การประชุมผู้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรทางการบริหารและพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง

การประชุมผู้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรทางการบริหารและพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง
  ผู้บันทึก :  ดร. ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม และอาจารย์อาทิตย์ ภูมิสวัสดิ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 25 ม.ค. 2554   ถึงวันที่  : 29 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ณ วิทยาลัยการบริหารสาธารณสุข
  จังหวัด : 
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมผู้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรทางการบริหารและพัฒนาศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               วิทยากรพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพจะช่วยส่งเสริมให้การประชุมกลุ่มและการเรียนรู้ ของผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งบทบาทของวิทยากรพี่เลี้ยงสำหรับหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสาธารณสุข ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่จำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมใน หลักสูตรดังกล่าวล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้นบรรยากาศการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมให้ เกิดการเรียนรุ้แบบผู้ใหญ่ (Adult learning) จึงถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งวิทยากรพี่เลี้ยงจะเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ บริหารที่เข้ารับการอบรมได้ดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับจากการอบรมและประสบการณ์ในการทำงานของตนได้ ลักษณะของวิทยากรพี่เลี้ยงที่ดีควรประกอบไปด้วย 1 มีการตรียมความพร้อมของวิทยากรได้แก่ การเตรียมความรู้โดยมีการพัฒนาองค์ความรู้ให้ทันตามสถานการณ์ พัฒนาทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการบริหารงานในระบบสาธารณสุข รวมถึงการบุคลิกภาพให้น่าเชื่อถือ สามารถเข้าถึงได้ และต้องรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานประจำที่มีอยู่และจัดสรรเวลาในการทำงานประจำและการเป็น วิทยากรพี่เลี้ยงไม่ให้เกิดการสับสน ฝึกทักษะการสังเกตเนื่องจากในการเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงวิทยากรต้องหมั่น สังเกตปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมทั้งในระดับบุคคล และระดับกลุ่ม 2 มีการเตรียมพื้นที่ก่อนนำผู้เข้ารับการอบรมไปศึกษาพื้นที่ ได้แก่ การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการฝึกการบริหารโดยอาจจะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ เดิมของผู้เข้ารับการอบรมด้วย นอกจากนั้นวิทยากรพี่เลี้ยงควรศึกษาข้อมูล ศึกษาพื้นที่จริง และประสานงานพื้นที่ก่อนที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าสู่พื้นที่ 3 ต้องมีการเตรียมทีมวิทยากรพี่เลี้ยงก่อนการเริ่มการอบรม เกี่ยวกับการชี้แจงหลักสูตร (กำหนดบทบาทหน้าที่) หลักการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขอุปสรรค/ปัญหา การจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (อุปกรณ์ต่างๆ) และมีการเตรียมตัวผู้เข้าอบรมสำหรับการลงพื้นที่ 4. จัดทำเอกสารในการประชุม เช่น คู่มือฝึกภาคสนาม ปฐมนิเทศ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำมาใช้ในการพัฒนางานการเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงการอบรมผู้บริหารการสาธารณสุข และการดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุข


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(312)

Comments are closed.