การเขียนบทความทางวิชาการ

การเขียนบทความทางวิชาการ
 ผู้บันทึก :  : นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 26 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 28 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การเขียนบทความทางวิชาการ
  วันที่บันทึก  9 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เรื่องการเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพอาจารย์ในวิทยาลัยสังกัดสถาบันฯให้สามารถสังเคราะห์องค์ ความรู้จากบทเรียนและประสบการณ์การสอนแบบบูรณาการของตนเองและนำเสนอเป็นบท ความวิชาการหรือบทความวิจัยตามมาตรฐานสากลที่สามารถเผยแพร่ได้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีการเสนอแนะแนวทางการเขียนบทความวิชาการและ วิจัยของนายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพดังนี้ ๑.ในการเขียนแต่ละครั้งบางครั้งผู้เขียนอ่านแล้วทบทวนแล้วมักมองไม่เห็น ประเด็นควรให้ผู้อื่นมาช่วยอ่านเพื่อหาข้อเสนอแนะแล้วนำไปปรับแก้ไข ๒.ปัญหาของการเขียนบทความวิชาการคือวิธีการคิดนั้นสำคัญที่สุดซึ่งเป็นปัญหา ใหญ่ที่ทำให้การเขียนบทความเขียนไม่ถูกต้อง ๓.ในการเขียนบทความทางวิชาการต้องรู้ว่าผู้เขียนต้องการอะไรและสิ่งที่เขียน ไปแล้วเกิดอะไรขึ้นได้ประโยชน์อย่างไร ๔.ในการอภิปรายผลการเขียนต้องวิเคราะห์จุดด้อย จุดแข็งของสิ่งที่เขียนขึ้นด้วยเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ๕.ในการเขียนบทความผู้เขียนต้องให้ประเด็นการเขียนชัดเจนอาจจะมีประเด็น เดียวหรือหลายประเด็นไม่จำเป็นต้องเอาเนื้อหามาเขียนทั้งหมดแล้วแต่ผู้เขียน จะหยิบยกประเด็นไหนมาเขียน ในการประชุมครั้งนี้ได้แบ่งประเด็นการเขียนบทความทางวิชาการและวิจัยดังนี้ ๑.การนำทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไรให้เหมาะสมและเครื่องมือต่างๆโดย มีวิทยาลัยพยาบาลพะเยาและนครราชสีมารับผิดชอบในการเขียน ๒.ทัศนคติมีผลต่อการเรียนรู้และจะปรับทัศนคติได้อย่างไร/วพบ.มหาสารคามรับ ผิดชอบในการเขียน ๓. การสอนประเด็นด้านสุขภาพ (ความหมายสุขภาพและการดูแลตนเองที่เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต วพบ.ชัยนาท ๔.Authentic Learning อะไรเป็นแก่นของการเรียน(ขยายความให้ไปถึงเรื่องของการศึกษาชุมชน การลงชุมชนที่ทำกันในวิชาต่างๆ วสส.ขอนแก่น,วพบ.ชลบุรี ๕.หัวใจความเป็นมนุษย์จากความเอื้ออาทรไปสู่การเข้าใจชีวิต(มองในหลายมิติ ที่มีเรื่องความเอื้ออาทร ความเมตตา การสังเคราะห์ การเข้าใจปัญหา เข้าใจชาวบ้านในบริบทชีวิต วพบ.นครศรีธรรมราช ,วพบ.ตรัง,วพบ.ราชบุรี ๖.การบริการสุขภาพได้ให้บริการตรงตามความต้องการของผู้ป่วยหรือไม่ ๗.ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของคนไข้ โรคเรื้อรัง โดยจะเข้าร่วมประชุมการเขียนบทความทางวิชาการในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายใน ระยะที่ ๒ ในวันที่ ๒๕-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ประยุกต์ใช้กับงานด้านการสอนจากการเข้าร่วมวิชาการในครั้งนี้พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ในวิชามนุษย์กับ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้น ควรเน้นการสอนในเรื่องของการปรับทัศนคติของนักศึกษามีการจัดการเรียนการสอน โดยผ่านกิจกรรมการสังเกตภาพนิ่งและการสัมภาษณ์และการเรียนรู้กับสภาพจริง ทำให้ผู้สอนตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาความคิดและทัศนคติ ของนักศึกษา(การไม่นำความคิดของตนเองไปตัดสินผู้อื่น ,การด่วนสรุปตามประสบการณ์ตนเอง แม้กระทั่งการใช้ความรู้สึก ความเห็นของตนเองตัดสินผู้อื่น)ทำให้ผู้สอนต้องมีการเพิ่มทักษะการสอนมาก ยิ่งขึ้น ในเรื่องการประเมินทัศนคติหรืออ่านความคิดของผู้เรียน มีความสามารถในการชี้ประเด็นในการสะท้อนคิด การถ่ายทอดมุมมอง และการสรุปความคิดรวบยอด กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้เพิ่มขึ้น เกิดข้อสงสัย อยากหาคำตอบในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน และใช้ตนเองเป็นผู้ค้นหาจนเกิดการเรียนรู้ในที่สุด ________________________________________


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การเรียนการสอนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม – การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการได้เสนอบทความวิชาการประจำปีในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ – การพัฒนานักศึกษาในเรื่องของการปรับทัศนคติ ในเรื่องการเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล


(317)

Comments are closed.