การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

การศึกษาวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของวิทยาลัย  เพื่อนำมาลงในโปรแกรมที่สถาบันพระบรมราชชนก จะส่งมาให้ทาง เมล  เป็นโปรแกรมวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา  ต่อจำนวนนักศึกษาที่ผลิตได้ในแต่ละปี  นั้น  มีอัตราคิดเป็นจำนวนเงินเท่าไร  ต่อการผลิตนักศึกษา  1  คน  และจะต้องรับนักศึกษาจำนวนเท่าไร  ถึงจะคุ้มทุน  โดยใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  ตามแบบฟอร์ม(โปรแกรมที่ สบช.กำหนด)  โดยภาพรวมในการอบรมครั้งนี้วิทยากรได้สอนหลักการทางเศรษฐศาสตร์ในการวิแคราะห์ข้อมูล  เพื่อนำมาคิดต้นทุน และปัจจัยที่มีผลกระทบในการคิดต้นทุน ดังนี้

  •  ปัจจัยนำเข้าการผลิตบริการสุขภาพ  ประกอบด้วย

- ต้นทุนที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน (คน อุปกรณ์ วิธีการ)
- ต้นทุนที่อยู่ในรูปของตัวเงิน(งบประมาณด้านการจัดบริการสุขภาพ)

  • ประเภทของต้นทุน (cost classification)  ประกอบด้วย

- ต้นทุนที่จับต้องได้ (Tangible costs)
- ต้นทุนที่จับต้องไม่ได้(Intangible costs)
- ต้นทุนทางการแพทย์(Medical costs)
- ต้นทุนส่วนที่ไม่ใช่การ แพทย์(Non medical costs)
- ต้นทุนค่าลงทุน(Capital costs)
- ต้นทุนดำเนินการ(Operationa(Recurrent)costs)
- ต้นทุนทางตรง(Direct costs)
- ต้นทุนทางอ้อม(Indirect costs)

  • ต้นทุนแยกตามพฤติกรรมของต้นทุน

- ต้นทุนคงที่ (fixed cost:FC)
- ต้นทุนผันแปร(Variable cost:VC)
- ต้นทุนรวม(Totle cost:TC หรือ Full cost)
- ต้นทุนเฉลี่ย(Average cost) =  ต้นทุนต่อหน่วย(Unit cost)

ตัวอย่างต้นทุนคงที่  เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเสื่อมราคา รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  ที่ไม่ผันแปรไปตามปริมาณของนักศึกษา  หรือบุคลากร

ตัวอย่างต้นทุนผันแปร  เช่น  ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าทำงานล่วงเวลา  เป็นต้น

ต้นทุนรวม  คือ  ต้นทุนคงที่ บวกด้วยต้นทุนผันแปร

ต้นทุนเฉลี่ย  คือ  ต้นทุนรวมหารด้วย จำนวนนักศึกษา  = Unit cost

v โดยภาพรวมแล้วข้อมูลที่เกี่ยวกข้องกับต้นทุนต่อหน่วยการผลิตประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

  • 1.ค่าแรง
  • 2.ค่าวัสดุ
  • 3.ค่าครุภัณฑ์

สรุปจากการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  วันที่  26-27 พฤศจิกายน 2558  ณ  โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี: นางสาคร  ฤทธิ์เต็ม

  (0)

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

หลักทั่วไปในการออกข้อสอบ มีดังนี้คือ
๑) กำหนดจุดมุ่งหมายการสอนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
๒) เตรียมตารางวิเคราะห์หลักสูตร
๓) ภาษาที่ใช้ควรชัดเจน เข้าใจง่าย
๔) เขียนข้อสอบแต่ละข้อ  ลงในบัตรแต่ละใบ
๕) เตรียมเฉลยและกำหนดคะแนนในขณะเขียนข้อสอบ
๖) เขียนข้อสอบให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการในตารางวิเคราะห์หลักสูตร และ
๗) เขียนข้อสอบทันทีที่สอนเนื้อหาวิชานั้นจบ

ประเภทของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

สามารถแบ่งตามลักษณะการเขียนตอบ คือ แบบอัตนัย และแบบปรนัย

ข้อสอบแบบเลือกตอบ/ปรนัย มีหลักการสร้างข้อคำถามดังนี้

๑.     ต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ มีความชัดเจนในการถาม
๒.     ประเด็นที่ถามต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นปรนัย
๓.     หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ โดยเฉพาะปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ ถ้าจำเป็นต้องใช้การขีดเส้นใต้ หรือทำตัวทึบให้ชัดเจน
๔.     การใช้ภาษาให้กระชับ ตรงประเด็น ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย
๕.     สิ่งที่ถามต้องเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์
๖.     สิ่งที่ถามต้องหาข้อยุติได้ตามหลักวิชา เพื่อให้ผู้สอบได้ใช้ความคิด ไม่ควรถามในสิ่งที่เป็นความเชื่อ
๗.     ถามให้ตรงตามเนื้อหาที่ต้องการ
๘.     คำถามต้องยั่วยุให้ผู้สอบใช้ความคิด

หลักการสร้างตัวเลือก

๑.     ต้องมีความเป็นเอกพันธ์ (homogeneity) เป็นเรื่องราวเดียวกัน
๒.     ต้องมีความเป็นไปได้ ไม่แย้งกับหลักวิชา
๓.     ต้องเป็นอิสระขาดจากกัน
๔.     แบบปลายปิดปลายเปิด
๕.     ภาษาต้องรัดกุม ชัดเจน
๖.     การจัดเรียงต้องเป็นระเบียบ ตามลำดับ
๗.     ตัวที่แนะคำตอบ (มีคำชี้แนะซ้ำกันในข้อคำถาม)
๘.     ความสั้นยาวของตัวเลือกถูก ตัวลวง

การวัดผลแบบอิงเกณฑ์

เป็นการตรวจสอบความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่ามีพฤติกรรม และคุณลักษณะต่างๆ ถึงระดับเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ถ้าผู้เรียนมีพฤติกรรม ความสามารถถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถือว่าบรรลุเป้าหมาย และเป็นผู้เรียนที่เรียนรู้แล้ว

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วย

๑) เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถสังเกต และสอบวัดได้อย่างชัดเจน
๒) กำหนดเกณฑ์การรอบรู้ในสมรรถภาพ หรือพฤติกรรมนั้น
๓) เขียนข้อสอบ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงถึงความสามารถที่ต้องการวัด และ
๔) ตัดสินความรอบรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์ โดยเทียบกับมาตรฐานต่ำสุดตามวัตถุประสงค์

ในการออกข้อสอบครั้งนี้ มีผลการวิเคราะห์ข้อสอบเก่า ซึ่งประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อสอบหลังนำไปใช้มีดังนี้ คือ ๑) ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานตัวข้อสอบและคำตอบ ๒) กรณีข้อสอบแบบเลือกตอบ ทำให้ทราบประสิทธิภาพของตัวเลือก ๓) ได้แนวทางในการสร้างข้อสอบที่ดี ๔) ได้ข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอน และ ๕) ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพเก็บไว้ เพื่อสร้างคลังข้อสอบและพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานต่อไป

        สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดทำข้อสอบวัดความรู้รวบยอด ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ : นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

(0)

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับพยาบาลสู่การจัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับพยาบาลสู่การจัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง

ระยะของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of change)

ระยะของการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น 7 ระยะ

ระยะเมินเฉย (Pre – contemplation) เป็นระยะที่ยังไม่สนใจจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยยังไม่คิดพิจารณาเรื่องที่ตัวเองจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้ พบว่าผู้รับบริการกลุ่มนี้จะต่อต้าน (Resistant) ไม่มีแรงจูงใจ (Unmotivated) และยังไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมโปรแกรมการบริการทางสุขภาพใดๆ การตอบสนองที่เหมาะสม คือการให้ข้อมูลตรงไปตรงมา เป็นกลาง ไม่ชี้นำหรือขู่ให้กลัว

ระยะลังเลใจ (Contemplation) เป็นระยะที่บุคคลเริ่มมีความคิดลังเลว่าตนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรืออยู่อย่างเดิมดี มีการชั่งใจหาข้อดีข้อเสีย คิดว่าการเปลี่ยนแปลงมีข้อดีแต่ข้อเสียมากกว่า คิดว่ามีอุปสรรคและคงทำไม่สำเร็จ ซึ่งในระยะลังเลใจ บุคคลมีแนวโน้มว่าอาจทำการเปลี่ยนแปลงภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า การตอบสนองที่เหมาะสม คือ การพูดคุยถึงข้อดีข้อเสีย เปิดโอกาสให้ทบทวนรอบด้าน

ระยะตัดสินใจ (Determination)และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง (Preparation) เป็นระยะที่บุคคลเกิดความตระหนักและตัดสินใจได้ว่าจะต้องกระทำการเปลี่ยนแปลงมีกำหนดเวลาที่แน่นอนในการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง มีแผนกว้างๆ ซึ่งอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถลงมือกระทำได้ อาจจะมาจากการขาดเป้าหมายหรือเป้าหมายไม่ชัดเจน อาจมีความคิด ความเชื่อ ความกลัวบางอย่างซ่อนอยู่ ซึ่งพลังของความคิด ความเชื่อเหล่านี้ เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงการตอบสนองที่เหมาะสม คือการให้ทางเลือก ให้เลือกได้อย่างอิสระ เน้นความรับผิดชอบในการเลือกและส่งเสริมศักยภาพในการลงมือกระทำของผู้รับบริการ

ระยะลงมือปฏิบัติ (Action) ในระยะนี้บุคคลจะเริ่มลงมือกระทำการเปลี่ยนแปลง หาข้อมูลเพื่อที่จะมีแผน ขั้นตอน กลวิธี ที่จะช่วยให้ตนเองเปลี่ยนแปลง มีทักษะในการแก้ไข เผชิญปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากขึ้น และยังทำการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ถึง 6 เดือน ซึ่งระยะนี้ต้องการ การให้กำลังใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การตอบสนองที่เหมาะสม ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้ลงมือทำตามวิธีที่ตนเลือกอย่างต่อเนื่อง ช่วยขจัดอุปสรรคในการลงมือปฏิบัติ

ระยะคงสภาพ (Maintenance) บุคคลที่อยู่ในกลุ่มนี้ พบว่า สามารถคงไว้ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างน้อย 6 เดือน สามารถเปลี่ยนนิสัยและรูปแบบการดำเนินชีวิต โดยมีกิจวัตรตามพฤติกรรมใหม่ พยายามหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองที่จะกลับไปมีพฤติกรรมเดิม การตอบสนองที่เหมาะสมคือ การป้องกันการกลับไปสู่พฤติกรรมเดิม มีวิถีชีวิตที่สมดุล มีคุณค่า บริหารเวลา ผ่อนคลาย ดูแลสุขภาพ สังเกตสัญญาณเตือนที่จะบ่งถึงการกลับไปในความเคยชินเดิม

ระยะกลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆซ้ำๆเป็นครั้งคราว 1 – 2 ครั้ง (Lapse) เป็นการกลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆ เพียงครั้งหรือสองครั้ง หรือในระยะเวลาอันสั้น อาจเกิดจากสถานการณ์เสี่ยง 3 ประเภทได้แก่ อารมณ์ทางลบ ความขัดแย้งในสัมพันธภาพส่วนบุคคล และแรงกดดันจากสังคม (ตรงและอ้อม)

          ระยะกลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยเป็นมา (Relapse) พบว่าบุคคลที่อยู่ในระยะนี้จะกลับไปมีพฤติกรรมเหมือนเดิมที่เคยเป็นมา ความคิดที่สำคัญที่พบในบุคคลที่อยู่ในระยะนี้ และเป็นความคิดที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความคิดว่าตนเองล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถทำตามสิ่งที่ตนเองได้กำหนดไว้ ส่งผลให้คิดว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องยาก อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น อาจคิดว่าเป็นเรื่องเวรกรรม หรือเป็นเรื่องของโชคชะตา ความอาภัพ จึงทำให้เลิกที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง

ระยะกลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆซ้ำๆเป็นครั้งคราว และระยะกลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยเป็นมา ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้และค้นพบตัวเอง เพื่อช่วยให้การฟื้นสภาพดำเนินต่อไปได้นาน ควรกระตุ้นให้บุคคลมองว่าเป็นบทเรียน แทนที่จะเป็นความล้มเหลว การตอบสนองที่เหมาะสมคือ การประคับประคอง ให้กำลังใจ มองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา สรุปบทเรียน มุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงต่อไป

การสัมภาษณ์เพื่อการการเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing)

           การสัมภาษณ์เพื่อการเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Miller  และ Rollnickในปี 2534 ซึ่งเป็นวิธีการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้บุคคลได้เปลี่ยนแปลงตนเอง โดยสนับสนุนการสำรวจและหาทางออกผ่านกระบวนการปรึกษาที่มีโครงสร้างทิศทางชัดเจน มุ่งเน้นให้เกิดบรรยากาศเป็นมิตรเพื่อนำสู่การเปลี่ยนแปลงภายในของผู้รับบริการ

การที่บุคคลต้องเผชิญกับการตัดสินใจหลายอย่างที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองในทุกระยะของช่วงชีวิต ส่วนใหญ่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงไม่ทำการเปลี่ยนแปลง ทำให้บุคคลนั้นถูกมองว่าขาดความรู้ ปฏิเสธ ขี้เกียจ และมีบุคลิกภาพที่ต่อต้าน พบว่าเหตุผลที่การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ยากนั้น มักเกิดจากความลังเลใจ (Ambivalence) เป็นความรู้สึกสองฝั่งสองฝ่าย ที่ต้องการหรือไม่ต้องการจะทำการเปลี่ยนแปลงในเวลาเดียวกัน ซึ่งความลังเลใจทำให้เกิดความไม่สบายใจ และนำไปสู่การผัดวันประกันพรุ่งที่มักเข้าใจผิดว่าเป็นการต่อต้าน ซึ่ง MI สามารถช่วยจัดการกับความลังเลใจและช่วยให้ผู้รับบริการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงโดยสร้างแรงจูงใจที่มาจากตนเอง

สรุปได้ว่า   การสัมภาษณ์เพื่อการเสริมสร้างแรงจูงใจ เป็นกระบวนการสนทนา (Style of interaction) ที่มีโครงสร้าง ทิศทางชัดเจน ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยแก้ไขความลังเลใจ โดยสร้างแรงจูงใจภายในและกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นมีพันธะสัญญาที่จะทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

เป้าหมายสำคัญของMI

1. เพิ่มประสิทธิภาพของผู้ให้บริการในการช่วยชี้แนะผู้รับบริการตัดสินใจเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

2. ช่วยผู้รับบริการตัดสินใจเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการใช้คำถามที่เป็นธรรมชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

การสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการของ MI มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ จิตวิญญาณพื้นฐาน 4 ประการ (PACE) และกระบวนการสร้างแรงจูงใจ 4 ขั้นตอน ดังนี้

จิตวิญญาณพื้นฐาน 4 ประการ

1. การเป็นหุ้นส่วน (Partnership) เป็นการทำงานร่วมกัน และหลีกเลี่ยงบทบาท “ผู้เชี่ยวชาญ”

2. การยอมรับในตัวตน (Acceptance) จะต้องเคารพความเป็นตัวตน ศักยภาพ ความสามารถ และมุมมองของผู้รับบริการ การยอมรับในตัวตนจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีอิสระในการเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง (Autotomy support) และชื่นชมให้ผู้รับบริการได้รับรู้ศักยภาพ ความเข้มแข็งของตนเอง (Affirmation)

3. ความเห็นอกเห็นใจ (Compassion) มีความเข้าอกเข้าใจ ใส่ใจถึงความสนใจ ความสบายใจของผู้รับบริการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน

4. การกระตุ้นให้ทำการเปลี่ยนแปลง (Evocation) เป็นการดึงเอาความสามารถของผู้รับบริการออกมาโดยใช้การฟังมากกว่าการบอกหรือการถาม โดยที่ความคิดเห็นและวิธีการที่ดีที่สุดต้องมาจากตัวผู้รับบริการ

กระบวนการสร้างแรงจูงใจ 4 ขั้นตอน

กระบวนการสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการของ MI ผู้ให้บริการจะใช้วิธีการให้ผู้รับบริการเกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการให้คิดถึงพฤติกรรมที่จะปรับเปลี่ยน วางแผน และเข้าร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การสร้างสัมพันธภาพ (Engaging) เป็นการสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและยอมรับซึ่งกันและกัน โดยใช้ทักษะการสื่อสารแบบจุลภาค (Micro – communication skills) ในการสนทนากัน เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี และตกลงใจเข้าร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2. การวางเป้าหมาย (Focusing) เป็นกระบวนการในการสำรวจและหาแนวทางปฏิบัติให้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยการวางแผนปฏิบัติ การตั้งเป้าหมาย การจัดลำดับความสำคัญและมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน สิ่งสำคัญในกระบวนการปรึกษาผู้ให้บริการจะต้องใช้ทักษะของการสร้างแรงจูงใจ ช่วยให้ผู้รับบริการตัดสินใจตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งแนวทางที่กำหนดจะต้องเป็นความต้องการ ความปรารถนา และเป้าหมายของผู้รับบริการ

3. การกระตุ้นให้ทำการเปลี่ยนแปลง (Evoking) เมื่อมีการตกลงวางเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ผู้ให้บริการสำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการว่า ทำไมต้องทำการเปลี่ยนแปลงและจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและเอ่ยคำพูดที่แสดงความต้องการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Chang talk) ออกมา ซึ่งการดึงเอาความสามารถ ความคิดเห็น และวิธีการในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มาจากผู้รับบริการ ซึ่งเป็นหัวใจของการสนทนาด้วยวิธีการของ MI

4. การวางแผน (Planning) สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยมีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจง ที่ผู้รับบริการเห็นด้วยและนำไปปฏิบัติได้จริง

ทักษะการปรึกษาOARS

O: Open – ended questioningการถามคำถามปลายเปิด

- การถามคำถามปลายเปิดเป็นการกระตุ้นให้พูด ทำให้มีการอธิบายขยายความ ซึ่งจะช่วยในการสำรวจปัญหาและพฤติกรรม และช่วยในการสร้างสัมพันธภาพ

- ควรเริ่มด้วยการถามคำถามปลายเปิดก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้คำถามที่เป็นจุสำคัญ/ เฉพาะ

- การใช้คำถามปลายเปิดจะทำให้ทราบข้อมูลที่มากขึ้นเกี่ยวกับการรับรู้ คุณค่า และความพึงพอใจ และสามารถนำไปสู่ความรับผิดชอบของผู้รับบริการ

ตัวอย่างคำถาม “อะไรที่คุณต้องการเริ่มต้นในวันนี้” “อะไรที่ทำให้คุณเข้าร่วมในการรักษา”

ผู้ให้บริการที่ใช้วิธีการของ MI อาจจะให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลแก่ผู้รับริการได้ แต่ต้องกระทำโดยใช้จิตวิญญาณของ MI ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องมีการขออนุญาตในการให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ และบอกข้อมูลที่ชัดเจน เป็นทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีความเป็นอิสระในการเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง การใช้คำถามปลายเปิดจึงเป็นทักษะที่ผู้ให้บริการนำมาใช้โดยมีวิธีการของกระบวนการ ถาม – บอก – ถาม (Elicit – Provide – Elicit) ที่เป็นวิธีการสนทนาเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ มีวิธีการ ดังนี้

กระบวนการ ถาม – บอก – ถาม (Elicit – Provide – Elicit)

1) ถาม เพื่อดึงความพร้อมและความสนใจในการเปลี่ยนแปลง

“ขออนุญาตให้ข้อมูล” “ผมมีข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพของคุณ”  “คุณเคยได้ยินเรื่องนี้มาอย่างบ้าง”

2) บอก ให้ข้อมูลสะท้อนกลับอย่างเป็นธรรมชาติ

“จากผลการตรวจพบว่า…..”

3) ถาม ความเข้าใจ/ การแปลความหมายของผู้รับบริการจากที่ได้รับฟังข้อมูล

“คุณมีความเห็นอย่างไรบ้าง”  “คิดอย่างไรกับข้อมูลที่ได้รับฟังมาทั้งหมด”

 

A: Affirmation การชื่นชมยืนยันรับรอง

การชื่นชมจะทำให้ผู้รับบริการเกิดพลังอำนาจและความสามารถแห่งตน (Empowerment & Self – efficacy) กระตุ้นให้เกิดทัศนคติว่า “ฉันทำได้” ทำให้มีความหวังและความเชื่อ

          ลักษณะของการชื่นชม

1) การแสดงให้เห็นความพยายาม (สร้างความสำเร็จที่เกินจริง) เช่น “แม้ว่าสถานการณ์จะดูยากอย่างไร คุณก็ไม่ย่อท้อที่ให้ความร่วมมือในวันนี้”

2) การแสดงให้เห็นความเข้มแข็ง (เปลี่ยนมุมมองที่ต่อต้าน)

3) การเน้นย้ำถึงความเชื่อมั่น เช่น “คุณมีความมุ่งมั่นมาก จนทำให้คุณพบวิธีการที่ทำให้เกิดความสำเร็จ”

                   วิธีการชื่นชม

1) ชมแบบชัดเจนและจริงใจ (Clear and Genuine)

2) หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ฉัน” (Focus on you, parental overtones)

3) ไม่พูดถึงสิ่งที่เป็นปัญหา

4) ชมที่ความสามารถ/ ศักยภาพของผู้รับบริการ

5) สิ่งที่เป็นแง่ลบหรือการต่อต้าน สามารถเปลี่ยนมุมมองเป็นแง่บวก (Reframing: glass half full)

6) คำชมเชย ไม่ใช่การชื่นชม

 

R: Reflective listening การฟังอย่างเข้าใจและสะท้อนความ

การสะท้อนความเป็นทักษะที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพและแสดงให้เห็นถึงการฟังและสะท้อนความอย่างเข้าใจผู้รับบริการที่แท้จริง

                   วิธีการของการสะท้อนความ

1) สะท้อนที่ประโยคข้อความที่ผู้รับบริการบอก ไม่ใช่คำถาม ลดน้ำเสียงลงในช่วงท้ายของการสะท้อน เสียงไม่สูง

2) พูดสั้นๆ ประมาณ 5 – 10 คำ

3) จับความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ข้างใน แม้จะไม่ได้พูดออกมา สะท้อนระดับความรุนแรงของความรู้สึก

4) เว้นช่วง หยุด รอ และมองสบตา

                   ประเภทของการสะท้อนความ

1) การสะท้อนความแบบธรรมดา (Simple reflection) แบ่งเป็น

- Repeating ทวนความ

- Rephrasing ทวนวลี

- Paraphrasing ถ่ายทอดความ

2) การถ่ายทอดแบบซับซ้อน (Complex reflection) แบ่งเป็น

- Client’s true meaning or feeling ความหมายหรือความรู้สึกที่แท้จริง

- Double – sided สะท้อนสองด้าน ข้อความที่ขัดแย้งกันของผู้รับบริการ

- Amplifiedสะท้อนความให้หนักขึ้น

                   เป้าหมายของการสะท้อน

อะไร คือสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการเปิดเผย/ แสดง/ บอก

S: Summarization การสรุปความ

การสรุปความเป็นการสรุปรวมความคิด ความรู้สึกที่ผู้รับบริการบอกเล่ามาก่อนหน้านี้ เป็นการพูดใหม่ในสิ่งที่ผู้รับบริการได้เล่ามาให้เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นทิศทางของการสนทนา และอาจจะให้ความเห็นได้ว่า ความคิด ความรู้สึกที่ผู้รับบริการเล่ามามีความสอดคล้องอย่างไรบ้าง โดยการใช้คำพูดสั้น กระชับ ให้ได้ใจความสำคัญทั้งหมด โดยสรุปเนื้อหาและความรู้สึกของผู้รับบริการ

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1) การสรุปแบบรวบประเด็น (Collection) การรวบรวมข้อมูลแล้วสรุป ควรใช้เป็นระยะๆ เพราะช่วยกระตุ้น Change talk แต่ถ้าใช้บ่อยเกินไป จะทำให้การสนทนาไม่เป็นธรรมชาติ

2) การสรุปเชื่อมโยง (Linking) สรุปคำพูดปัจจุบันที่ขัดแย้งกันกับคำพูดที่พูดมาก่อนหน้านี้ กระตุ้นให้เห็นความขัดแย้งในสิ่งที่คิด เกิดความลังเลว่าสิ่งที่คิด/ ทำอยู่อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด การสรุปความที่ขัดแย้งกันให้ใช้คำเชื่อม “และ” ไม่ใช้คำ “แต่”

3) การสรุปเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Transitioning) สรุปเมื่อเปลี่ยนประเด็นพูดคุยหรือต้องเลือกเรื่องคุย

 คำพูดที่เอ่ยถึงการเปลี่ยนแปลง (Change Talk)

คำพูดที่เอ่ยถึงการเปลี่ยนแปลงมี 2 แบบ ได้แก่คำพูดเตรียมการจะเปลี่ยนแปลง (Preparatory change talk)และ คำพูดที่จะทำการเปลี่ยนแปลง (Mobilizing change talk)

          คำพูดเตรียมการจะเปลี่ยนแปลง (Preparatory change talk)

หมายถึง คำพูดที่แสดงให้ทราบว่า ผู้รับบริการแสดงมองเห็นเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงและมีความมั่นใจในความสามารถของตนที่จะเปลี่ยนแปลง ลักษณะคำพูดที่แสดงให้ทราบว่ามีการเตรียมการจะเปลี่ยนแปลง ได้แก่ DARN

Desire: คำพูดที่แสดงความปรารถนาที่จะเปลี่ยนตนเอง

Ability คำพูดที่ชี้ให้เห็นว่าบุคคลมีความเชื่อในความสามารถของตนในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Reason คำพูดที่แสดงให้ทราบถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Need คำพูดหรือสิ่งสะท้อนให้ทราบว่ามีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

คำพูดที่จะทำการเปลี่ยนแปลง (Mobilizing change talk) เป็นคำพูดที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้รับบริการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง หรือมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ เป็นคำพูดที่สะท้อนถึงพันธะสัญญาระยะสั้นที่จะกระทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง

ลักษณะคำพูดที่แสดงให้ทราบว่า มี  Mobilizing change talk ได้แก่ CATS

Commitment: คำพูดที่แสดงให้เห็นพันธะสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Activation: คำพูดที่แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ยังเป็นพันธะสัญญาระยะสั้น

Taking steps: คำพูดที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลมีทิศทางที่พร้อมในการปฏิบัติ

การกระตุ้นให้เอ่ยปากว่าจะเปลี่ยน (Evoking Change Talk)

คำถามปลายเปิด เป็นวิธีการที่ใช้กระตุ้นให้เอ่ยถึงความคิดที่ไม่สอดคล้องกันของผู้รับบริการ ถามเพื่อให้ทบทวน ขยายมุมมอง ทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมของตนเอง และเห็นประโยชน์ความสำคัญของการเปลี่ยน หรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรม โดยปกติ วิธีการนี้จะมีประโยชน์หลังจากได้เปิดการสนทนาไปมากพอแล้ว ซึ่งเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ผู้รับบริการเอ่ยปากว่าจะเปลี่ยนมักเกิดหลังจากประโยคสรุปความ

          วิธีการ Evoking Change Talk

                   - การใช้ไม้บรรทัดเปลี่ยนแปลง

- ให้มองย้อนเหตุการณ์ในอดีต

“ก่อนหน้าที่จะป่วยเป็นเบาหวาน ชีวิตของคุณเป็นอย่างไร”

“ถ้าเทียบกับตอนนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง”

- ให้มองเหตุการณ์ในอนาคต

“ถ้าคุณเปลี่ยนตัวเองได้สำเร็จ จะมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง”

“นับจากนี้ 5 ปี คุณอยากให้ชีวิตของคุณเป็นอย่างไร”

- ถามตรงๆ ถึงผลเสีย

“ถ้าไม่ทำการเปลี่ยนแปลง ผลเสียที่เกิดขึ้นกับคุณมีอะไรบ้าง”

- สำรวจเป้าหมายและค่านิยม

“เป้าหมายในการดำเนินชีวิตของคุณ คืออะไร”

“ต้องการอะไรในชีวิต”

“มีอะไรที่เป็นอุปสรรค ทำให้คุณไปไม่ถึงเป้าหมายของคุณบ้าง”

Sustain Talk & Discord

Sustain Talkเป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นว่า ผู้รับบริการยังต้องการที่จะทำพฤติกรรมแบบเดิมๆ ยังไม่สนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Discordเป็นคำพูดที่ผู้รับบริการสะทอนให้เห็นถึงความขัดแย้งกันในกระบวนการบำบัดกับผู้ให้บริการ

วิธีการที่ใช้เมื่อพบSustain Talk & Discord

- การสะท้อนความ

- การย้ำให้เห็นสิทธิที่เขาจะเลือกปฏิบัติหรือไม่ และเขามีอำนาจในการควบคุมสิทธิทางเลือกนั้นๆ (Emphasis personal choice and control)

- เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้รับบริการเสนอ และเชื้อเชิญให้เสนอวิธีการต่างๆ (Agreement with a twist and invite co-operation)

- การช่วยให้มองปัญหาจากหลากหลายมุม (Reframing)

หลุมพรางทางการสื่อสาร (Communication roadblock)

           หลุมพรางทางการสื่อสารนี้เป็นแนวคิดของโทมัสกอร์ดอน(Thomas Gordon’s Twelve Roadblocks) ซึ่งหมายถึง ลักษณะการสื่อสารที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดความไม่ราบรื่นในกระบวนการสื่อสาร เป็นกระบวนการสื่อสารที่ทำให้เกิด “Emotion plague”ซึ่งทำให้เกิดข้อขัดแย้งโดยไม่จำเป็น การสื่อสารลักษณะนี้ เป็นการสื่อสารโดยอ้อมว่าได้ใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการสื่อสาร ซึ่งถือว่าเป็นการไม่ตระหนักหรือเคารพความเป็นบุคคลของคู่สนทนา

ประเภทของหลุมพรางทางการสื่อสาร

หลุมพรางทางการสื่อสารนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การตัดสิน การให้คำแนะนำ และการหลีกเลี่ยงที่จะตอบสนองต่อความกังวลใจของคู่สนทนา

1. การตัดสิน (Judging the other person) ได้แก่

1.1 วิพากษ์วิจารณ์ (Criticizing)ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ตนเองไม่ดี ไม่มีความสามารถ มีปมด้อย หรือรู้สึกว่าตนเองโง่ เช่น      “ต้องไม่พูดแบบนั้น” “คุณต้องอยู่กับความเป็นจริงบ้าง” “กลับไปอยู่กับสิ่งที่ถูกต้อง และบอกเธอว่า คุณเสียใจ”  ผลที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการคือ “ฉันจะไม่บอกอะไรกับคุณ ถ้าคุณกำลังตัดสินฉัน”

1.2 ตั้งฉายาให้รู้สึกอับอาย เป็นตัวตลก (Name-calling, Shaming, Ridiculing) มีผลในการทำลายภาพลักษณ์ ทำให้ขาดกำลังใจในการมองตนเองตามความเป็นจริง และรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม

1.3 การวินิจฉัย (Diagnosing) ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านและโกรธ เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ให้บริการอยู่เหนือกว่า และทำตัวเป็นนักสืบ

1.4 การชมแบบหวังผล (Praising evaluation) การชมแบบหวังผล อาจใช้ได้เป็นบางเวลา แต่ไม่ช่วยในการสร้างสัมพันธภาพ เพราะเป็นการยกยอที่ไม่จริงใจและวางตัวในฐานะผู้ประเมิน

2. การให้คำแนะนำ (Sending solution) ได้แก่

2.1 สั่ง บงการ (Ordering, directing, commanding) กระตุ้นให้เกิดการต่อต้านขัดขืน ทำให้รู้สึกว่า ความต้องการของผู้รับบริการไม่ได้รับการใส่ใจ

2.2 การขู่ (Threatening) การใช้อำนาจด้วยการขู่ จะทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจ โกรธ ต่อต้านและขัดขืน

2.3 การใช้ศีลธรรม จรรยา (Moralizing) ทำให้รู้สึกผิด รู้สึกว่าทำตัวไม่เหมาะสม แปลความว่า “คุณไม่ฉลาดพอที่จะรู้ว่าตัวเองควรปฏิบัติอย่างไร”

2.4 การใช้คำถามที่ไม่เหมาะสม (Excessive/ Inappropriate questioning) ใช้คำถามปลายปิด/ คำถามที่ไม่เหมาะสม เช่น ใคร ที่ไหน ผู้รับบริการรู้สึกว่าผู้ให้บริการกำลังสอดรู้สอดเห็น

2.5 การให้คำแนะนำ (Advising) ผู้ให้บริการไม่ได้รู้ชีวิตของผู้รับบริการทั้งหมด แม้กระทั่งคำแนะนำที่ดีที่สุดก็อาจไม่เหมาะสมกับผู้รับบริการ

3. การหลีกเลี่ยงที่จะตอบสนองต่อความกังวลใจของคู่สนทนา (Avoiding the other concern) ได้แก่

3.1 การเปลี่ยนเรื่องคุย (Diverting, humoring, distracting) เป็นการไม่ให้ความสนใจ ไม่เคารพในความรู้สึกและรู้สึกว่าถูกปฏิเสธ

3.2 การโต้แย้งด้วยหลักการและเหตุผล (Logical argument) เป็นการทำตัวเหนือกว่า จะนำไปสู่การปกป้องตนเองของผู้รับบริการ และการโต้เถียงกัน

3.3 การให้ความหวังแบบเลื่อนลอย (Reassuring) ซึ่งอาจจะไม่ได้อยู่บนข้อมูลที่เป็นจริง ผู้รับบริการจะรู้สึกว่า ผู้ให้บริการไม่เข้าใจในตัวเขา เป็นการง่ายที่จะพูดให้ความหวัง แต่ไม่เข้าใจว่าผู้รับบริการรู้สึกแย่อย่างไร เช่น “การที่คุณเลิกบุหรี่ ทำได้แน่นอน ถ้าเข้มแข็งพอ”

สรุปจากการ อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในหลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับพยาบาลสู่การจัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง” วันที่ ๑๖ – ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : นางสาวภาวดี  เหมทานนท์       (0)

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

เครื่อง มือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง ต้องใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองที่กำหนด โดยจัดห้องและเตรียมความพร้อม ดังนี้

1. หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองในแต่ละเรื่องได้

 

2. Computer และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3. เครื่องมือและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Suction Defibrillator Monitor NIBP O2 pipeline EKG รถ Emergency พร้อมอุปกรณ์ Infusion pump และเครื่องมืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4. วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเวชภัณฑ์มิใช่ยาที่ใช้ทำหัตถการต่าง ๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Set IV Syringe Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดให้ O2 ชุดสวนปัสสาวะ ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5. เวชภัณฑ์ ประกอบด้วยยา สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยตามสถานการณ์จำลองที่กำหนดในแต่ละโรค

6. เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนผู้ป่วยให้ครบถ้วนตามแบบของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกหลักของวิทยาลัยนั้น ๆ

7. อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

 

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Simulation

ปัญหาการใช้หุ่นและเทคโนโลยีสถานการณ์ SBL เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้สอนใน SBL จําเป็นต้องการทราบวิธีที่จะแก้ไขเมื่อพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ แก้ไขได้โดย

- ตรวจสอบว่าวาล์วสีน้าเงินเปิดอยู่

- ปล่อยลมออกจากเครื่องปั้มลม (compressor)เนื่องจากบางครั้งอาจมีลมค้างอยูในเครื่อง

อาจทําให้เครื่องไม่ทํางานการปล่อยลมทําได้โดยการเปิดวาล์วสีแดงและเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

- ตรวจสอบท่อและข้อต่อระหว่างเครื่องปั้มลมและหุ่นให้เสียบเข้าด้วยกัน

- ตรวจดูว่า Software กําลังทํางานอยู่โดยดูจาก Linkbox

 

2. ปัญหาการวัดค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์ ในบางครั้งมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินค่าความดันโลหิตให้ถูกต้อง แต่อาจพบได้ว่านักเรียนวัดค่าได้ไม่ตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น ให้ดําเนินการดังนี้

- ตรวจดูการตั้งค่า Korotkoff Sounds ให้ตั้งค่าเสียงให้ดังที่สุด

- Calibrate ค่าแรงดัน Systolic และ Diastolic ที่หุ่นและที่โปรแกรมให้ตรงกัน

- Auscultatory Gap on/off feature ตรวจสอบหูฟังว่ามีการเปิดหรือปิด

- วิธีการ Calibrate ค่าความดันโลหิต ดําเนินโดยใช้คน 2 คน ว่ามีไฟสีแดงขึ้นแสดงว่าเครื่อง

ทํางานอยู่ คนแรกเข้าไปในโปรแกรมควบคุมหุ่น ไปที่เมนู แล้ว click Calibrate เพื่อกําหนดค่าความดันโลหิตให้ตรงกับสถานการณ์ และคนที่สอง ให้บีบ cuff BP ค้างไว้ให้ได้ค่าตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น

3. จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน ให้ดําเนินการดังนี้

- ตรวจสอบที่ Linkbox ว่ามีไฟแดงสว่างขึ้นหรือไม่ และดูการเชื่อมต่อของสายระหว่าง

Linkbox กับว่ามีการเชื่อมต่อหรือไม่

- ตรวจสอบสายการเชื่อมต่อของสายระหว่างหุ่นกับจอภาพ

- Reboot หุ่นและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน

4. ไม่มีเสียงออกจากหุ่น ให้ไปที่โปรแกรมและดําเนินการดังนี้

- คลิกเมนู Edit ที่มุมซ้ายบน

- เลือก รูปไมโครโฟน

- คลิกเลือก ไมโครโฟน In use “Primary Sound Capture Driver”

- กําหนดค่าความดังของเสียง

- ตรวจสอบที่ปุ่มลําโพงที่มุมล่างขวา

5. จอภาพผู้ป่วยค้าง ดําเนินแก้ไขโดยใช้โปรแกรม elo เมื่อปุ่มไอคอนโปรแกรมนี้ จะปรากฏอยู่ที่มุมล่างซ้ายของเมนู bar ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้ดําเนินการดังนี้

- Double คลิกที่ไอคอน elo และคลิกที่ปุ่ม “รูปเป้าปืน” และกด “esc” ที่คีย์บอร์ด

- สัมผัสที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยตามต้องการที่จะให้ปรากฏค่า EKG หรือ HR

6. สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้ มักเกิดจากการออกแบบสถานการณ์ไม่ถูกต้อง Scenario จะดําเนินการไปข้างหน้า โดยไม่สามารถย้อนกลับสู่สถานการณ์เดิมได้ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลง จะต้องกําหนด Frame สถานการณ์ใหม่และคลิกเชื่อมสถานการณ์ให้ถูกต้อง ต่อเนื่องกันแก้ไขทําได้โดยการกลับเข้าไปแก้ไขและออกแบบสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง

 

การสร้างสถานการณ์จำลองบากแผลในลักษณะต่างๆ

           Moulage มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า การทําต้นแบบ เป็นการทํา Trauma effect  เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประเมินผู้ป่วยที่มีบาดแผลลักษณะเสมือนจริง เช่น ซีด เขียว มีเหงื่อออก ผื่นแดง แผลฟกช้า แผลฉีกขาด โดยมีเทคนิคที่ถูกต้อง ดังนี้

- ควรล้างมือให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์

- Trauma effect product มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามควรให้คําแนะนํากับผู้ที่แพ้ง่าย

- ระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณรอบดวงตา จมูก และปาก

- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล

- Trauma effect product ทุกชนิดสามารถล้างออกได้ แต่อาจใช้เสื้อผ้าที่เก่าแล้ว

- ควรถอด contact lenses เพื่อลดอันตรายและการระคายเคืองต่อดวงตา

- Wooden spatula ไม่ควรใช้ปนกัน

- Sponge wedges ควรใช้แยกกันแต่ละคน

- Eye makeup applicators และไม่พันสําลี ใช้ single use

- Sponge wedges applicator

- Sweat Applicator Sponge

วิธีทํา แผลฝกช้ำ มีเหงื่อและสารคัดหลั่ง ทา shock color cream ให้ทั่วใบหน้า ใช้ wooden spatula ตัก blue bruise gel  เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ แล้วใช้นิ้วมือป้ายเจลลงบนปลายจมูก ริมฝีปาก รอบดวงตา และโหนกแก้ม หากใช้ปริมาณมากเกินไป sponge wedges ซับออก หลังจากนั้นใช้ sweat applicator sponge

วิธีทํา แผลฝกช้ำ เขียว ซีด  ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือทาและตบเบาๆลงบนบริเวณที่ต้องการทําแผลฟกช้า ใช้ blue bruise gel ป้ายทับลงไปให้เกิดเงาของสี ใช้ bruise wheel ป้ายทับลงไปให้เกิดสีคล้าชัดเจนขึ้น ใช้ wet wipe ซับออก

วิธีทํา แผลฉีกขาด มีเลือดออก  ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้า (Bruise) แล้วใช้ plastic spatula ตัก scab/scratch product  เล็กน้อย แล้วกรีดลงบนแผลบนบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้แผลดูมีความลึก และเติม sticky blood ลงไปบนรอยแผลที่สร้างไว้ เพื่อให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกมาจากแผล

วิธีทํา บาดแผล ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้า จากนั้นสร้างแผลเพิ่มเติมให้มีลักษณะของแผลพุพอง โดยใช้ yellow bruise gel ป้ายลงไปบนแผลเป็นวงกลม รอให้น้ำระเหยเพื่อให้แผลดูเสมือนจริง เติม sticky blood ลงบนแผล พ่น black spray และใช้ wet wipe เช็ดสเปรย์บางส่วนออก แผลจะดูเสมือนจริงมากขึ้น

เทคนิคการสร้างบาดแผลโดยใช้ scar wax วิธีทํา ปั้น wax ให้เป็นรูปทรงยาวแล้วแปะลงบนผิวหนัง กดขอบให้เรียบไปกับผิวหนัง จากนั้นใช้ plastic spatula กรีดลงบน wax ป้าย sticky blood  ให้ดูเสมือนเป็นลิ่มเลือดอยู่บนปากบาดแผล เติม face blood หรือเศษกระจกปลอม นอกจากนี้ ยังมีบาดแผลสําเร็จรูปทําจากซิลิโคนที่มีลักษณะนิ่ม  ใช้สร้างบาดแผลที่เป็นลักษณะของCompound fracture หรือ Gun shot wound วิธีทํา ใช้บาดแผลซิลิโคน  ทากาวและแปะลงบนผิวหนัง ให้แนบสนิท จากนั้นสร้างแผลให้เสมือนจริงโดยเติม fresh scab/scratch  product ขั้นตอนสุดท้าย เติม face blood ให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกจากแผล


สรุปจากการประชุม การพัฒนาทีมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วันที่   2-3 ก.ย.  2558 หน่วยงานที่จัด  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี : นายสิงห์   กาญจนอารี / นายปกรณ์  ประทุมวรรณ
(0)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลักสูตร และปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษากันอย่าง กว้างขวางด้วยเหตุผลหลายอย่าง อาทิเนื้อหาแน่นมาก และไม่สอดคล้องกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงที่บัณฑิตจะออกไปทำงาน  การเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่าการคิดและการแก้ปัญหา   การเรียนการสอนไม่ได้เตรียมผู้เรียนให้มีการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีพ   ผู้เรียนไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้  การเรียนเรียนไปเพื่อสอบ เป็นต้น  มีการนำแนวทางการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนรู้โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) มาใช้ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning, PBL) ก็เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีปรัชญาสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานได้เริ่มแพร่หลาย  ตั้งแต่โรงเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ได้นำเอาไปใช้เป็นหลักสูตรทั้งหมดของโรงเรียนแพทย์ เมื่อ พ.ศ.2512 จากนั้นจึงมีผู้ให้ความสนใจและนำมาใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ Read the rest of this entry (0)