รูปแบบการพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21

รูปแบบการพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21

การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบัณฑิตไทย ให้สามารถดำรงชีวิตเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์  แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579  กำหนดวิสัยทัศน์ให้ “คนไทยทุกคนได้รับ การศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ การเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” สถาบันอุดมศึกษาเป็นจักรกลที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาบัณฑิตไทยให้เป็นพลเมืองของชาติที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ ความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพนักศึกษานั้นเต็มไปด้วย ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ที่สังคมมีพลวัตรสูง การทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกและบ่มเพาะให้บัณฑิตมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องทำให้นักศึกษามีความรู้ขั้นลึกในสาขาวิชาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนานวัตกรรมได้ การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างความรู้ใหม่และการปรับตัวในด้านต่าง ๆ อีกทั้งต้องมีการเพิ่มทักษะด้านการบริหารจัดการและการเป็นผู้นำเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของตนและความเข้าใจสังคมอื่นในการอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข  สิ่งสำคัญที่สุด

แบบฟอร์มรายงานการจัดการเรียนรู้ k006
แบบฟอร์มการนำการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์ k010 (0)

คู่มือ KM ฝ่ายวิชาการ

คู่มือ KM ฝ่ายวิชาการ

1) คู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบ SBL: สอนด้วยใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง  รายละเอียด
2) คู่มืออาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ SBL: สอนด้วยใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในรายวิชาปฏิบัติหลักการ          และเทคนิคการพยาบาล   รายละเอียด
3) คู่มือนักศึกษาในการเรียนรู้แบบ SBL ในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล  รายละเอียด (0)

การจัดการเรียนการสอนแบบ SBL: สอนด้วยใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

การจัดการเรียนการสอนแบบ SBL: สอนด้วยใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกลยุทธ์การสอนที่นำมาใช้มีหลากหลาย แต่ในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา กลยุทธ์การสอนแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นเนื่องจากมีความต้องการในการพัฒนาให้ผู้เรียนมีการคิดเชิงวิเคราะห์มากขึ้น และในช่วงที่ไม่สามารถขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยและในชุมชนได้เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 การสอนแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงได้ถูกนำมาใช้พัฒนานักศึกษาทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง ภาคปฏิบัติ ส่วนที่นำไปใช้มากที่สุดคือนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในการให้การพยาบาล จากการติดตามการนำไปใช้พบว่าผลที่ได้จากการนำไปใช้ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นวิชาแรกที่นักศึกษาได้เริ่มเข้าสู่วิชาชีพพยาบาล ผลการประเมินพบว่านักศึกษากลัว ตื่นเต้น วิตกกังวล เครียด มือสั่น เป็นลมเมื่อไปปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ไม่ได้เข้าไปปฏิบัติสถานการณ์จำลองด้วยตนเองทำให้ไม่มั่นใจเมื่อไปปฏิบัติจริงเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลไม่ครบ ปฏิบัติการพยาบาลได้ไม่ถูกต้อง และเมื่อไปฝึกปฏิบัติต่อยอดในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลอื่นๆ เช่น ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ ฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก นักศึกษาไม่สามารถจำขั้นตอนและปฏิบัติการพยาบาลได้หรือปฏิบัติได้แต่ช้าและยังไม่คล่องแคล่ว ส่วนอาจารย์เมื่อพานักศึกษาฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย อาจารย์รู้สึกอารมณ์เสีย โกรธ เหนื่อย ล้า ท้อแท้ เมื่อนักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติการพยาบาลได้ อาจารย์ต้องสอนนักศึกษาซ้ำๆ ทั้งๆ ที่เรียนผ่านมาแล้ว

แบบฟอร์มรายงานการจัดการเรียนรู้ k006 
แบบฟอร์มการนำการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์ k010 (0)

นวตกรรมระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ

นวตกรรมระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ

ระบบ healthy-monitoring คลิก
คู่มือการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ คลิก
คู่มือการใช้งานสำหรับ อสม  คลิก
คู่มือการใช้งานสำหรับผู้ป่วย คลิก
เสียงสะท้อนจากบุคลากรด้านสุขาภาพ คลิก

……………………………………………………………………………………………..

นวตกรรมระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ 

                ระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะ เป็นนวตกรรมเชิงกระบวนการในสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มุ่งเน้นการสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย ที่มีปัจจัยเอื้อในการกระตุ้น ย้ำเตือนความรุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัว อสม. รับรู้ เข้าใจ สถานะสุขภาพของผู้ป่วยที่ถูกต้องตามระดับความรุนแรง พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ เชื่อมโยงไปสู่พฤติกรรมของผู้ป่วยได้ทั้งพฤติกรรมที่พึงประสงค์และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงให้รับรู้อาการที่อันตรายจากโรคเบาหวานได้ โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ๗   ด้าน              คือ  1) ทรัพยากรชุมชน 2) บุคคลากรทางการแพทย์ 3) องค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็น 4) การตัดสินใจ                 5) เครื่องมือ 6) สภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ และ 7) กระบวนการของระบบการดูแลสุขภาพ ซึ่งออกแบบเป็นระบบย่อยที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของระบบการดูแล ๓ ระบบย่อย คือ         1) การจัดการการเยี่ยมบ้าน 2) การจัดการข้อมูลและสารสนเทศทางสุขภาพเพื่อการตัดสินใจในการบริการสุขภาพในระดับหมู่บ้านที่ดำเนินการโดยประชาชน สามารถสนับสนุนการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เอื้อต่อการตัดสินใจ    ในการให้บริการสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจากชุมชนไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิและทุติยภูมิที่มีคุณภาพ และ 3) การจัดการระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โดยเป้าหมายสำคัญคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการดูแลตามแนวคิดของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เน้นการปรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยการพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชน (Primary Health Care Strengthening) สามารถผสมผสานและเชื่อมโยงการบริการสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ และทุติยภูมิให้ผู้รับบริการเข้าถึงสะดวก คล่องตัว และลดความแออัด ณ สถานบริการสุขภาพ แต่ยังคงไว้ซึ่งการรับบริการที่มีคุณภาพ คือ การลดระดับความรุนแรงของอาการ และคงสภาพในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ยังครอบคลุมการเฝ้าระวังการสัมผัสกรณีมีโรคระบาดอุบัติใหม่ ระบบการจัดการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่สู่การสร้างชุมชนสุขภาวะมีระบบย่อย 3 ระบบย่อย ดำเนินการประสานอย่างเชื่อมโยงกัน ดังนี้
คลิกเพื่อดูรายละเอียดฉบับเต็ม

(0)

ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (Che Qa Online) สำหรับบุคลากรของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (Che Qa Online) สำหรับบุคลากรของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (Che Qa Online)

ระดับหลักสูตร มีขั้นตอนการใช้งาน คือ

- การสร้างหลักสูตรและผู้ใช้งานหลักสูตร โดยมีการสร้างหลักสูตร การกำหนดเกณฑ์การประเมิน การกำหนดหลักสูตร สห หรือหลักสูตรสองระดับ การสร้างแขนงวิชา และการสร้างผู้ใช้งานระดับแขนง

- การกรอกข้อมูล input หมวดที่ 1 -  8 คือ 1. ข้อมูลทั่วไป  2. อาจารย์ 3. นักศึกษาและบัณฑิต      4. ข้อมูลสรุปรายวิชา 5. การบริหารหลักสูตร 6. ข้อคิดเห็น 7. การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร    และ8. แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร

- การประเมินตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร มี 1. การประเมินตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพแบบข้อ 2. การประเมินตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพแบบรูบิตสกอร์ และ การประเมินตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ

- การรายงานผลการประเมินหลักสูตร  เช่น  บทสรุปสำหรับผู้บริหาร  รายนามคณะกรรมการประเมิน บทนำ จุดเด่นและแนวทางเสริม / จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง รายงานผลการวิเคราะห์ และการส่งรายงาน

ระดับสถาบัน มีขั้นตอนการใช้งาน คือ

- การกำหนดโครงสร้างและสิทธิ์ในการประเมิน  โดยการกำหนดองค์ประกอบ  ตัวบ่งชี้ ในการประเมิน  การกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ระดับคณะสาขา  การเพิ่ม แก้ไข ผู้ใช้งานระดับคณะ  การกำหนดผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ ระดับคณะ กำหนดคณะกรรมการประเมินระดับคณะ การสร้างข้อมูลพื้นฐาน CDS ที่สะท้อนอัตลักษณะ และการกำหนดองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ ที่สะท้อนอัตลักษณ์

- การประเมินระดับคณะ  ดำเนินการโดยการลงข้อมูลส่วนนำ  การบันทึกข้อมูลพื้นฐาน  Common  Data  Set  การลงข้อมูลการประเมินตนเอง  การรายงานผลการประเมิน  และการส่งรายงาน

สรุปจากการอบรมระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (Che Qa Online) สำหรับบุคลากรของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก วันที่  14  พฤศจิกายน 2558 หน่วยงานที่จัด สถาบันพระบรมราชชนก :  นางสาวจุฑารัตน์  พลายด้วง  และนางทัศณีย์  เจียมสวัสดิ์ (0)