อบรมภาษาอังกฤษ ณ สถาบันสอนภาษาอังกฤษและแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ Knowledge Plus

อบรมภาษาอังกฤษ ณ สถาบันสอนภาษาอังกฤษและแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ Knowledge Plus
ผู้บันทึก :  นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม และ นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 28 ก.พ. 2554   ถึงวันที่  : 8 เม.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  อบรมภาษาอังกฤษ ณ สถาบันสอนภาษาอังกฤษและแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ Knowledge Plus
  วันที่บันทึก  21 เม.ย. 2554


 รายละเอียด
การอบรมครั้งนี้เป็นหลักสูตรเสริมความเข้มแข็งด้านทักษะภาษาอังกฤษ ทั้ง ๔ ทักษะ คือ ทักษะ ด้านการอ่าน   การฟัง   การพูด   และการเขียน  รวมถึงGrammar และ Structure

                                  ลักษณะการสอน  เน้นการเตรียมตัวสอบ Toefl และ Ielts  เพื่อนำคะแนนไปขอทุนศึกษาต่อดังนี้    ๑.  เทคนิกการทำข้อสอบ Reading  จะเน้นวิธีการอ่านแบบจับประเด็น (หัวข้อ หรือ Head line)  การจับประเด็นการสรุป (Conclusion)  การอ่านแบบใช้เทคนิกการสังเกต Grammar หรือโครงสร้างของประโยค นอกจากนี้จะสอนเน้นเทคนิกการทำข้อสอบให้ทันเวลาเนื่องจากส่วนใหญ่ผู้เข้าสอบจะทำข้อสอบไม่ทัน  โดยการให้อ่านคำถามก่อนแล้วค่อยไปดูเนื้อหาว่าอยู่ตรงไหนใน Text  และแนะนำให้ทำข้อสอบ Part สุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำถามเกี่ยวกับบทสรุปของ Text อันจะช่วยผู้เข้าสอบพอจะเดาได้ว่าเนื้อหาเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

                ๒. เทคนิกการทำข้อสอบ Listening อาจารย์จะเน้นให้ฝึกการฟังบ่อยๆ จากหลากหลายสำเนียงของเจ้าของภาษา เช่น สำเนียงแบบออสเตรเลีย   สำเนียงแบบอังกฤษ  หรือสำเนียงอเมริกัน  และให้พยายามจับประเด็นในเรื่องที่ฟัง

                ๓. เทคนิกการทำข้อสอบ Writing  โดยปกติการสอบ Writing จะมี ๒ แบบ คือ๑) การเขียนบรรยายกราฟ หรือสถิติ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ให้มา  กับ๒) การเขียนเรียงความ ซึ่งโจทย์จะให้ประเด็นมาและให้ตอบว่าคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่พร้อมเหตุผล หรือยกตัวอย่างในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ได้จำนวนคำที่มากพอ (เนื่องจากจะมีการกำหนดจำนวนคำที่ต้องเขียนให้ได้ในข้อนั้นๆ เช่น  ๑๕๐ หรือ ๒๕๐ word  เป็น ต้น) เทคนิกหลักๆ คือก่อนเขียนต้องวางโครงการเขียนก่อน ซึ่งประกอบด้วย ย่อหน้าที่ ๑ ควรเขียนเป็นประเด็นกว้างๆ ของเรื่องนั้นๆ (เหมือนเป็นบทนำ) ย่อหน้าที่ ๒ เป็นรายละเอียดของเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องทั้งหมด  และย่อหน้าสุดท้ายควรเป็นการสรุปประเด็นหรือข้อสังเกตหรือข้อคิดเห็น  ทั้งนี้การใช้คำไม่ควรใช้คำศัพท์ซ้ำๆ ควรเล่นคำให้หลากหลาย ซึ่งก็คือต้องรู้ศัพท์ค่อนข้างมาก (คำต่างแต่มีความหมายเหมือนกัน= synonym) จึงจะได้คะแนนสูง

                ๔. เทคนิกการทำข้อสอบ Speaking (มีสอบเฉพาะข้อสอบIelts)  จะต้องสอบแบบถามตอบเหมือนถูกสัมภาษณ์จากเจ้าของภาษาโดยตรง  ซึ่ง ไม่สามารถทราบประเด็นข้อคำถามล่วงหน้าได้ นอกจากต้องฝึกพูดบ่อยๆและให้หลากหลายสาขาวิชา (เพื่อเป็นการเตรียมตัวเรื่องศัพท์) สำหรับการสอบ Speaking จะมี ๓ Part ด้วยกัน คือ Part ๑) แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง  ใช้เวลา ๓-๔ นาที  หลังจากนั้น Part ๒) ให้หยิบฉลากเพื่อเลือกหัวข้อที่จะพูด เมื่อได้หัวข้อแล้ว กรรมการจะให้เวลา ๑ นาที สำหรับ list ประเด็นเพื่อเตรียมพูด  หลังจากนั้นกรรมการให้เวลาในการพูด ๓-๕ นาที  แบบ non stop  Part ๓) กรรมการจะถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใน Part ๒ ใช้เวลาอีก ๓-๕ นาที  


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานวิเทศสัมพันธ์ การวิจัยและผลงานทางวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(330)

การประชุมผู้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรทางการบริหารและพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง

การประชุมผู้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรทางการบริหารและพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง
  ผู้บันทึก :  ดร. ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม และอาจารย์อาทิตย์ ภูมิสวัสดิ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 25 ม.ค. 2554   ถึงวันที่  : 29 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ณ วิทยาลัยการบริหารสาธารณสุข
  จังหวัด : 
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมผู้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรทางการบริหารและพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               วิทยากรพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพจะช่วยส่งเสริมให้การประชุมกลุ่มและการเรียนรู้ ของผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งบทบาทของวิทยากรพี่เลี้ยงสำหรับหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสาธารณสุข ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่จำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมใน หลักสูตรดังกล่าวล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้นบรรยากาศการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมให้ เกิดการเรียนรุ้แบบผู้ใหญ่ (Adult learning) จึงถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งวิทยากรพี่เลี้ยงจะเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ บริหารที่เข้ารับการอบรมได้ดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับจากการอบรมและประสบการณ์ในการทำงานของตนได้ ลักษณะของวิทยากรพี่เลี้ยงที่ดีควรประกอบไปด้วย 1 มีการตรียมความพร้อมของวิทยากรได้แก่ การเตรียมความรู้โดยมีการพัฒนาองค์ความรู้ให้ทันตามสถานการณ์ พัฒนาทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการบริหารงานในระบบสาธารณสุข รวมถึงการบุคลิกภาพให้น่าเชื่อถือ สามารถเข้าถึงได้ และต้องรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานประจำที่มีอยู่และจัดสรรเวลาในการทำงานประจำและการเป็น วิทยากรพี่เลี้ยงไม่ให้เกิดการสับสน ฝึกทักษะการสังเกตเนื่องจากในการเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงวิทยากรต้องหมั่น สังเกตปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมทั้งในระดับบุคคล และระดับกลุ่ม 2 มีการเตรียมพื้นที่ก่อนนำผู้เข้ารับการอบรมไปศึกษาพื้นที่ ได้แก่ การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการฝึกการบริหารโดยอาจจะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ เดิมของผู้เข้ารับการอบรมด้วย นอกจากนั้นวิทยากรพี่เลี้ยงควรศึกษาข้อมูล ศึกษาพื้นที่จริง และประสานงานพื้นที่ก่อนที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าสู่พื้นที่ 3 ต้องมีการเตรียมทีมวิทยากรพี่เลี้ยงก่อนการเริ่มการอบรม เกี่ยวกับการชี้แจงหลักสูตร (กำหนดบทบาทหน้าที่) หลักการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขอุปสรรค/ปัญหา การจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (อุปกรณ์ต่างๆ) และมีการเตรียมตัวผู้เข้าอบรมสำหรับการลงพื้นที่ 4. จัดทำเอกสารในการประชุม เช่น คู่มือฝึกภาคสนาม ปฐมนิเทศ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำมาใช้ในการพัฒนางานการเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงการอบรมผู้บริหารการสาธารณสุข และการดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุข


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(311)

มิติที่ท้าทาย: นโยบายสุขภาพชุมชน

มิติที่ท้าทาย: นโยบายสุขภาพชุมชน
 ผู้บันทึก :  นางสาวจันทิมา ช่วยชุม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 17 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 19 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลราชวิถีร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  มิติที่ท้าทาย: นโยบายสุขภาพชุมชน
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ 1. ตามหัวข้อเรื่อง “มิติที่ท้าทาย : นโยบายสุขภาพชุมชน” เป็นการเรียนรู้ในเรื่องความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน สภาวะสุขภาพโดยรวมของประเทศและแนวทางหรือนโยบายของการให้บริการสุขภาพแก่ ประชาชน ที่เน้นการส่งเสริมป้องกันมากกว่าการรักษา นั่นคือการให้บริการแบบเชิงรุก ที่รณรงค์และให้ความสำคัญกันมานานหากแต่ไม่เห็นเป็นรูปธรรม หากแต่เมื่อไม่นานมานี้ระบบสุขภาพของเราได้มีคำใหม่ขึ้นมาให้ได้ยิน คือคำว่า รพสต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ซึ่งเป็นการยกระดับสถานีอนามัยขึ้นมาเป็นโรงพยาบาล ทำให้ผู้นำทางสุขภาพหรือเจ้าหน้าที่ประจำการที่สถานีอนามัยได้แสดงศักยภาพ และมีบทบาทในชุมชนนั้นๆ มากยิ่งขึ้น โดยการประชุมในครั้งนี้ มีวิทยากรที่ปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานนั้นๆ ทั้ง แพทย์ พยาบาล และผู้ทรงคุณวุฒิในงานต่างๆรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับงานแผนและนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุขมาอธิบายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะวิทยากรท่านอื่นๆ และผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งในการนี้บ่งบอกว่า การทำงานให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองนโยบายขององค์กรมีหลักใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในงาน ความรักในงาน การมีทีมงานหรือเครือข่าย นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงบทบาทขององค์กรวิชาชีพกับการสนองนโยบายสาธารณสุข การบริหารความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพ และแนวโน้มของการพัฒนาระบบสุขภาพยุคใหม่ด้วย 2. ในการนำเสนอนวัตกรรมของระบบบริการสุขภาพ เป็นการนำเสนอผลงานที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิถีชุมชนและสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบทางจิตแนวใหม่ Bra CA และลูกแก้ววิเศษ เป็นต้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              1. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ 2. การมุ่งผลสัมฤทธิ์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              1. นำมาเป็นหลักหรือแนวทางการสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข 2. พัฒนาความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพที่เน้นส่งเสริมและป้องกันมากกว่ารักษา

(337)

การเขียนบทความทางวิชาการ

การเขียนบทความทางวิชาการ
 ผู้บันทึก :  : นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 26 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 28 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การเขียนบทความทางวิชาการ
  วันที่บันทึก  9 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เรื่องการเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพอาจารย์ในวิทยาลัยสังกัดสถาบันฯให้สามารถสังเคราะห์องค์ ความรู้จากบทเรียนและประสบการณ์การสอนแบบบูรณาการของตนเองและนำเสนอเป็นบท ความวิชาการหรือบทความวิจัยตามมาตรฐานสากลที่สามารถเผยแพร่ได้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีการเสนอแนะแนวทางการเขียนบทความวิชาการและ วิจัยของนายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพดังนี้ ๑.ในการเขียนแต่ละครั้งบางครั้งผู้เขียนอ่านแล้วทบทวนแล้วมักมองไม่เห็น ประเด็นควรให้ผู้อื่นมาช่วยอ่านเพื่อหาข้อเสนอแนะแล้วนำไปปรับแก้ไข ๒.ปัญหาของการเขียนบทความวิชาการคือวิธีการคิดนั้นสำคัญที่สุดซึ่งเป็นปัญหา ใหญ่ที่ทำให้การเขียนบทความเขียนไม่ถูกต้อง ๓.ในการเขียนบทความทางวิชาการต้องรู้ว่าผู้เขียนต้องการอะไรและสิ่งที่เขียน ไปแล้วเกิดอะไรขึ้นได้ประโยชน์อย่างไร ๔.ในการอภิปรายผลการเขียนต้องวิเคราะห์จุดด้อย จุดแข็งของสิ่งที่เขียนขึ้นด้วยเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ๕.ในการเขียนบทความผู้เขียนต้องให้ประเด็นการเขียนชัดเจนอาจจะมีประเด็น เดียวหรือหลายประเด็นไม่จำเป็นต้องเอาเนื้อหามาเขียนทั้งหมดแล้วแต่ผู้เขียน จะหยิบยกประเด็นไหนมาเขียน ในการประชุมครั้งนี้ได้แบ่งประเด็นการเขียนบทความทางวิชาการและวิจัยดังนี้ ๑.การนำทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไรให้เหมาะสมและเครื่องมือต่างๆโดย มีวิทยาลัยพยาบาลพะเยาและนครราชสีมารับผิดชอบในการเขียน ๒.ทัศนคติมีผลต่อการเรียนรู้และจะปรับทัศนคติได้อย่างไร/วพบ.มหาสารคามรับ ผิดชอบในการเขียน ๓. การสอนประเด็นด้านสุขภาพ (ความหมายสุขภาพและการดูแลตนเองที่เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต วพบ.ชัยนาท ๔.Authentic Learning อะไรเป็นแก่นของการเรียน(ขยายความให้ไปถึงเรื่องของการศึกษาชุมชน การลงชุมชนที่ทำกันในวิชาต่างๆ วสส.ขอนแก่น,วพบ.ชลบุรี ๕.หัวใจความเป็นมนุษย์จากความเอื้ออาทรไปสู่การเข้าใจชีวิต(มองในหลายมิติ ที่มีเรื่องความเอื้ออาทร ความเมตตา การสังเคราะห์ การเข้าใจปัญหา เข้าใจชาวบ้านในบริบทชีวิต วพบ.นครศรีธรรมราช ,วพบ.ตรัง,วพบ.ราชบุรี ๖.การบริการสุขภาพได้ให้บริการตรงตามความต้องการของผู้ป่วยหรือไม่ ๗.ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของคนไข้ โรคเรื้อรัง โดยจะเข้าร่วมประชุมการเขียนบทความทางวิชาการในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายใน ระยะที่ ๒ ในวันที่ ๒๕-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ประยุกต์ใช้กับงานด้านการสอนจากการเข้าร่วมวิชาการในครั้งนี้พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ในวิชามนุษย์กับ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้น ควรเน้นการสอนในเรื่องของการปรับทัศนคติของนักศึกษามีการจัดการเรียนการสอน โดยผ่านกิจกรรมการสังเกตภาพนิ่งและการสัมภาษณ์และการเรียนรู้กับสภาพจริง ทำให้ผู้สอนตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาความคิดและทัศนคติ ของนักศึกษา(การไม่นำความคิดของตนเองไปตัดสินผู้อื่น ,การด่วนสรุปตามประสบการณ์ตนเอง แม้กระทั่งการใช้ความรู้สึก ความเห็นของตนเองตัดสินผู้อื่น)ทำให้ผู้สอนต้องมีการเพิ่มทักษะการสอนมาก ยิ่งขึ้น ในเรื่องการประเมินทัศนคติหรืออ่านความคิดของผู้เรียน มีความสามารถในการชี้ประเด็นในการสะท้อนคิด การถ่ายทอดมุมมอง และการสรุปความคิดรวบยอด กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้เพิ่มขึ้น เกิดข้อสงสัย อยากหาคำตอบในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน และใช้ตนเองเป็นผู้ค้นหาจนเกิดการเรียนรู้ในที่สุด ________________________________________


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การเรียนการสอนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม – การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการได้เสนอบทความวิชาการประจำปีในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ – การพัฒนานักศึกษาในเรื่องของการปรับทัศนคติ ในเรื่องการเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล


(316)

บันทึกทางการพยาบาล: สมรรถนะที่สำคัญของวิชาชีพ

บันทึกทางการพยาบาล: สมรรถนะที่สำคัญของวิชาชีพ
 ผู้บันทึก :  นางจรรยา ศรีมีชัย
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการการพยาบาลพื้นฐาน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 27 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  บันทึกทางการพยาบาล: สมรรถนะที่สำคัญของวิชาชีพ
  วันที่บันทึก  7 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความสำคัญของบันทึกทางการพยาบาล : บันทึกทางการพยาบาลกับการพัฒนาวิชาชีพ ๑.เป็นเครื่องมือสื่อสาร รายงานความก้าวหน้าอาการผู้ป่วยช่วยให้เกิดการพยาบาลที่ ต่อเนื่องและเป็นตัวกลางเชื่อมโยงข้อมูลให้ทีมสุขภาพได้ทราบทั่วกัน (โดยแสดงให้เห็นขอบเขตวิชาชีพ : autonomy ,accountability and authority ) ๒.เป็นเครื่องมือในการประเมินเพื่อการประกันคุณภาพการพยาบาลว่ากิจกรรมการ บริการพยาบาลได้ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการโดยใช้ ศักยภาพสูงสุดภายในขอบเขตวิชาชีพ (แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล) ๓.เป็นช่องทางนำไปสู่การคิดค้น พัฒนา และสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ปัญหาสุขภาพ ของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ(แสดงถึงการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งแห่งวิชาชีพ : living organization) ๔.เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาล (ใช้ในการเรียนการสอนและการประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล) เป็นข้อมูลในการวิจัย ปรับปรุงวิธีการพยาบาล (การพัฒนาองค์ความรู้/ศาสตร์ทางการพยาบาล) ๕.ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายที่ให้ข้อเท็จจริงตามสภาพการดูแลผู้ป่วยที่ต่อ เนื่องและนำไปสู่การคุ้มครองผู้ให้และผู้รับบริการ (หลักฐานด้านกฎหมาย) ความจริงจากการวิจัย การศึกษา : พบปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลดังนี้ ๑. พยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญ/คุณค่าของการบันทึกทางการพยาบาลคิดว่า สิ้นเปลืองเวลาโดยเปล่าประโยชน์ (ไม่อยากคิด ไม่อยากเขียน ไม่มีเวลา ไม่เห็นคุณค่า) ๒.บันทึก…ไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ ไม่ต่อเนื่อง ไม่ได้สาระที่เป็นแก่นสาร (จากการไม่ใช้กระบวนการพยาบาล คิดไม่เป็น ขาดความรู้) ๓.บันทึกเฉพาะวิธีการให้การพยาบาลผู้ป่วยมากกว่าการสังเกตถึงปฏิกิริยาโต้ ตอบของผู้ป่วย (ไม่ใช้กระบวนการพยาบาลและไม่ใช้การดูแลที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง : ไม่พบตัวตนของผู้ป่วยไม่แสดง critical thinking) ๔.บันทึกไปเรื่อยๆขาดการประเมินผล การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ (ไม่สะท้อนให้เห็นความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ และการตัดสินใจของพยาบาล) ๕.ไม่มีใครสนใจอ่านเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการดูแลผู้ป่วย (ด้อยคุณภาพ ทั้งเนื้อหา และรูปแบบการบันทึก) หลุม พลางบนเส้นทางการบันทึกการพยาบาล ๑. ต้องปลุกกระแสให้การบันทึกการพยาบาลเป็นวาระแห่งวิชาชีพ เพราะ นโยบายการปฏิบัติไม่ชัด KPI ไม่มี Commitment ของคนในองค์กร ๒. ต้องเสริมสร้างความรู้และการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ COP อาจช่วยได้ เพราะ บันทึกการพยาบาลไม่สะท้อนภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ไม่ได้นำข้อมูลมาวางแผนการ ดูแลผู้ป่วย ไม่ได้ใช้องค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ไม่ได้ใช้องค์ความรู้ในการบันทึก ไม่ใช้ clinical judgement ๓. ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งผู้ติดตาม ผู้ประเมินและผู้เขียน เพราะการติดตาม เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ การวิเคราะห์ปัญหาไม่ชัดเจน โอกาสพัฒนาไม่ เป็นจริง มาตรฐานวิชาชีพการพยาบาล : บันทึกการพยาบาลต้องแสดงถึง – การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวม – บทบาทพยาบาลที่จะต้องประสานความร่วมมือในทีมการพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ – ความต่อเนื่องในการพยาบาล รูปแบบหรือแบบฟอร์มการบันทึกขึ้นกับบริบทของหน่วยงานนั้นๆแต่หลักการบันทึก คือระบบ การบันทึกที่สะท้อนหลักที่ถูกต้องของการใช้กระบวนการพยาบาล


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การเรียนการสอนรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาล และแนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล – งานพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิต : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คุณธรรมจริธรรม


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบันทึกการพยาบาล

(643)