การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ เรื่อง ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ เรื่อง ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ

เรื่อง  ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

วันที่ 5  มิถุนายน  พ.ศ. 2557

เวลา  13.00 – 16.00น.

ณ ห้องงานวิจัย 

           โดย ดร.รัถยานภิศ  พละศึก

            ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

ดร.รัถยานภิศ              พละศึก

นางเครือมาศ              เพชรชู

นางสาวจันทิมา            ช่วยชุม

นางสาววิลาสินี            แผ้วชนะ

นางจรรยา                 ศรีมีชัย

นางสาวบุญธิดา            เทือกสุบรรณ

นางนิศารัตน์               นรสิงห์

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

ชื่องานวิจัย: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ

ชื่องานวิจัย: ภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ

เนื่องจากงานวิจัย 2 เรื่องนี้ทำต่อเนื่องกัน ดังนั้นจึงสรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้รวมกัน

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

          แนวโน้มที่ผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาผู้อื่นขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องอายุและโรคหลอดเลือดสมองเป็นหลักซึ่ง ปัจจัยด้านอายุเกิดจากความเสื่อมถอยของอวัยวะในร่างกายทำให้มีความเสื่อมด้านสายตา กล้ามเนื้อกระดูกและข้อส่วนโรคหลอดเลือดสมองเป็นผลจากผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูง

นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน

ด้านการเรียนการสอน

          เป็นข้อมูลที่ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาปัญหาสุขภาพในประเด็นการดูแลสุขภาพ  ของ   บุคคลที่ควรเริ่ม

และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคที่เป็นโรคเรื้อรังที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงที่ทำให้เกิดโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย เป็นผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงต้องการการพึ่งพาผู้อื่น

-เป็นข้อมูลที่ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ในประเด็นครอบครัวมี บทบาทอย่างไรในการดูแลผู้สูงอายุ

ด้านวิชาชีพ

เป็นข้อมูลให้วิทยาลัยพยาบาลในการสร้างหลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุตามความ

ต้องการการพึ่งพาของผู้สูงอายุในหัวข้อ ด้านอาหาร  การแต่งกาย  การอาบน้ำและแต่งตัว  การเข้าห้องน้ำ การทำอาหาร   การทำเคลื่อนย้ายในบ้านและนอกบ้าน   การทำความสะอาดบ้าน    การใช้รถโดยสาร

ด้านบริหาร

จัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆในสถานที่ทำงานเพื่อให้บุคลากรในวิทยาลัยพยาบาล

เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

ด้านชุมชน

บุคลากรด้านสุขภาพสามารถใช้ไปเป็นทิศทางในการพัฒนาศักยภาพชุมชนผู้ดูแล โดยดึงจุดแข็ง การมี ส่วนร่วมของชุมชนออกมาใช้ประโยชน์ในการให้กรดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

 

  (349)

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง: การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน

พระบรมราชชนก  กระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 26  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

          โดย  นางเบญจวรรณ     ถนอมชยธวัช

ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

ดร.รัถยานภิศ              พละศึก

นางธมลวรรณ              แก้วกระจก

นางเบญจวรรณ            ถนอมชยธวัช

นางสาวบุญธิดา            เทือกสุบรรณ

นางสาวเบญจมาศ         จันทร์อุดม

 

สรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

1. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย 

กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแต่ละองค์ประกอบที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพ  3 องค์ประกอบดังนี้ 1)ปัจจัยนำเข้าประกอบด้วยนโยบาย  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ  บุคลากร  งบประมาณ  ทรัพยากร  และการบริหารจัดการ  2) กระบวนการผลิต  ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ  การประเมินคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ 3) ผลผลิตประกอบด้วย  การผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการวิชาการ  และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  ส่วนกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา  แต่ละองค์ประกอบดำเนินงานตามกระบวนการ  PDCA

องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์  และแผนการดำเนินงาน  ทั้งนี้วิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติที่ดี  (best  practice)  ได้กำหนดนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  มีระบบและกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์คือ“บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”  ซึ่งหมายถึงการให้บริการที่เป็นมิตร  มีความรัก ความเมตตา   ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง  ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง  โดยรับฟังความคิดเห็นของผุ้รับบริการเป็นหลัก  มีจิตบริการ  ใช้การคิดวิเคราะห์ในการให้บริการ  และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ  สำหรับกระบวนการวางแผนการดำเนินงานตาม ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์   และแผนการดำเนินงานของวิทยาลัย  มีการนำแผนงาน  QA  และแผนปฏิบัติการอื่นมาร่วมด้วย  การทำแผนยุทธศาสตร์มีการนำ KPI  ของแผนกลยุทธ์  และ  KPI ของงาน QA  มารวมกัน  กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์บุคลากรในวิทยาลัยทุกระดับมีส่วนร่วม  มีการทบทวน ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ร่วมกับการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์กับกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี  แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 10  การทำแผนกลยุทธ์เป็นแผน 5 ปี มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน  ค่าเป้าหมาย  มีการกำหนดงบประมาณเป็นรายปีชัดเจน  ตอบตัวบ่งชี้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (Quality  Assurance)  มากน้อยอย่างไร  และก่อนนำแผนปฏิบัติการมาใช้  ได้มีการทำประชาพิจารณ์โดยบุคคลภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  เพื่อปรับทิศทางการดำเนินงานตามทิศทางการดำเนินของจังหวัดและภาคเอกชน  การวางแผนการดำเนินงานตามทิศทางที่กำหนดทำให้วิทยาลัยสามารถจัดทำ ESAR  ได้เลย  ทำให้รู้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในแต่ปีงบประมาณว่า            บรรลุเป้าหมายหรือไม่   และการจัดทำโครงการ  จะดำเนินการตาม  Plan  Do  Check  Act

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต  วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข  ในแต่ละปีกระทรวงสาธารและสถาบันพระบรมราชชนกมีการกำหนดเป้าหมายการผลิต  และมอบหมายให้วิทยาลัยดำเนินการผลิต  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมกำกับให้มีการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเป็นไปตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ  มีระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน    ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน  มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิต  มีการพัฒนานักศึกษาด้านวิชาการโดยมีการติวนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1  ผ่านโครงการพี่สอนน้อง  เพื่อนสอนเพื่อน  รุ่นพี่ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วสอนน้อง  สอนโดยอาจารย์  ในแต่ละวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรที่กำหนด มีระบบการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนชัดเจนและครอบคลุมในการดำเนินงาน

องค์ประกอบที่ 3  กิจกรรมพัฒนานักศึกษา  มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  โดยการจัดให้นักศึกษาได้ศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะทุกๆด้าน  และส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้และทักษะการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมแต่ละชั้นปี  ครอบคลุมทั้ง 5 ประเภทตามที่สกอ.กำหนด  ในการดำเนินกิจกรรมใช้กระบวนการ PDCA  ทั้งกิจกรรมที่วิทยาลัยจัดให้นักศึกษา  รวมถึงกิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษา  มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้นักศึกษาในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  สำหรับการกำหนดพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาแต่ละวิทยาลัยมีการกำหนดที่แตกต่างกันบ้างตามนโยบายของแต่ละวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย  ทุกวิทยาลัยมีระบบและกลไกในการพัฒนางานวิจัย  และมีการดำเนินการตามระบบ  มีระบบการช่วยเหลือนักวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่

เช่นการเสริมแรงการทำวิจัยโดยการให้รางวัลสำหรับผู้ที่นำเสนองานวิจัย  หรือกำหนดเป็น KPI  มีงบสนับสนุนงานวิจัยเต็มที่   มีการสนับสนุนจากผู้บริหาร  มีระบบการช่วยเหลือนักวิจัย  เช่นงานวิเทศน์ช่วยเขียน Abstract  และมีระบบการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานวิจัยทุกเดือน  หาก            มีปัญหาในการบริหารเวลาเพื่อทำงานวิจัย  สามารถลาเพื่อทำวิจัยได้ครั้งละ 1 เดือน  โดยเอาผลงานมาแสดง  ประเด็นการทำวิจัยเน้นการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น  ภูมิปัญญา

องค์ประกอบที่ 5  การบริการวิชาการแก่สังคม  ทุกวิทยาลัยดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับดีมาก  โดยมีการดำเนินงานตามระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม  กระบวนการบริการวิชาการเน้นการเกิดประโยชน์ต่อสังคม  มีการชี้นำสังคม  โดยใช้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์เป็นฐานความรู้และความเชี่ยวชาญของวิทยาลัย  ซึ่งการดำเนินการ บริการวิชาการเน้นการบูรณาการทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย  และการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ

องค์ประกอบที่  6  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรม  ทุกวิทยาลัยมีการกำหนดระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมชัดเจนและดำเนินการภายใต้ระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมอย่างมีคุณภาพ  และบูรณาการศิลปะและวัฒนะธรรมกับพันธกิจอื่นๆ  และทุกวิทยาลัยได้พัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนะธรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกคนทำให้วิทยาลัยน่าอยู่อย่างมีสุนทรีย์และมีรสนิยม

องค์ประกอบที่  7  การบริหารและการจัดการ

การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้  วิทยาลัยมีระบบและกลไกการจัดการความรู้ทั้ง Tacit  และ Explicit  Knowledge  และมีการดำเนินการตามระบบ  สำหรับการพัฒนาฐานข้อมูลทุกวิทยาลัยอยู่ในระหว่างการพัฒนาฐานข้อมูลจากสบช.  แต่บางวิทยาลัยพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศในบางงานเช่นฐานข้อมูลงานการเงิน  ฐานข้อมูลบุคลากร

สำหรับด้านบริหารความเสี่ยงมีการระบุความเสี่ยง  และวิเคราะห์ความเสี่ยง  และมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

องค์ประกอบที่  8  การเงินและงบประมาณ  มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน  จัดทำแนวทางการจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน  มีหลักเกณฑ์การจัดสรร  และวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ  โปร่งใสตรวจสอบได้  มีการจัดแผนการใช้เงินโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจ  มีหน่วยงานตรวจสอบการใช้เงินทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก  ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด  และมีการติดตามการใช้เงินตามเป้าหมาย  และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนการใช้เงิน

องค์ประกอบที่  9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  แต่ละวิทยาลัยมีการปรับปรุงระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ  ผลผลิตและผลลัพธ์

2. การนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

1) ด้านการเรียนการสอน

1.1 การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ  ต้องพิจารณาถึงปัจจัยนำเข้า  ซึ่งต้องเน้นคุณภาพ  ทั้งคุณภาพอาจารย์  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งอุปกรณ์การเรียน  สารสนเทศในการสืบค้น  สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

1.2 อาจารย์ผู้สอน  นอกจากเน้นคุณภาพด้านวิชาการ  เทคนิคการสอนแล้วยังต้องมีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ  และให้เวลากับนักศึกษาเต็มที่

1.3 การพัฒนานักศึกษาโดยเฉพาะด้านวิชาการไม่ต้องรอเวลานักศึกชั้นปีที่ 4  สามารถพัฒนานักศึกษาได้ทุกชั้นปี ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4

2) ด้านชุมชน  การบริการวิชาการเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

การผลิตผลงานวิจัย  เน้นการสร้างเครือข่ายกับชุมชน  เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ  และการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

3)  ด้านวิชาชีพ  กระบวนการพัฒนานักศึกษา  เน้นการพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ

4)  ด้านการบริหาร

1) ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน  และปฏิบัติงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

2) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย  กำหนดเป็น  KPI ของรองผู้อำนวยการทุกฝ่าย (347)

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการใช้ระบบงานสารสนเทศด้านการศึกษาและการวิเคราะห์สภาพปัญหาระบบเครือข่าย ภาคใต้

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการใช้ระบบงานสารสนเทศด้านการศึกษาและการวิเคราะห์สภาพปัญหาระบบเครือข่าย ภาคใต้

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก : 2 พฤษภาคม 2557

ผู้บันทึก : นายวินิจฉัย นินทรกิจ

กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่าย : บริหาร

ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ

วันที่     29 เมษายน 2557       ถึงวันที่     1 พฤษภาคม 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

เรื่อง : ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรในการใช้ระบบงานสารสนเทศด้านการศึกษาและการวิเคราะห์สภาพปัญหาระบบเครือข่าย ภาคใต้


รายละเอียด

          มีการศึกษาปัญหาที่พบบ่อยในงานระบบเครือข่าย, ความปลอดภัยของระบบเครื่องแม่ข่าย และแผนพัฒนาปรับปรุงระบบเครือข่ายสารสนเทศ โดยปัญหาที่พบบ่อยเกิดจากปัญหาภายในเครือข่าย เช่นไวรัส บอทเน็ต หรือการใช้ Bandwidth ปริมาณมาก และปัญหาภายนอกเครือข่าย เช่น การโจมตีจากภายนอก ปัญหาจาก ISP ผู้ให้บริการ โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆในการตรวจเช็คตรวจสอบระบบและการแก้ปัญหาโดยใช้ OSI Model 7 Layers พร้อมทั้งแนวทางการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยในการอบรมเชิงปฏิบัติการได้มีการแบ่งการวิเคราะห์การจัดการเครือข่ายออกเป็น 3 ระบบด้วยกัน คือ 1.ระบบไร้สาย (Wireless Network) 2.ระบบสาย (Wire Network) 3.ระบบเครื่องแม่ข่าย (Server System) โดยอาศัย Network Diagram และข้อมูลการติดตั้งจริงทุกส่วนที่ใช้งานอยู่ภายในวิทยาลัยฯ ในการวิเคราะห์ระบบทั้ง 3 ทำให้ได้ทราบปัญหาและรู้จุดบกพร่องจุดอ่อนของระบบเครือข่ายที่ใช้งานภายในวิทยาลัยฯ และแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละส่วนตามความเร่งด่วน พร้อมทั้งมีแผนรับมือในสภาวะฉุกเฉินได้

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

          ทำรายงานการวิเคราะห์การบริหารจัดการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย เพื่อสามารถนำข้อมูลมาอ้างอิงในการทำแผนปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้งาน

  (329)

อบรมเชิงปฏิบัติการฐานข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระบบบุคลากร

อบรมเชิงปฏิบัติการฐานข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระบบบุคลากร

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้ 

วันที่บันทึก :       26  พฤษาคม  2557

ผู้บันทึก :             นางอารยา  วชิรพันธ์,    นางพิมพวรรณ   เรืองพุทธ

กลุ่มงาน :            งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, งานบริการวิชาการ

ฝ่าย :                     กิจการนักศึกษา

ประเภทการปฏิบัติงาน   อบรม

วันที่    21  พฤษภาคม 2557      ถึงวันที่    22  พฤษภาคม 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัดกลุ่มงานบริหารทั่วไปและประชาสัมพันธ์

สถานที่จัด :         ณ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ตึกหอสมุดสุรัตน์โอสถานุเคราะห์ ชั้น 3

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต ปทุมธานี

เรื่อง :  อบรมเชิงปฏิบัติการฐานข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระบบบุคลากร

รายละเอียด

การใช้ระบบข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

คุณสมบัติของผู้ใช้

อาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับวิทยาลัย

- สามารถนำเข้าบุคลากรมายังระบบข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

- สามารถจัดการข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

- ค้นหารายงานข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ผู้ใช้ทั่วไป

- สามารถจัดการข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

- ค้นหารายงานผลงานบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

การทำงานสาหรับเจ้าหน้าที่งานวิจัยระดับวิทยาลัย

เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะต้องเลือกสถานะการเข้าใช้งานระบบ โดยคลิกที่เฟืองเจ้าหน้าที่งานบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

     หมายเหตุ ตัวที่เป็น dropdown list   สีแดง  ต้องกรอกข้อมูลลงไปทั้งหมด เพราะถ้าหากเว้นไว้ไม่ได้กอรก จะไม่บันทึกให้

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การจัดทำฐานข้อมูลบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม   การเพิ่ม  การแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลได้

 

 

 

  (351)

อบรมเชิงปฏิบัติการนำเข้าข้อมูลการพัฒนาในระบบบุคลากร

อบรมเชิงปฏิบัติการนำเข้าข้อมูลการพัฒนาในระบบบุคลากร

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก :    22   พฤษภาคม  2557

ผู้บันทึกนางสาวจุฑารัตน์  พลายด้วง

กลุ่มงานงานพัฒนาบุคลากร

ฝ่ายยุทธศาสตร์และบริหารคุณภาพ

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) :   อบรม

วันที่  28 เมษายน 2557        ถึงวันที่  29  เมษายน 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัดสถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัดณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ตึกหอสมุดสุรัตน์โอสถานุเคราะห์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ วิทยาเขตรังสิต  จังหวัดปทุมธานี

เรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการนำเข้าข้อมูลการพัฒนาในระบบบุคลากร

รายละเอียด

        เพื่อพัฒนาให้ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาบุคลากร  มีความรู้ความเข้าใจ สามารถบันทึกข้อมุลการพัฒนาในระบบบุคลากรและจัดทำรายงานสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-          สามารถนำเข้าบันทึกข้อมูลการพัฒนาในระบบบุคลากรได้อย่างถูกต้อง

-          สามารถตรวจค้นการแสดงประวัติการไปประชุม / อบรม / สัมมนาในแต่ละปีงบประมาณได้

-     จัดทำรายงานสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง

 

 สรุปการขั้นตอนระบบการจัดการข้อมูลการพัฒนาบุคลากรสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ได้ดังนี้คือ

1. การทำเรื่องขอไปประชุม/อบรม/สัมมนา

1.1 เลือกเมนู ทำเรื่องขอไปประชุม/อบรม/สัมมนา

1.2 เลือกเมนู บันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนา

หมายเลข 1 : เป็นตารางแสดงจำนวนงบประมาณที่ได้และใช้ไปแล้วในแต่ละประเภทงบประมาณ

หมายเลข 2 : เป็นตารางแสดงประวัติการไปประชุม/อบรม/สัมมนาในแต่ปีงบประมาณ ซึ่งค่าเริ่มต้นจะเป็นปีงบประมาณปัจจุบัน

1.3 กดที่ปุ่ม  เพื่อนำไปสู่หน้า แบบฟอร์มการไปประชุม/อบรม/สัมมนา สำหรับการกรอกข้อมูล

1.4 ให้ทำการกรอกแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนาตามที่ได้กำหนดไว้

1.4.1 เลือกประเภทการพัฒนา

1.4.2 เลือกประเภทการไปราชการ ด้านสายงาน และด้านการพัฒนา

Aเลือก ประชุม/อบรม/สัมมนา ในกรณีที่เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร มีวิทยากรให้ความรู้

Aเลือก ประชุมราชการ ในกรณีเป็นการประชุมที่ไม่มีวิทยากร

ด้านสายงาน      Aเลือก ตรงสายงาน ในกรณีที่เรื่องที่ไป ตรงหรือเกี่ยวข้องกับภาระงานที่รับผิดชอบ

ด้านการพัฒนา   Aเลือก วิชาชีพ ในกรณีที่เรื่องที่ไป จัดเพื่อกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวิชาชีพเดียวกันเช่น พยาบาล นักบัญชี นักทรัพยากร เจ้าหน้าที่สารบรรณ ฯลฯ

1.4.3 เลือกพาหนะในการเดินทาง

Aกรณีที่เลือกพาหนะในการเดินทางเป็น “รถราชการ” จะปรากฏช่องให้กรอกชื่อ-นามสกุลของพนักงานขับรถยนต์ และทะเบียนรถราชการ

Aกรณีที่เลือกพานะในการเดินทางเป็น “รถยนต์ส่วนตัว” จะปรากฏช่องให้กรอกทะเบียนรถ ดังรูป

1.5 เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดที่ปุ่ม

1.6 จากนั้นจะมีแบบฟอร์มเพิ่มเติมขึ้นมาให้กรอก

1.6.1 การเพิ่มผู้ร่วมไปประชุม/อบรม/สัมมนา (ถ้ามี)

เมื่อเลือกผู้ร่วมไปประชุม/อบรม/สัมมนา (กรอบแดง) ที่ต้องการเรียบร้อยแล้วให้กดที่ปุ่ม  เพื่อเป็นการเพิ่มผู้ร่วมไปประชุม

1.6.2 การจัดการข้อมูลวันที่เดินทาง จำนวนชั่วโมง และงบประมาณที่ใช้ ของผู้ไปประชุม/อบรม/สัมมนา

หมายเลข 1: เป็นไอคอนสำหรับแก้ไขข้อมูลวันที่เดินทาง จำนวนชั่วโมง และงบประมาณที่ใช้ของผู้ไปประชุม/อบรม/สัมมนา หากกดแก้ไขจะแสดงหน้าจอเพื่อให้สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ดังภาพ เมื่อแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด  เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนารายบุคคลที่ได้ทำการแก้ไขไป

หมายเลข 2: เป็นไอคอนสำหรับการลบ เมื่อคลิกที่ไอคอนแล้วจะขึ้นแจ้งเตือนว่า “คุณต้องการลบหรือไม่” ถ้าผู้ใช้กดปุ่ม  จะเป็นการยืนการลบผู้ร่วมไปประชุมที่ผู้ใช้เลือก ถ้าไม่ต้องการลบให้กดปุ่ม

17. การจัดการหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ (กรณีเลือกประเภทการไปราชการเป็นวิทยากร หรือบริการวิชาการ)

เป็นหน้าจอในการจัดการหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ ซึ่งหมายเลขต่างๆ ภายในรูปที่ 85 มีความหมาย ดังนี้

หมายเลข 1: เป็นการเพิ่มหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ ในกรณีที่มีหัวข้อ มากกว่า1หัวข้อ

หมายเลข 2: เป็นการแก้ไขหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ

หมายเลข 3: เป็นการลบหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ

หมายเลข 4: เป็นการบันทึกหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ ในกรณีที่ บันทึกหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการเป็นครั้งแรก

18. กรณีเลือกประเภทการไปราชการเป็นไปประชุม/อบรมสัมมนา ประชุมราชการ หรือศึกษาดูงาน

18.1 การเลือกข้อมูลความสอดคล้องเกี่ยวกับการไปประชุม/อบรม/สัมมนา

ให้ทำการเลือกความสอดคล้องเกี่ยวกับการไปประชุม/อบรม/สัมมนา โดยการคลิกเลือกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าความสอดคล้องที่ต้องการ

18.2 บันทึกรายงานการประชุม/อบรม/สัมมนา

18.3 การบันทึกการนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร

เมื่อเราทำการบันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนาในข้อ 1.6 – 1.8 เสร็จสิ้นแล้ว ให้ทำการคลิกที่ปุ่มต่างๆ ที่ต้องการ ดังนี้

 ปุ่มสีเขียว  หมายถึง การบันทึกใบไปราชการแบบร่าง

 ปุ่มสีฟ้า   หมายถึง การยืนยันการบันทึกข้อมูลใบไปราชการพร้อมส่งเข้าเส้นทางในการอนุมัติเอกสาร (ถ้ามีการกำหนดเส้นทางการอนุมัติแล้ว)

 ปุ่มสีแดง  หมายถึง การยกเลิกการบันทึกใบไปราชการหรือลบใบไปราชการนั้นทิ้งนั่นเอง

 ปุ่มสีขาว  หมายถึง ทำการย้อนกลับไปยังหน้ารายการข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนา

2. การแจ้งผลยืนยันการไปประชุม/อบรม/สัมมนา

เมื่อกลับจากการไปประชุม/อบรม/สัมมนา ต้องกลับมา บันทึกข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดย

2.1 เลือกเมนู แจ้งผลยืนยันการไปประชุม/อบรม/สัมมนา

2.2 เลือก รายการรอแจ้งผลยืนยันการไปประชุม/อบรม/สัมมนาที่ต้องการ แล้วกดที่ปุ่ม

2.3 จากนั้นจะแสดงหน้าแบบฟอร์มให้ทำการบันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนา ดังนี้

2.3.1 กรณีที่เลือกพาหนะในการเดินทางเป็น “รถราชการ” จะปรากฏช่องให้กรอกชื่อ-นามสกุลของพนักงานขับรถยนต์ และทะเบียนรถราชการ ดังรูป

2.3.2 กรณีทีเลือกพาหนะในการเดินทางเป็น “รถยนต์ส่วนตัว” จะปรากฏช่องให้กรอกทะเบียนรถ ดังรูป

2.4 การเพิ่มผู้ร่วมไปประชุม/อบรม/สัมมนา (ถ้ามี)

เมื่อเลือกผู้ร่วมไปประชุม/อบรม/สัมมนา (กรอบแดง) ที่ต้องการเรียบร้อยแล้วให้กดที่ปุ่ม เพื่อเป็นการเพิ่มผู้ร่วมไปประชุม

หมายเลข 1: เป็นไอคอนสำหรับแก้ไขข้อมูลวันที่เดินทาง จำนวนชั่วโมง และงบประมาณที่ใช้ของผู้ไปประชุม/อบรม/สัมมนา หากกดแก้ไข จะแสดงหน้าจอเพื่อให้สามารถแก้ไขข้อมูลได้ เมื่อแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด  เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนารายบุคคลที่ได้ทาการแก้ไขไป

หมายเลข 2: เป็นไอคอนสำหรับการลบ เมื่อคลิกที่ไอคอนแล้วจะขึ้นแจ้งเตือนว่า “คุณต้องการลบหรือไม่” ถ้าผู้ใช้กดปุ่ม  จะเป็นการยืนการลบผู้ร่วมไปประชุมที่ผู้ใช้เลือก ถ้าไม่ต้องการลบให้กดปุ่ม ดังรูป

2.5 การจัดการหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ (กรณีเลือกประเภทการไปราชการเป็นวิทยากร หรือบริการวิชาการ)

หมายเลข 1: เป็นการเพิ่มหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ ในกรณีที่มีหัวข้อ มากกว่า 1 หัวข้อ

หมายเลข 2: เป็นการแก้ไขหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ

หมายเลข 3: เป็นการลบหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ

หมายเลข 4: เป็นการบันทึกหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการ ในกรณีที่ บันทึกหัวข้อในการเป็นวิทยากร/บริการวิชาการเป็นครั้งแรกหน้าจอในการเลือกข้อมูลความสอดคล้องเกี่ยวกับการไปประชุม/

 

2.6 อบรม/สัมมนา (กรณีเลือกประเภทการไปราชการเป็นไปประชุม/อบรมสัมมนา ประชุมราชการ หรือศึกษาดูงาน)

 

ให้ทำการเลือกความสอดคล้องเกี่ยวกับการไปประชุม/อบรม/สัมมนา โดยการคลิกเลือกที่ช่องสี่เหลี่ยม £ หน้าความสอดคล้องที่ต้องการ

2.7 บันทึกรายงานการประชุม/อบรม/สัมมนา (กรณีเลือกประเภทการไปราชการเป็นไปประชุม/อบรมสัมมนา ประชุมราชการ หรือศึกษาดูงาน)

2.8 บันทึกการนามาประยุกต์ใช้ในองค์กร (กรณีเลือกประเภทการไปราชการเป็นไปประชุม/อบรมสัมมนา ประชุมราชการ หรือศึกษาดูงาน)

เมื่อเราทำการบันทึกข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนาในข้อ 2.6-2.8  เสร็จสิ้นแล้ว ให้ทำการคลิกที่ปุ่มต่างๆ ที่ต้องการ ดังนี้

 ปุ่มสีเขียว  หมายถึง การบันทึกใบไปราชการแบบร่าง

 ปุ่มสีฟ้า  หมายถึง การยืนยันการบันทึกข้อมูลใบไปราชการพร้อมส่งเข้าเส้นทางในการอนุมัติเอกสาร (ถ้ามีการกำหนดเส้นทางการอนุมัติแล้ว)

 ปุ่มสีแดง  หมายถึง การยกเลิกการบันทึกใบไปราชการหรือลบใบไปราชการนั้นทิ้งนั่นเอง

 ปุ่มสีขาว  หมายถึง ทำการย้อนกลับไปยังหน้ารายการข้อมูลการไปประชุม/อบรม/สัมมนา

3. การตรวจสอบสถานะการอนุมัติและพิมพ์ใบขอไปประชุม/อบรม/สัมมนา

3.1 ไปที่ เมนู (Menu) คลิกเลือก ทำเรื่องขอไปประชุม/อบรม/สัมมนา

3.2 เลือกเมนู ตรวจสอบสถานะการอนุมัติและพิมพ์ใบขอไปประชุม/อบรม/สัมมนา

3.3 ทำการเลือก ช่วงวันที่ไปราชการ และกดที่ปุ่ม

หน้าจอในการเลือกช่วงวันที่ไปราชการ และการแสดงรายละเอียดของสถานะการอนุมัติ

หมายเลข 1:  เป็นช่วงวันที่เริ่มต้นในการไปราชการ

หมายเลข 2:  เป็นช่วงวันที่สิ้นสุดในการไปราชการ

หมายเลข 3:  เป็นการแสดงรายละเอียดของสถานะการอนุมัติ

หมายเลข 4:  เป็นการสั่งพิมพ์เอกสารที่ใช้ในการไปราชการ (ใบปะหน้า) ตัวอย่างดังรูป

หน้าจอในการสั่งพิมพ์เอกสารที่ใช้ในการไปราชการ (ใบปะหน้า)

  (378)