การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ เพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศไทย

การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ เพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศไทย

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :2 พ.ค 2557

ผู้บันทึก : นางนรานุช  ขะระเขื่อน

กลุ่มงาน : กลุ่มงานการพยาบาลอนามัยชุมชน

ฝ่าย : กิจการนักศึกษา

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) : ประชุม

วันที่    30 เมษายน  2557  ถึงวันที่  30 เมษายน 2557  ( 09.30-12.30 น)

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สปสช.เขต12 สงขลาร่วมกับ สปสช.เขต11 สุราษฎร์ธานี

สถานที่จัด : โรงแรมลีการ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ( 09.30- 12.30 น )

เรื่อง : การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศไทย

รายละเอียด : การประชุมการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ วันที่ 30 เมษายน 2557 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ( 09.30- 12.30 น )

สปสช.เขต12 สงขลาร่วมกับ สปสช.เขต11 สุราษฎร์ธานี ร่วมจัดประชุมการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย อนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สสจ โรงพยาบาลชุมชน  แก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ตาต้อกระจก แม่วัยใส ยาเสพติด และสุขภาพฟัน แนะทิศทางการปฏิรูปต้องเน้นลดเหลื่อมล้ำ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น

นายแพทย์ วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ (อปสข.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา วาระพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และระดมความคิดเห็นการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพในบริบทพื้นที่ภาคใต้ โดยมีคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ และประชาชนกว่า 70 คน เข้าร่วม

ทั้งนี้สปสช.จะจัดประชุม อปสข.สัญจร 4 ภาค มีกำหนดการจัดประชุม 4 ครั้ง ดังนี้ 1.อปสข ภาคใต้ (เขต 11, เขต 12) วันที่ 30 เมษายน 2557 จัดที่ อ.หาดใหญ่ สงขลา 2.อปสข ภาคเหนือ (เขต1, เขต 2,เขต3)  วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 จัดที่ จ.พิษณุโลก 3. อปสข ภาคกลาง (เขต 4, เขต 5, เขต 6, เขต13) วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 จัดที่ จ.กรุงเทพ และ 4.อปสข ภาคอีสาน (เขต 7,เขต 8,เขต 9, เขต 10) วันที่ 3 มิถุนายน 2557จัดที่ จ.ขอนแก่น เพื่อรับฟังปัญหาผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ สู่การปรับปรุงนโยบายการบริหาร พร้อมใช้โอกาสแจงข้อทักท้วง สตง. เพื่อให้เกิดการใช้งบที่ถูกต้อง ประชุมครั้งนี้จะมีรูปแบบการประชุมคล้ายการประชุม ครม.สัญจร โดยทางผู้บริหาร สปสช.ส่วนกลางได้ให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นวาระการประชุมที่ทางผู้บริหารส่วนกลางจะลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อมูลด้วยตนเองทั้งปัญหาและอุปสรรค สำหรับหัวข้อการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ บทบาทที่ สปสช.เขตต้องดำเนินการ การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงบประมาณปี 2557 และข้อทักท้วงของ สตง.เพื่อนำมาสู่การแก้ไข โดยผลการประชุมครั้งนี้จะมีการสรุปเนื้อหาเพื่อนำมาสู่การปรับปรุงการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป

สืบเนื่องจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการเข้าถึงระบบสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งยังขาดกลไกการเข้าถึงภาคีเครือข่ายท้องถิ่น สิ่งที่สำคัญคือต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อให้สามารถติดตามและกำกับการเข้าถึงบริการของประชาชนในเขตรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น สำหรับการประชุมดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญในการระดมความคิดเห็นเพื่อปฏิรูประบบการให้บริการสาธารณสุขแก่ชุมชน 5 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงการให้บริการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การให้บริการโรคตา โรคต้อกระจก และด้านสุขภาพช่องปาก

ผู้เข้าร่วมประชุมและ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน นำเสนอว่า ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน โดยมีอัตราการเข้าถึงต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ แม้ว่าประชาชนไทยจะมีหลักประกันสุขภาพ คือ ไม่ต้องจ่ายเงินเมื่อไปรับการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิที่รัฐดูแลให้ แต่พื้นที่ภาคใต้ก็ยังพบปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิรูปเพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาได้รับการรักษาตามที่จำเป็นทันที ดังนี้

1. ปัญหาการเข้าถึงบริการโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด

2. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้

3. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนให้วัยรุ่นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันการทำแท้งเถื่อนที่พบว่ามีอัตราสูงเช่นกันตามมา
4. ปัญหาตาต้อกระจก เขต 12 สงขลา มีอัตราการเข้าถึงต่ำมากในอันดับท้ายๆ ของประเทศมาตลอด

5. สุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการมีฟันผุสูงกว่าเขตอื่นๆ ของประเทศ และพบการสูญเสียฟันสูงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่การได้รับการใส่ฟันปลอมในกลุ่มผู้สูงอายุนี้ยังค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายมากพอสมควรในปีที่ผ่านมาเพียงร้อยละ 70 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ให้บริการได้เพียงประมาณร้อยละ 55 ของเป้าหมายเท่านั้น

“จากปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขดังกล่าว และจากที่กระทรวงสาธารณสุขมีกลไกปฏิรูปแบบเขตสุขภาพ และ อปสข. ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เชื่อว่าน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น ผ่านกลไกด้านการเงินการคลังที่ สปสช. รับผิดชอบอยู่ ซึ่งอยากให้ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือเดินหน้าเพื่อให้ประชาชนในภาคใต้เข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น

นพ.วินัย อภิปรายว่า ปัญหาสาธารณสุขในภาคใต้ สปสช. ตระหนักดีว่ายังมีการเข้าถึงในระดับที่ต่ำ กลไกที่ที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงได้คือ อปสข. แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อให้ อปสข. สามารถติดตามกำกับการเข้าถึงบริการของประชนในเขตรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น สปสช. จะมีการจัดเวทีการปฏิรูปโดยเน้นกลไก อปสข. โดยสัญจรไปยังภาคอื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ ทำเป็นแผนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปคือ การทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
เลขาธิการ สปสช. อภิปราย สรุป “สปสช. ยึดหลักการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขภายใต้เงื่อนไขที่เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยหลักการปฏิรูป คือ การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน และป้องกันการล้มละลายจากการเจ็บป่วยเป็นเป้าหมายหลัก โดยใช้ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและความเข้มแข็ง อปสข. และเขตสุขภาพ การร่วมมือและบูรณาการกับทุกกองทุนสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การขยายและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ และเชื่อมประสานการทำงานกับ อปท. เพื่อการเข้าถึงบริการ และเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ”  จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือดและยังคงเน้น นโยบาย สร้าง นำ ซ่อม เป็นหลัก

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

   การจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ (อปสข.) กระทรวงสาธารณสุข และ อปท. ตลอดจน ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งแต่ปัญหา  ปัญหาการเข้าถึงบริการโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด ปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนให้วัยรุ่นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันการทำแท้งเถื่อนที่พบว่ามีอัตราสูงเช่นกันตามมา   ปัญหาตาต้อกระจก เขต 12 สงขลา มีอัตราการเข้าถึงต่ำมากในอันดับท้ายๆ ของประเทศมาตลอด  สุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการมีฟันผุสูงกว่าเขตอื่นๆ ของประเทศ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น และการ เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

  1. 1.       การเสริมสร้างและป้องกันโรค เพื่อไม่นำไปสู่ความเจ็บป่วยที่ร้ายแรง
  2. 2.       การให้บริการสาธารณสุขแก่ชุมชน ด้านการเข้าถึงการให้บริการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การให้บริการโรคตา โรคต้อกระจก และด้านสุขภาพช่องปาก การเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปคือ การทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
  3. พัฒนาความรู้เรื่องโรค และปัญหาปัญหาสำคัญในพื้นที่ ที่เร่งด่วน เช่น การป้องกันการตั้งครรภ์

ไม่พึงประสงค์ ปัญหายาเสพติดซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น และการ เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ

 

  (297)

การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา เพื่อการจัดการเรียนการสอน

การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา เพื่อการจัดการเรียนการสอน

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   ๑๗   เมษายน  ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวภาวดี  เหมทานนท์    และ  นางสาวขจิต  บุญประดิษฐ

 กลุ่มงาน :  สุขภาพจิตและจิตเวช

 ฝ่าย :  -

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๘  –  ๙ เมษายน ๒๕๕๗


หน่วยงาน/สถาบันที่จัด
: -


สถานที่จัด
:   -


เรื่อง
: การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา เพื่อการจัดการเรียนการสอน

 

รายละเอียด

 จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education)

ข้อตกลงเบื้องต้นของการเรียนรู้จิตตปัญญา

1. ความหมายให้ไม่ได้ ที่สำคัญไม่ควรให้ความหมาย แต่เราจะเป็นผู้ให้ความหมายด้วยตัวเราเอง หลังจากมีการแลกเปลี่ยนเป็นระยะ ไม่ใช่เรื่องของการให้คำจำกัดความ แต่เป็นการให้ความหมายใหม่ของสิ่งที่เราได้เรียนรู้

2. ไม่อยากให้ผู้เรียนพยายามเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้ ไปสู่ศาสนา / ลัทธิ/ ความเชื่อ เพราะจะกลายเป็น ไปเหมือนกับสิ่งนั้น เชื่อมโยงได้ แต่มี่คำตอบสุดท้ายสำหรับทุกสิ่ง

- จิตตปัญญา ไม่มีกิจกรรมที่ตายตัว เอาอะไรมาก็ได้

- เราเลียนแบบใครไม่ได้ เพราะคนละเงื่อนไข

จิตตปัญญา เป็นการกลับเข้ามาสู่มิติภายในกับตัวตนของตนเอง แต่ไม่ได้แยกออกจากคนอื่น หรือมิติภายในที่มีการเชื่อมโยงกับมิติภายนอก การที่คนเรามีกรอบ มีกติกา เงื่อนไข ให้เราทำเยอะมาก จนไม่เหลือเวลาให้กับตัวเอง

ข้อคิดจากกระบวนกร (ดร. จุมพล พูลภัทรชีวิน)

- ชีวิตไม่ได้เปลี่ยนแบบ change ตลอด แต่จะหมายถึง Transformation เป็นการเปลี่ยนขั้นพื้นฐาน คือเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ

- เราเรียน/ ศึกษาอะไรมาเยอะมาก แต่เพราะอะไร ไม่มีใครมาอธิบายถึงเบื้องหลังที่เราต้องเรียน

- ทุกสรรพสิ่งมีที่มา มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และมีการเปลี่ยนแปลง (แต่ปัจจุบัน เราไปแยก เราคิดแบบแยกส่วน) เช่น พฤติกรรมมนุษย์ เกี่ยวข้องอย่างไรกับการใช้ชีวิตในสังคม (น่าจะเป็นแนวการสอนแบบจิตตปัญญาในวิชาพฤติกรรมมนุษย์?- ความคิดของผู้สรุป)

- การศึกษาควรเอื้อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (ไม่ใช่รู้เท่า / รู้ทัน) เราจะสอนอย่างไร เพราะขณะนี้นักศึกษารู้เท่าที่เราสอน

- สิ่งที่ขาดไปในการศึกษา ในปัจจุบันคือ การขาดการเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าเรียน เราจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเข้าสู่บรรยากาศของความพร้อมก่อนเข้าเรียน

โดยสิ่งที่ต้องคำนึง คือ ต้องดูว่าผู้เรียนมีพื้นฐานทางความเชื่ออย่างไร (อย่าทำให้บางคนอึดอัดด้วยพิธีกรรมทางศาสนาใดศาสนาหนึ่ง) เพื่อให้เกิดศูนย์รวมของกลุ่มที่จะเรียนรู้ต่อ  ทำให้อยู่กับตัวเรา อยู่กับความพร้อม ซึ่งจะใช้กิจกรรมอะไรก็ได้ ให้พร้อมทั้งตัวและใจ ไม่ใช่แค่การ introduction ที่ทำกัน

แนวคิดของจิตตปัญญา

4 หลักการ/ ความเชื่อเบื้องต้นของจิตตปัญญา

3 กระบวนการหลักที่สำคัญของจิตตปัญญา

3 ฐานการเรียนรู้

เข้ารวมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวเรา ฝังลึกเข้าไปในตัวเรา เมื่อเราเปลี่ยน แล้วจะออกมา ลูกศิษย์จะสัมผัสได้เลย (บอกถึงอาจารย์แนวจิตตปัญญา) เพราะความไว้ใจจะเกิดขึ้น

หลักการ/ ความเชื่อเบื้องต้นของจิตตปัญญา 4 ประการ

          1. ยอมรับในความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์

วิธีทดสอบ: เราพูดเราทำอะไรหรือไม่ที่ทำให้ลูกศิษย์สูญเสียความมีศักดิ์ศรีบ้างหรือไม่ ทั้งวาจา/ท่าทาง ผล: ทำให้เราใจเย็นมากขึ้น

2. ยอมรับและเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล

มนุษย์เรียนรู้ได้ พัฒนาได้ แต่ช้าเร็วต่างกัน

วิธีทดสอบ: เราเคยเผลอไหม เช่น เพราะอะไรเธอไม่ทำเหมือนเขา แต่จริงๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน การทำให้เหมือน คือความอยุติธรรมที่ยิ่งใหญ่ เพราะไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นได้ เราไม่ควรเอามาตรฐานมาเป็นข้ออ้าง อย่าทำให้แต่ละคนเหมือนกัน จงทำให้แต่ละคนแตกต่างกันมากที่สุด นั่นคือเขาจะมีแนวทางของเขาเอง

ความเชื่อที่ 1 และ 2 สำคัญมากของความเป็นครู + ความเป็นพยาบาลวิชาชีพ

ถ้า 2 ความเชื่อนี้ยังไม่ฝังลึก ก็ยังไม่พร้อมที่จะเป็นครู และพยาบาลวิชาชีพ

2 ความเชื่อนี้ ทำให้เรามีสติ ไม่ดูถูกคนอื่น บอกความเป็นครูของผู้ที่จะไปประกอบอาชีพพยาบาลที่ดูแลคนอื่น

การยอมรับ 2 ข้อนี้ ทำให้เราเข้าใจความเป็นคน จะมองความแตกต่างเป็นความสวยงาม เพราะถ้าโลกนี้เหมือนกันหมด จะน่าเบื่อมาก

 

          3. ยอมรับ และเคารพความเป็นองค์รวม (Holism)

แตกต่างจาก Wholism ที่หมายถึง วิธีการศึกษาทีละส่วน จนครบ

ตัวที่บ่งบอกความเป็นองค์รวม คือ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ยิ่งสัมพันธ์กันเท่าไหร่ ยิ่งมีความเป็นองค์รวมมากขึ้น บนความสัมพันธ์นี้จะกลายเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งไม่ใช่การกองรวม

ความสำคัญ: ครู – ลูกศิษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ครูต้องสร้างความเป็นองค์รวมกับลูกศิษย์ให้ได้

ถ้าคิดว่าเกิดจากสิ่งอื่น เป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบของตัวเอง  ไม่เชื่อข้อ 3

4. การเรียนรู้ที่แท้จริง (authentic learning)

กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง เกิดขึ้นภายในผู้เรียนรู้ สอนไม่ได้ ไม่มีขั้นตอนที่ชัดเจน

ในเชิงจิตวิทยา เชื่อว่า การเรียนรู้ถึงจุดสูงสุด ภายใต้บรรยากาศ

1) บรรยากาศเป็นกันเองสบายๆ

2) มีความเครียดบ้างเป็นระยะๆ แต่อย่าให้ถึงจุด anxiety เพราะจะทำให้มนุษย์นำ defence mechanism มาใช้ โดยเฉพาะ Projection

การเรียนรู้ที่แท้จริง คือการเกิดปิ๊งแว๊บ หรือการตรัสรู้ชั่วคราว (พระพุทธทาส)

ทุกวัน ให้หยุดอยู่กับ 4 ความเชื่อนี้ กับตัวเรา 5 นาที ทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกันหมด

กระบวนการของจิตตปัญญา 3 ประการ

1. สุนทรียสนทนา (กระบวนกรไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้โดยละเอียด แต่ให้ลงมือปฏิบัติเลย) ผู้สรุปจึงของยกบทความมาเป็นสาระ ดังนี้

จาก คอลัมน์ จิตตปัญญา

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กายใจ

ฉบับวันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2552

ใช่ว่าความรู้ทุกอย่างจะถูกถ่ายทอดให้เข้าใจได้ด้วยการบอกเล่าและบรรยาย ถึงแม้ว่าพวกเราคงจะคุ้นเคยกับการเล่าเรียนมาด้วยการฟังครูสอนหน้าชั้น แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของการเรียนรู้ ความรู้และทักษะหลายสิ่งในชีวิตที่เราได้มา มันมาจากการได้ทำและมีประสบการณ์ด้วยตนเอง การบรรยายจึงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

อาจารย์ท่านหนึ่งเคยเปรียบไว้ว่า หากมีผลไม้อยู่ชนิดหนึ่งซึ่งเราไม่เคยรู้จัก ไม่เคยลิ้มชิมรสมาก่อน แต่ให้ผู้ที่เคยเห็นและได้ชิมมาบอกเล่าแก่เรา ต่อให้เขามีเวลามากเพียงไหน หรือเขามีทักษะในการเลือกใช้ถ้อยคำเพียงไร อย่างมากก็อุปมาให้ใกล้เคียง และเราอาจคิดนึกไปว่าเราพอจะเห็นภาพและเข้าใจได้แล้ว เป็นการทึกทักไปเอง เป็นความรู้ท่องจำที่เข้าใจแต่ยังไม่ได้เข้าไปถึงใจของเรา

สุนทรียสนทนาก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน เครื่องมืออันมีชื่อเสียงรู้จักกันอย่างแพร่หลายนี้มีผู้เขียนหนังสือและบทความให้อรรถาธิบายไว้หลากรูปแบบ ทั้งถ่ายทอดบรรยากาศ แจกแจงถึงหลักการสำคัญ ตลอดจนยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงในวงสุนทรียสนทนาขึ้นมาให้เห็นภาพ แต่ในพวกเราทั้งหลายจะมีใครที่เพียงแค่อ่านเท่านั้นก็เข้าถึงหัวใจของสุนทรียสนทนา และเข้าใจมันจากใจของเราจริงๆ ความเข้าใจนี้เกิดจากการได้ใคร่ครวญจิตใจตนจนสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าเป็นปัญญาความเข้าใจในใจของเรา ไม่ใช่นึกว่าเข้าใจด้วยการใช้สมองคิดวิเคราะห์เท่านั้น

การฝึกอบรมกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาว่าด้วยเรื่องสุนทรียสนทนาจึงไม่อาจเป็นการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ขึ้นได้หากขาดไร้โอกาสร่วมอยู่ในวงสุนทรียสนทนาด้วยตนเอง ลำพังเพียงการฟังบรรยายนั้นมักช่วยให้เราได้แค่รู้จำเท่านั้น ระหว่างฟังบรรยายเล่าเรื่องหลักการและแนวทาง หลายคนอาจคิดเชื่อมโยงเปรียบเทียบสุนทรียสนทนากับแนวทางการประชุมอื่นๆ ที่เคยได้ศึกษามาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในหมู่ผู้อยู่ในแวดวงวิชาการและการศึกษา ตลอดจนกลุ่มผู้มีสติปัญญามาก แต่หากการคิดวิเคราะห์นั้นนำไปสู่ผลสรุปว่ารู้แล้วเข้าใจแล้ว ก็เท่ากับว่าเราพลาดโอกาสการใช้ใจใคร่ครวญจนนำสุนทรียสนทนาให้เข้ามาถึงใจได้

วงฝึกหัดสุนทรียสนทนานั้นแตกต่างไปจากหลักการเนื้อหามาก เราอาจคิดว่าคุณสมบัติของการฟังอย่างลึกซึ้งนั้นเป็นเรื่องไม่ยาก แต่หากได้ย้อนกลับมาดูตัวเราขณะอยู่ในวงสนทนา ว่าเราสามารถฟังผู้พูดได้ทั้งหมดทุกเรื่องราวและความรู้สึกทุกอย่างของเขาได้อย่างไร และมากน้อยเพียงใด นั่นแหละคือโอกาสที่เราอาจได้ตระหนักอย่างแท้จริงว่าความสามารถที่ดูง่ายๆ แค่ฟังอย่างลึกซึ้งนั้นมันไม่ได้เป็นเรื่องที่รู้จักจำได้แล้วจะสามารถทำได้

ความเงียบก็เช่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากในวงฝึกหัดสุนทรียสนทนา ถึงแม้ว่าจะได้รับฟังบรรยายไปแล้วว่าความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา และเราสามารถฟังความเงียบนี้ได้ แต่พวกเราส่วนใหญ่มักรู้สึกอึดอัดทนไม่ได้ หลายคนทำลายความเงียบลงด้วยการพูดเปิดประเด็นในเรื่องที่ตนสนใจ บางคนฝ่าความเงียบด้วยเรื่องตลกขบขัน แต่ในช่วงขณะนั้นดูเหมือนทั้งวงจะลืมไปเสียแล้วว่าเราไม่ได้พูดคุยเพื่อผลัดกันเล่าเรื่องทีละคน ลืมไปว่าเราไม่ได้มาเจรจาเพื่อหาข้อสรุป

ความเงียบกลายเป็นสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ของวงสนทนา พร้อมกับเราที่พลาดโอกาสจะได้ฟังเสียงที่เกิดขึ้นในใจของตัวเอง เราละเลยช่วงเวลาที่จะได้ใช้ใจใคร่ครวญเห็นความรู้สึกอึดอัดหรือความคาดหวังที่ไม่ได้รับการตอบสนอง

เหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์ที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยในการบรรยาย

เพราะการเรียนรู้นั้นเกิดที่ใจของเราเอง

2. การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) ให้ฟังอย่างห้อยแขวนความคิดไว้ก่อน / ฟังแบบไม่ตัดสิน

ในกระบวนการเรียนรู้ที่จะฟังอย่างลึกซึ้งนั้น เราจะต้องเริ่มที่ “รู้จักตัวเอง” ก่อน แล้วรู้จักตัวเองอย่างไรล่ะที่จะเป็นภาชนะบรรจุคนอื่นทั้งตัวลงไปในเราได้? ชีวิตได้สร้างโลกภายในขึ้นมาล้อกับโลกภายนอก จึงจะทำให้ชีวิตอ่านโลกภายนอกได้ เราจะเข้าใจโลกภายนอกได้ เราต้องสร้างแบบจำลองโลกภายในขึ้นมาล้อกัน

“จะแก้ไขการฟังอย่างไร ให้มีพลัง ให้การฟังเป็นพื้นที่แห่งการเปลี่ยนแปลงของเรา?”
โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู

หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2555

ความคิดที่ก่อประกอบเป็นโลกภายใน ที่ล้อกับโลกภายนอก เพื่อจะรับรู้ เรียนรู้และเข้าใจโลกภายนอก เพื่อที่จะกระทำต่อโลกภายนอกได้อย่างเหมาะสมนั้น ไม่ได้มีอิสระไปเสียเลยทีเดียว แต่ยังผูกพันอยู่กับอารมณ์ความรู้สึก ผูกพันทั้งที่รับรู้ได้ และผูกพันแบบเราไม่ได้รับรู้ หลายคนคิดว่าตัวเองมีแต่ความคิด ไม่มีอารมณ์ความรู้สึก จริงๆ เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า? งานวิจัยทางสมองระบุว่า ความคิดกับอารมณ์ความรู้สึกไม่สามารถแยกออกจากกันได้ พอไปผนวกกับความเป็นอัตโนมัติด้วยแล้ว ทั้งความคิดและอารมณ์ที่ไปด้วยกันนั้น ก็จะเป็นไปอย่างอัตโนมัติและหลับใหลด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตของเราได้ง่ายๆ เพราะชีวิตของเรามีแผนที่เดิมๆ ด้วยความรู้สึกเดิมๆ อย่างเป็นอัตโนมัติที่หลับใหล

ทีนี้ ชีวิตมีอยู่สองโหมด โหมดปกติกับโหมดปกป้อง ในโหมดปกป้องนั้น เราถูกผูกติดอยู่กับปมทางจิตวิทยาอันเกิดจากการที่เราถูกทำร้ายทางจิตใจ (บางกรณีก็พร้อมไปกับการทำร้ายทางร่างกายด้วย) ในอดีต อาจจะในวัยเด็ก และแล้วในโหมดปกป้อง เราจะจมอยู่ในหลุมหรือร่องเดิมๆ ที่เราไม่อาจก้าวออกมาได้ ทำให้หลายคนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิต ปมจิตวิทยาเหล่านี้ทำงานในจิตไร้สำนึก หรือจิตใต้สำนึก มันฉุดเราไว้ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปทางใดได้ แต่ให้เราอยู่ที่เดิม อยู่ในหลุม ในกรอบแคบๆ ของสิ่งที่เราเรียกว่า “อัตลักษณ์” หรือ “ความเป็นตัวของตัวเอง”

โหมดปกติก็ไม่ได้ดีกว่าโหมดปกป้องนัก งานวิจัยล่าสุดมากๆ เหมือนกัน ระบุว่า สมองที่หยุดจากการทำงานไม่ได้รับรู้โลกภายนอก และไม่ได้กระทำการกับโลกภายนอก สมองในเวลาว่างๆ ที่อาจจะเพลินๆ นั้น ปรากฏว่าสมองกำลังเคี้ยวเอื้อง หรือ ruminate กำลังคิดย้อนอดีต และคาดการณ์อนาคตอย่างอัตโนมัติและหลับใหล ดังนั้น ความรู้สึกลบๆ ความคิดลบๆ แบบอัตโนมัติก็จะค่อยๆ เข้ามาครอบครอง แล้วเราก็อาจจะตกลงไปในโหมดปกป้องได้อีก มันเป็นการทำงานของสมองที่ขาดความตั้งใจ ความใส่ใจและความตื่น พระพุทธองค์จึงทรงพูดถึง “การปรารภความเพียร” บ่อยครั้งมาก

ทีนี้ หากสมองทำงานด้วยความตื่น ด้วยความใส่ใจ การจะเป็นไปอย่างตรงกันข้าม มันเป็นการกระตุ้น หรือปลุกเร้าสมองส่วนหน้าให้ทำงาน สมองส่วนหน้าเป็นวิวัฒนาการล่าสุดและสูงสุด มันคือตาที่สาม อยู่ในตำแหน่งตาที่สามพอดีๆ มันทำให้เราตื่นตัว เท่าทันความคิดความรู้สึกได้ ถอยตัวออกมาได้ ไม่ติดกับดักหลุมพรางของอัตตาตัวตนอีกต่อไป หากสามารถเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายได้ เราสามารถเปลี่ยนแปลงการฟังของเราได้ ให้ไปพ้นจากกรอบแคบของอัตตา อัตลักษณ์ หรือความเป็นตัวของตัวเอง เราสามารถรื้อสร้าง รื้อโลกภายในของเราออกและสร้างใหม่ ซึ่งได้แก่ความคิดและความรู้สึก เมื่อเกิดความคิดใหม่ๆ ความรู้สึกๆ ใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นได้

3. การสะท้อนการเรียนรู้ (Learning reflection)

ตัวที่จะบ่งบอกจิตตปัญญา คือ Learning reflection แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า content ไม่สำคัญ

ระดับของการสะท้อนการเรียนรู้

1) สะท้อนส่วนเนื้อหา

2) สะท้อนกระบวนการ

3) สะท้อนความเชื่อเบื้องหลังการถ่ายทำ คือการสะท้อนตัวเราเอง ว่าเราเชื่อแบบนั้น เวลาที่เราตัดสินใจอะไรลงไป เรารู้ไหมว่าเราเชื่ออะไรอยู่

4) การสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก ความคาดหวัง ของคน ส่วนใหญ่จะถูกละเลย ถ้าอาจารย์ทำตัวให้ปราศจากอารมณ์และความรู้สึก ไม่ได้มองแบบคน แต่มองแบบเครื่องจักร

 การประเมิน: – กิจกรรมนั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการประเมินผู้เรียนได้ โดยเป้าหมายสูงสุดของผลการประเมินคือ ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในตัว (ความเชื่อ ความคิด)

-ผู้ประเมิน เช่น ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง ให้เพื่อนที่ร่วมเรียนประเมิน อาจารย์ผู้สอน จะต้องคุยกันก่อนใน ชั่วโมงแรก

-วิธีการ เช่น การพูดสดๆ ในกลุ่ม มีข้อดี คือ เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน (เอาสิ่งที่อยู่ข้างในออกมา เอาสิ่งที่อยู่ข้างนอกเข้าไปข้างใน) แต่อาจจะ ปิ๊งแว๊บ ช้า เร็ว ต่างกันการเขียนบันทึก

- หัวข้อ วันนี้เรียนรู้อะไรบ้าง (เนื้อหา อารมณ์ คุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น ความคาดหวังที่เขาควรจะได้รับต่อไป)

-จำนวนครั้ง ทำเป็นบันทึกการเดินทาง (Journey) ความถี่ 2 สัปดาห์/ ครั้ง

“ความมีกรอบ มีกติกา เงื่อนไข ให้เราต้องทำกิจกรรมเยอะมาก จนไม่เหลือเวลาให้กับตัวเอง”

Intuitive free writing ทำเพื่อ

1. เพื่อดูความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องที่เราจะสอนเขา (ผู้มีประสบการณ์แล้ว) อยากรู้ว่าเข้าใจตรงกันไหม

2. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สอนรู้พื้นฐานของผู้เรียนว่าเข้าใจกี่มากน้อย

ด้านสมรรถนะ

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงาน

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การเรียนการสอน

การพัฒนานาบุคลากร และนักศึกษา

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนในทุกรายวิชา

การบริการวิชาการ

พัฒนาบุคลากรการ

การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนานักศึกษา

 

(547)

การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้ 

วันที่บันทึก :    ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางเบญจวรรณ  ถนอมชยธวัช

 กลุ่มงาน :  งานประกันคุณภาพการศึกษา

 ฝ่าย :  บริหาร

ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรม

วันที่   ๒๑    -   ๒๒   มีนาคม   พ.ศ.   ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  -

สถานที่จัด :    ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น โฮเต็ลแอนด์สปา พัทยาเหนือ จังหวัดชลบุรี

เรื่อง : การประกันคุณภาพการศึกษา  

 รายละเอียด

การเข้าร่วมอบรมและฟังการบรรยายพิเศษในวันแรก เรื่อง หลักการทิศทางการประเมินคุณภาพรอบสี่ โดยวิทยากร ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ได้บรรยายถึงทำไมต้องประเมิน ทั้งนี้สืบเนื่องจาก พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ การปฏิรูปการศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษา ๒๕๕๓  โดยมีหลักการเพื่อ พัฒนา อย่างต่อเนื่อง เกณฑ์ ท้าทายและยกระดับ จากรอบที่สาม แต่ก็ยังเป็น Minimum Standard  ซึ่งครอบคลุมทุกระดับการศึกษา ตรี โท เอก ทั้งหลักสูตรไทย และนานาชาติ ทุกที่ตั้ง (ทั้งในที่ตั้ง และนอกที่ตั้ง) ทุกเวลา (ในเวลา และนอกเวลา)  ซึ่งดูในประเด็น ความคุ้มค่า  ความปลอดภัย ความรับผิดชอบ ความทันสมัย ความดี ความงาม ความเกื้อกูล ความร่วมมือ ความสมเหตุสมผล ความต่อเนื่อง การมีส่วนร่วม ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ตัวบ่งชี้ในรอบสี่ มีทั้งหมด ๒๐ ตัวบ่งชี้ จำนวน ๗ ด้านคือ ๑) ด้านคุณภาพของศิษย์ ๔ ตัวบ่งชี้ ๒) ด้านคุณภาพครูอาจารย์ ๔ ตัวบ่งชี้ ๓) ด้านการบริหารและธรรมาภิบาลสถานศึกษา ๔ ตัวบ่งชี้ ๔) ด้านความสัมพันธ์กับสังคมชุมชน ๒ ตัวบ่งชี้ ๕) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๒ ตัวบ่งชี้ ๖) ด้านอัตลักษณ์ /เอกลักษณ์ ๒ ตัวบ่งชี้ และ ๗) ด้านมาตรการส่งเสริม ๒ ตัวบ่งชี้

การบริหารคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้    PDCA

ประมวลปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพ

๑. ปัญหาในการทุจริต การดำเนินงานโดยผักชีโรยหน้า

๒. การได้มาของเอกสาร การจัดเก็บเอกสาร

๓. ความร่วมมือของคนในองค์กร

๔. ผู้บริหารต้องการคะแนนมาก ๆ  แต่ไม่ได้ทำงานจริง

หน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. ผลักดันติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผนการบริหารคุณภาพ

๒. ตรวจสอบ ทบทวน ระบบงาน ระบบเอกสาร หลักฐานที่มีอยู่ในระบบ

๓. ดำเนินการจัดทำ SAR

๔. เตรียมความพร้อมของระบบคุณภาพ

๕. ติดต่อประสานงาน

๖. กำกับติดตามให้เป็นไปตามระบบ QA

๗. ติดตามการดำเนินงานและผลลัพธ์ จากระบวนการ

๘. ติดตามความคืบหน้า

๙. รายงานผลการตรวจสอบ

๑๐. รายงายระบบคุณภาพ

๑๑. ทบทวน ผลักดัน ปรับปรุง และพัฒนา

จรรยาบรรณ ของ QMR

๑. มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและนำเสนอข้อมูลที่เป็นแนวทางในการพัฒนา

๒. มีความซื่อตรงและรับผิดชอบในหน้าที่

๓. ซื่อสัตย์ เป็นกลาง ยุติธรรม โปร่งใส ไม่รับอามิสสินจ้าง

๔. มีเจตคติที่ดีในการประกันคุณภาพการศึกษา

วันที่สอง ผู้จัดให้ผู้เข้าร่วม ดำเนินการประเมินนำร่อง ตามตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา รอบสี่

และสรุปผลการประเมินแต่ละตัวบ่งชี้เพื่อนำไป พัฒนาให้มีความเป็นปรนัยมากยิ่งขึ้น

ด้านสมรรถนะ

              ได้รับความรู้เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่  และเสนอข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวบ่งชี้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

งานการประกันคุณภาพ (358)

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :    ๒๗    มีนาคม     ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวสุกัญญา  ศรีสมานุวัตร   และนางสาวขวัญหฤทัย  บุญสำราญ 

 กลุ่มงาน :  บริหารทั่วไป

 ฝ่าย :  ฝ่ายบริหารทั่วไป

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่    ๑๘    -     ๒๐    มีนาคม     ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : กลุ่มงานบริหารทั่วไปและประชาสัมพันธ์  สถาบันพระบรมราชชนก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

 สถานที่จัด :   ณ  โรงแรมเอเชีย  แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี นั้น

เรื่อง : โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของสถาบันพระบรมราชชนก  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 รายละเอียด

ประชุมพัฒนากระบวนการบริหารจัดการองค์กรให้เข้าสู่รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้นโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และสอดคล้องกับนโยบาย ICT แห่งชาติ       ตามแผนแม่บทองค์กรสมรรถนะสูง ซึ่งมีการระบุข้อกำหนดให้มีการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในระบบ Back office ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานที่มีระบบมาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโดยข้อมูลได้ทุกหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำให้ระบบการทำงานและการให้บริการมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย ประกอบกับนโยบายของสถาบันพระบรมราชชนก กำหนดให้การใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัวชี้วัดของวิทยาลัย โดยปัจจุบันวิทยาลัยทุกแห่งได้มีการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ไปใช้งาน  ติดตามการใช้งานระบบให้มีการใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเต็มศักยภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้รูปแบบการจัดทำหนังสือ การรับ – ส่งหนังสือผ่านระบบ การเก็บรักษา และการทำลายหนังสือที่ครบอายุการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย   งานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖  และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘  รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการจัดทำหนังสือราชการที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนดและได้ประกาศใช้ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  และเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือราชการของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  ให้มีความรู้ ทักษะในการร่าง โต้ตอบ และพิจารณากลั่นกรองหนังสือราชการ ตลอดจนใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้องและ       เต็มศักยภาพของระบบถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

- เพิ่มพูนทักษะและเทคนิคการบริหารจัดการ ด้านงานสารบรรณและธุรการ

- มีความรู้ ความเข้าใจในเทคนิค กลไกและวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติงานสารบรรณและธุรการ ที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

- มีความรู้อื่น ๆ ที่มาเกี่ยวข้องกับระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และงานธุรการทั่วไป เช่น การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงาน  ตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน

 

สรุปข้อดี

-   ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ปฏิบัติงานได้ รวดเร็ว เป็นระบบ สะดวก ทันสมัย เกิดการประหยัดทรัพยากร เช่น กระดาษ  หมึก และบุคลากรเดินหนังสือ

-          หนังสือจัดเก็บเป็นระบบ ค้นหาได้สะดวก

-          วัดการปฏิบัติงานเห็นได้ชัดเจน

-          ได้ประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมได้

-          การตัดสินใจและคำนึงถึงความเหมาะสมในการจัดทำหนังสือราชการได้ถูกต้อง

-          พัฒนาการบริหารจัดการทางด้านหนังสือราชการของหน่วยงาน  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารกิจการขององค์กรบ้านเมืองที่ดี

 

 

  (355)

วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก

วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

 กลุ่มงาน :  กลุ่มงานการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และบริหารการพยาบาล

 ฝ่าย :  วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรม

วันที่   ๑๑-๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


หน่วยงาน/สถาบันที่จัด
:


สถานที่จัด
:   ณ โรงแรมหรรษา เจบี จ.สงขลา


เรื่อง
: วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก

 รายละเอียด

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเตรียมทารกแรกเกิด เพื่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า การสื่อสารเพื่อการส่งต่อ เพื่อไม่ให้มีรอยต่อในระหว่างการนำส่ง คือการสื่อสารกับโรงพยาบาลที่จะรับ การสื่อสารกับญาติผู้ป่วย และการกำหนดนัดหมายการเดินทางกับโรงพยาบาลที่จะรับ

หลักการของการดูแลทารกแรกเกิดก่อนส่งต่อที่สำคัญ คือ 1) การดูแลอุณหภูมิกายให้ปกติ 2) การดูแลระบบทางเดินหายใจ และออกซิเจนในเลือด 3) การให้นมหรือสารน้ำที่มีกลูโคส 4) การป้องกันการติดเชื้อ 5) การเฝ้าระวังสัญญาณชีพ และ 6) การรักษาเฉพาะโรค เพื่อช่วยในการจำ อาจใช้ S.T.A.B.L.E. (S: sugar,safe care A: Airway, oxygen, ventilation B: Breathing, Blood pressure L: Lab work E: Emotional support, Evaluation) นอกจากนี้ได้รับความรู้ในการดูแลทารก ในเรื่องต่อไปนี้ เช่น Novel treatment for ROP, Goal milk: New trend and new infant formula, Improve outcomes of very low birth weight infants, Update oral nutrition in preterm infant เป็นต้น

Apnea of Prematuarity

การหยุดหายใจ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) central apnea เกิดจากการขาด inspiratory effort จากระบบประสาท โดยไม่การอุดกั้นทางเดินหายใจ 2) obstructive apnea ทารกพยายามหายใจผ่านทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้น ดังนั้นมีการเคลื่อนไหวของทรวงอก และ 3) mixed apnea พบได้บ่อยที่สุด เริ่มจาก central apnea แล้วตามด้วย obstructive apnea การหยุดหายใจในทารก ต้องพิจารณา 1) ปัญหาในระบบประสาทส่วนกลาง 2) การติดเชื้อ ร่วมกับเยื่อหุ้มสมอง 3) ความผิดปกติทางโลหิตวิทยา เช่น ภาวะโลหิตจาง 4) ความผิดปกติทางเมตาบอลิค เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 5) ความผิดปกติของอุณหภูมิของร่างกายทั้งสูงหรือต่ำ และ 6) ยาต่างๆ ทั้งที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็ก รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

- การเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

              ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคในทารก เด็ก และการพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการสอนให้กับนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓ ตลอดจนเป็นการทบทวนวิชาการ รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาการ

 

 

(337)