นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล และนางเครือมาศ เพชรชู

นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล และนางเครือมาศ เพชรชู
  ผู้บันทึก :  Update in Pediatric Critical Care ๒๐๑๒
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 28 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 1 พ.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล และนางเครือมาศ เพชรชู
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก และครอบครัวในหน่วยบำบัดทารกแรกเกิด/เด็ก ในเรื่องดังนี้ คือ birth asphyxia, Humanistic nursing approach in pediatric critical care, Management of dengue shock syndrome, airway management, Management in renal replacement therapy, Arrhythmia update management, update in mechanical ventilator, Medication used, PALS ๒๐๑๒, New trend of pediatric liver transplant, Living will, New trend management of congenital heart disease, Infectious control, สำหรับการฝึกปฏิบัติ มีการฝึกในเรื่อง Respiratory distress, Respiratory failure และ PALS/CPR in Newborn

Common problems & Management in critically patients ประกอบด้วย aeration, brain, circulation, drugs, electrolytes, fluids, Genitourinary system, Gastrointestinal system, Growth and development         

๑.      aeration: pulmonary function

สำหรับ early signs of respiratory distress มีดังนี้คือ หายใจเร็ว อกบุ๋ม และจมูกบาน การได้ยินเสียง stridor (ได้ยินขณะหายใจเข้า แสดงถึงภาวะ upper airway obstruction) ส่วนเสียง wheezing (ได้ยินขณะหายใจออก แสดงถึงภาวะ lower airway obstruction) late signs of respiratory distress มีอาการดังนี้คือ conscious change, cyanosis, bradycardia, hypotension, respiratory arrest 

๒.      brain: neurological function

เป็นการประเมินปัญหา และให้การดูแลผู้ป่วย เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท พบมากในผู้ป่วยที่มีภาวะ increase ICP และผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมอง

Early signs of increase ICP คือ ร้องเสียงแหลม และกระหม่อมโป่งตึง, ปวดศีรษะในเด็กโต, projectile vomiting, increase systolic BP, bradycardia, pupils response to light ช้าลง, abnormal motor activity

๓.      circulation: cardiovascular function

early signs of systemic perfusion คือ trachycardia, oliguria, cool extrprolong capillary refill, intensity of peripheral pulse ลดลง, mottled color or pallor

late signs of systemic perfusion คือ hypotension,       severe metabolic acidosis, bradycardia

๔.      drugs การรักษาในผู้ป่วยวิกฤต มักมีการใช้ยา ดังนั้นต้องระวัง medication error

๕.      electrolytes

- hyperglycemia ทำให้ QT interval ยาว เป็นผลให้เกิด bradycardia

- hypokalemia พบได้ในผู้ป่วยที่ได้ diuretic drug และไม่ได้โปตัสเซียมทดแทน ทำให้มีอาการท้องอืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง EKG จะพบ   U wave

- hyperkalemia พบได้ในผู้ป่วย renal failure สำหรับEKGพบtall peak T

- การแก้ไขภาวะ hyperkalemia โดยให้ calcium, glucose, insulin, kayexalate, dialysis, blood exchange

- hyponatremia: มีอาการซึม หากโซเดียมต่ำมาก อาจทำให้ชักได้

๖.      fluids

การประเมิน fluid ต้องทำตลอดเวลา และให้อยู่ในภาวะสมดุล

๗.      Genitourinary system

- การประเมินปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไต ต้องสังเกต และบันทึกเกี่ยวกับจำนวนปัสสาวะ, urine sp. gr. , signs of dehydration, BW

๘.      Gastrointestinal system

- การให้ enteral feeding ให้ได้ในรายที่ bowel sound positive ซึ่งให้ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ oral feeding, tube feeding และ drip ทาง naso-gastric tube

Signs of intolerance of feeding มีดังนี้คือ vomiting, abdominal distention, bowel motility ลดลง, diarrhea และ gastric content มากกว่าครึ่ง  

๙.      Growth and development         

- ประเมินปัญหา และให้การดูแลการเจริญเติบโต และพัฒนาการ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

เพื่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยเด็กในภาวะวิกฤต และมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาล อื่นๆ รวมทั้งใช้การเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ , ตลอดจนเป็นการทบทวนวิชาการ และเพิ่มพูนความรู้ด้านการดูแลเด็ก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(368)

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการเขียนตำรา

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการเขียนตำรา
 ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล และ นางนิสากร จันทวี
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 23 เม.ย. 2555   ถึงวันที่  : 25 เม.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชนก และโครงการสวัสดิการวิชาการ สบช.
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการเขียนตำรา
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

ในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีวิทยากร คือ ศาตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์, รศ.ดร. สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และ รศ.วรรณา บัวเกิด เนื้อหาสรุปได้ดังนี้

ตำรา เป็นหนังสือวิชาการ อาจเป็นงานเขียนเรียบเรียงหรือแปล ซึ่งการเขียนตำราที่ดี ควรพิจารณาในประเด็นดังนี้ คือ ๑) การเลือกเรื่อง ควรมีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นจากตำราที่ปรากฏทั่วไปในตลาดหนังสือ

๒)  การ ตั้งชื่อเรื่อง การกำหนดขอบเขตของเรื่อง ๓) การกำหนดโครงเรื่อง ๔) เนื้อหา และการนำเสนอเนื้อหา เนื้อหาควรเสนอความรู้ใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ มีความถูกต้อง ทันสมัย และสมบูรณ์ ส่วนการนำเสนอเนื้อหา โดยการบรรยาย อธิบาย อ้างเหตุผล ๕) ส่วนประกอบ และรูปเล่มของตำรา

การประเมินระดับคุณภาพของตำรา มีดังนี้

ระดับดี เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา

ระดับดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ๑) มีการสังเคราะห์ และเสนอความรู้ที่ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ๒) มีการสอดแทรกความคิดริเริ่ม และประสบการณ์ หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นความรูใหม่ และ ๓) สามารถนำไปใช้เป็นแปล่งอ้างอิง หรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ๑) มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการเองใดเรื่องหนึ่ง ๒) มีการกระตุ้นให้เกิดความคิด แลค้นคว้าต่อเนื่อง และ ๓) เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพในระดับชาติ

นอก จากนี้ในการเขียนตำราพึงระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ๒ ประเด็น คือ ๑) การทำซ้ำ เป็นการคัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ และภาพจากต้นฉบับ    ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และ ๒)การดัดแปลง เป็นการทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ  ไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่  ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

สำหรับ การเป็นบรรณาธิการ ซึ่งเป็นผู้จัด ปรับปรุงเรื่องที่ลงพิมพ์ มีบทบาทสำคัญในการทำให้ตำราน่าอ่าน และมีคุณภาพ ขั้นตอนการบรรณาธิการ ต้องพิจารณาต้นฉบับ  ภาพ แผนภูมิ ตาราง และข้อมูลผู้เขียน การอ่านของบรรณาธิการ การอ่านครั้งแรกเป็นการอ่านเพื่อสำรวจ  และ อ่านอีกครั้งเป็นการอ่านอย่างละเอียด เพื่อวางแผนปรับปรุงแก้ไข นอกจากนี้งานบรรณาธิการยังรวมไปถึงการออกแบบ การเตรียมต้นฉบับ ตลอดจนการกำหนดรายละเอียด ด้านกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ เริ่มตั้งแต่การติดต่อ การกำหนดลักษณะงาน การประเมินราคาการทำข้อตกลง และกระบวนการพิมพ์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

มี ทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นการประชุมนานาชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้เห็นแนวทางการพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมที่ต้องทำต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(285)

เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติสำหรับนักศึกษาครั้งที่ ๑ ในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกในสังคมไร้พรมแดน “The 1 st International Student Conference: Innovations for Harmonious Living in a Borderless Society”

เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติสำหรับนักศึกษาครั้งที่ ๑ ในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกในสังคมไร้พรมแดน “The 1 st International Student Conference: Innovations for Harmonious Living in a Borderless Society”
 ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ม.ค. 2555   ถึงวันที่  : 25 ม.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
  จังหวัด :  ขอนแก่น
  เรื่อง/หลักสูตร :  เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติสำหรับนักศึกษาครั้งที่ ๑ ในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกในสังคมไร้พรมแดน “The 1 st International Student Conference: Innovations for Harmonious Living in a Borderless Society”
  วันที่บันทึก  13 ก.พ. 2555


 รายละเอียด
ในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม คือ นักศึกษา และอาจารย์ วัตถุ ประสงค์เตรียมตัวในการก้าวเข้าสู่อาเซียน โดยการให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาอื่นๆ เนื่องจากภาษาเป็นการสื่อให้เห็นวัฒนธรรมของประชาชนในชาติ Mr. Norman Hsu เป็น วิทยากรที่สามารถใช้ภาษาได้หลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาแคตาล็อก เป็นต้น เนื่องจากต้องย้ายไปเรียน และทำงานหลายประเทศ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้มีเพื่อนหลายประเทศ และเกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมชาติอื่น โดยผ่านทางการสื่อสาร  หลังจากนั้นเป็นการบรรยายร่วมของวิทยากร ๔ คน คือ

Associate Professor John F Smith จากประเทศนิวซีแลนด์ บรรยายเกี่ยวกับ Modern Globalization and Increasingly Borderless Societies

Mr. Nguyen The Thao จากประเทศเวียดนาม บรรยายเกี่ยวกับ Global Warming Livestock Production and Food Security Challenges Innovative Strategies for Adaptation  and Mitigation

Mr. Somsouk Sananikone จากประเทศลาว บรรยายเกี่ยวกับ Domestic Violence in Laos

Mr.Xingyu Huang จากประเทศจีน บรรยายเกี่ยวกับ Tai Chi Its Harmonious Concept

ในวันสุดท้ายมีการนำเสนอผลงานปากเปล่าผลการดำเนินโครงการ/นวัตกรรม/วิจัย จากหลากหลายสถาบัน โดยแบ่งเป็นห้องย่อย ตามหัวข้อการจัดครั้งนี้ มีทั้งหมด ๘ ห้องย่อย คือ Food Safety, Health Behavior, Social Innovation, Life Bettering Education, Social Concerns, Health Innovations I, Health Innovations II


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

มี ทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นการประชุมนานาชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้เห็นแนวทางการพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมที่ต้องทำต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

              ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโครงการ/นวัตกรรม/การทำวิจัย นอกจากนี้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการบริการวิชาการในชุมชนต่อไป

 

(328)

การพยาบาลโรคเด็ก

การพยาบาลโรคเด็ก
 ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 27 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพยาบาลโรคเด็ก
  วันที่บันทึก  7 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด

ด้านเนื้อหาสาระ

ได้รับความรู้เกี่ยวกับปัญหาทางศัลยกรรมที่พบบ่อยในเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหา acute abdomen ศัลยกรรมตบแต่งหรือมีความพิการตั้งแต่กำเนิด  ระบบ ทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เด็กที่ได้รับบาดเจ็บ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ไฟไหม้น้ำร้อนลวก เนื้องอก เป็นต้น ส่วนการพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางศัลยกรรม เช่น การจัดการความปวดในเด็ก การพยาบาลเด็กโรคกระดูกหักและข้อเคลื่อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาวิธีการให้นมแม่ในเด็กที่มีปัญหาการดูด โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือเมื่อเด็กมีปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่ คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ โดยการส่งเสริม early skin-to-skin contract , kangaroo mother care 2) การประคบประคองให้ผ่าน 45 วันแรกโดยไม่ใช้ขวดนม สอนการให้นมแม่จากเต้า สอนวิธีการอุ้มให้นม        3) สอนการให้นมเสริมด้วยวิธี เช่น การใช้ขวดนม harberman หรือกากบาทจุกนม 4) สอนกสนช่วยเหลือลดการกลืนอากาศระหว่างให้นม 5) สอนการทำความสะอาดช่องปาก 6) การปรึกษา ดูแล และการติดตามอย่างต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญในการเตรียมตัวเด็ก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อจิตใจจากการผ่าตัด ได้แก่ 1) การให้ข้อมูล ต้องเป็นข้อมูลจริง และครบถ้วน 2) การช่วยให้เด็กปรับตัวอย่างเหมาะสม โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น relaxation technique, distract imagery, comforting self talk เป็นต้น และ 3) การดูแลด้านจิตใจ ส่วนวิธีการที่ใช้ในการเตรียมตัวเด็กที่สำคัญ ประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์ตัวต่อตัว การเล่น การให้เขียนบทความสั้นๆ การใช้สื่อ การใช้รูปภาพ เป็นต้น หากเด็กไม่ได้รับการดูแลอาจทำให้เด็กเกิดความกลัว วิตกกังวล มีพฤติกรรมถดถอยได้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

เพื่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคต่างๆ รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาล อื่นๆ ต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(362)

โครงการขยายแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่

โครงการขยายแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่
 ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 26 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการขยายแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด

ด้านเนื้อหาสาระ

ใน การประชุมวิชาการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม คือ พยาบาล อาจารย์พยาบาล นักศึกษาพยาบาลที่กำลังดำเนินกิจกรรม นักศึกษาพยาบาลที่ดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรผู้สนใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ นอกจากนี้

ยัง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จการควบคุมยาสูบโดยพยาบาล และเป็นเวทีสำหรับเผยแพร่ผลงานของพยาบาล อาจารย์ และนักศึกษาพยาบาลในการควบคุมยาสูบ ด้านการนำเสนอผลงานโครงการ/นวัตกรรม/วิจัยการควบคุมยาสูบในโรงพยาบาล มีทั้งรูปแบบโปสเตอร์ และนำเสนอปากเปล่า จากหลากหลายสถาบัน เช่น สถานการศึกษา โรงพยาบาล เรือนจำ ชุมชน เป็นต้น โดยแบ่งเป็น

ห้อง ย่อย สำหรับนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมประชุมเข้ารับฟังในห้องย่อย ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการดำเนินดครงการของแกนนำนักศึกษาที่ได้จัดทำโครงการใน สถานการศึกษา

ด้านเนื้อหาการประชุม เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ซึ่งรูปแบบบริการเลิกบุหรี่ของคนส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ประกอบ ด้วย การบริการแบบไม่ใช้ยา การให้คำปรึกษา การปรับความคิด และพฤติกรรม การบำบัดเสริม เช่นสมุนไพร อาหาร เป็นต้น กิจกรรมบำบัด เช่น การนวด การกดจุด ส่วนอีกร้อยละ 30 เป็นการใช้ยาในรายที่ติดนิโคตินรุนแรง

ใน การทำงานให้บริการเลิกบุหรี่ต้องทำงานเป็นทีม มีระบบ มีขั้นตอนการบริการที่ยืดหยุ่น เน้นความสะดวกในการเข้ารับบริการ มีระบบการส่งต่อกัน ซึ่งกระบวนการบำบัดยึดตามกรอบ 5A

ประกอบด้วย 1) Ask เป็นการประเมินประวัติการสูบบุหรี่ทุกหน่วย ทุกโอกาสที่ให้การบริการ

2) Advise เป็นการแนะนำให้เลิกบุหรี่ทุกหน่วย ทุกโอกาสที่ให้การบริการ 3) Assess แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่/ระดับสารเสพติดนิโคติน/ปัจจัยช่วยให้เลิกได้สำเร็จภายใน/แนวทางหรือรูปแบบการเลิกของแต่ละคน/ปัจจัยภายนอก 4) Assist การช่วยเลิกบุหรี่ โดยใช้หลัก 5D คือ deep breath, drink water, delay, distract, discuss with others และ 5) Arrange follow up            การติดตามในสถานพยาบาล

ในการเตรียมทีมเลิกบุหรี่ในชุมชน ประกอบด้วย 1) ทีมสหวิชาชีพ ที่มีพยาบาลเป็นแกนนำ เช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ นักเทคนิกการแพทย์ อสม. เป็นต้น 2) แบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน (ask & advise) เพื่อคัดกรองผู้ติดบุหรี่ทุกกลุ่ม ทั้งญาติ วัยรุ่น เจ้าหน้าที่ 3) Assess, Assist and Arrange follow up มอบหมายงานให้ชัดเจน เตรียมงบประมาณ ในการติดตาม และ 4) จัดทำระบบการบันทึกข้อมูลที่มีระดับการเข้าถึงข้อมูลตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

สรุปได้ว่าบทบาทของพยาบาลในการให้บริการเลิกบุหรี่ ต้องประกอบด้วย 1) การเตรียมทีมให้มีความตระหนัก และมีหัวใจในการบริการช่วยเลิกบุหรี่ 2) มีความตั้งใจห่วงใยผู้สูบบุหรี่ และผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองทุกเพศ ทุกวัย 3) ดำเนินการตามกรอบ 5A ได้เต็มรูปแบบทุกขั้นตอน ใน OPD, IPD และชุมชน และ 4) หากไม่มั่นใจ อาจทำเพียง 3A และส่งต่อคลินิกอดบุหรี่


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

เพื่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบโดยพยาบาล เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโครงการควบคุมยาสูบในสถานการศึกษา และชุมชน รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานควบคุมยาสูบต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการบริการวิชาการในชุมชนต่อไป

(447)