ผู้บันทึก : นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 23 พ.ค. 2554 ถึงวันที่ : 27 พ.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี | |
จังหวัด : กรุงเทพ | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพยาบาลโรคเด็ก | |
วันที่บันทึก 7 มิ.ย. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
ด้านเนื้อหาสาระ ได้รับความรู้เกี่ยวกับปัญหาทางศัลยกรรมที่พบบ่อยในเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหา acute abdomen ศัลยกรรมตบแต่งหรือมีความพิการตั้งแต่กำเนิด ระบบ ทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เด็กที่ได้รับบาดเจ็บ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ไฟไหม้น้ำร้อนลวก เนื้องอก เป็นต้น ส่วนการพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางศัลยกรรม เช่น การจัดการความปวดในเด็ก การพยาบาลเด็กโรคกระดูกหักและข้อเคลื่อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาวิธีการให้นมแม่ในเด็กที่มีปัญหาการดูด โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับแนวทางการช่วยเหลือเมื่อเด็กมีปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่ คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ โดยการส่งเสริม early skin-to-skin contract , kangaroo mother care 2) การประคบประคองให้ผ่าน 45 วันแรกโดยไม่ใช้ขวดนม สอนการให้นมแม่จากเต้า สอนวิธีการอุ้มให้นม 3) สอนการให้นมเสริมด้วยวิธี เช่น การใช้ขวดนม harberman หรือกากบาทจุกนม 4) สอนกสนช่วยเหลือลดการกลืนอากาศระหว่างให้นม 5) สอนการทำความสะอาดช่องปาก 6) การปรึกษา ดูแล และการติดตามอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญในการเตรียมตัวเด็ก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อจิตใจจากการผ่าตัด ได้แก่ 1) การให้ข้อมูล ต้องเป็นข้อมูลจริง และครบถ้วน 2) การช่วยให้เด็กปรับตัวอย่างเหมาะสม โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น relaxation technique, distract imagery, comforting self talk เป็นต้น และ 3) การดูแลด้านจิตใจ ส่วนวิธีการที่ใช้ในการเตรียมตัวเด็กที่สำคัญ ประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์ตัวต่อตัว การเล่น การให้เขียนบทความสั้นๆ การใช้สื่อ การใช้รูปภาพ เป็นต้น หากเด็กไม่ได้รับการดูแลอาจทำให้เด็กเกิดความกลัว วิตกกังวล มีพฤติกรรมถดถอยได้ |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
เพื่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคต่างๆ รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาล อื่นๆ ต่อไป |
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
(363)