การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้ 

วันที่บันทึก :    ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางเบญจวรรณ  ถนอมชยธวัช

 กลุ่มงาน :  งานประกันคุณภาพการศึกษา

 ฝ่าย :  บริหาร

ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรม

วันที่   ๒๑    -   ๒๒   มีนาคม   พ.ศ.   ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  -

สถานที่จัด :    ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น โฮเต็ลแอนด์สปา พัทยาเหนือ จังหวัดชลบุรี

เรื่อง : การประกันคุณภาพการศึกษา  

 รายละเอียด

การเข้าร่วมอบรมและฟังการบรรยายพิเศษในวันแรก เรื่อง หลักการทิศทางการประเมินคุณภาพรอบสี่ โดยวิทยากร ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ได้บรรยายถึงทำไมต้องประเมิน ทั้งนี้สืบเนื่องจาก พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ การปฏิรูปการศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษา ๒๕๕๓  โดยมีหลักการเพื่อ พัฒนา อย่างต่อเนื่อง เกณฑ์ ท้าทายและยกระดับ จากรอบที่สาม แต่ก็ยังเป็น Minimum Standard  ซึ่งครอบคลุมทุกระดับการศึกษา ตรี โท เอก ทั้งหลักสูตรไทย และนานาชาติ ทุกที่ตั้ง (ทั้งในที่ตั้ง และนอกที่ตั้ง) ทุกเวลา (ในเวลา และนอกเวลา)  ซึ่งดูในประเด็น ความคุ้มค่า  ความปลอดภัย ความรับผิดชอบ ความทันสมัย ความดี ความงาม ความเกื้อกูล ความร่วมมือ ความสมเหตุสมผล ความต่อเนื่อง การมีส่วนร่วม ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ตัวบ่งชี้ในรอบสี่ มีทั้งหมด ๒๐ ตัวบ่งชี้ จำนวน ๗ ด้านคือ ๑) ด้านคุณภาพของศิษย์ ๔ ตัวบ่งชี้ ๒) ด้านคุณภาพครูอาจารย์ ๔ ตัวบ่งชี้ ๓) ด้านการบริหารและธรรมาภิบาลสถานศึกษา ๔ ตัวบ่งชี้ ๔) ด้านความสัมพันธ์กับสังคมชุมชน ๒ ตัวบ่งชี้ ๕) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๒ ตัวบ่งชี้ ๖) ด้านอัตลักษณ์ /เอกลักษณ์ ๒ ตัวบ่งชี้ และ ๗) ด้านมาตรการส่งเสริม ๒ ตัวบ่งชี้

การบริหารคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้    PDCA

ประมวลปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพ

๑. ปัญหาในการทุจริต การดำเนินงานโดยผักชีโรยหน้า

๒. การได้มาของเอกสาร การจัดเก็บเอกสาร

๓. ความร่วมมือของคนในองค์กร

๔. ผู้บริหารต้องการคะแนนมาก ๆ  แต่ไม่ได้ทำงานจริง

หน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. ผลักดันติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผนการบริหารคุณภาพ

๒. ตรวจสอบ ทบทวน ระบบงาน ระบบเอกสาร หลักฐานที่มีอยู่ในระบบ

๓. ดำเนินการจัดทำ SAR

๔. เตรียมความพร้อมของระบบคุณภาพ

๕. ติดต่อประสานงาน

๖. กำกับติดตามให้เป็นไปตามระบบ QA

๗. ติดตามการดำเนินงานและผลลัพธ์ จากระบวนการ

๘. ติดตามความคืบหน้า

๙. รายงานผลการตรวจสอบ

๑๐. รายงายระบบคุณภาพ

๑๑. ทบทวน ผลักดัน ปรับปรุง และพัฒนา

จรรยาบรรณ ของ QMR

๑. มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและนำเสนอข้อมูลที่เป็นแนวทางในการพัฒนา

๒. มีความซื่อตรงและรับผิดชอบในหน้าที่

๓. ซื่อสัตย์ เป็นกลาง ยุติธรรม โปร่งใส ไม่รับอามิสสินจ้าง

๔. มีเจตคติที่ดีในการประกันคุณภาพการศึกษา

วันที่สอง ผู้จัดให้ผู้เข้าร่วม ดำเนินการประเมินนำร่อง ตามตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา รอบสี่

และสรุปผลการประเมินแต่ละตัวบ่งชี้เพื่อนำไป พัฒนาให้มีความเป็นปรนัยมากยิ่งขึ้น

ด้านสมรรถนะ

              ได้รับความรู้เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่  และเสนอข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวบ่งชี้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

งานการประกันคุณภาพ (359)

Comments are closed.