โครงการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี

โครงการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี
ผู้บันทึก :  นางสาวนอลีสา สูนสละ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 13 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 24 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               ด้านเนื้อหาสาระ ธรรมะกับการเป็นข้าราชการที่ดี การประยุกต์ใช้เรื่องธรรมะกับการเป็นข้าราชการที่ดี มี 4 ข้อ คือ 1.ฉันทะ เราจะต้องมีความรักในงานที่ทำอย่างจริงจัง เต็มใจทำงาน 2.วิริยะ ต้องแข็งใจทำงานให้ดีที่สุด “ดีเท่านั้นถึงจะดีที่สุด” 3.จิตตะ ตั้งใจทำ 4.วิมังสา ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทิศทางกาบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย 1.การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน 2.การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน 3.การรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ 4.การสร้างระบบบริหารบุคลและค่าตอบแทนใหม่ 5.การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยม 6.การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย 7.การเปิดระบบการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ข้าราชการยุคใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ข้าราชการที่ดีจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการต้องเตรียมร่างกาย จิตใจให้พร้อมในการที่จะทำงาน การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ รักษากายให้มั่นคง รักษาจิตให้ดี ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และจะต้องทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นให้มากที่สุด การควบคุมตนเองเพื่อประโยชน์สุขของชีวิต การควบคุมตนเองจากสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้ปฏิบัติ เช่น การมุ่งหาประโยชน์ส่วนตนจากตำแหน่งหน้าที่ และการปฏิบัติตนในทางที่ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์คือความสุขของชีวิตตนเอง การเรียนรู้ตามรอยพระยุคบาท:เสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรมสำหรับข้าราชการใหม่ องค์ประกอบในการประกอบวิชาชีพข้าราชการ คือ มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีความรู้เรื่องกฎหมาย มีคุณธรรมและจริยธรรม สติ สัมปชัญญะกับการเป็นข้าราชการที่ดี จะต้องทำเพื่อตัวเราเองและประสานประโยชน์ของครอบครัว ชุมชน องค์กรและสังคมที่ดี คือ ต้องมีน้ำมือ น้ำคำ และน้ำใจที่ดี มีวินัยเพราะวินัยเป็นพื้นฐานของความรับผิดชอบ และวินัยและความรับผิดชอบนั้นเป็นพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต และตัวชี้วัดความมีวินัยที่ง่ายและดีที่สุดก็คือ การตรงต่อเวลา การไม่มักง่ายในการทิ้งขยะและการมีมารยาทในสังคม การนำหลักคำสอนทางศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน จะต้องทำดี ละทิ้งความชั่ว มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา การพัฒนาตนเองเริ่มที่ตนเองก่อน เพื่อให้เรารู้จักตนเอง เพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี และเพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              มีความรู้เกี่ยวกับการเป็นข้าราชการที่ดี


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำไปประยุกต์ใช้กับงาน การจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก

(1145)

ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”

ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
  ผู้บันทึก :  นางสาวอมรา ภิญโญ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
  วันที่บันทึก  28 ธ.ค. 2553


 รายละเอียด
               ก. การบรรยายเรื่อง “ชีวิตคือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือชีวิต” โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต โลกปัจจุบันนี้ ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอด ดังนั้น ในการดำเนินชีวิตจึงอาศัยการปรับตัวอย่างมาก ซึ่งการปรับตัวนั้นต้องอาศัยความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญ มีการยกตัวอย่างบุคคลหลากหลายอาชีพที่ได้มาศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตคือ ต้องจัดการชีวิตของตนให้เป็นระเบียบและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ก่อน มีการตั้งเป้าหมายในชีวิต เพื่อเป็นเส้นชัยให้เราเดินไปถึง อยู่อย่างไรให้พอเพียงในยุคนี้ เรียนรู้ให้สามารถอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เชื่อมั่น รู้ว่ารากเหง้าของตนมาจากไหน คนเราไม่มีใครไม่รู้อะไรเลย และไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง ดังนั้น เราจึงควรมาเรียนรู้ด้วยกัน พร้อมกัน ต้องมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการระเบิดจากข้างใน นั่นคือ การมีจิตสำนึกของตัวเอง ครอบครัว และชุมชน มีการยกตัวอย่างการพัฒนาชุมชนโดย อบต. ซึ่งทำครบวงจร ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยสรุป ขั้นตอนของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย ๓ S ได้แก่ รอด (Survived) พอเพียง (Sufficient) และ ยั่งยืน (Sustainable) และอาศัยขุมทรัพย์ในชุมชน ได้แก่ ทุนทรัพยากร ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม การได้รับปริญญาชีวิต ต้องมีการปรับวิธีคิด จัดระเบียบชีวิต และสร้างสมดุลให้กับชีวิต ข. การบรรยายเรื่อง “การปฎิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา การจัดการศึกษาในประเทศไทย อาจจะไม่เป็นที่พึงพอใจของคนในสังคมเท่าไรนัก มีการจัดการศึกษาสำหรับคนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น ผู้พิการ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีปริมาณมาก เป็นของรัฐ ๒ ใน ๓ แต่คุณภาพไม่แน่ใจ บางสาขามีปริมาณมาก คนเรียนมาก พบข้อจำกัดในการกำกับสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ความเป็นอิสระทางวิชาการ การเมือง มีคนต้องการเรียนในสายสามัญ เข้าสู่มหาวิทยาลัยมาก ต้องมีการปรับสัดส่วนให้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น โดยอีกประมาณ ๘ ปีข้างหน้าต้องปรับสัดส่วนสายอาชีพต่อสามัญ เป็น ๖๐ ต่อ ๔๐ การปฏิรูปการศึกษาของไทย ต้องเปิดช่องทางอื่นๆ ให้ได้เรียน มากกว่าเข้ามหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาด และใช้ TQF มาควบคุม สิ่งที่มหาวิทยาลัยยังต้องพัฒนาอีกต่อไปคือ การวิจัย การเป็นมหาวิทยาลัยที่แท้จริง คือ การบุกเบิกความรู้ใหม่ๆ ไม่ใช่ ผู้สอนหนังสือเท่านั้น รวมทั้งการบริการวิชาการ เอาความรู้ที่ได้จากการวิจัยย่อยสู่คนในสังคม ไม่ใช่ ทำแค่พิธีกรรม หน้าที่มหาวิทยาลัย เน้นคุณภาพบัณฑิต มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ กระจายสู่ชาวบ้าน ค. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา “เปลี่ยนความคิด พิชิตความจริง” ทัศนคติกับการเรียนการสอน ทัศนคติเป็นเรื่องของมุมมอง การคิดของแต่ละคน การปรับมุมมอง ต้องใช้สถานการณ์จริง และทำซ้ำๆ การสอนทัศนคติและเนื้อหาสาระต้องควบคู่กัน ควรรับฟังความคิดของผู้อื่น ดูเงื่อนไข ความจำเป็นของเค้าก่อนตัดสิน ง. เสวนา “ครอบครัวเดียวกัน” ตัวแทนนักศึกษา ๕ วิทยาลัย (พะเยา ขอนแก่น จักรีรัช ชลบุรี และนครศรีธรรมราช) เล่าถึงกิจกรรมครอบครัวเดียวกันของแต่ละวิทยาลัย และความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักศึกษาทุกวิทยาลัยรู้สึกอบอุ่น กล้าพูด สามัคคี เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จ. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา “ทฤษฎีการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ในชีวิตจริง” การศึกษาคือการเรียนรู้ ไม่ควรให้กรอบทฤษฎีมาทำให้ปิดกั้นไม่เห็นชีวิตจริง เน้นการเรียนรู้จากการสังเกต ประสบการณ์ชีวิต ปฏิบัติจริง ด้วยน้ำมือและหัวใจ มากกว่าท่องจำจากตำรา ธรรมชาติการเรียนรู้ของคน เริ่มจากปัญหาความต้องการของบุคคล เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สรุปเป็นแนวคิดรวบยอด นำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับชีวิตจริง คิดค้นต่อยอดทฤษฎีอื่นๆได้ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติของตนให้ดียิ่งขึ้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาศึกษาจากสภาพจริง เช่น การสัมภาษณ์จากผู้ป่วย การสังเกตอาการของผู้ป่วย และการประเมินผลที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับงานกิจการนักศึกษาควรเน้น เกี่ยวกับการปรับตัวในการดำเนินชีวิตโดยอาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน ________________________________________


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นอกจาก การเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริงแล้วยังต้องให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการดำรงชีวิตคือ ของตนให้เป็นระเบียบและสามารถอยู่รอดในสังคมที่มีการปลี่ยนตลอดเวลา ________________________________________

(300)

การพยาบาลโรคเด็ก

การพยาบาลโรคเด็ก
ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 12 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 16 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพยาบาลโรคเด็ก
  วันที่บันทึก  29 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดในเด็ก และการพยาบาล ซึ่งโรคต่างๆ ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย , โรคสมอง , โรคมะเร็งและโรคเลือด , โรคหัวใจ, โรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย และโรคผวหนัง ส่วนการพยาบาล ได้แก่ การพยาบาลเด็กโรคเบาหวาน , การพยาบาลเด็กที่มีภาวะ GI bleeding และ pH monitoring , การพยาบาลเด็กโรคไข้เลือดออก , การพยาบาลเด็กโรคทางสมอง , การพยาบาลเด็กโรคมะเร็งและโรคเลือด , การพยาบาลเด็กโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาทางโภชนาการในเด็ก , การเฝ้าระวังและควบคุมการ ติดเชื้อในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ , การพยาบาลเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ , oxygen and aerosol therapy และ biopsychosocial care for hospitalized child


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1,2 และ 3 ในหัวข้อการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคต่างๆ รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาล อื่นๆ ต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนโรคเด็ก และการพยาบาลเด็กโรคต่างๆ

(323)

Cardiac rhythm : theory & analysis for critical care nurses

Cardiac rhythm : theory & analysis for critical care nurses
ผู้บันทึก :  นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 28 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  Cardiac rhythm : theory & analysis for critical care nurses
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ด้านเนื้อหาสาระ การอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ – Conduction and Normal sinus rhythm – Lead & Axis – Hypertrophy & Electrolyte imbalance – Arrhythmia interpretation : Bradycardia , Narrow QRS complex tachycardia , Wide QRS complex tachycardia – Myocardial infarction & ischemia EKG pattern – Practical point in CPR – Cardiac pacemaker & ICD


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ ในหัวข้อหัวใจและหลอดเลือด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ ในหัวข้อหัวใจและหลอดเลือด

(292)

ความสำเร็จ นวัตกรรมและการจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง

ความสำเร็จ นวัตกรรมและการจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง
 ผู้บันทึก :  นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม และ นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 18 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 19 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย ฯ ร่วมกับ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ความสำเร็จ นวัตกรรมและการจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ จากการสำรวจสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – เดือนมีนาคม 2552 พบภาวะภาวะอ้วน ในชาย 28.4% และในหญิง 40.7% นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยโรคเบาหวาน 6.9 % โดย 1 ใน 3 ของบุคคลเหล่านี้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อน และพบผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานสูงกว่าผู้ชาย พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 21.4 % มีผู้ป่วยมีภาวะไขมันในเลือดสูง 19.1 % ผู้่ป่วยโรคทาง Metabolic Syndrome 21.7% ผู้ป่วยในภาวะซึมเศร้า 2.8% ซึ่งความชุกของผู้ป่วยเหล่านี้สูงขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ 3 นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างน้อย 2-3 โรค ซึ่งทำให้เห็นว่าแนวโน้มโรคเรื้อรังในประเทศไทยเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ให้ บริการสุขภาพไม่สามารถละเลยได้ ในอดีตการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเป็นผู้ให้บริการเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ในปัจจุบันการบริการสุขภาพแบบปฐมภูมิเข้ามามีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคมากขึ้น ทำให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการดูแลไม่ให้เกิดโรค และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้รับการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เหตุผลที่ทำให้ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิเหมาะสมกับโรคเรื้อรัง คือ (1) ระบบปฐมภูมิสามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับการให้ความรู้ ทักษะในการจัดการสุขภาพตนเองแก่ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังได้ (Self Management Education) เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่มีระดับความรู้ ความเข้าใจและพลังใจส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในการควบคุมดูแลสุขภาพหรือ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระดับทุติยภูมิ ดังนั้นระบบบริการในระดับปฐมภูมิจึงมีความคล่องตัวในการให้การดูแลที่เหมาะ สมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล (2) เมื่อผู้ป่วยเรื้อรังกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านหรือในชุมชน บุคคลเหล่านี้จะได้รับผลกระทบในการดูแลตนเองจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐานะทางสังคม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิซึ่งอยู่ในพื้นที่ จึงมีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพล ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรังเหล่านี้ Chronic Care Model (CCM) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดย MacColl Institute for Health Care Innovation ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิจัยนำโดย Edward H Wagner รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับประเภทมาตรการและสร้างต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรัง โดยได้ให้คำจำกัดความ “ภาวะป่วยเรื้อรัง” คือ ภาวะใดๆที่ต้องอาศัยกิจกรรมและการตอบสนองต่อเนื่องจากผู้ป่วย ผู้ดูแลและระบบบริการการแพทย์ ภาวะนี้ครอบคลุมมิติทางกาย ใจ และพฤติกรรม องค์ประกอบของ CCM ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบที่ไม่แยกสามารถออกจากกันได้ ได้แก่ (1) การสนับสนุนการดูแลตนเอง (Self-management support) (2) การออกแบบระบบบริการ (delivery system design) (3) การช่วยเหลือสนับสนุนจากทีมบริการสุขภาพในการดูแลสุขภาพ (Decision support) (4) การใช้เทคโนโลยีในการให้ความรู้และติดตามผลการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรค เรื้อรัง (Clinical Information System) (5) การทำความตกลงให้มีการร่วมใช้ทรัพยากรองค์กรต่างๆในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูง สุด (Community Resources Linkage) (6) การดำเนินงานขององค์กร (Health System Organization) จากการศึกษาแบบสังเกตการณ์ของวิทยากร นพ. ชูชัย ศรชำนิ พบว่าในองค์กรที่มีผู้นำที่ไม่ได้แต่งตั้งเป็นทางการแต่ได้รับการยอมรับและ เชื่อถือจากชุมชน หรือ ที่เรียกว่า ผู้นำระดับสูง (Senior Leadership) สามารถเป็นแกนนำให้แผนการดำเนินต่อไปได้ หากองค์กรนั้นได้กำหนดการดูแลโรคเรื้อรังอยู่ในวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรหรือเป็นแผนระยะยาวไว้แล้ว นอกจากนี้การกระจายอำนาจให้ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการและผู้รับผิดชอบส่วน ย่อยของโครงการและกลไกการให้ค่าตอบแทนตามภาระ และคุณภาพของงานจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ในการประชุมวิชาการครั้่งนี้ได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการการดูแลผู้ป่วยโรค เรื้อรังที่น่าสนใจ ดังนี้ (1) Evidence-Based Practice การจัดโครงการป้องกันปัญหาโรคเบาหวานในชุมชน (2) Evidence-Based Practice การจัดโครงการป้องกันปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด (3) รูปแบบและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ในชุมชน (4) รูปแบบและแนวทางการควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากการบริโภคยาสูบในชุมชน (5) โครงการสร้างชุมชนปลอดบุหรี่ (6) โครงการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพในการดูแลผู้ที่มีปัญหาโรคเบาหวานในชุมชน (7) โครงการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหอบหืดในชุมชน และ (8) โครงการการดูแลและส่งเสริมสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนรายวิชา.การส่งเสริมสุขภาพและการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ การบริการวิชาการ ประยุกต์ใช้ในการสร้างความเข็มแข็งของชุมชน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำแนวคิด ที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้มาร่วมวางแนทางการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน ชุมชนพระพรหมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพและผู้นำชุมชน ในโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้พระพรหม และโครงการสร้างชุมชนต้นแบบ


(431)