Evolution & Concept of critical care nursing

Evolution & Concept of critical care nursing

Evolution & Concept of critical care nursing:  

1. SEVEN Cs OF CRITICAL CARE

1)  Compassion
2)  Communication (with patient and family)
3)  Consideration (to patients, relatives and colleagues) and avoidance of Conflict
4)  Comfort: prevention of suffering
5)  Carefulness (avoidance of injury)
6)  Consistency  and
7)  Closure (ethics and withdrawal of care)

2. There are two types of ICUs:

1)   An open:-. In this type, physicians admit, treat and discharge and  2) A closed: in this type,

the admission, discharge and referral policies are under the control of intensevists. Read the rest of this entry

(0)

การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอาสาสาธารณภัย

การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอาสาสาธารณภัย

ภาวะพิบัติภัย เป็นปัญหาสากลที่ทุกประเทศต้องเตรียมความพร้อมรับกับภาวะนี้ พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่สำคัญในการเข้าถึงพื้นที่พิบัติภัยและตอบสนองต่อภาวะพิบัติภัยในหลายบทบาทและในระยะต่างๆ ของการเกิดภาวะพิบัติภัยการเตรียมความพร้อมให้พยาบาลมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการจัดการกับภาวะพิบัติภัยจึงมีความสำคัญยิ่ง

สภาการพยาบาลสากล (International Council of Nurses: ICN)ได้พัฒนากรอบสมรรถนะด้านการพยาบาลภาวะพิบัติภัย ใน 4 ระยะ คือ

1) ระยะการป้องกัน/การบรรเทาทุกข์
2) ระยะการเตรียมความพร้อมรับภาวะพิบัติภัย
3) ระยะการรับมือพิบัติภัย
4) ระยะการพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพของบุคคล/ครอบครัวและชุมชน

กรอบสมรรถนะการพยาบาลภาวะพิบัติภัย(Disaster Nursing Competencies Framework)

การจัดการภาวะพิบัติภัยเป็นกิจกรรมต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ภาวะพิบัติภัย ขณะเกิดภาวะพิบัติภัย และหลังเกิดภาวะพิบัติภัยแล้วซึ่งเป็นรูปแบบของการจัดการภาวะพิบัติภัยอย่างต่อเนื่อง (Model of the disaster management continuum) พยาบาลมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการภาวะพิบัติภัยทุกระยะ ICN จึงได้กำหนดสมรรถนะของพยาบาลด้านการพยาบาลภาวะพิบัติภัยครอบคลุมระยะของการเกิดภาวะพิบัติภัย 4 ระยะหรือใน 4 หมวด มีขอบเขตสาระสำคัญด้านต่างๆ10 องค์ประกอบ (domains)

หมวดที่ 1 ระยะป้องกันหรือลดผลกระทบ/บรรเทาทุกข์

1. การลดความเสี่ยง การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ
1.1 การลดความเสี่ยง และการป้องกันโรค
1.2 การส่งเสริมสุขภาพ
2. การพัฒนาและวางแผนนโยบาย

หมวดที่ 2 ระยะเตรียมความพร้อม

1. การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม กฎหมาย และความรับผิดชอบ
1.1 การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
1.2 การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
1.3 การปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ
2. การสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล
3. การให้การศึกษาและการเตรียมความพร้อม

หมวดที่ 3 ระยะรับมือ/ตอบสนอง ภาวะพิบัติภัย

1. การดูแลชุมชน
2. การดูแลบุคคลและครอบครัว
2.1 การประเมิน
2.2 การปฏิบัติตามแผน/การดำเนินการ
3. การดูแลด้านจิตใจ
4. การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง

หมวดที่ 4 ระยะพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพ

การฟื้นคืนสภาพของบุคคลครอบครัว และชุมชน

สรุปจากการอบรม  การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอาสาสาธารณภัย วันที่   2-3 ก.ย.  2558 หน่วยงานที่จัด  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย : นายสิงห์   กาญจนอารี

(0)

การควบคุมกำกับงานด้านพัสดุ

การควบคุมกำกับงานด้านพัสดุ

ด้านพัสดุ สาระที่ได้มีดังนี้

การควบคุมกำกับงานด้านพัสดุ

1.  การจัดหาประโยชน์ในราชพัสดุ

2.  การจ้างเหมาบิการ(บุคคลธรรมดา)

-  จ้างเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้

«หากเป็นการจ้างบุคคลธรรมดาให้จ้างได้เฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงาน โดยไม่จำต้องทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาการจ้างเต็มปีงบประมาณ และมิให้ทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง

- ลักษณะงานที่จ้างควรเป็นงานที่ส่วนราชการซื้อบริการเป็นรายชิ้น

- ห้ามจ้างงานที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการหรืองาน ซึ่งหากมีการเผยแพร่ข้อมูล จะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ หรืองานที่มีลักษณะของการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชน

- กรณีที่ส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องจัดหาบุคคลมาปฏิบัติงานเป็นการประจำ ในลักษณะเดียวกับข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หรือพนักงานราชการ ให้ดำเนินการจ้างในลักษณะจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินนอกงบประมาณ โดยการจ้างดังกล่าวต้องไม่ขัดกับระเบียบเงินนอกงบประมาณแต่ละประเภท หรือขออนุมัติกรอบอัตราพนักงานราชการจากสำนักงาน ก.พ.

- หากผู้รับจ้างประสงค์จะได้รับประโยชน์ของผู้ประกันตนสามารถสมัครได้ ตาม ม. 40 ของกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม

- หากมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและราชการได้รับความเสียหายให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยเร็ว

3. แผนการดำเนินการการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการ e-bidding

(e-bidding) 5 ขั้นตอน

ลำดับ

รายละเอียด

ระยะเวลาวันทำการ

เดือน

 

1. ขั้นตอนการจัดเตรียมการดำเนินการจัดหา

1.1

แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง/คณะกรรมการหรือบุคคลจัดทำคุณลักษณะเฉพาะ

1.2

ประชุมคณะกรรมการฯ จัดทำราคากลาง/จัดทำคุณลักษณะเฉพาะ

1.3

รายงานผลขออนุมัติราคากลาง/คุณลักษณะเฉพาะ/ได้รับอนุมัติ

1.4

การจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาจัดซื้อ/จัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด

1.4

จัดทำรายงานขอซื้อ/จ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)  (ตามระเบียบฯ พ.ศ.2535 ข้อ 27)

1.5

เสนอหัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบเอกสารและลงนามในประกาศเชิญชวน

2. ขั้นตอนเผยแพร่ประกาศและเอกสารประกวดราคา

2.1

ทำเอกสารที่ได้รับความเห็นชอบเผยแพร่ในเว็ปไซต์หน่วยงาน/กรมบัญชีกลาง ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

2.2

ให้ผู้ประกาศเสนอราคาจัดทำเอกสารไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

3. ขั้นตอนการพิจารณารับข้อเสนอ

3.1

ผู้เสนอราคาเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

3.2

คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอ

3.3

คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาพร้อมด้วยเอกสารที่รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการ

 

สรุปจากการอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเงินและพัสดุของวิยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก หน่วยงานที่ จัดสถาบันพระบรมราชนก วันที่ 27-30 สิงหาคม 2558   โดย นางสาวแสงเดือน ชูอินทร์ และนางสาคร ฤทธิ์เต็ม (0)

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่เขียนโดย ศ. น.พ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวว่า   การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิตคือ 3R x 7C กล่าวคือ 3R ได้แก่
1. Reading (อ่านออก)
2. (W)Riting (เขียนได้)
3. (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
และ 7C ได้แก่
1.Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
4. Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5. Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
7. Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น  Knowledge Worker  โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้อง เปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (Knowledge Worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (Learning Person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้  ดังนั้นทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (Learning Skills) ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้วเพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเองระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครู เพื่อศิษย์และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเองโดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ Facilitator ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL คือโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน เน้นทั้งการเรียนของศิษย์และของครู

“การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรจะมีลักษณะอย่างไร”  โดยที่การศึกษาในประเทศไทยนั้นได้ยึดหลักของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามความคิดของนักคอนสตรัคติวิสต์(Constructivist) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ นักจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ Piaget นักจิตวิทยาชาวสวิส และ Vygotsky นักจิตวิทยาชาวรัสเซียPiaget เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความรู้ความคิด เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ส่วน Vygotsky อธิบายหลักการสำคัญว่าผู้เรียนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง และจะสามารถก้าวไปยังระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นตามศักยภาพที่มีอยู่เมื่อได้รับการแนะนำช่วยเหลือจากผู้รู้ แนวความคิดของทั้ง Piaget และ Vygotsky มีส่วนที่คล้ายคลึงกันตรงการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อนำสู่การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ และการไปถึงระดับที่ผู้เรียนมีศักยภาพ

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ทำให้วงการการศึกษาในประเทศไทยจำเป็นต้องตอบสนองต่อความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่นี้ เราต้องการรูปแบบการทำงานที่สามารถพัฒนากรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อที่สามารถจัดการศึกษาตอบสนองต่อความต้องการที่กำลังเปลี่ยนแปลงของสังคมซึ่งเยาวชนไทยกำลังเผชิญอยู่ จากบทแรกเราทราบนิยามของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในบทนี้เราจะมาตีความหมายและพยายามทำความเข้าใจว่าครูที่มีหน้าที่สอนนั้นจะออกแบบบทเรียนอย่างไรเพื่อให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายเกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เมื่อเราอ่านนิยามของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จะเห็นได้มุมมองของนักการศึกษาที่ต้องการให้นักเรียนในอนาคตมีคุณลักษณะดัง 4 ประการนี้

1.   วิถีทางของการคิด ได้แก่ สร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การเรียนรู้และตัดสินใจ   (Ways of Thinking. Creativity, Critical Thinking, Problem-solving, decision- Making and Learning)

2.   วิถีทางของการทำงาน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร และการร่วมมือ (Ways of Working. Communication and Collaboration)

3.   เครื่องมือสำหรับการทำงาน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ด้านข้อมูล (Tools for Working. Information and Communications Technology (ICT)  and Information Literacy)

4.   ทักษะสำหรับดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ได้แก่ ความเป็นพลเมือง ชีวิตและอาชีพ และ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (Skills for Living in the World. Citizenship, Life and Career, and Personal and Social Responsibility)

จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยนักการศึกษาได้มีการนำเสนอหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญของลักษณะการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้

1.   มนุษย์มีรูปการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย หากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา

2.   ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่นำความรู้ไปใส่และให้ผู้เรียนดำเนิน รอยตามผู้สอน

3.   โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัย มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการ แบบให้อิสระ หรือแบบประชาธิปไตย

4.   เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 10 ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ กัน

5.   ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า “ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด” และ “ระบบที่ยืดหยุ่นจะผลิตคนที่รู้จักคิดยืดหยุ่น”

6.   สังคม หรือชุมชนที่มั่งคง ร่ำรวยด้วยข้อมูลข่าวสาร ทำให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ สถานที่

7.   การเรียนรู้แบบเจาะลึก (Deep Learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรฝฦแบบผิวเผิน (Shallow Learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึก รู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบงูๆ ปลาๆ ดังจะเห็นจากในอดีตว่ามีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป จนผู้เรียนไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์อย่างไร

การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ ครูนั้นต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอน (Instructor)  ครูต้องมีลักษณะของผู้ที่สามารถชี้แนะการเรียนรู้ (Learning Coaching) และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำนักเรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Travel Agent) จากที่กล่าวมานั้นบทบาทของครูจากยุคสมัยก่อนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อก้าวสู่ยุคแห่งศตวรรษที่ 21 ครูในโลกยุคใหม่ต้องมีความรอบรู้มากกว่าการเป็นผู้ดูแลรายวิชาที่สอนเท่านั้น แต่ครูมีบทบาทของการเพิ่มพูนความรู้แก่นักเรียน เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ

ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอน เช่น การกำหนดปัญหาที่สนใจและการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้

ในศตวรรษที่ 21 ไอซีทีได้เข้ามาบทบาททางการศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ไอซีทีในปัจจุบันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

“ครูสามารถบูรณาการความก้าวหน้าทางไอซีทีกับการจัดการเรียนรู้ได้อย่างไร”
การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี (Technology-based Learning) ครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบได้แก่ การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (Computer-based Learning) การเรียนรู้บนเว็บ (Web-based Learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classrooms) ความร่วมมือดิจิตอล (Digital Collaboration) เป็นต้นผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (Satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ (Audio/Video Tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive TV) และซีดีรอม (CD- ROM)   การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับแต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งของเทคโนโลยี ทำให้ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษา   หาความรู้และเตรียมพร้อมตนเองเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้ในการเรียนการสอนวิธีการเตรียมตัวในการใช้เทคโนโลยีในการสอนคือ เทคนิครู้เขารู้เรา โดยสิ่งที่ครูต้องรู้มี 2 ประการคือ (1) การรู้และเข้าใจศักยภาพของทรัพยากรที่โรงเรียนมี เช่น ครูต้องรู้ว่าในโรงเรียนมีอะไรที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยปกติแล้วสิ่งที่โรงเรียนมีคือ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องเรียนที่มีเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบโน๊ตบุ๊ค รวมไปถึงระบบขยายเสียง (2) ครูต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน รวมไปถึงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน สื่อภาพและเสียง วิดิทัศน์ ข่าวและประเด็นที่เป็นที่สนใจ เป็นต้น เทคโนโลยีที่ครูสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิด มีจำนวนมาก และครูสามารถเลือกใช้ได้ตามความถนัดหรือความสนใจ

การพัฒนาเด็กในยุคศตวรรษที่ 21 (วิจารณ์ พานิช,2555)

-  Disciplined mind
-  Synthesizing  mind
-  Creating  mind
-  Respectful  mind
-  Ethical  mind
-  Global  awareness

แนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษหน้า

ครูต้องสามารถบูรณการความก้าวหน้าทาง ICT กับการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

Digital organization เพื่อลดจำนวนบุคลาการ

ทำอย่างไรให้องค์กร ใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุน ทรัพยากร

เพราะอะไรไม่เกิดทั้งองค์กร  management เพื่อลดต้นทุน ลดคน นำ IT เป็นตัวตั้ง

นโยบาย ส บ ช All in one วางระบบให้สามารถทำงานทุกที่

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอน
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สกอ.  http://thaicyberu.go.th
PADLET   http://padlet.com/anuchai_t/pi

การประยุกต์เทคโนโลยีในฐานะของครูเพื่อจัดการเรียนการสอน

อุปกรณ์จะช่วยงานดีขึ้นอย่างไร

เทคโนโลยี e-learning  ลดปัญหาได้อย่างไร

เริ่มจากการเรียนการสอนมีปัญหา อย่างไร สอนอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ นักเรียนหลับ นักเรียนไม่สนใจ นักเรียนลืม  ตั้งสมมติฐาน แล้ว นำเทคโนโลยี e-learning  มาช่วยอย่างไร
ผู้เรียนรับไม่ได้ รับไม่ทัน หรือไม่อยากเรียน  พื้นฐานผู้เรียนไม่เพียงพอ ทำให้รับไม่ทัน คนเก่ง คนอ่อน มีความแตกต่างของการรับรู้ อาจารย์สอนในห้องที่มีจำนวนนักเรียนเยอะ สื่อของ e-learning  ผู้เรียนสามารถมาเรียนได้ตามพื้นฐาน ตามศักยภาพ ตามความเร็วของตนเอง อาจารย์ทำสื่อให้เรียนล่วงหน้า  ให้เรียนทบทวน เพื่อช่วยลดปัญหาช่อว่างของผู้เรียน เพื่อปรับพื้นฐานของผู้เรียนให้ใกล้เคียงกันก่อน

ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

การใช้ PADLET  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมสามารถตั้งคำถามในห้องเรียน
การนำเทคโนโลยีมาใช้  ย้อนไปที่ปัญหาที่อาจารย์พบ แล้วอาจารย์อยากแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา

การเตรียมสอนนักเรียน โดย มคอ TQF
ภาระงานที่มีเยอะ การประกันคุณภาพ มีเทคโนโลยีที่ช่วยมากขึ้น
เตรียมแผนการสอนอย่างไร : อาจารย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อน  มองหาว่าเราจะเอาสิ่งใหม่ไปใช้กับนักเรียน เปลี่ยนนักเรียน สื่อต่างๆที่ใช้ต้องทันยุคทันสมัย  ทำไมลูกศิษย์ไม่เหมือนสมัยที่เราเรียน จะสนับสนุนอย่างไรให้นักเรียนมีวิธีแสดงความคิดเห็นได้

ทำอย่างไรให้นำไปใช้ได้ประสบความสำเร็จ
กลับจากอบรม มีความมุ่งมั่น คุยกับฝ่าย IT และผู้บริหาร ให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าจะใช้งานร่วมกันอย่างไร  อาจารย์ท่านไหนมีความมุ่งมั่นจะเปิดวิชาใน e-learning  ทำแบบค่อยๆเป็นๆไป ใช้ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิชาไหนใช้เต็มรูปแบบ วิชาไหนใช้แค่เป็นสื่อประกอบ
การจัดสัมมนา การอัพเดตฟังก์ชั่นใหม่  วิธีการใช้งาน มีการเชื่อมการประสานงาน การมีเวทีแลกเปลี่ยนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ภายใต้ทฤษฎีการกระจายนวัตกรรม Show & Share
เวลาอบรมให้ไปด้วยกันทั้งอาจารย์และ นัก IT

 

บทบาทของผู้บริหาร

การสื่อสารซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ  ให้มี Evidence เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ อ้างอิงได้ลดต้นทุน เพิ่มคุณค่า  บริหารด้วยข้อมูล  ความพร้อมของอาจารย์ในการนำไปใช้

นักเรียนใช้ IT เก่งแต่ไม่เข้าเรียนแบบมีส่วนร่วม e-learning

-  ทำอย่างไรให้น่าสนใจ อย่าสอนให้เหมือนการสอนแบบทั่วไป

-   เรียนยุคใหม่ต้องการการโต้ตอบ ต้องอยู่กับนักเรียนขณะออนไลน์  อาจารย์ active นักเรียน active มากขึ้น

-          เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เป็นอย่างนักเรียน  สร้างข้อตกลง เวลาที่จะร่วมพูดคุย  อาจารย์ต้องเร็ว

-          การท้าทายผู้สอน  คำตอบมีหลายคำตอบ
Think for share ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งรายวิชา แต่ต้องการเรียนการสอน

-          ทำให้นักเรียนเข้าใจว่า ชั่วโมงที่พบอาจารย์ คือ ช่วงเวลาที่มีค่า เพราะฉะนั้นก่อนที่มาพบอาจารย์นักเรียนต้องมีการเตรียมการ   ใช้แล้วนักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น  ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนสูงสุด

Flipped classroom model

Learning Outcome

Outside-of-class: Videos, Postcard, Book, Website

In class: Collaborative

ครูจัดการบทเรียนไว้ล่วงหน้าที่บ้าน

ในห้องเรียน ตรวจสอบความเข้าใจใน concepts  ให้คำแนะนำตามความต้องการของนักเรียน

1.สร้างสื่อ ให้น้อยกว่า 10 นาที

2.ให้นักเรียนทำความเข้าใจเนื้อหา

3.สร้างแรงจูงใจ

4. ห้องเรียนอภิปราย หรือ สะท้อนคิด (0)

การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนแบบ E-learning

การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนแบบ E-learning

          สรุปจากการประชุม การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนแบบ E-learning ณ  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินทร จ. ชลบุรี  หน่วยงานที่จัด กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ   ระหว่างวันที่  3 – 7 พฤศจิกายน  2557 โดย นางจิตฤดี  รอดการทุกข์ 

ยุทธศาสตร์ไอที 2020 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (ICT 2020) เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัจุบันแบบ online

สร้างนวตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่21
ห้องเรียนกลับด้าน(flipped classroom)
การเรียนแบบผสมประสาน(blended classroom)
ชมคลิปวิดีโอ Bridging our future ห้องเรียนอัจฉริยะเกิดขึ้นได้รอบตัว ทุกที่ทุกเวลา สามารถค้นหาข้อมูลผ่นระบบonline ซึ่งต้องมีระบบเครือข่ายที่พร้อมต่อการสนับสนุนการเรียนรู้ คลิป a day made of glass เป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยี glass ให้เกิดประโยชน์ และคลิป a day made of glass 2 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของวัยรุ่นในกรใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สิ่งประดิษฐ์สร้างนวตกรรมและต่อยอดนำไปใช้อย่างแพร่หลายจะกลายเป็นเทคโนโลยี
กระทรวงไอซีที ได้สร้างแฟรมเวิร์ค 2020 (SMART Thailand 2020)
Smart hearth and smart learning นโยบายที่เกี่ยวข้อง สร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มี ICT literacy คือการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ
information literacy คือการกรองเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆอย่างชาญฉลาด
media literacy คือการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม การใช้ประโยชน์จาก
Social media เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสร้างสรรค์สินค้าและบริการและเรียนลัดในกระบวนการการสร้างนวตกรรม (โดยแนวทาง Open innovation)
21st century student outcome and support system ผู้สอนต้องเตรียมสภาพการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
สร้างสภาพการเรียนรู้แบบ online หรือสภาพการเรียนรู้แบบเสมือน
ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะการสื่อสารผ่าน ICT เช่น facebook, post group, video conference
ทักษะในกรทำงานร่วมกันทั้งภายในและนอกสถานศึกษา จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ (ไอสไตน์)
สื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนยุคใหม่ Teaching and Learning media Cloud Computing เป็นการจัดเก็บข้อมูลและประมวณผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีค่าใช้จ่ายแปรผันตรงตามจำนวนผู้ใช้ (ผู้ใช้มาก จ่ายมาก) ใช้ google apps for education โดยใช้เครื่องมือของ google ได้เลยโดยที่ต้องไม่ต้องซื้อซอร์ฟแวร์ เช่น การทำแบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ จะสามารถอัปเดตแบบ real time ได้ทันที ควรใช้ระบบของ google มี app หลากหลายและไม่เสียค่าใช้จ่าย ข้อแนะนำควรใช้ username and password เดียวกันจะสามารถเข้าระบบต่างๆของ google ได้หมดทุก app

Google Apps for Education การใช้ฐานข้อมูลใน google map การใช้ microsofe office 365 จะเป็นการซื้อ microsofe office รายเดือนของ google Gen C Learner ลักษณะจำเพาะของ gen c ได้แก่ การแชร์เช็คอิน, การหาเพื่อนออนไลน์, taking a selfie, ถ่ายรูปอาหาร, ต้องใช้ app ไอคอนในการทำสิ่งต่างๆ เช่น ค้นหาข้อมูล เก็บข้อมูล ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย กระดาน smart bord มี wifi wirless มี STML ในการปรับเปลี่ยนภาพหน้าจอให้เหมาะกับการใช้, Khanacademy (http://www.khanacademy.org/) ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆโดยเฉพาะวิดีโอเพื่อการศึกษาจะมีคลิปการเรียนรู้หลากหลายที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น ใน you tube หาคำว่า share และ embed แล้ว goppy code web หรือค้นหาคำว่า Embed แล้ว gop code ของวิดีโอนั้น ไม่ถือว่าเป็นละเมิดลิขสิทธิ์, AR : Augmented Reality Social media landscape 2014 จัดอันดับยอดนิยม 1.facebook, 2.twitter, 3.google plus You tube จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในปี 2014 ต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยากรู้เรื่องอะไรผู้เรียนจะสามารถพิมพ์คำค้นหาข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะมีคลิปในเรื่องที่ค้นหาที่หลากหลาย Weblog สามารถค้นหาข้อมูลได้จาก Gotoknow.org ศูนย์รวมข้อมูลความรู้ Researcher.in.th เป็นศูนย์รวมงานวิจัย (http://www.researchgate.net/literature..Literature.html) (https://www.academia.edu) ควรสมัครเป็นสมาชิกเพราะจะได้ข้อมูลงานวิจัยเป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและอังกฤษ Mahara (http://mahara.org), Joomla (http://www.joomla.org) , WordPress (http://www.wordpress.org), Wikipedia สารานุกรมออนไลน์ แต่เป็นข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิงไม่ได้ ต้องหาแหล่งที่มาว่าอ้างอิงที่ไหนแล้วเข้าไปใช้ในต้นฉบับที่อ้างอิงมา Learning environment and Technology tools สิ่งแรกคือต้องมีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้มีทักษะอะไร กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นและถ่ายทอดเป็น Bloom’s taxonomy : เกณฑ์สูงสุดคือผู้เรียนต้องสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ (creating) 21st century skills and literacies for ipads apps, windows apps, google apps : จะมี app ต่างๆให้ใช้ตามความเหมาะสมต่อทักษะกรเรียนรู้ในแต่ละด้าน การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สอนน้อยเรียนมาก ก้าวข้ามสาระวิชา ผู้เรียนบอกว่าอยากเรียนอะไร ร่วมมือ>แข่งขัน เรียนเป็นทีม>บุคคล เรียนโดยลงมือทำ : PBL มีการประเมินแนวใหม่ ไม่เน้นถูกผิด ประเมินเป็นทีม ข้อสอบไม่เป็นความลับ Flipped Classroom ศึกษาเนื้อหาที่บ้าน ใช้สื่อออนไลน์เข้าช่วย ทำการบ้านและกิจกรรมที่ห้องเรียน เน้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบ Activity today (แบบเดิม คือ lecture today) Concept of flipped classroom 1.Online for content Solution online contents: to e-book, LMS, document (pdf/google docs), slideshare, streaming, online quiz 2.Face to face for meaningful activity ได้แก่ Youtube education (https://youtube.com/education) From e-learning to open learning Open Courseware เป็นระบบการเรียนรู้ที่ใครๆก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ เช่น การแชร์ power point ควรเข้าไปติด creative commons license เพื่อเป็นการสงวนลิขสิทธิ์ Open Education Resources : ODR เป็นการใช้สื่อคลิปวิดีโอที่ใครๆก็สามารถเข้าไปใช้ได้ Massive open online courses : MOOC เน้นการเรียนรู้ในวิชาหลักที่สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้พร้อมกันหรือใช้สื่อเดียวกัน เรียนเหมือนกันได้ในหลายๆสถานศึกษา โดยมีหลายๆสถาบันที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันสร้างเนื้อหาวิชา มีทั้งแบบที่เรียนฟรีและจ่ายเงิน หรือลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนก็ได้ โดยมี content คือ Udacity and Coursera เป็นข้อมูลที่คนสร้าง MOOC ต้องรู้ DOCC : มีองค์กรหลักเพียงองค์กรเดียวในการสร้างเนื้อหาวิชาและปล่อยให้สถาบันอื่นนำไปใช้ได้ Open Learning Community Tools : Moodle Moodle MOOC เป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ watch, listen, reflect, transpersonal, active learning Blended learning : เป็นการเรียนผสมผสานระหว่างออนไลน์และ face to face การเรียนผสมผสานแบบแนวตั้ง (50 : 50) การเรียนผสมผสานแบบแนวนอน สามารถแบ่งรูปแบบการสอนได้ตามความเหมาะสม (50 : 50) อาจแบ่งรูปแบบการสอนของแต่ละชั่วโมงโดยคิดจากสัดส่วนหน่วยกิจ การเลือกใช้แนวตั้งกับแนวนอนโดยดูจาก วินัยต่อการเรียนรู้ เช่น ปี1 จะเป็นแนวตั้ง หรือ แนวนอนแต่ช่วงแรกผู้สอนต้องพบผู้เรียนบ่อยๆ เพื่อแนะแนวทางในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสอนแบบ E-Learning ให้ประสบความสำเร็จ

1.การวิเคราะห์ ต้องดู: ความต้องการ, ผู้เรียน, จุดประสงค์, เนื้อหา, บริบทที่เกี่ยวข้อง

2.การออกแบบการเรียนการสอน

3.การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้

4.การนำไปใช้ ลงมือสอน

5.การประเมิน โดยประเมินจาก (E1 : 80) คือ ค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนแต่ละหน่วย และ (E2 : 80) คือ ค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ทำแบบทดสอบหลังกรเรียนเมื่อเรียนครบทุกหน่วย

การนำสื่ออิเล็กโทรนิกส์ไปใช้

1.สื่อหลัก ใช้แทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดผ่านสื่อ

2.สื่อเติม ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาในสื่อเติม

3.สื่อเสริม เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออิเล็กโทรนิกส์อื่นๆ (0)