การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

หลักทั่วไปในการออกข้อสอบ มีดังนี้คือ
๑) กำหนดจุดมุ่งหมายการสอนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
๒) เตรียมตารางวิเคราะห์หลักสูตร
๓) ภาษาที่ใช้ควรชัดเจน เข้าใจง่าย
๔) เขียนข้อสอบแต่ละข้อ  ลงในบัตรแต่ละใบ
๕) เตรียมเฉลยและกำหนดคะแนนในขณะเขียนข้อสอบ
๖) เขียนข้อสอบให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการในตารางวิเคราะห์หลักสูตร และ
๗) เขียนข้อสอบทันทีที่สอนเนื้อหาวิชานั้นจบ

ประเภทของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

สามารถแบ่งตามลักษณะการเขียนตอบ คือ แบบอัตนัย และแบบปรนัย

ข้อสอบแบบเลือกตอบ/ปรนัย มีหลักการสร้างข้อคำถามดังนี้

๑.     ต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ มีความชัดเจนในการถาม
๒.     ประเด็นที่ถามต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นปรนัย
๓.     หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ โดยเฉพาะปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ ถ้าจำเป็นต้องใช้การขีดเส้นใต้ หรือทำตัวทึบให้ชัดเจน
๔.     การใช้ภาษาให้กระชับ ตรงประเด็น ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย
๕.     สิ่งที่ถามต้องเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์
๖.     สิ่งที่ถามต้องหาข้อยุติได้ตามหลักวิชา เพื่อให้ผู้สอบได้ใช้ความคิด ไม่ควรถามในสิ่งที่เป็นความเชื่อ
๗.     ถามให้ตรงตามเนื้อหาที่ต้องการ
๘.     คำถามต้องยั่วยุให้ผู้สอบใช้ความคิด

หลักการสร้างตัวเลือก

๑.     ต้องมีความเป็นเอกพันธ์ (homogeneity) เป็นเรื่องราวเดียวกัน
๒.     ต้องมีความเป็นไปได้ ไม่แย้งกับหลักวิชา
๓.     ต้องเป็นอิสระขาดจากกัน
๔.     แบบปลายปิดปลายเปิด
๕.     ภาษาต้องรัดกุม ชัดเจน
๖.     การจัดเรียงต้องเป็นระเบียบ ตามลำดับ
๗.     ตัวที่แนะคำตอบ (มีคำชี้แนะซ้ำกันในข้อคำถาม)
๘.     ความสั้นยาวของตัวเลือกถูก ตัวลวง

การวัดผลแบบอิงเกณฑ์

เป็นการตรวจสอบความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่ามีพฤติกรรม และคุณลักษณะต่างๆ ถึงระดับเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ถ้าผู้เรียนมีพฤติกรรม ความสามารถถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถือว่าบรรลุเป้าหมาย และเป็นผู้เรียนที่เรียนรู้แล้ว

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วย

๑) เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถสังเกต และสอบวัดได้อย่างชัดเจน
๒) กำหนดเกณฑ์การรอบรู้ในสมรรถภาพ หรือพฤติกรรมนั้น
๓) เขียนข้อสอบ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงถึงความสามารถที่ต้องการวัด และ
๔) ตัดสินความรอบรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์ โดยเทียบกับมาตรฐานต่ำสุดตามวัตถุประสงค์

ในการออกข้อสอบครั้งนี้ มีผลการวิเคราะห์ข้อสอบเก่า ซึ่งประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อสอบหลังนำไปใช้มีดังนี้ คือ ๑) ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานตัวข้อสอบและคำตอบ ๒) กรณีข้อสอบแบบเลือกตอบ ทำให้ทราบประสิทธิภาพของตัวเลือก ๓) ได้แนวทางในการสร้างข้อสอบที่ดี ๔) ได้ข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอน และ ๕) ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพเก็บไว้ เพื่อสร้างคลังข้อสอบและพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานต่อไป

        สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดทำข้อสอบวัดความรู้รวบยอด ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ : นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

(0)

Comments are closed.