ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนกประจำปี 2553 เรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”

ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนกประจำปี 2553 เรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
ผู้บันทึก :  นางสาวจันทิมา ช่วยชุม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนกประจำปี 2553 เรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
  วันที่บันทึก  6 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               1. ตามหัวข้อเรื่อง “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต” เป็นการเรียนรู้ในเรื่องความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาความเป็นตัวตนของเรา บุคคลที่อยู่รอบข้างอันหมายรวมไปถึงทั้งบุคคลที่ใกล้ชิดและห่างออกไปในสังคม ที่อาศัยอยู่ นั่นก็คือชุมชนนั้นๆนั่นเอง ซึ่งตรงตามพันธกิจของวิทยาลัยที่จะจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้ชุมชน เป็นฐาน ส่งผลให้ได้แนวทางที่หลากหลายในการจะนำไปสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดย การ บูรณาการ ทรัพยากร บุคลากร สิ่งแวดล้อม และหัวใจของความเป็นมนุษย์ มาใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ 2. ในเวทีเสวนาเป็นการนำเสนอและตีแผ่กระบวนการ การดำเนินการ การจัดการความรู้ของทั้งครูผู้สอน นิสิตนักศึกษา โดยผ่านชุมชนที่ทำการศึกษาในบริบทที่แตกต่างกัน หากแต่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของความเป็นมนุษย์ ความเป็นบุคคลในแต่ละสถานะ รวมถึงความคิดและความเชื่อของบุคคลนั้นๆ 3. ในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับการเรียนสภาพจริง นั่นคือ การเรียนรู้ที่ต้องพัฒนาสู่โลกแห่งยุค 3G หากแต่ก็ต้องไม่ลืมพัฒนากำลังคนทั้งด้านความรู้ คุณธรรมจริยธรรม และการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆในสังคมอย่างมีความสุขร่วมด้วย ซึ่งจะไปถึงจุดนั้นได้การจัดการศึกษา และการสร้างนวัตกรรมที่หลากหลาย จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              1. ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ ทรัพยากร บุคลากร สิ่งแวดล้อม และหัวใจของความเป็นมนุษย์ มาใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ 2. พัฒนาความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับการเรียนตามสภาพจริง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเรียนการสอนรายวิชาในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

(289)

Comments are closed.