ผู้บันทึก : นางสาวจามจุรี แซ่หลู่, นางธมลวรรณ แก้วกระจก, นางเกษร ปิ่นทับทิม และนางสาวขจิต บุญประดิษฐ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 26 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : การประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553 “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต” | |
วันที่บันทึก 6 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
ชีวิตคือการศึกษาการศึกษาคือชีวิต อาจพูดได้อีกนัยหนึ่งว่า การเรียนรู้คือชีวิตและชีวิตคือการเรียนรู้ ในการสอนนักศึกษาให้เกิดการเรียนรู้นั้นคงไม่ใช่เป็นแค่เพียงไปใส่ความรู้ ให้ แต่ต้องให้วิธีการไปให้เขาจัดการกับชีวิตของตนเองได้ การเรียนรู้ที่ดีคือการเอาโจทย์ของชีวิตมาแก้ และเอาสิ่งที่ดีๆ ที่มีอยู่มาพัฒนา วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน มาช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ ในการพัฒนาการเรียนรู้ให้ยั่งยืนนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ขั้นคือ (1) รอด (survival) หลุดพ้นจากวงจรที่ไม่ดี (2) พอเพียง (sufficient) เข้มแข็งด้วยระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง (3) ยั่งยืน (sustainable) มั่นคง ยืนหยัดได้ในโลกาภิวัฒน์ โลกแห่งการแข่งขัน ในเรื่องของการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญคือชุมชน หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขุมทรัพย์ในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ทุนทรัพยากร ภูมิปัญญา สังคม กฎเกณฑ์สังคม จารีตประเพณี ในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ต้องให้บุคคลมีการปรับวิธีคิดหรือปรับกระบวน ทัศน์ รู้จักจัดระเบียบชีวิต เช่นการเลิก ลด ทดแทน และมีการสร้างสมดุลให้กับชีวิต ครอบครัว งาน เวลา และเงิน การเรียนรู้ชีวิต หรือมหาวิทยาลัยชีวิต มีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในห้องเรียนในมหาวิทยาลัยคือ เอาครอบครัว ชุมชน สังคมเป็นกรอบ เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เรียนมาก สอนน้อย เข้าใจการปฏิบัติ ช่วยกันเรียน ช่วยตนเองได้ ช่วยคนอื่นได้ เรียนได้ปริญญาและชีวิต อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกิน ช่วยให้คนเปลี่ยนความกลัวเป็นความรู้ การปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา การศึกษาในปัจจุบันยังไม่ได้พัฒนาไปเท่าที่ควร จากการสำรวจความรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาพบว่าความรู้ของนักเรียนไม่ ผ่าน 50% เกือบทุกวิชา วิชาที่ผ่านมีวิชาเดียวคือ ภาษาไทย ซึ่งผ่านเพียง 51% เท่านั้น ดังนั้นปัญหาจึงสืบเนื่องต่อไปยังระดับอุดมศึกษา ทำให้นักศึกษาที่เข้าเรียนระดับอุดมศึกษามีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นคือ เข้มงวดเรื่องคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน เน้นเรื่องการวิจัยและต้องเป็นการวิจัยที่มีคุณภาพ และนำความรู้ไปย่อยสลายแล้วนำไปให้บริการชุมชนอย่างแท้จริง การสอนทัศนคติ การเรียนสภาพจริง: เปลี่ยนความคิดพิชิตความจริง คนทุกคนมีมุมมอง มีความคิดที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความคิดของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาในการดูแลสุขภาพ จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงส่งผลให้เกิดแนวคิดของการแก้ปัญหาที่ต้นตอ คือ การดูแลสุขภาพที่คำนึงถึงมุมมองที่ต่างกันของแต่ละบุคคล หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual) การคิดของคนมักติดอยู่กับทัศนคติ ติดกรอบความคิดของตัวเราเอง ซึ่งความคิดนี้ก็จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมและการเรียนรู้เดิมของคน ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญของการดูแลสุขภาพก็คือ อย่าเอากรอบความคิดของตัวเราเองไปตัดสินผู้อื่นทันที เพียงแค่เห็นหรือฟังจากผู้อื่น แต่ขอให้เข้าใจ ทำความเข้าใจกับเหตุผลในสิ่งที่ผู้ป่วยปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจผู้ ป่วย ให้เข้าใจคนให้มากขึ้น ซึ่งในการเข้าใจคนนี้ อาจารย์ต้องนำเข้าไปแทรกในการจัดการศึกษาด้วย สิ่งสำคัญของการจัดการศึกษาคือ การให้นักศึกษารู้จักตนเอง เมื่อเกิดความรู้จักตนเองแล้วก็จะทำให้เกิดความเข้าใจผู้อื่นได้ การที่จะทำความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจมุมมองผู้อื่นได้ดีคือ การเข้าไปศึกษาตามสภาพความเป็นจริง อาจารย์มีบทบาทที่สำคัญต้องประเมินความคิดของนักศึกษาให้ออก และสอนให้นักศึกษาประจักษ์ได้ ให้นักศึกษามองเห็นว่ามุมมองความคิดของนักศึกษาต่างจากของบุคคลในชุมชนอย่าง ไร บางครั้งอาจารย์ก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับนักศึกษา ให้นักศึกษาลงไปศึกษาตามสภาพความเป็นจริงจะเป็นตัวที่ช่วยในเรื่องของการ ปรับทัศนคติ ปรับความคิด เปลี่ยนมุมมองให้อาจารย์และนักศึกษาหลุดจากกรอบได้ สอนให้นักศึกษาเห็นที่มาของความคิด แล้วความคิดนำไปสู่พฤติกรรมได้อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจได้ว่า “ความจริงที่เห็นแตกต่างจากที่คิด” พัฒนาคน…พัฒนางาน พัฒนาบริการให้ยั่งยืน ปัญหาโรคเรื้อรังเป็นปัญหาที่สำคัญมากในระบบบริการในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ การแก้ไขปัญหาที่โรคอย่างเดียว ซึ่งเป็นการแก้ที่ไม่ตรงจุดนัก รักษาตามปัญหาที่พบ แต่ไม่ได้ปรับในเรื่องของพฤติกรรม ส่วนใหญ่เพียงแค่ ให้คำแนะนำ ปรับยาเพื่อให้สามารถควบคุมโรคให้ได้ ในการให้ความรู้ก็ให้ความรู้ตามทฤษฏีทื่อๆ ไป ซึ่งบางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยก็ได้ เนื่องจากไม่เข้าใจชีวิตที่แท้จริงของผู้ป่วย แนะนำในสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติได้ ไม่เข้ากับวิถีชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นการให้บริการสุขภาพในปัจจุบันจึงควรแทรกเรื่องความเข้าใจมนุษย์เข้า ไปด้วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการและยังช่วยให้เกิดความสอดคล้องกับแหล่งการ ศึกษาทำให้นักศึกษาไม่สับสน และเกิดความเข้าใจคนมากขึ้น ในการแทรกเรื่องการเข้าใจมนุษย์เข้าไปในการจัดการศึกษาเวชปฏิบัติ แทรกได้ในเรื่องของการซักประวัติ ต้องเข้าใจผู้ป่วยว่าทำไมถึงเกิดปัญหา และไม่สามารถควบคุมโรคได้ ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ปัจจัยอะไรที่ส่งเสริมให้ควบคุมโรคได้ การซักประวัติ ก็เปรียบเสมือนการวิจัยเชิงคุณภาพ เมื่อเข้าใจผู้ป่วย จะทำให้เปลี่ยนวิธีการดูแล เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น ไม่ดุเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคได้ และมีความเมตตา ให้การดูแลด้วยใจมากขึ้น
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1, 2, และ 3 การสร้างเสริมสุขภาพฯ การพยาบาลมารดาทารก และเทคนิคและหลักการพยาบาลพื้นฐาน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการศึกษาสภาพจริงในรายวิชาทางการพยาบาล
|
(322)