โครงการขยายแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่

โครงการขยายแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่
 ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 26 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการขยายแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด

ด้านเนื้อหาสาระ

ใน การประชุมวิชาการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม คือ พยาบาล อาจารย์พยาบาล นักศึกษาพยาบาลที่กำลังดำเนินกิจกรรม นักศึกษาพยาบาลที่ดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรผู้สนใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ นอกจากนี้

ยัง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จการควบคุมยาสูบโดยพยาบาล และเป็นเวทีสำหรับเผยแพร่ผลงานของพยาบาล อาจารย์ และนักศึกษาพยาบาลในการควบคุมยาสูบ ด้านการนำเสนอผลงานโครงการ/นวัตกรรม/วิจัยการควบคุมยาสูบในโรงพยาบาล มีทั้งรูปแบบโปสเตอร์ และนำเสนอปากเปล่า จากหลากหลายสถาบัน เช่น สถานการศึกษา โรงพยาบาล เรือนจำ ชุมชน เป็นต้น โดยแบ่งเป็น

ห้อง ย่อย สำหรับนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมประชุมเข้ารับฟังในห้องย่อย ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการดำเนินดครงการของแกนนำนักศึกษาที่ได้จัดทำโครงการใน สถานการศึกษา

ด้านเนื้อหาการประชุม เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ซึ่งรูปแบบบริการเลิกบุหรี่ของคนส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ประกอบ ด้วย การบริการแบบไม่ใช้ยา การให้คำปรึกษา การปรับความคิด และพฤติกรรม การบำบัดเสริม เช่นสมุนไพร อาหาร เป็นต้น กิจกรรมบำบัด เช่น การนวด การกดจุด ส่วนอีกร้อยละ 30 เป็นการใช้ยาในรายที่ติดนิโคตินรุนแรง

ใน การทำงานให้บริการเลิกบุหรี่ต้องทำงานเป็นทีม มีระบบ มีขั้นตอนการบริการที่ยืดหยุ่น เน้นความสะดวกในการเข้ารับบริการ มีระบบการส่งต่อกัน ซึ่งกระบวนการบำบัดยึดตามกรอบ 5A

ประกอบด้วย 1) Ask เป็นการประเมินประวัติการสูบบุหรี่ทุกหน่วย ทุกโอกาสที่ให้การบริการ

2) Advise เป็นการแนะนำให้เลิกบุหรี่ทุกหน่วย ทุกโอกาสที่ให้การบริการ 3) Assess แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่/ระดับสารเสพติดนิโคติน/ปัจจัยช่วยให้เลิกได้สำเร็จภายใน/แนวทางหรือรูปแบบการเลิกของแต่ละคน/ปัจจัยภายนอก 4) Assist การช่วยเลิกบุหรี่ โดยใช้หลัก 5D คือ deep breath, drink water, delay, distract, discuss with others และ 5) Arrange follow up            การติดตามในสถานพยาบาล

ในการเตรียมทีมเลิกบุหรี่ในชุมชน ประกอบด้วย 1) ทีมสหวิชาชีพ ที่มีพยาบาลเป็นแกนนำ เช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ นักเทคนิกการแพทย์ อสม. เป็นต้น 2) แบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน (ask & advise) เพื่อคัดกรองผู้ติดบุหรี่ทุกกลุ่ม ทั้งญาติ วัยรุ่น เจ้าหน้าที่ 3) Assess, Assist and Arrange follow up มอบหมายงานให้ชัดเจน เตรียมงบประมาณ ในการติดตาม และ 4) จัดทำระบบการบันทึกข้อมูลที่มีระดับการเข้าถึงข้อมูลตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

สรุปได้ว่าบทบาทของพยาบาลในการให้บริการเลิกบุหรี่ ต้องประกอบด้วย 1) การเตรียมทีมให้มีความตระหนัก และมีหัวใจในการบริการช่วยเลิกบุหรี่ 2) มีความตั้งใจห่วงใยผู้สูบบุหรี่ และผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองทุกเพศ ทุกวัย 3) ดำเนินการตามกรอบ 5A ได้เต็มรูปแบบทุกขั้นตอน ใน OPD, IPD และชุมชน และ 4) หากไม่มั่นใจ อาจทำเพียง 3A และส่งต่อคลินิกอดบุหรี่


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

เพื่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบโดยพยาบาล เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโครงการควบคุมยาสูบในสถานการศึกษา และชุมชน รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานควบคุมยาสูบต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              นำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการบริการวิชาการในชุมชนต่อไป

(448)

Comments are closed.