้เกิดสังคมวิชาชีพ วัฒนธรรม การทำงาน การร่วมกิจกรรม และการสร้างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ นอกจากนี้คลินิกยังเป็นแหล่งที่ให้ฝึกวิธีการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง การเรียนการสอนในคลินิก เป็นการสอนของการใช้ปัญหาของผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานหรือความรู้ทางทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วย การสอนทางคลินิกจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย ผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสอนดังนี้ สนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และอิสระ ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางคลินิก การนำความรู้ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ การพัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้ด้วยตนเองแบบมีส่วนร่วม การปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ การเตรียมตัวเข้าสู่วิชาชีพทางการพยาบาล ส่งเสริมทักษะและเทคนิคการฝึกปฏิบัติ พัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสาร และส่งเสริมทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ อาจารย์ควรมีการนิเทศนักศึกษา โดยการตรวจเยี่ยม การติดตามงานที่มอบหมาย และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยมีวัตถุประสงค์ของการนิเทศ คือ ให้นักศึกษามีความมั่นใจในการฝึก นำความรู้มาใช้ ได้เรียนรู้หน้าที่รับผิดชอบของพยาบาล และได้ฝึกทักษะ Clinical conference คือการประชุมกลุ่มปรึกษาหรืออธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติในคลินิกโดยใช้กระบวน การกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มมีการระดมสมองและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ แก้ปัญหาทางคลินิกและการดูแลผู้รับบริการ เป็นการเพิ่มคุณภาพ และความต่อเนื่องของการรักษาพยาบาล ซึ่งตัวชี้วัดที่จะบอกถึงประสิทธิภาพของ Clinical conference คือ บรรยากาศกลุ่มที่ผ่อนคลาย อบอุ่น เป็นอิสระ ไม่ถูกคุกคาม ไว้วางใจ เข้าใจ เปิดเผย เอื้ออาทร ช่วยเหลือกัน หลีกเลี่ยงการแข่งขัน สนุกสนาน การมีส่วนร่วมของนักศึกษา การบรรลุวัตถุประสงค์ นักศึกษามีการค้นคว้า คิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิผลดังกล่าว อาจารย์หรือผู้สอนต้องมีบทบาท ดังนี้ มีบุคลิกภาพและการแสดงออกที่เหมาะสม สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการฝึกถามคำถาม ใช้คำถามที่ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระตุ้นให้มีการสะท้อนความคิด จัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกลุ่ม กระตุ้นให้นักศึกษานำความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ แสดงบทบาทความมีเหตุผลและการยอมรับผู้อื่น และปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรม Clinical conference รูปแบบของ Clinical conference ประกอบด้วย – Pre-conference or briefing เป็นการประชุมอภิปรายก่อนการปฏิบัติงานหรือทำความเข้าใจและซักซ้อมก่อนการ ปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นให้เกิดคุณภาพในการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้เวลาสั้นๆ ประมาณ 30 นาที – Post-conference or debriefing เป็นการประชุมกลุ่มอภิปรายหลังการปฏิบัติ ซึ่งจะกระทำภายหลังนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงาน เป็นการนำความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติในลักษณะของสหวิชา ผู้เรียนได้มีโอกาสวิเคราะห์ ประสบการณ์ในคลินิคอย่างมีเหตุผลและสังเคราะห์ความรู้จากการปฏิบัติ – Case conference เป็นการประชุมอภิปรายโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการศึกษาที่ใช้สถานการณ์จริงให้นักศึกษาวิเคราะห์และตัดสินใจ ความรู้และประสบการณ์ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกรณีที่ใกล้เคียงกัน – Topic conference or Content conference เป็นการประชุมอภิปรายเชิงเนื้อหา เป็นการนำหัวข้อเรื่องที่สมาชิกสนใจที่จะเรียนรู้หรือประเด็นปัญหาทางคลินิ คมาอภิปรายร่วมกัน โดยมีสมาชิกคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้นำอภิปรายและสมาชิกทุกคนต้องเตรียมเนื้อหามาร่วมอภิปราย ในการสอนในคลินิกอีกวิธีหนึ่งคือ Bedside teaching เป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพในการให้ผู้ป่วยมีการพัฒนาทักษะการซัก ประวัติ การตรวจร่างกาย และต้นแบบของความเป็นวิชาชีพ อีกทั้งสามารถติดตามการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดี แต่ต้องมีการเตรียมแผนการสอนตามขั้นตอนของการสอนข้างเตียง เป็นการเรียนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้ป่วย สำหรับขั้นตอนของการ สอนแบบ Bedside teaching ประกอบด้วย 1. การเตรียมเนื้อหาในบทเรียน ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เตรียมเนื้อหา กำหนดเวลาและระยะเวลาที่เหมาะสม และเลือกกรณีตัวอย่าง 2. กิจกรรมการเรียนการสอน – การเตรียมผู้ป่วย (briefing the patient) โดยการอธิบายวัตถุประสงค์ที่จะนำนักศึกษามาพบ ขออนุญาต ถามความสมัครใจ ขอความร่วมมือ ชี้แจงให้ผู้ป่วยทราบว่าจะต้องทำไร ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วย และบอกสิทธิของผู้ป่วย – การเตรียมนักศึกษา (briefing the student) โดยสำรวจความพร้อม บอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ระดมความคิดในการปฏิบัติต่อผู้ป่วย ย้ำให้ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วย กระตุ้นและให้กำลังใจ บอกสิ่งที่ต้องระวัง และกำหนดเวลา – ดำเนินการสอนปฏิบัติข้างเตียง (clinical practice) ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงพฤติกรรม ใช้คำถาม อำนวยความสะดวกสังเกตและประเมิน และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม – การอภิปรายสรุปกับผู้ป่วย (debriefing the patient) โดยการกล่าวขอบคุณ ตอบคำถาม ลดความวิตกกังวล แสดงความห่วงใย เอื้ออาทร และทำความกระจ่างในสิ่งที่ผู้ป่วยเข้าใจผิด ส่วนการกล่าวสรุปกับผู้เรียน (debriefing the student) โดยการวิเคราะห์สิ่งที่พบ อธิบายความรู้ที่ได้ เน้นการคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ป่วย ประเมินและป้อนกลับ การจัดการเรียนการสอนตามสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นความเอื้ออาทรและหัวใจ ความเป็นมนุษย์ การจัดการเรียนการสอนตามสภาพความเป็นจริงเป็นการจัดการศึกษาที่ให้นักศึกษา ลงไปเรียนรู้ตามสภาพของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะปัญหาที่สำคัญคือถ้าไม่ลงไปดูแลผู้ป่วยตามสภาพความเป็นจริง ก็จะไม่สามารถเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง ในความเป็นจริงในเรื่องของการดูแลสุขภาพผู้ป่วยต้องช่วยเหลือตนเองมากกว่า การพึ่งพาแหล่งบริการสุขภาพ บางครั้งการเข้าไปพึ่งพาแหล่งบริการสุขภาพจะเป็นแค่เพียงการเข้าไปรับยาตาม ที่แพทย์นัดเท่านั้น การไม่เข้าไปใกล้ชิด ทำความเข้าใจ จะไม่เห็นว่าเขาดำรงชีวิตและดูแลสุขภาพตามความเป็นจริงอย่างไร และเหตุผลที่เขาต้องทำอย่างนั้นเพราะเหตุใด อย่าด่วนสรุปตามความคิดของตนเอง ทำให้เห็นภูมิปัญญาในการแก้ปัญหา ซึ่งแต่ละคนจะแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญของการทำมาหากินมากกว่าใน เรื่องของสุขภาพ เมื่อเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น การวัดผลการศึกษาเห็นสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ก็ต้องเลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสภาพตามความเป็นจริง เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพ คำถามที่ไม่ควรถามผู้ป่วยคือ ทำไมไม่ไปโรงพยาบาล ทำไมเพิ่งมาโรงพยาบาลตอนนี้ เพราะคำถามนี้จะเป็นการบ่งบอกว่าไม่เข้าใจความคิด ความเชื่อของบุคคลที่มีความแตกต่างกันเลย เพราะฉะนั้นอย่าด่วนตัดสินใจ สรุปจากสิ่งที่เห็น เพราะในความเป็นจริงอาจไม่ใช่ก็ได้ อย่างเช่น การที่ในบ้านผู้ป่วยมีขยะเต็มบ้าน เรามองว่าต้องกำจัดทิ้งเนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แต่ผู้ป่วยกลับมองว่าขยะเป็นแหล่งที่สร้างเงินทองให้กับตนเอง การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หลักการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และบันทึกหลังการสอนหรือกิจกรรมเสนอแนะ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น ซึ่งมีทั้งความรู้ (ด้านพุทธพิสัย: cognitive) ทักษะ (ด้านทักษะ: skill) และเจตคติ (ด้านจิตพิสัย: affective) การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ จะต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้งสามด้าน ซึ่งระดับของจุดประสงค์การเรียนรู้จะมีทั้งจุดประสงค์ปลายทางและนำทาง สาระสำคัญ หมายถึงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หลักการ วิธีการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับหลังจากเรียนเรื่องนั้นๆ แล้ว ทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ เจตคติ สาระการเรียนรู้ รายละเอียดของเรื่องที่ใช้จัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การ เรียนรู้ หากรายละเอียดมีมาก ควรเขียนสาระที่สำคัญไว้ ส่วนรายละเอียดอาจจะไปอยู่ในเอกสารประกอบการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ คือสภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ที่ช่วยสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติให้บรรลุวัตถุประสงค์ การวัดผลและประเมินผล เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สอดแทรกในทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอน บันทึกหลังการสอน ครูควรทำบันทึกหลังการสอนทุกครั้งและควรทำทันทีหลังการเรียนรู้สิ้นสุดลง สิ่งที่ควรบันทึกคือ ปัญหาและอุปสรรค ข้อสังเกตและแนวทางแก้ไข การวัดประเมินผล การสอบเพื่อสอน หมายถึง การให้ได้รู้ว่าค้นหาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีจุดเด่นส่วนไหน มีจุดด้อยตรงไหน ไม่ใช่เป็นการสอบเพื่อให้ชี้ว่าเด็กคนไหนโง่ หรือว่าเด็กคนไหนฉลาด และเป็นการวัดอย่างหนึ่งว่าเราสามารถสอนให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ ตั้งไว้หรือไม่ การวัดผลการศึกษา จะประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบดังนี้ การวัดผล (Measurement) เป็นเพียงการใช้เครื่องมือมาใช้ในการวัด โดยใช้ข้อสอบมาเป็นเครื่องมือ การประเมินผล (Evaluation) เป็นการเอาผลการวัดไปเทียบกับเกณฑ์ ทำให้สามารถประเมินผลออกมาได้ การทดสอบ (Test) เครื่องมือที่ใช้ในการวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวัดคือ ข้อสอบ เป็นการวัดความสามารถทางด้านสมองซึ่งเป็นการวัดทางพุทธิพิสัย (Cognitive domain) ซึ่งสามารถวัดได้ 2 ระดับ ตามแนวคิดของ Bloom ประกอบด้วย knowledge, comprehension, application, analysis, synthesis, and การประเมินค่า evaluation ในข้อสอบที่ออกสถานการณ์มาให้ แล้วให้ตอบว่าจะทำอย่างไร เพราะอะไร ตรงนี้จะเป็นลักษณะข้อสอบที่วัดในระดับของการประเมินค่า ซึ่งข้อสอบประเภทนี้นักศึกษาจะตอบได้ก็ต่อเมื่อนักศึกษาต้องมีความรู้ใน เรื่องนั้น แล้วสามารถนำความรู้มาใช้ในการตัดสินใจได้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป ก่อนที่จะทำการจัดทำข้อสอบในการวัดประเมินผลการศึกษา จะต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร ต้องมาดูลักษณะวิชาว่าเป็นอย่างไร และต้องดูว่าวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในรายวิชานั้นเป็นอย่างไร การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการ วิชาที่นำเรื่องของการบูรณาการมาใช้จะเป็นวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหา สุขภาพ 1-3 ซึ่งเป็นการบูรณาการตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ ไม่ได้สอนเป็นโรค แต่เป็นการพยาบาลที่มองตามปัญหาสุขภาพ ที่ต้องจัดมาเป็นบูรณาการเนื่องจากการเรียนการสอนแบบเดิมจะเน้นในเรื่องโรค เน้นการดูแลแบบแยกส่วน แต่ในความเป็นจริงปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความผิดปกติตามโรคเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากทั้งความผิดปกติของร่างกาย ปัญหาสังคม และปัญหาเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นในการจัดการเรียนการสอนคงไม่ได้สอนบรรยายอย่างเดียว ต้องเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ซึ่งการคิดแก้ปัญหาต้องมองโดยรอบว่า สาเหตุของการเกิดปัญหาเกิดจากอะไร ต้องมองทุกด้านทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ นอกจากนั้นการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย มีจุดประสงค์ที่จะนำไปใช้ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เกิดการรู้แบบลึกซึ้ง ไม่ใช่แบบผิวเผิน (deep knowledge) ช่วยขจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา เพราะในโรคบางโรคจะก่อให้เกิดปัญหาที่เหมือนกัน แต่การเกิดพยาธิสภาพของปัญหาอาจจะไม่เหมือนกัน นอกจากนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ ไปสอนก็ได้ หลักการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะมีหลักสำคัญคือการเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ จัดประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียน จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าทำ และให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม แบบการสอนแบบบูรณาการ จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ 1. แบบสอดแทรก (infusion) เป็นการสอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ไปกับวิชาอื่นๆ 2. สอนแบบคู่ขนาน (parallel instruction) สอนด้วยครูสองคน แต่ควบคู่กันไปสองวิชา และได้คะแนนทั้งสองวิชา แต่จัดการเรียนครั้งเดียว 3. แบบพหุวิทยาการ (multidiscipline instruction) มีผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาวางแผนร่วมกัน และมีการมอบหมายงานร่วมกัน 4. บูรณาการทักษะปฏิบัติกับสาระการเรียนรู้ เป็นการสอนและให้นักศึกษาได้ทำชิ้นงานขึ้นมา อาจารย์จึงต้องมีเทคนิคในการถามคำถามที่ให้นักศึกษารู้จักคิด ไม่ใช่เป็นการบรรยายทั้งหมด ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับจิตใจ การใช้ภูมิปัญญาอาจจะต้องจัดให้นักศึกษาลงศึกษากรณีศึกษาตามสภาพความเป็น จริง ว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกอย่างไร และผู้ป่วยได้ใช้ภูมิปัญญาอะไรเข้ามาช่วยแก้ปัญหา แล้วนำมาอภิปรายกันอีกครั้งในห้องเรียน คุณลักษณะของการเป็นอาจารย์ที่ดี ในการเป็นอาจารย์พยาบาลนั้น ต้องเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง คุณลักษณะที่ดีของตนเอง – เข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น – เป็นคนชอบค้นคว้าหาความรู้ – ถ่ายถอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ – ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ – พยายามที่จะช่วยเหลือผู้อื่นในการแก้ปัญหา ความเป็นอาจารย์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่อีกอย่างหนึ่งคือ การแต่งตัว มาดในการวางตัว ความสำเร็จในการเป็นอาจารย์มืออาชีพนั้นจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่างคือ บุคลิกภาพ (51%) ประสบการณ์ (29%) และความรู้ (20%) บุคลิกภาพ: อาจารย์ต้องเป็นคนใจเย็น ต้องควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ไม่ตกใจไปตามนักศึกษา ไม่ดุนักศึกษาจนเกินไป จนทำให้นักศึกษาตกใจ หวาดกลัว และทำให้ความมั่นใจลดลง และควรมีมารยาทที่ดี ที่เหมาะสม ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้นักศึกษา นอกจากนี้การมีภูมิปัญญาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งการรู้ต้องมีความรู้ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง สำหรับบุคลิกภาพภายใน: ความรู้สึก สติปัญญา/ความรอบรู้ ความคิดริเริ่ม ปฏิภาณไหวพริบ อารมณ์ขัน แต่งกายแล้วเหมาะสมกับวิชาชีพ ต้องทำให้มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือศรัทธา แต่งตัวให้ประณีต พยายามให้กลมกลืนไปทั้งร่างกาย ทั้งในเรื่องการใช้สี การใช้เครื่องประดับ และการเลือกแบบ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอน – การเรียนการสอนในคลินิก (clinical teaching ) และการเขียนแผนการนิเทศ – การจัดการเรียนการสอนตามสภาพความเป็นจริงที่มุ่งเน้นความเอื้ออาทรและหัวใจความเป็นมนุษย์ – การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ -การวัดประเมินผล และเครื่องมือที่ใช้ในการวัด – การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการ – คุณลักษณะของการเป็นอาจารย์ที่ดี


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอน

(1716)

การพยาบาลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท

การพยาบาลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท
 ผู้บันทึก :  นางวันดี แก้วแสงอ่อน และนางยุพิน ทรัพย์แก้ว
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 15 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 16 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพยาบาลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท
  วันที่บันทึก  29 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               โรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและมีความสำคัญในทางการแพทย์และทางการพยาบาล ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก และโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งแต่ละโรคจะมีการรักษาและให้การพยาบาลที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ภายใน 3 ชั่วโมง จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นหายจากโรคเป็นปกติได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีการพัฒนาการตรวจรักษาที่แม่นยำขึ้น จากเดิมที่มีการใช้ CT scan และ MRI ซึ่งทำให้มีการตรวจพบรอยโรคที่ล่าช้าปัจจุบันได้มีการตรวจวินิจฉัยที่มี ลักษณะ 3 มิติ คือ DW I(Diffusion weighted image) ทำให้สามารถตรวจพบลักษณะความผิดปกติในสมองได้เร็วและสามารถรักษาโรคหลอด เลือดสมองให้ผู้ป่วยฟื้นกลับได้เร็วขึ้น ส่วนด้านการพยาบาลมีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะการดูแล ต่อเนื่องที่บ้าน แบบเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ และมีสายด่วนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ดูแลขอคำปรึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมาก ในส่วนของโรคลมชักส่วนใหญ่จะพบในเด็กซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน สำหรับโรคอัลไซเมอมักเกิดในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลงๆลืมๆ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง รักษาโดยใช้ยาเช่น Donepezil , Rivastigmine เป็นต้น ซึ่งยาแต่ละตัวจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีวิธีการดูแลที่ไม่ใช้ยาได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับสิ่งแวดล้อม การประคับประคองด้านจิตใจ และการฝึกทักษะทางสังคมเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              -การจัดการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่ปัญหาสุขภาพ 3 และวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1,2,3 -การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอน และการให้การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


(412)

การดูแลสุขภาพเท้าและแผลในผู้เป็นเบาหวาน รุ่นที่ ๒

การดูแลสุขภาพเท้าและแผลในผู้เป็นเบาหวาน รุ่นที่ ๒
 ผู้บันทึก :  นางสาวจันทิมา ช่วยชุม และนางจันทนา อิสลาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 14 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 15 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การดูแลสุขภาพเท้าและแผลในผู้เป็นเบาหวาน รุ่นที่ ๒
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ ๑. แผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานมักเกิดได้จาก ๓ ชนิด คือ – Neuropathic ulcer – Ischemic ulcer – Mixed ๒. Identifying ulcer risk ประกอบด้วย ๑) การตรวจ LOPS (Loss of protective sensation) โดยใช้ ๑o gm. Monofilament ทดสอบที่ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วเท้าที่๑ โคนนิ้วเท้าที่๑ โคนนิ้วเท้าที่ ๓ และโคนนิ้วเท้าที่ ๕ หาก LOPS เสีย ผลที่พบคือ จะไม่รู้สึกเมื่อถูกทดสอบด้วย ๑o gm. Monofilament จำนวน ๓ ใน ๔ ตำแหน่ง ๒) การผิดรูปของเท้าหรือการติดยึดของข้อต่างๆ ๓) การมีประวัติทำหัตถการหรือผ่าตัดของเท้ามาแล้ว ๓. Identifying amputation risk ประกอบด้วย ๑) ความลึกและความใหญ่ของแผลที่เท้า จะทราบว่าแผลลึกแค่ไหนนั้นก็โดยการใช้ Probe เป็นตัวหยั่งความลึก ๒) มีการติดเชื้อของแผลหรือไม่ ๓) แผลที่เท้ามีปัญหาเรื่องเส้นเลือดหรือไม่ การดูแลรักษาแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน มีหลายวิธีและหลายองค์ประกอบ หากแต่หลักสำคัญได้แก่ ๑. การทำความสะอาด การเอา calus ออก และทำแผลที่เท้า ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำ Felted foam dressing การเลือกใช้น้ำยา วัสดุอุปกรณ์การทำแผลที่เหมาะสมกับลักษณะแผล ได้แก่ Hydrogel Alginate Hydrocolloid ๒.การ off loading ของแผลที่เท้า กระทำได้ด้วยการเข้าเฝือก การตัดรองเท้าที่ลดการกดหรือเสียดสีกับลักษณะเท้าที่ผิดปกติไปในผู้เป็นเบา หวาน ๓. การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การรับประทานอาหาร และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑. การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติด้วยการประยุกต์อุปกรณ์ที่มีในโรงพยาบาลที่นิเทศให้กับ นักศึกษาและพยาบาลเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยนั้นๆ ๒. ใช้เป็นข้อมูลในการสอนและนิเทศนักศึกษาในหัวข้อของการดูแลแผลที่เท้าในผู้เป็น เบาหวาน ๓. มีการสร้างเครือข่ายให้กับวิทยาลัยโดยการได้ทำความรู้จักกับบุคลากรของโรงพยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้องได้อีกช่องทางหนึ่ง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนโรคเบาหวาน

(431)

การเขียนบทความทางวิชาการ

การเขียนบทความทางวิชาการ
 ผู้บันทึก :  นางจันทนา อิสลาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฎิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 26 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 28 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การเขียนบทความทางวิชาการ
  วันที่บันทึก  24 พ.ค. 2553


 รายละเอียด
               การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เรื่องการเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพอาจารย์ในวิทยาลัยสังกัดสถาบันฯให้สามารถสังเคราะห์องค์ ความรู้จากบทเรียนและประสบการณ์การสอนแบบบูรณาการของตนเองและนำเสนอเป็นบท ความวิชาการหรือบทความวิจัยตามมาตรฐานสากลที่สามารถเผยแพร่ได้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีการเสนอแนะแนวทางการเขียนบทความวิชาการและ วิจัยของนายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพดังนี้ ๑.ในการเขียนแต่ละครั้งบางครั้งผู้เขียนอ่านแล้วทบทวนแล้วมักมองไม่เห็น ประเด็นควรให้ผู้อื่นมาช่วยอ่านเพื่อหาข้อเสนอแนะแล้วนำไปปรับแก้ไข ๒.ปัญหาของการเขียนบทความวิชาการคือวิธีการคิดนั้นสำคัญที่สุดซึ่งเป็นปัญหา ใหญ่ที่ทำให้การเขียนบทความเขียนไม่ถูกต้อง ๓.ในการเขียนบทความทางวิชาการต้องรู้ว่าผู้เขียนต้องการอะไรและสิ่งที่เขียน ไปแล้วเกิดอะไรขึ้นได้ประโยชน์อย่างไร ๔.ในการอภิปรายผลการเขียนต้องวิเคราะห์จุดด้อย จุดแข็งของสิ่งที่เขียนขึ้นด้วยเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ๕.ในการเขียนบทความผู้เขียนต้องให้ประเด็นการเขียนชัดเจนอาจจะมีประเด็น เดียวหรือหลายประเด็นไม่จำเป็นต้องเอาเนื้อหามาเขียนทั้งหมดแล้วแต่ผู้เขียน จะหยิบยกประเด็นไหนมาเขียน ในการประชุมครั้งนี้ได้แบ่งประเด็นการเขียนบทความทางวิชาการและวิจัยดังนี้ ๑.การนำทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไรให้เหมาะสมและเครื่องมือต่างๆโดย มีวิทยาลัยพยาบาลพะเยาและนครราชสีมารับผิดชอบในการเขียน ๒.ทัศนคติมีผลต่อการเรียนรู้และจะปรับทัศนคติได้อย่างไร/วพบ.มหาสารคามรับ ผิดชอบในการเขียน ๓. การสอนประเด็นด้านสุขภาพ (ความหมายสุขภาพและการดูแลตนเองที่เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต วพบ.ชัยนาท ๔.Authentic Learning อะไรเป็นแก่นของการเรียน(ขยายความให้ไปถึงเรื่องของการศึกษาชุมชน การลงชุมชนที่ทำกันในวิชาต่างๆ วสส.ขอนแก่น,วพบ.ชลบุรี ๕.หัวใจความเป็นมนุษย์จากความเอื้ออาทรไปสู่การเข้าใจชีวิต(มองในหลายมิติ ที่มีเรื่องความเอื้ออาทร ความเมตตา การสังเคราะห์ การเข้าใจปัญหา เข้าใจชาวบ้านในบริบทชีวิต วพบ.นครศรีธรรมราช ,วพบ.ตรัง,วพบ.ราชบุรี ๖.การบริการสุขภาพได้ให้บริการตรงตามความต้องการของผู้ป่วยหรือไม่ ๗.ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของคนไข้ โรคเรื้อรัง โดยจะเข้าร่วมประชุมการเขียนบทความทางวิชาการในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายใน ระยะที่ ๒ ในวันที่ ๒๕-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๒.๑.ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านการสอนจากการเข้าร่วม วิชาการในครั้งนี้พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ในวิชามนุษย์กับ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้น ควรเน้นการสอนในเรื่องของการปรับทัศนคติของนักศึกษามีการจัดการเรียนการสอน โดยผ่านกิจกรรมการสังเกตภาพนิ่งและการสัมภาษณ์และการเรียนรู้กับสภาพจริง ทำให้ผู้สอนตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาความคิดและทัศนคติ ของนักศึกษา(การไม่นำความคิดของตนเองไปตัดสินผู้อื่น ,การด่วนสรุปตามประสบการณ์ตนเอง แม้กระทั่งการใช้ความรู้สึก ความเห็นของตนเองตัดสินผู้อื่น)ทำให้ผู้สอนต้องมีการเพิ่มทักษะการสอนมาก ยิ่งขึ้น ในเรื่องการประเมินทัศนคติหรืออ่านความคิดของผู้เรียน มีความสามารถในการชี้ประเด็นในการสะท้อนคิด การถ่ายทอดมุมมอง และการสรุปความคิดรวบยอด กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้เพิ่มขึ้น เกิดข้อสงสัย อยากหาคำตอบในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน และใช้ตนเองเป็นผู้ค้นหาจนเกิดการเรียนรู้ในที่สุด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               – การเรียนการสอนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม – การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการได้เสนอผลความวิชาการประจำปีในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ – การพัฒนานักศึกษาในเรื่องของการปรับทัศนะคติ ในเรื่องการเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล

(386)