ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการเขียนตำรา

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการเขียนตำรา
 ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล และ นางนิสากร จันทวี
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 23 เม.ย. 2555   ถึงวันที่  : 25 เม.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชนก และโครงการสวัสดิการวิชาการ สบช.
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการเขียนตำรา
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด

๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

ในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีวิทยากร คือ ศาตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์, รศ.ดร. สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และ รศ.วรรณา บัวเกิด เนื้อหาสรุปได้ดังนี้

ตำรา เป็นหนังสือวิชาการ อาจเป็นงานเขียนเรียบเรียงหรือแปล ซึ่งการเขียนตำราที่ดี ควรพิจารณาในประเด็นดังนี้ คือ ๑) การเลือกเรื่อง ควรมีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นจากตำราที่ปรากฏทั่วไปในตลาดหนังสือ

๒)  การ ตั้งชื่อเรื่อง การกำหนดขอบเขตของเรื่อง ๓) การกำหนดโครงเรื่อง ๔) เนื้อหา และการนำเสนอเนื้อหา เนื้อหาควรเสนอความรู้ใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ มีความถูกต้อง ทันสมัย และสมบูรณ์ ส่วนการนำเสนอเนื้อหา โดยการบรรยาย อธิบาย อ้างเหตุผล ๕) ส่วนประกอบ และรูปเล่มของตำรา

การประเมินระดับคุณภาพของตำรา มีดังนี้

ระดับดี เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา

ระดับดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ๑) มีการสังเคราะห์ และเสนอความรู้ที่ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ๒) มีการสอดแทรกความคิดริเริ่ม และประสบการณ์ หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นความรูใหม่ และ ๓) สามารถนำไปใช้เป็นแปล่งอ้างอิง หรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ๑) มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการเองใดเรื่องหนึ่ง ๒) มีการกระตุ้นให้เกิดความคิด แลค้นคว้าต่อเนื่อง และ ๓) เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพในระดับชาติ

นอก จากนี้ในการเขียนตำราพึงระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ๒ ประเด็น คือ ๑) การทำซ้ำ เป็นการคัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ และภาพจากต้นฉบับ    ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และ ๒)การดัดแปลง เป็นการทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ  ไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่  ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

สำหรับ การเป็นบรรณาธิการ ซึ่งเป็นผู้จัด ปรับปรุงเรื่องที่ลงพิมพ์ มีบทบาทสำคัญในการทำให้ตำราน่าอ่าน และมีคุณภาพ ขั้นตอนการบรรณาธิการ ต้องพิจารณาต้นฉบับ  ภาพ แผนภูมิ ตาราง และข้อมูลผู้เขียน การอ่านของบรรณาธิการ การอ่านครั้งแรกเป็นการอ่านเพื่อสำรวจ  และ อ่านอีกครั้งเป็นการอ่านอย่างละเอียด เพื่อวางแผนปรับปรุงแก้ไข นอกจากนี้งานบรรณาธิการยังรวมไปถึงการออกแบบ การเตรียมต้นฉบับ ตลอดจนการกำหนดรายละเอียด ด้านกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ เริ่มตั้งแต่การติดต่อ การกำหนดลักษณะงาน การประเมินราคาการทำข้อตกลง และกระบวนการพิมพ์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

มี ทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นการประชุมนานาชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้เห็นแนวทางการพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมที่ต้องทำต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(287)

Comments are closed.