การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง SIM MAN

เครื่อง มือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นมนุษย์จำลอง ต้องใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองที่กำหนด โดยจัดห้องและเตรียมความพร้อม ดังนี้

1. หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองในแต่ละเรื่องได้

 

2. Computer และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3. เครื่องมือและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Suction Defibrillator Monitor NIBP O2 pipeline EKG รถ Emergency พร้อมอุปกรณ์ Infusion pump และเครื่องมืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4. วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเวชภัณฑ์มิใช่ยาที่ใช้ทำหัตถการต่าง ๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Set IV Syringe Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดให้ O2 ชุดสวนปัสสาวะ ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5. เวชภัณฑ์ ประกอบด้วยยา สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยตามสถานการณ์จำลองที่กำหนดในแต่ละโรค

6. เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนผู้ป่วยให้ครบถ้วนตามแบบของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกหลักของวิทยาลัยนั้น ๆ

7. อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

 

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Simulation

ปัญหาการใช้หุ่นและเทคโนโลยีสถานการณ์ SBL เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้สอนใน SBL จําเป็นต้องการทราบวิธีที่จะแก้ไขเมื่อพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. ทรวงอกของหุ่นไม่เคลื่อนไหวตามการหายใจ แก้ไขได้โดย

- ตรวจสอบว่าวาล์วสีน้าเงินเปิดอยู่

- ปล่อยลมออกจากเครื่องปั้มลม (compressor)เนื่องจากบางครั้งอาจมีลมค้างอยูในเครื่อง

อาจทําให้เครื่องไม่ทํางานการปล่อยลมทําได้โดยการเปิดวาล์วสีแดงและเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

- ตรวจสอบท่อและข้อต่อระหว่างเครื่องปั้มลมและหุ่นให้เสียบเข้าด้วยกัน

- ตรวจดูว่า Software กําลังทํางานอยู่โดยดูจาก Linkbox

 

2. ปัญหาการวัดค่า Blood Pressure ที่วัดได้แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในสถานการณ์ ในบางครั้งมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินค่าความดันโลหิตให้ถูกต้อง แต่อาจพบได้ว่านักเรียนวัดค่าได้ไม่ตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น ให้ดําเนินการดังนี้

- ตรวจดูการตั้งค่า Korotkoff Sounds ให้ตั้งค่าเสียงให้ดังที่สุด

- Calibrate ค่าแรงดัน Systolic และ Diastolic ที่หุ่นและที่โปรแกรมให้ตรงกัน

- Auscultatory Gap on/off feature ตรวจสอบหูฟังว่ามีการเปิดหรือปิด

- วิธีการ Calibrate ค่าความดันโลหิต ดําเนินโดยใช้คน 2 คน ว่ามีไฟสีแดงขึ้นแสดงว่าเครื่อง

ทํางานอยู่ คนแรกเข้าไปในโปรแกรมควบคุมหุ่น ไปที่เมนู แล้ว click Calibrate เพื่อกําหนดค่าความดันโลหิตให้ตรงกับสถานการณ์ และคนที่สอง ให้บีบ cuff BP ค้างไว้ให้ได้ค่าตรงกับที่กําหนดไว้ที่หุ่น

3. จอภาพดับและหุ่นไม่ทํางาน ให้ดําเนินการดังนี้

- ตรวจสอบที่ Linkbox ว่ามีไฟแดงสว่างขึ้นหรือไม่ และดูการเชื่อมต่อของสายระหว่าง

Linkbox กับว่ามีการเชื่อมต่อหรือไม่

- ตรวจสอบสายการเชื่อมต่อของสายระหว่างหุ่นกับจอภาพ

- Reboot หุ่นและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน

4. ไม่มีเสียงออกจากหุ่น ให้ไปที่โปรแกรมและดําเนินการดังนี้

- คลิกเมนู Edit ที่มุมซ้ายบน

- เลือก รูปไมโครโฟน

- คลิกเลือก ไมโครโฟน In use “Primary Sound Capture Driver”

- กําหนดค่าความดังของเสียง

- ตรวจสอบที่ปุ่มลําโพงที่มุมล่างขวา

5. จอภาพผู้ป่วยค้าง ดําเนินแก้ไขโดยใช้โปรแกรม elo เมื่อปุ่มไอคอนโปรแกรมนี้ จะปรากฏอยู่ที่มุมล่างซ้ายของเมนู bar ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้ดําเนินการดังนี้

- Double คลิกที่ไอคอน elo และคลิกที่ปุ่ม “รูปเป้าปืน” และกด “esc” ที่คีย์บอร์ด

- สัมผัสที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยตามต้องการที่จะให้ปรากฏค่า EKG หรือ HR

6. สถานการณ์ (Scenario) ไม่ได้ดําเนินไปตามที่กําหนดไว้ มักเกิดจากการออกแบบสถานการณ์ไม่ถูกต้อง Scenario จะดําเนินการไปข้างหน้า โดยไม่สามารถย้อนกลับสู่สถานการณ์เดิมได้ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลง จะต้องกําหนด Frame สถานการณ์ใหม่และคลิกเชื่อมสถานการณ์ให้ถูกต้อง ต่อเนื่องกันแก้ไขทําได้โดยการกลับเข้าไปแก้ไขและออกแบบสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง

 

การสร้างสถานการณ์จำลองบากแผลในลักษณะต่างๆ

           Moulage มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า การทําต้นแบบ เป็นการทํา Trauma effect  เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประเมินผู้ป่วยที่มีบาดแผลลักษณะเสมือนจริง เช่น ซีด เขียว มีเหงื่อออก ผื่นแดง แผลฟกช้า แผลฉีกขาด โดยมีเทคนิคที่ถูกต้อง ดังนี้

- ควรล้างมือให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์

- Trauma effect product มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามควรให้คําแนะนํากับผู้ที่แพ้ง่าย

- ระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณรอบดวงตา จมูก และปาก

- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล

- Trauma effect product ทุกชนิดสามารถล้างออกได้ แต่อาจใช้เสื้อผ้าที่เก่าแล้ว

- ควรถอด contact lenses เพื่อลดอันตรายและการระคายเคืองต่อดวงตา

- Wooden spatula ไม่ควรใช้ปนกัน

- Sponge wedges ควรใช้แยกกันแต่ละคน

- Eye makeup applicators และไม่พันสําลี ใช้ single use

- Sponge wedges applicator

- Sweat Applicator Sponge

วิธีทํา แผลฝกช้ำ มีเหงื่อและสารคัดหลั่ง ทา shock color cream ให้ทั่วใบหน้า ใช้ wooden spatula ตัก blue bruise gel  เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือ แล้วใช้นิ้วมือป้ายเจลลงบนปลายจมูก ริมฝีปาก รอบดวงตา และโหนกแก้ม หากใช้ปริมาณมากเกินไป sponge wedges ซับออก หลังจากนั้นใช้ sweat applicator sponge

วิธีทํา แผลฝกช้ำ เขียว ซีด  ใช้ wooden spatula ตัก red bruise gel เล็กน้อยป้ายไว้บนหลังมือทาและตบเบาๆลงบนบริเวณที่ต้องการทําแผลฟกช้า ใช้ blue bruise gel ป้ายทับลงไปให้เกิดเงาของสี ใช้ bruise wheel ป้ายทับลงไปให้เกิดสีคล้าชัดเจนขึ้น ใช้ wet wipe ซับออก

วิธีทํา แผลฉีกขาด มีเลือดออก  ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้า (Bruise) แล้วใช้ plastic spatula ตัก scab/scratch product  เล็กน้อย แล้วกรีดลงบนแผลบนบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้แผลดูมีความลึก และเติม sticky blood ลงไปบนรอยแผลที่สร้างไว้ เพื่อให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกมาจากแผล

วิธีทํา บาดแผล ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทําเช่นเดียวกับแผลฟกช้า จากนั้นสร้างแผลเพิ่มเติมให้มีลักษณะของแผลพุพอง โดยใช้ yellow bruise gel ป้ายลงไปบนแผลเป็นวงกลม รอให้น้ำระเหยเพื่อให้แผลดูเสมือนจริง เติม sticky blood ลงบนแผล พ่น black spray และใช้ wet wipe เช็ดสเปรย์บางส่วนออก แผลจะดูเสมือนจริงมากขึ้น

เทคนิคการสร้างบาดแผลโดยใช้ scar wax วิธีทํา ปั้น wax ให้เป็นรูปทรงยาวแล้วแปะลงบนผิวหนัง กดขอบให้เรียบไปกับผิวหนัง จากนั้นใช้ plastic spatula กรีดลงบน wax ป้าย sticky blood  ให้ดูเสมือนเป็นลิ่มเลือดอยู่บนปากบาดแผล เติม face blood หรือเศษกระจกปลอม นอกจากนี้ ยังมีบาดแผลสําเร็จรูปทําจากซิลิโคนที่มีลักษณะนิ่ม  ใช้สร้างบาดแผลที่เป็นลักษณะของCompound fracture หรือ Gun shot wound วิธีทํา ใช้บาดแผลซิลิโคน  ทากาวและแปะลงบนผิวหนัง ให้แนบสนิท จากนั้นสร้างแผลให้เสมือนจริงโดยเติม fresh scab/scratch  product ขั้นตอนสุดท้าย เติม face blood ให้ดูเสมือนมีเลือดไหลออกจากแผล


สรุปจากการประชุม การพัฒนาทีมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วันที่   2-3 ก.ย.  2558 หน่วยงานที่จัด  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี : นายสิงห์   กาญจนอารี / นายปกรณ์  ประทุมวรรณ
(0)

Comments are closed.