การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ เพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศไทย

การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ เพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศไทย

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :2 พ.ค 2557

ผู้บันทึก : นางนรานุช  ขะระเขื่อน

กลุ่มงาน : กลุ่มงานการพยาบาลอนามัยชุมชน

ฝ่าย : กิจการนักศึกษา

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) : ประชุม

วันที่    30 เมษายน  2557  ถึงวันที่  30 เมษายน 2557  ( 09.30-12.30 น)

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สปสช.เขต12 สงขลาร่วมกับ สปสช.เขต11 สุราษฎร์ธานี

สถานที่จัด : โรงแรมลีการ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ( 09.30- 12.30 น )

เรื่อง : การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศไทย

รายละเอียด : การประชุมการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ วันที่ 30 เมษายน 2557 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ( 09.30- 12.30 น )

สปสช.เขต12 สงขลาร่วมกับ สปสช.เขต11 สุราษฎร์ธานี ร่วมจัดประชุมการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งขาติและการจัดการระบบการเงินการคลังแนวใหม่ ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย อนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สสจ โรงพยาบาลชุมชน  แก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ตาต้อกระจก แม่วัยใส ยาเสพติด และสุขภาพฟัน แนะทิศทางการปฏิรูปต้องเน้นลดเหลื่อมล้ำ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น

นายแพทย์ วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ (อปสข.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา วาระพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และระดมความคิดเห็นการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพในบริบทพื้นที่ภาคใต้ โดยมีคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ และประชาชนกว่า 70 คน เข้าร่วม

ทั้งนี้สปสช.จะจัดประชุม อปสข.สัญจร 4 ภาค มีกำหนดการจัดประชุม 4 ครั้ง ดังนี้ 1.อปสข ภาคใต้ (เขต 11, เขต 12) วันที่ 30 เมษายน 2557 จัดที่ อ.หาดใหญ่ สงขลา 2.อปสข ภาคเหนือ (เขต1, เขต 2,เขต3)  วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 จัดที่ จ.พิษณุโลก 3. อปสข ภาคกลาง (เขต 4, เขต 5, เขต 6, เขต13) วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 จัดที่ จ.กรุงเทพ และ 4.อปสข ภาคอีสาน (เขต 7,เขต 8,เขต 9, เขต 10) วันที่ 3 มิถุนายน 2557จัดที่ จ.ขอนแก่น เพื่อรับฟังปัญหาผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ สู่การปรับปรุงนโยบายการบริหาร พร้อมใช้โอกาสแจงข้อทักท้วง สตง. เพื่อให้เกิดการใช้งบที่ถูกต้อง ประชุมครั้งนี้จะมีรูปแบบการประชุมคล้ายการประชุม ครม.สัญจร โดยทางผู้บริหาร สปสช.ส่วนกลางได้ให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นวาระการประชุมที่ทางผู้บริหารส่วนกลางจะลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อมูลด้วยตนเองทั้งปัญหาและอุปสรรค สำหรับหัวข้อการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ บทบาทที่ สปสช.เขตต้องดำเนินการ การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงบประมาณปี 2557 และข้อทักท้วงของ สตง.เพื่อนำมาสู่การแก้ไข โดยผลการประชุมครั้งนี้จะมีการสรุปเนื้อหาเพื่อนำมาสู่การปรับปรุงการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป

สืบเนื่องจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการเข้าถึงระบบสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งยังขาดกลไกการเข้าถึงภาคีเครือข่ายท้องถิ่น สิ่งที่สำคัญคือต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อให้สามารถติดตามและกำกับการเข้าถึงบริการของประชาชนในเขตรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น สำหรับการประชุมดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญในการระดมความคิดเห็นเพื่อปฏิรูประบบการให้บริการสาธารณสุขแก่ชุมชน 5 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงการให้บริการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การให้บริการโรคตา โรคต้อกระจก และด้านสุขภาพช่องปาก

ผู้เข้าร่วมประชุมและ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน นำเสนอว่า ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน โดยมีอัตราการเข้าถึงต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ แม้ว่าประชาชนไทยจะมีหลักประกันสุขภาพ คือ ไม่ต้องจ่ายเงินเมื่อไปรับการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิที่รัฐดูแลให้ แต่พื้นที่ภาคใต้ก็ยังพบปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิรูปเพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาได้รับการรักษาตามที่จำเป็นทันที ดังนี้

1. ปัญหาการเข้าถึงบริการโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด

2. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้

3. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนให้วัยรุ่นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันการทำแท้งเถื่อนที่พบว่ามีอัตราสูงเช่นกันตามมา
4. ปัญหาตาต้อกระจก เขต 12 สงขลา มีอัตราการเข้าถึงต่ำมากในอันดับท้ายๆ ของประเทศมาตลอด

5. สุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการมีฟันผุสูงกว่าเขตอื่นๆ ของประเทศ และพบการสูญเสียฟันสูงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่การได้รับการใส่ฟันปลอมในกลุ่มผู้สูงอายุนี้ยังค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายมากพอสมควรในปีที่ผ่านมาเพียงร้อยละ 70 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ให้บริการได้เพียงประมาณร้อยละ 55 ของเป้าหมายเท่านั้น

“จากปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขดังกล่าว และจากที่กระทรวงสาธารณสุขมีกลไกปฏิรูปแบบเขตสุขภาพ และ อปสข. ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เชื่อว่าน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น ผ่านกลไกด้านการเงินการคลังที่ สปสช. รับผิดชอบอยู่ ซึ่งอยากให้ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือเดินหน้าเพื่อให้ประชาชนในภาคใต้เข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น

นพ.วินัย อภิปรายว่า ปัญหาสาธารณสุขในภาคใต้ สปสช. ตระหนักดีว่ายังมีการเข้าถึงในระดับที่ต่ำ กลไกที่ที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงได้คือ อปสข. แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อให้ อปสข. สามารถติดตามกำกับการเข้าถึงบริการของประชนในเขตรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น สปสช. จะมีการจัดเวทีการปฏิรูปโดยเน้นกลไก อปสข. โดยสัญจรไปยังภาคอื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ ทำเป็นแผนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปคือ การทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
เลขาธิการ สปสช. อภิปราย สรุป “สปสช. ยึดหลักการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขภายใต้เงื่อนไขที่เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยหลักการปฏิรูป คือ การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน และป้องกันการล้มละลายจากการเจ็บป่วยเป็นเป้าหมายหลัก โดยใช้ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและความเข้มแข็ง อปสข. และเขตสุขภาพ การร่วมมือและบูรณาการกับทุกกองทุนสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การขยายและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ และเชื่อมประสานการทำงานกับ อปท. เพื่อการเข้าถึงบริการ และเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ”  จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือดและยังคงเน้น นโยบาย สร้าง นำ ซ่อม เป็นหลัก

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

   การจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ (อปสข.) กระทรวงสาธารณสุข และ อปท. ตลอดจน ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งแต่ปัญหา  ปัญหาการเข้าถึงบริการโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด ปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนให้วัยรุ่นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันการทำแท้งเถื่อนที่พบว่ามีอัตราสูงเช่นกันตามมา   ปัญหาตาต้อกระจก เขต 12 สงขลา มีอัตราการเข้าถึงต่ำมากในอันดับท้ายๆ ของประเทศมาตลอด  สุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการมีฟันผุสูงกว่าเขตอื่นๆ ของประเทศ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น และการ เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

  1. 1.       การเสริมสร้างและป้องกันโรค เพื่อไม่นำไปสู่ความเจ็บป่วยที่ร้ายแรง
  2. 2.       การให้บริการสาธารณสุขแก่ชุมชน ด้านการเข้าถึงการให้บริการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การให้บริการโรคตา โรคต้อกระจก และด้านสุขภาพช่องปาก การเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปคือ การทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
  3. พัฒนาความรู้เรื่องโรค และปัญหาปัญหาสำคัญในพื้นที่ ที่เร่งด่วน เช่น การป้องกันการตั้งครรภ์

ไม่พึงประสงค์ ปัญหายาเสพติดซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น และการ เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ

 

  (298)

Comments are closed.