จิตบริการสู่องค์กรแห่งความสุข

จิตบริการสู่องค์กรแห่งความสุข

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  21 มีนาคม  2557

ผู้บันทึกนางสาวจามจุรี แซ่หลู่

กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ

 ประเภทการปฏิบัติงาน: อบรม

วันที่   19 – 20  มีนาคม 2557

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนนก กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่จัด :   ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯน่วยงานที่จัด ระหว่างวันที่

 เรื่อง : จิตบริการสู่องค์กรแห่งความสุข

 รายละเอียด

จิตบริการสู่องค์กรแห่งความสุข

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดจิตบริการ ซึ่งมีอยู่หลายปัจจัย คือ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม การปลูกฝังอบรม ประสบการณ์ทำให้ฉุกคิด

พื้นฐานของจิตบริการเริ่มจาก การไม่ละเมิดผู้อื่น การไม่ละเลยหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ต่างยึดทางสายกลาง (มรรคมีองค์ ๘) ซึ่งสรุปเป็นหลักการสั้นๆ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) เป็นการละชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์เบิกบาน ทำให้เข้าถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของทุกสรรพสิ่งในโลก ส่งผลให้ความโลภ ความโกรธ และความหลงลดลง

การพัฒนาจิตบริการ ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ได้ก่อน โดยการฝึกอบรม เน้นในเรื่องของนโยบาย วิธีการที่จะพัฒนา การเลือกวิทยากร การจัดกระบวนการฝึกอบรม ซึ่งวิธีการที่ผ่านมามักจะทำไปตามกระแส แต่ขาดความยั่งยืนในการกระทำ ซึ่งการดำรงความยั่งยืนของจิตบริการ สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความยั่งยืนคือ “ปัญญา”

ลักษณะที่สำคัญที่บ่งบอกว่าเป็นองค์กรแห่งความสุข มีความรักสามัคคี มีความยุติธรรม มีขวัญ กำลังใจ มีสวัสดิการ และความมั่นคง และมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้วยความเต็มใจ

การพัฒนาให้เกิดองค์กรแห่งความสุข ผู้นำจะเป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญมากที่จะเสริมให้

เกิดความรัก ความสามัคคี ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส โดยหลักการที่สำคัญต้องเน้นการปลูกฝังวินัย พรหมวิหารธรรม และการที่จะสามารถดำรงความยั่งยืนขององค์กรแห่งความสุข คือ ปัญญา ซึ่งพื้นฐานที่ส่งผลให้เกิดปัญญา คือสมาธิ และสติ ส่วนพื้นฐานสำคัญของการทำให้เกิดสมาธิคือ ศีล วินัย

ความเครียดทำให้จิตบริการไม่งอกงาม การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้เบิกบาน จิตจะเบิกบานได้ คือจิตที่เต็มไปด้วยปัญญา ซึ่งปัญญาที่สำคัญคือการเข้าใจในกฎของไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ทุกๆ สิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อทนสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ ก็จะเกิดความทุกข์ ถ้าเรามีการยึดติด ในตัวกูของกู เมื่อไม่ได้เป็นตัวกูของกู ก็จะทำให้ความทุกข์

ดังนั้นความเครียดที่เกิดขึ้นของคน คือ การไม่เข้าใจในกฎธรรมชาติ ไม่เข้าใจกฎของไตรลักษณ์ ไม่เข้าใจความไม่เที่ยง ยังมีการยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจในกฎธรรมชาติ กฎไตรลักษณ์ เราก็สามารถละวางความทุกข์ต่างๆ ได้ ชีวิตก็จะมีความสุข นั้นคือจิตที่มีปัญญา ซึ่งนำไปสู่ความสุขได้

การลดความเครียด คนที่มีบุคลิกดีและรู้จักการคิดเชิงบวกจะมีโอกาสที่จะถูกกระทบในเชิงลบจากสังคมลดลง เลิกคิดว่าโลกนี้หรือสังคมนี้ไม่ยุติธรรม เพราะความจริงโลกมีความยุติธรรมแต่เราต้องเลิกละเมิดผู้อื่น เลิกเข้าข้างตนเอง แล้วเราจะพบกับความยุติธรรม

การพัฒนาตนต้องเริ่มที่การพัฒนาตนเองก่อน ผู้มีปัญหาด้านบุคลิกภาพและความฉลาดทางอารมณ์มักไม่ค่อยกล่าวประโยคเหล่านี้คือ ขอโทษ สวัสดี ขอบคุณ ซึ่งจริงๆ แล้วการกล่าวคำเหล่านี้จะช่วยให้เราเกิดการพัฒนาตนเองได้ เพื่อให้เกิดความงอกงามของจิตใจ

มนุษย์สามารถหากำไรให้กับชีวิตได้ โดยการลงทุนชีวิตอย่างรู้เท่า และเตรียมทุนสำรองอย่างรู้ทันด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม สายกลาง

ปัญญาที่ยิ่งใหญ่คือ การรู้จักตนเอง ทำไมต้องเน้นเรื่องปัญญา เนื่องจากคนยังจมอยู่ในกองทุกข์ ยังอยู่ในความโง่ ยังอยู่ในความไม่รู้ ยังมีปัญหา ถ้ามนุษย์ฉลาด มนุษย์ตระหนักชัดว่า การเกิดเป็นทุกข์ การแก่ชราเป็นทุกข์ การเจ็บป่วยเป็นทุกข์ และการตาย การพลัดพรากเป็นทุกข์

สิ่งที่ผู้ให้บริการทางการแพทย์ไม่อยากให้เกิดคือ ความขัดแย้งกับผู้รับบริการ ซึ่งจริงๆ แล้วความขัดแย้งจะเกิดขึ้นได้ยากมากถ้า เราพูดกับผู้รับบริการด้วยน้ำเสียงและคำพูดที่ไพเราะ ให้เกียรติกับผู้รับบริการ พูดจามีหางเสียง การให้ข้อมูลทุกครั้งเมื่อต้องการจะทำอะไรกับผู้รับบริการ เช่น เมื่อไปฉีดยา เมื่อไปตรวจร่างกาย เมื่อไปทำแผล ไม่ให้ข้อมูลแบบขู่ผู้รับบริการ ควรจะให้ข้อมูลที่เป็นเชิงบวก แต่ให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อให้เขาได้ตัดสินใจ ไม่ให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้รับบริการเกิดความกลัวหรือเกิดความระแวง ฉะนั้นต้องให้ข้อมูลอย่างจริงใจ และให้บริการดุจญาติมิตร

สิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์มีความทุกข์ คือ การวินิจฉัยผิดพลาด ในความเป็นจริงต้องพิจารณาสาเหตุที่ทำให้คนเราจากโลกนี้ไป คือ หมดอายุขัย หมดกรรม หมดทั้งกรรมและอายุขัย มีวิบากกรมมาตัดรอน (เกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ โดยการพยายามศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ปฏิบัติ) อีกกรณีหนึ่งที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ เกิดทุกข์คือ งานหนัก ทะเลาะกับผู้ป่วยและญาติ ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน ทะเลาะกับหน่วยงานข้างเคียง กับหัวหน้า แต่ที่สำคัญคือ การทะเลาะกับตัวเอง ดังนั้นวิธีที่จะไม่ให้เกิดการทะเลาะคือ การพูดด้วยวาจาที่ไพเราะ ความฉับไวในการให้บริการ วางตัวเหมาะสม การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การให้ข้อมูลและคำแนะนำ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การมีบรรยากาศในการปฏิบัติงานร่วมกัน และอย่างกินแรงกัน

          ปัจจัยที่ทำให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์มีความสุข คือ มีความรู้อย่างเพียงพอ มีความต้องการอย่างเพียงพอ มีความประพฤติดี มีบุคลิกภาพที่ดี มีปัญญา ต้องไม่หยุดพัฒนาตนเอง ต้องมีกุศลกรรม ต้องพัฒนาปัญญาให้ได้

พื้นฐานที่สำคัญของการคิดเชิงบวกคือ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ถูกสร้างให้มีมากกว่า ๑ ด้านในตัวของมัน ผู้ที่มีปัญญาและถึงพร้อมกุศลกรรม จะสามารถดึงเอาด้านดีของทุกสรรพสิ่งมาใช้ และเขี่ยด้านที่ไม่ดีออกไปหรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่อื่น เข้าทำนองเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสหรือเปลี่ยนอุจจาระให้เป็นปุ๋ยได้ เราสามารถต่อสู้ทุกปัญหาในโลกนี้ได้ โดยมีปัญญาเป็นอาวุธ มีกุศลกรรมเป็นเกราะ และมีเงินเป็นเครื่องทุ่นแรง ดังนั้นผู้ที่มีปัญญา จะไม่แขวนความสุขไว้กับการได้ลาภ การได้ยศ ได้ตำแหน่ง และได้รับการสรรเสริญ แต่จะแขวนความสุขไว้กับโอกาสที่จะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม และเหมาะสม

หลักการคิดเชิงบวก ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ ให้ตั้งสติไว้ก่อน อะไรที่เกิดขึ้นแล้วในทางลบอย่าซ้ำเติมกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นในทางลบว่า ยังดีที่เป็นแค่นี้

ทางสายกลาง คือสิ่งที่ประพฤติต้องไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ทำแล้วต้องมีความสุขมากกว่าความทุกข์

กุศลกรรม เป็นการละชั่ว คือเอาตัวรอดโดยไม่ทำให้ใครเดือนร้อน หาความสุขโดยไม่ผิดทำนองคลองธรรม และเป็นการทำดี คือ มีวินัย มีความรัก ความเมตตา มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที ไม่ละโมบ ยึดติดวัตถุ การปลูกพืชพันธุ์แห่งความสุขของมนุษย์ชาติ ต้องมีวินัยเป็นราก มีปัญญาเป็นลำต้น มีกระแสสังคมเป็นกิ่งและใบ ออกลูกเป็นกุศลกรรม เป็นผลไม้แห่งความสุข

ความรัก ความเมตตา เป็นหลักธรรมที่สมบูรณ์ที่สุดที่จะช่วยให้มนุษย์ ชนะทุกข์ สร้างสุขได้ ซึ่งเป็นหลักธรรมหนึ่งในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา ช่วยให้ผู้อื่นมีความสุข กรุณา ช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มุทิตา ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข ยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ซึ่งเป็นผลที่เกิดมาจากการมีเมตตา กรุณาแท้ๆ และอุเบกขา การวางเฉย จะเกิดขึ้นได้เมื่อทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา และเข้าถึงความจริงของกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) และมีศรัทธาอันมั่นคงในพระผู้เป็นเจ้า ทำให้เราตามไปดูด้วยความเข้าใจเราก็สามารถวางเฉยได้ ถ้าเรารักใครด้วยความเมตตา เราก็สมารถให้เขาได้ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ทำให้เราได้ดังสิ่งที่เราหวัง

ความกตัญญู เป็นมารดาแห่งความดีงามทั้งปวง กตัญญูต่อครอบครัว ต่อองค์กร สังคม

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทุกอย่าง จะสามารถแก้ไขได้ด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม สายกลาง ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการทั้ง ๕ ที่กล่าวมาก็จะส่งผลให้เราทำงานอย่างมีความสุข เพื่อร่วมงานก็มีความสุข ผู้รับบริการก็มีความสุข สุดท้ายก็ส่งผลให้องค์กรเกิดความสุขนั่นเอง

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การสอนและการบริหารงาน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอน

การพัฒนานักศึกษา

การบริหารงาน (601)

การศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : 9  มีนาคม 2557

ผู้บันทึก :นางวันดี  แก้วแสงอ่อน

กลุ่มงาน :กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

ฝ่าย :วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) :การศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายพิเศษ

วันที่   17 กุมภาพันธ์ 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

สถานที่จัด :โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เรื่อง : การศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี

รายละเอียด

โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหลักเกณฑ์การรับผู้ป่วยดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด เพื่อการผ่าตัด การฉายแสง และ การให้เคมีบำบัด 2. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคอง โดยเปิดให้บริการทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน งานผู้ป่วยนอกแบ่งเป็น 3 งาน คือ1) ผู้ป่วยนอกทั่วไป 2) ผู้ป่วยนอกรังสีรักษา และ3) ผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด ส่วนงานผู้ป่วยใน มี 3 หอผู้ป่วย คือ หอผู้ป่วยสามัญหญิง ชาย และหอผู้ป่วยพิเศษ นอกจากนี้มีคลินิกพิเศษ ได้แก่ 1)คลินิกศัลยกรรมและเต้านม บริการสอบถามประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว,ความผิดปกติ ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ให้คำแนะนำตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตรวจแมมโมแกรมและอุลตราซาว์ดเต้านม เจาะน้ำจากก้อนที่เต้านมส่งตรวจเซลล์มะเร็ง และ ผ่าตัดก้อนที่เต้านมส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา 2)คลินิกนรีเวช บริการสอบถามประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด การคุมกำเนิด ตรวจภายใน ตรวจมะเร็งปากมดลูก ส่องกล้องดูปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ตัดปากมดลูกด้วยขดลวดไฟฟ้า การให้บริการของศูนย์ในแผนกอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ การให้บริการของแผนกรังสีรักษา ในกิจกรรมดังนี้ 1) ตรวจรักษา พยาบาล ผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยรังสีรักษา ผู้ป่วยฉายแสง ผู้ป่วยใส่แร่ 2)ให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านรังสีรักษา เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์ 8.00-16.00 น. การให้บริการแผนกเคมีบำบัด ในกิจกรรมดังนี้ 1. ตรวจรักษา ผู้ป่วยมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด 2.การบริการให้ยาเคมีบำบัดแบบไป-กลับ 3.ให้คำแนะนำปรึกษาด้านเคมีบำบัด เปิดบริการวันจันทร์,พฤหัส 8.00-16.00น. วันศุกร์ เวลา 8.00-12.00น. ขั้นตอนการให้บริการของศูนย์มะเร็งจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีดังนี้ 1)ผู้ป่วยใหม่กรอกประวัติในแบบฟอร์มยื่นที่ห้องบัตร 2)ผู้ป่วยเก่ายื่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยเพื่อค้นแฟ้มประวัติที่ห้องบัตร 3)นั่งรอเรียกชื่อหน้าห้องตรวจโรคเพื่อรับการซักประวัติ 4)ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เปลี่ยนเสื้อผ้า กรณีตรวจสุขภาพรับคำแนะนำตรวจสุขภาพ รับใบรายการตรวจนำไปจ่ายเงินค่าตรวจ และไปตรวจเลือด ,เอ็กซเรย์, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วมาพบแพทย์ตรวจร่างกาย ถ้าไม่มีการตรวจเพิ่มเติมก็กลับบ้าน รอผลการตรวจทางไปรษณีย์ กรณีที่ตรวจทั่วไป คลินิกพิเศษ นั่งรอเรียกชื่อเข้าห้องตรวจ(พบแพทย์) และถ้าแพทย์ต้องการให้ตรวจเพิ่มเติม รับใบรายการตรวจ จ่ายเงินค่าตรวจ และไปตรวจที่แผนกต่างๆ แล้วกลับมาพบแพทย์เพื่อสรุป วินิจฉัย รับใบสั่งยา รับยากลับบ้าน การใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จะต้องมีใบส่งตัว(ใบสีชมพู-เหลือง) และมีการรับรองสิทธิจากต้นสังกัด จึงจะใช้สิทธิการรักษาพยาบาลได้ โดยต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิจากแผนกสังคมสงเคราะห์ของศูนย์มะเร็งฯ ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการที่จะใช้สิทธิจ่ายตรง จะต้องลงทะเบียนที่ศูนย์มะเร็งอย่างน้อย 15 วันจึงจะใช้สิทธิได้

ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

เกรดและระยะของโรคมะเร็ง

การระบุเกรดและระยะของโรคจะบอกถึงระดับความรุนแรงของโรคมะเร็ง ดังนี้

เกรด X ไม่สามารถระบุเกรดได้

เกรด 1 เซลล์มะเร็งทำหน้าที่คล้ายเนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดมาก (well-differentiated)

เกรด 2 เซลล์มะเร้งยังคงทำหน้าที่คล้ายคลึงกับเซลล์เนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดแต่แสดงคุณลักษณะของเซลล์มะเร็งมากขึ้น

เกรด 3 เซลล์มะเร็งมีหน้าที่ต่างไปจากเซลล์เนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดแต่แสดงคุณลักษณะของเซลล์มะเร็งอย่างชัดเจน

เกรด 4 เซลล์มะเร็งมีหน้าที่ต่างไปจากเซลล์เนื้อเยื่อปกติอย่างสิ้นเชิงและไม่มีคุณลักษณะของเซลล์ปกติหลงเหลืออยู่เลย

มะเร็งที่อยู่ในเกรด 1 และ 2 จัดอยู่ในกลุ่มต่ำ มีการพยากรณ์โรคดีเนื่องจากมีการเจริญเติบโตช้าและมักมีมีการลุกลามไปไกล

มะเร็งเกรด 3 และ 4 จัดอยู่ในกลุ่มเกรดสูง การพยากรณ์โรคไม่ดี เนื่องจากเซลล์เจริญเติบโตเร็วและลุกลามไปได้ไกล

สำหรับมะเร็งที่เป็นชนิดที่เป็นก้อนเนื้อ จะมีการแบ่งระยะของโรคมะเร็ง (staging) แบ่งตาม TNM เพื่อระบุการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งซึ่งจะให้ประโยชน์ในการรักษา

T เนื้องอก

T 1-4 ขนาดของมะเร็งบอกถึงความก้าวหน้าของโรค

N ต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่พบเนื้องอก

N 1-3 ระดับการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

M 1 มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ

เราสามารถจัดระยะของมะเร็งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

- ระยะที่ 1 มักจะมีขนาดเล็ก และอยู่เฉพาะที่ยังไม่มีการลุกลามไป

- ระยะที่ 2 และ 3 จะเริ่มมีการลุกลามมากขึ้น และเริ่มมีการกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
- ในขณะที่ ระยะที่ 4 คือมีการกระจายของมะเร็งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมักจะไม่สามารถผ่าตัดให้หายขาดได้

สัญญาณอันตราย 8 ประการที่อาจเป็นอาการเริ่มแรกของการเกิดโรคมะเร็งมีดังนี้
1) มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2) กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3) มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง

4) มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5) มีแผลเรื้อรัง ซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6) มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7) มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8) มีอาการหูอื้อ หรือมีเลือดกำเดาไหลเป็นประจำ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

1.ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับ ระยะเวลาที่ให้ยาเคมีบำบัด   ยา Pre-medication และยาเคมีบำบัดที่ได้รับ  รวมทั้งการเตรียมตัวก่อนได้รับยาเคมีบำบัด ได้แก่ รับประทานอาหารให้อิ่มพอประมาณ 2 ชม.ก่อนได้รับยา ดื่มน้ำ 8-10 แก้ว/วัน ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเปิด IV line และใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย

2.การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว .ใช้แบบประเมินของ Patient Profile/ECOG และประเมินภาวะโภชนาการ สังเกตการณ์พูดคุย ความกลัว ความวิตกกังวล vital sign ไข้ ตรวจร่างกาย แขน ขา บวม แผล หรือไม่  การจัดเตรียมผู้ป่วยให้นอนเตียงที่เหมาะสมกับสูตรยาที่ได้รับ ตรวจสอบเกี่ยวกับยาเคมีบำบัด

3.การพยาบาลระหว่างที่ได้รับยาเคมีบำบัด เตรียมความพร้อมของทีมและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ รถ Emergency ชุดให้ออกซิเจน Spill Kits ให้ข้อมูลแก่และคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยาและอาการข้างเคียงเช่น ระยะที่ยาออกฤทธิ์จะกดไขกระดูก 7-14 วัน ต่ำสุด 7-12 วัน เยื่อบุช่องปากอักเสบ 3-15 วันหลังได้รับยา ควรดื่มน้ำมากกว่า 8-10 แก้วต่อวัน ไม่กลั้นปัสสาวะ เพื่อป้องกันปัสสาวะอักเสบ ในยา Cyclophosphaminde  ผู้ป่วยที่ได้รับยา Doxrubicin และ Epirubicin(สีแดง) หลังได้รับยาจะมีปัสสาวะสีแดง 1-2 วัน และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้เป็นการดูแลด้านจิตใจและครอบครัว โดยการให้กำลังใจและให้ความเชื่อมั่นในการดูแลขณะให้ยาหรือช่วยเหลือแก้ไขทันทีที่ถูกต้องเหมาะสม

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

นำความรู้ไปใช้ในการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ปีการศึกษา 2557 และสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีมีเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 รุ่น 25 ปีการศึกษา 2557

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ 

จัดทำเอกสารประกอบการสอน/บทความการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

  (1330)

วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก

วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล

 กลุ่มงาน :  การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และบริหารการพยาบาล

 ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๑๑-๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


หน่วยงาน/สถาบันที่จัด
:

 สถานที่จัด :   ณ โรงแรมหรรษา เจบี จ.สงขลา


เรื่อง
: วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก

 รายละเอียด

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเตรียมทารกแรกเกิด เพื่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า การสื่อสารเพื่อการส่งต่อ เพื่อไม่ให้มีรอยต่อในระหว่างการนำส่ง คือการสื่อสารกับโรงพยาบาลที่จะรับ การสื่อสารกับญาติผู้ป่วย และการกำหนดนัดหมายการเดินทางกับโรงพยาบาลที่จะรับ

หลักการของการดูแลทารกแรกเกิดก่อนส่งต่อที่สำคัญ คือ 1) การดูแลอุณหภูมิกายให้ปกติ 2) การดูแลระบบทางเดินหายใจ และออกซิเจนในเลือด 3) การให้นมหรือสารน้ำที่มีกลูโคส 4) การป้องกันการติดเชื้อ 5) การเฝ้าระวังสัญญาณชีพ และ 6) การรักษาเฉพาะโรค เพื่อช่วยในการจำ อาจใช้ S.T.A.B.L.E. (S: sugar,safe care A: Airway, oxygen, ventilation B: Breathing, Blood pressure L: Lab work E: Emotional support, Evaluation) นอกจากนี้ได้รับความรู้ในการดูแลทารก ในเรื่องต่อไปนี้ เช่น Novel treatment for ROP, Goal milk: New trend and new infant formula, Improve outcomes of very low birth weight infants, Update oral nutrition in preterm infant เป็นต้น

Apnea of Prematuarity

การหยุดหายใจ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) central apnea เกิดจากการขาด inspiratory effort จากระบบประสาท โดยไม่การอุดกั้นทางเดินหายใจ 2) obstructive apnea ทารกพยายามหายใจผ่านทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้น ดังนั้นมีการเคลื่อนไหวของทรวงอก และ 3) mixed apnea พบได้บ่อยที่สุด เริ่มจาก central apnea แล้วตามด้วย obstructive apnea การหยุดหายใจในทารก ต้องพิจารณา 1) ปัญหาในระบบประสาทส่วนกลาง 2) การติดเชื้อ ร่วมกับเยื่อหุ้มสมอง 3) ความผิดปกติทางโลหิตวิทยา เช่น ภาวะโลหิตจาง 4) ความผิดปกติทางเมตาบอลิค เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 5) ความผิดปกติของอุณหภูมิของร่างกายทั้งสูงหรือต่ำ และ 6) ยาต่างๆ ทั้งที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็ก รวมทั้งมีเครือข่ายในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกับพยาบาลโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

- การเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓

              ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคในทารก เด็ก และการพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการสอนให้กับนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ , ๒ และ ๓ ตลอดจนเป็นการทบทวนวิชาการ รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาการ

 

  (456)

การประชุม PBRI & Fontys UAS “LEAD BY EXAMPLE” conference

การประชุม PBRI & Fontys UAS “LEAD BY EXAMPLE” conference

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  ๑๐   กุมภาพันธ์  ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ นางสาวอุษา จันทร์แย้ม และนางสาวอรุณรัตน์  โยธินวัฒนบำรุง

 กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

 ฝ่าย :  -

 ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๙ – ๑๐ มกราคม ๒๕๕๗

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

 สถานที่จัด :   ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร


เรื่อง
: การประชุม PBRI & Fontys UAS “LEAD BY EXAMPLE” conference

 รายละเอียด

ในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมแบบรวมกลุ่มวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เป็นแกนนำและเริ่มต้น การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เพื่อประเมินผล และปัญหา อุปสรรค ในการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ซึ่งได้แบ่งกลุ่มออกเป็นตามเครือข่ายแต่ละภาค คือ เครือข่ายภาคเหนือ เครือข่ายภาคกลาง เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเครือข่ายภาคใต้ ซึ่งในการประชุมของเครือข่ายภาคใต้ สามารถสรุปได้ว่า ทุกวิทยาลัยในเครือข่ายภาคใต้ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning 1-2 วิชา บางวิทยาลัย ได้ขยายผลไป 4-5 วิชา ในแต่ละครั้งของการจัดเรียนการสอน ไม่เหมือนกัน และบางครั้ง ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากแผนที่วางไว้ เนื่องจากว่า ไม่ specific ไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบ active  learning ของแต่ละวิทยาลัย พบว่า จะนำไปปฏิบัติเฉพาะผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการเท่านั้น

มีอาจารย์ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเข้าไปสังเกตการณ์การเรียนการสอนค่อนข้างน้อย จึงมีข้อเสนอแนะว่า ขณะที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ควรให้อาจารย์เข้าไปสังเกตการณ์และให้ข้อเสนอแนะ ร่วมกับกลุ่มอาจารย์ที่สอน เพื่อการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เหมาะสมกับนักศึกษาในแต่ละวิทยาลัย และควรขยายผลให้อาจารย์ท่านอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning แต่ละครั้ง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน อาจจะเนื่องจากมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปแต่ละวิทยาลัย จึงมีข้อเสนอแนะ ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบ active learning แต่ทั้งนี้ บางวิทยาลัย ก็ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning จนสามารถนำมาพัฒนาเป็น Action research และได้นำผลงานไปนำเสนอที่ต่างประเทศ นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของการจัดการเรียนการสอน คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีของการจัดการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะ (feedback) ดังนี้   SMART GOAL (For specific lesson or series of lessons)   SMART GOAL เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย

1. Sensible & Specific หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นไปได้และชัดเจน นั่นคือ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ยังควรมีความชัดเจนโดยผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกัน และปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำหรับในการจัดการเรียนการสอน ต้องกำหนดว่า อะไรคือสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ เช่น ความรู้ ทักษะ และ/หรือ ทัศนคติ

2. Measurable หมายถึง วัตถุประสงค์นั้นต้องสามารถวัดผลได้นั่นคือในการกำหนดวัตถุประสงค์ควรพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับการวัดผลด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้ทำให้สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใด และผลของการดำเนินการในแต่ละขั้นเป็นอย่างไร บรรลุผลสำเร็จหรือไม่อะไรที่ต้องการวัดผลการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจจะต้องให้เข้ากับ ระดับของ Blooom taxonomy คือ รู้จำ (Remember), เข้าใจ (Understand), นำไปใช้ (Apply), วิเคราะห์ (Analyse), ประเมิน (Evaluate), และสังเคราะห์ (Create)

3. Agreed-Upon , Acceptable, Attainable หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องทำได้ สามารถบรรลุผลและยอมรับได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรกำหนดไว้สูงเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกท้อแท้เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้

4. Realistic, Result-orientated, Relevant หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถอธิบายได้ มีความสมเหตุสมผล เฉพาะเจาะจง และมีความเป็นจริง ปฏิบัติได้จริง

5. Time-bound หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องประสบความสำเร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ต้องคำนึงถึงภาระงานของนักศึกษา โดยการตอบคำถามดังนี้

1. How many hours do you have as “MSL” for the students for this course/topic “Maximum Study Load”

2. How many meetings/lessons do you need for this course/topic

3. How many hours per lesson?

4. How much time do the students make homework?

5. How much time for coaching/guidance per student regarding homework?

6. How much time do students need for preparation training?

7. How much time do students need for traning?

8. How much time for coaching/guidance per student regarding training?

9. How much time do they need for group work outside the classroom?

10. How much time do they need for general reading

11. How much time do the students need for presentation?

12. How much time do students make homework?

13. How much time do students need to prepare the test/exam/assessment?

14. How much time do students need to make the test/exam/assessment?

15. Will the students have to do self-study? (No teacher contact?)

16. Do you have specific activities? (How much time do you need for that?)

การให้ข้อเสนอแนะ (feedback)

การให้ข้อเสนอแนะ (feedback) เพื่อกระตุ้นให้ครูและนักเรียนให้มีการปรับ/เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอน ให้ดีขึ้น เหมาะสมกับรายวิชา และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยในการ feedback นั้น ต้องตรงประเด็น เฉพาะเจาะจง ไม่ทำให้ผู้ที่ถูก feedback รู้สึกถูกคุกคาม ต้องมีความเคารพซึ่งกันและกันทั้งผู้ที่ feedback และ ผู้ที่ถูก feedback สถานที่ที่ใช้ ผู้ถูก feedback ต้องรู้สึกว่า ตนเองปลอดภัย เงียบสงบ และ ต้องใช้เวลาในการ feedback เหมาะสมไม่นานจนเกินไป จึงจะทำให้การ feedback นั้น มีประสิทธิภาพ และเกิดผลประโยชน์สูงสุด

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

- ขยายผลการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ในรายวิชาต่าง ๆ ตามกลุ่มวิชา คือ

กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบริหารการพยาบาล กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช กลุ่มวิชาการพยาบลสูติศาสตร์ กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และกลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป

- ขยายผลให้อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนแบบ active learning

- ใช้หลัก SMART GOAL ในการเขียนแผนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

R การเรียนการสอน

การบริการวิชาการ

การพัฒนาบุคลากร Rการวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารงาน

การพัฒนานักศึกษา อื่นๆโปรดระบุ

-ด้านสมรรถนะ

การวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ

  (492)

หลักสูตร ประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ การบูรณาการ การจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน

หลักสูตร ประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ การบูรณาการ การจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :

 ผู้บันทึกนายสุทัศน์  เหมทานนท์

 กลุ่มงาน : รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

 ฝ่าย :  บริหาร

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   ๑๑ – ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


หน่วยงาน/สถาบันที่จัด
:


สถานที่จัด
:   สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข


เรื่อง
: หลักสูตร ประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ การบูรณาการ การจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน

 รายละเอียด

การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มีประชาคมประกอบด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมีแนวทางร่วมกันดังนี้ การเป็นตลาดและเป็นฐานผลิตเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง เป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดใน AEC คือ การค้าขาย การค้าขายบริเวณชายแดน อุตสาหกรรมโรงแรม แรงงาน การท่องเที่ยว ภาษาที่ใช้ในประชาคมอาเซียน สมองไหล อุตสาหกรรมอาหารไทยจะก้าวหน้า ภายใต้ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจใหม่ นักศึกษาและบัณฑิตต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมที่ไร้พรมแดนและเพื่อรองรับ AEC นักศึกษา พร้อมที่จะเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม การศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี โท เอก ต้องกระตุ้นการเปลี่ยนโลกทัศน์รวมทั้งนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศก็ต้องมีมิติโลก นำความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนให้นักศึกษาและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งมีความตระหนักอันจะทำให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะเข้าสู้อาเซียน นำไปจัดกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวกับบุคลากร การเรียนเพิ่มเติมด้านภาษาอังกฤษ

 

 

  (321)