มิติที่ท้าทาย: นโยบายสุขภาพชุมชน

มิติที่ท้าทาย: นโยบายสุขภาพชุมชน
 ผู้บันทึก :  นางสาวจันทิมา ช่วยชุม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 17 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 19 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลราชวิถีร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  มิติที่ท้าทาย: นโยบายสุขภาพชุมชน
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ 1. ตามหัวข้อเรื่อง “มิติที่ท้าทาย : นโยบายสุขภาพชุมชน” เป็นการเรียนรู้ในเรื่องความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน สภาวะสุขภาพโดยรวมของประเทศและแนวทางหรือนโยบายของการให้บริการสุขภาพแก่ ประชาชน ที่เน้นการส่งเสริมป้องกันมากกว่าการรักษา นั่นคือการให้บริการแบบเชิงรุก ที่รณรงค์และให้ความสำคัญกันมานานหากแต่ไม่เห็นเป็นรูปธรรม หากแต่เมื่อไม่นานมานี้ระบบสุขภาพของเราได้มีคำใหม่ขึ้นมาให้ได้ยิน คือคำว่า รพสต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ซึ่งเป็นการยกระดับสถานีอนามัยขึ้นมาเป็นโรงพยาบาล ทำให้ผู้นำทางสุขภาพหรือเจ้าหน้าที่ประจำการที่สถานีอนามัยได้แสดงศักยภาพ และมีบทบาทในชุมชนนั้นๆ มากยิ่งขึ้น โดยการประชุมในครั้งนี้ มีวิทยากรที่ปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานนั้นๆ ทั้ง แพทย์ พยาบาล และผู้ทรงคุณวุฒิในงานต่างๆรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับงานแผนและนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุขมาอธิบายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะวิทยากรท่านอื่นๆ และผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งในการนี้บ่งบอกว่า การทำงานให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองนโยบายขององค์กรมีหลักใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในงาน ความรักในงาน การมีทีมงานหรือเครือข่าย นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงบทบาทขององค์กรวิชาชีพกับการสนองนโยบายสาธารณสุข การบริหารความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพ และแนวโน้มของการพัฒนาระบบสุขภาพยุคใหม่ด้วย 2. ในการนำเสนอนวัตกรรมของระบบบริการสุขภาพ เป็นการนำเสนอผลงานที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิถีชุมชนและสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบทางจิตแนวใหม่ Bra CA และลูกแก้ววิเศษ เป็นต้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              1. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ 2. การมุ่งผลสัมฤทธิ์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              1. นำมาเป็นหลักหรือแนวทางการสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข 2. พัฒนาความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพที่เน้นส่งเสริมและป้องกันมากกว่ารักษา

(338)

Comments are closed.