การจัดทำมาตรฐานครุภัณฑ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ครั้งที่ ๓

การจัดทำมาตรฐานครุภัณฑ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ครั้งที่ ๓
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 12 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 14 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดทำมาตรฐานครุภัณฑ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ครั้งที่ ๓
  วันที่บันทึก  5 ส.ค. 2554

 รายละเอียด
จากการประชุมได้เกณฑ์การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่าย หมวดงบลงทุน        (ค่าครุภัณฑ์)  ดังนี้ขั้นตอนการจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายหมวดงบลงทุน (ค่าครุภัณฑ์)

ในการจัดทำคำของบประมาณค่าครุภัณฑ์ หน่วยงานควรดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

๑)      กำหนดลำดับความสำคัญของโปรแกรมวิชา/กิจกรรม

๒)      จัดทำกรอบรายการครุภัณฑ์ที่จำเป็นของแต่ละโปรแกรมวิชา/กิจกรรม

๓)   จัดทำรายละเอียดคำขอตั้งครุภัณฑ์ของแต่ละโปรแกรม/กิจกรรม โดยกำหนดรายการ คุณลักษณะ ราคา จำนวนที่ต้องการ และอื่นๆ ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ และขอให้จัดเรียงลำดับของครุภัณฑ์แต่ละรายการด้วย

 

การจัดทำรายละเอียดครุภัณฑ์แต่ละรายการ   มีหลักการดังต่อไปนี้

๑)      ชื่อครุภัณฑ์ควรเป็นภาษาไทย และเป็นชื่อกลางๆ ที่สื่อความหมายได้

๒)   ครุภัณฑ์ที่ใช้ด้วยกันควรจัดตั้งงบประมาณเป็นชุด เพื่อป้องกันการได้รับงบประมาณเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่งแล้วไม่สามารถใช้งานได้ แต่หากเป็นชุดที่มี่ราคาสูง ควรมีรายละเอียดและราคาของแต่ละชิ้นอย่างชัดเจน  ซึ่งการตั้งงบประมาณเป็นชุดนี้ ขอให้เป็นครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันอย่างแท้จริง มิใช่เพียงนำครุภัณฑ์หลายๆ อย่างมาตั้งงบประมาณรวมกัน

๓)   กำหนดคุณลักษณะ (Specification) ของ ครุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับภารกิจและการใช้งาน หากเป็นครุภัณฑ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีมาตรฐาน ขอให้ใช้คุณลักษณะตามบัญชีมาตรฐาน แต่หากหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ครุภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่มีคุณลักษณะสูงกว่าหรือ แตกต่างไปจากในบัญชีราคามาตรฐาน ขอให้จัดซื้อด้วยเงินนอกงบประมาณ  เนื่องจากสำนักงบประมาณจะอนุมัติงบประมาณตามบัญชีราคามาตรฐานเท่านั้น

๔)      กำหนดราคาครุภัณฑ์ให้เหมาะสม คือ

-          หากเป็นครุภัณฑ์ตามบัญชีราคามาตรฐาน ต้องตั้งตามบัญชีราคามาตรฐาน

-          ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ต้องตั้งตามราคากลางของสำนักงบประมาณ (หากมี)

-          ครุภัณฑ์อื่นๆ  ตั้งราคาตามคุณลักษณะและราคาที่สามารถจัดซื้อได้   โดยควรมีการสืบราคาก่อน

๕)   เขียนคุณลักษณะของครุภัณฑ์ให้ชัดเจนและครบถ้วน เพียงพอที่จะชี้แจงถึงความเหมาะสมของราคาและคุณประโยชน์ของครุภัณฑ์นั้น  ขอให้เขียนให้สั้น  กระชับ  ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดมากเกินไปแต่สาระสำคัญครบถ้วน  ที่สำคัญประการหนึ่งคือขอให้เขียนเป็นภาษาไทย

ระบุเหตุผลความจำเป็นของรายการจัดซื้อครุภัณฑ์ทุกรายการอย่างชัดเจน     สามารถ ชี้แจงผู้เกี่ยวข้องให้เห็นพ้องและเชื่อถือว่าครุภัณฑ์มีความจำเป็นอย่างแท้ จริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครุภัณฑ์การเรียนการสอน ควรบอกรายชื่อวิชา/โปรแกรมวิชาและจำนวนผู้ใช้ครุภัณฑ์นั้นๆ กรณีเป็นโปรแกรมวิชาเปิดใหม่ ขอให้แจ้งปีแรกที่เปิดสอน

 

ที่ประชุม  ได้ข้อสรุปเกณฑ์ในการจัดทำคำของบประมาณครุภัณฑ์ ดังนี้

๑. คำขอรายการครุภัณฑ์ เรียงลำดับความสำคัญตามความจำเป็น

๒. ราคาครุภัณฑ์ต่อหน่วย ตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท

๓. วงเงินรวม ต่อ วิทยาลัย ต่อปี ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

๔. ราคาครุภัณฑ์ ใช้ราคาตามปีงบประมาณที่จัดทำคำของบประมาณ

๕. ครุภัณฑ์ที่มีราคาต่อหน่วย ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ส่วนกลางควรจัดหาให้ในลักษณะจัดทำเป็นโครงการ และจัดให้กับทุกวิทยาลัย ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนั้นๆ

๖. ในการพิจารณาจัดสรรให้เท่าเทียมกันทุกวิทยาลัย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ครุภัณฑ์การศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

(329)

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
 ผู้บันทึก :  นางชุติมา รักษ์บางแหลม
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 12 ม.ค. 2553   ถึงวันที่  : 15 ม.ค. 2552
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  -
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
  วันที่บันทึก  18 ก.พ. 2553


 รายละเอียด
               กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ การหาหัวข้อการวิจัย คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย และการทบทวนวรรณกรรม ความคิดจะทำวิจัยมาจากไหน ? 1.การสังเกต ปรากฏการณ์ธรรมชาติ, ปรากฏการณ์ทางสังคม 2. การสนทนา / อภิปราย / สัมมนา ฯลฯ 3. ความสนใจส่วนตัว / ความอยากรู้ / จินตนาการ 4. ความไม่รู้ / ขาดองค์ความรู้ที่พอเพียง 5. รายงานการวิจัย /วิทยานิพนธ์ / ข่าวหนังสือพิมพ์ 6. หน่วยงานให้ทุน 7. ปัญหาในหน่วยงาน/ชุมชน เป็นต้น แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย (4P’s) 1. People ประชากรที่ศึกษา ตัวบุคคล, องค์กร, กลุ่มคน, ชุมชนตัวบุคคล, องค์กร, กลุ่มคน, ชุมชน 2. Problem ประเด็นที่ศึกษา ประเด็นปัญหา, สถานการณ์, ความต้องการ, ความสัมพันธ์, องค์ประกอบประชากร ฯลฯ 3. Program โครงสร้าง, ประสิทธิภาพ, ผลที่ได้, คุณลักษณะ, ความพอใจ, ผู้บริโภค, ผู้ให้บริการ ฯลฯ 4. Phenomena สาเหตุและผลกระทบของความสัมพันธ์, ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ฯลฯ อะไรคือปัญหาวิจัย ? 1. มีช่องว่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่และสิ่งที่ควรจะเป็น 2. เกิดคำถามว่าทำไมจึงมีช่องว่างเช่นนี้ 3. มีคำตอบแก่คำถามอย่างน้อย 2 คำตอบ คำถามวิจัย คำถามวิจัย หมายถึง ข้อความที่ระบุถึงสาระของประเด็นวิจัยที่ชัดเจน ในรูปของประโยคคำถาม 1. คำถามวิจัยหลัก (primary research question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุด และต้องการคำตอบมากที่สุด (มีได้มากกว่า 1 คำถาม) 2. คำถามวิจัยรอง (secondary research question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบเช่นกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา (มีได้มากกว่า 1 คำถาม) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เป้าหมายที่ผู้วิจัยตั้งไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นในการทำวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. วัตถุประสงค์หลัก (main objective) 2. วัตถุประสงค์รอง (sub objective) หลักการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องใช้ข้อความที่ชัดเจน ไม่กำกวม บอกวัตถุประสงค์ หรือความต้องการว่าจะทำอะไร อย่างไร กับใคร ตัวอย่าง คำที่ใช้เขียนขึ้นต้นวัตถุประสงค์ของการวิจัย – เพื่อสำรวจเบื้องต้น ทดสอบ เปรียบเทียบ ค้นหา กำหนด ตรวจสอบ ระบุ ยืนยัน วัดผล อธิบาย บรรยาย ทดลอง เป็นต้น การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ความหมาย : การคัดเลือกเอกสาร (ทั้งที่เป็นสิ่งตีพิมพ์และไม่ใช่สิ่งตีพิมพ์) ตามหัวข้อที่ผู้วิจัย หรือนักศึกษาสนใจ เอกสารเหล่านี้มีสาระ ความคิด ข้อมูล และหลักฐานที่เขียนจากจุดยืนที่มีเป้าหมาย และแสดงความ คิดเห็นในหัวข้อนั้น รวมทั้งแสดงว่าหลักฐานนั้น ได้มาอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการประเมินเอกสารเหล่านี้ในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย / หัวข้อวิทยานิพนธ์ จะไปทบทวนวรรณกรรมจากที่ไหน 1. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2. บรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย 3. บรรณานุกรม (ท้ายเล่มเอกสารที่เกี่ยวข้อง) 4. World Wide Web 5. Social Science citation index 6. เพื่อนนักศึกษา (อดีตและปัจจุบัน) ขั้นตอนการทำวิจัยและการทบทวนวรรณกรรม 1. ค้นหาหัวข้อวิจัย: อ่านเอกสารที่ให้ข้อมูลกว้างๆ เป็นภูมิหลัง (เช่น หนังสือพิมพ์, ตำรา, อินเตอร์เน็ต) 2. พัฒนาคำถามวิจัย : อ่านเอกสารที่มีข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้ได้เกิดคำถามที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการ 3. ระบุเหตุผลของการทำวิจัย : อ่านเอกสารที่มีบริบท/ภูมิหลังทางวิชาการ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการ ทำวิจัย 4. ค้นทฤษฎีมาสนับสนุน : อ่านงานทฤษฎีที่คลาสิกและร่วมสมัย อาจเกี่ยวข้องโดยตรง หรือขยาย แนวความคิดในการทำวิจัย 5. ออกแบบวิธีวิจัย : ทบทวนการศึกษาก่อนหน้าที่ระบุวิธีวิจัยต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกและอ่านวิธีการ เฉพาะที่จะนำมาใช้ 6. ทบทวนวรรณกรรม : จำเป็นต้องทบทวนงานวิจัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับ/ใกล้เคียงกับเรื่องนี้ มักใช้ บทความในวารสาร รูปแบบการทบทวนวรรณกรรม 1. ทบทวนเพื่อรู้ (Self Study Review) 2. ทบทวนบริบท (Context Review) 3. ทบทวนตามประวัติความเป็นมา (Historical Review) 4. ทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) 5. ทบทวนวิธีการวิจัย (Methodological Review) 6. ทบทวนแบบบูรณาการ (Integrative Review) กรอบแนวคิด และ การสร้างแนวคำถาม กรอบแนวคิด หรือ แนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) คือ ความเชื่อหรือข้อสรุปเบื้องต้นของนักวิจัยว่าสิ่งที่จะศึกษานั้นน่าจะเป็น อย่างไร เป็นการประมวลความคิดรวบยอด (Concept) จากการทบทวนองค์ความรู้ ทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสบการณ์และแนวความคิดของผู้วิจัย มาสร้างเป็นแบบจำลอง เพื่อให้แนวทางการวิจัย แนวความคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ -Maxwell (1996) เรียกว่าเป็น ทฤษฏีชั่วคราว (tentative theory) เกี่ยวกับสิ่งที่เราศึกษา จะเป็นแนวทางในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เราศึกษา ว่าเพราะเหตุใดจึงน่าจะเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างที่เราคิด ขณะเดียวกันก็ให้แนวทางในการทำวิจัยว่าเราจะต้องหาข้อมูลอะไรมาพิสูจน์ให้ ประจักษ์ตามแบบจำลองคำอธิบายในกรอบความคิดของเรา “การวิจัยเชิงคุณภาพถือว่า กรอบแนวคิดทฤษฏีไม่ใช่สิ่งที่จะยึดตายตัว แต่ถือเป็นเพียงแนวทางสำหรับหาคำตอบในการวิจัยที่สามารถยืดหยุ่น หรือปรับได้ เมื่อมีหลักฐานคือข้อมูลที่ชี้ว่าควรปรับ ” แนวคำถาม (Interview Guide, Guidelines) – เป็นรายการของประเด็นที่จะศึกษา โดยผู้วิจัยนำมาเป็นหัวข้อการสนทนา ครอบคลุมเนื้อหาของข้อมูลที่ต้องการ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ – เปรียบเสมือนแผนที่ / เครื่องมือช่วยเตือนความจำในการรวบรวมข้อมูล – เป็นเค้าโครงของการสนทนา ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ – มีความยืดหยุ่น ผู้สัมภาษณ์สามารถแทรก หรือตัดคำถาม ให้เหมาะสมกับบรรยากาศกลุ่ม หรือกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการสร้างแนวคำถาม 1. ทบทวนวรรณกรรมและสร้างกรอบแนวคิด 2. นำกรอบแนวคิดมาจำแนกเป็นประเด็นใหญ่ๆ 3. แบ่งประเด็นใหญ่เป็นคำถามหรือประเด็นสนทนา 4. พิจารณาคำถามที่จะใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลนั้นๆ (ตั้งคำถามหลัก และคำถามย่อยสำหรับซักถามต่อเนื่อง ในแต่ละประเด็น) 5. รวบรวมประเด็นและคำถาม เป็นร่างแนวคำถามแรก 6. ตรวจสอบ ปรับปรุง โดยผู้รู้ 7. ทดสอบแนวคำถาม (Pretest) เพื่อดูความราบรื่นและคำตอบที่ได้รับ 8. แก้ไขปรับปรุง (เพิ่ม/ลด/ปรับ/เรียงลำดับ) ลักษณะของคำถาม 1. เป็นคำถามเปิด ที่กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น เล่าประสบการณ์ แสดงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ศึกษา 2. ไม่ใช้คำถามที่จะตอบได้เพียง 2 คำตอบ เช่น “ถูก” / “ผิด” หรือ “ใช่” / “ไม่ใช่” 3. เป็นคำถามที่ไม่เป็นการถามนำ หรือเสนอแนะให้ตอบในแนวทางที่วางไว้ 4. ไม่เป็นคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความรู้สึกอับอาย กลัวเสื่อมเสีย ไม่อยากตอบ 5. ควรเป็นคำถามที่ผู้ตอบสามารถตอบได้บนพื้นฐานความรู้ของตนเอง 6. ในแต่ละคำถามควรมีข้อถามเพียงประเด็นเดียว 7. ควรเน้นคำถามที่เป็นเรื่องความคิดเห็น หรือ เหตุผล ทีสามารถอธิบายคำตอบ เช่น HOW? WHY ? 8. ไม่เน้นคำถามที่ต้องตอบเป็นจำนวน หรือ ปริมาณ เช่น HOW MANY? HOW OFTEN? วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย – การสังเกตและการมีส่วนร่วม – การสัมภาษณ์ระดับลึก – การสนทนากลุ่ม การสังเกต คือการเฝ้าดู ศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ ในสภาพธรรมชาติของสนามการวิจัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้ได้ภาพและความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงองค์ประกอบ และความหมายของพฤติกรรมที่อยู่ร่วมกัน จะต้องมีการวางแนวทางในการสังเกตล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมอะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องค้นหา ประเภทของการสังเกต 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) 2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) การบันทึกข้อมูลจากการสังเกต 1. จดบันทึก เขียนแบบเรียงความ ระบุวันที่ เวลา สถานที่ กลุ่มคน พฤติกรรมที่สังเกต – จดตามประเด็น หรือแบบสังเกต (check list) 2. การถ่ายภาพ สิ่งที่นักวิจัยต้องสังเกต 1. การกระทำ (acts) 2. กิจกรรม (activities) 3. ความหมาย (meaning) 4. ความสัมพันธ์ (relationship) 5. การมีส่วนร่วม (participation) 6. สภาพสังคม (setting) การสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interview) 1) เป็นการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว สามารถสนทนาตอบโต้กันทั้งสองฝ่าย (two-way communication) 2) ผู้วิจัยกำหนดประเด็นต่างๆ ไว้ล่วงหน้าและพยายามซักถามให้ได้ตามประเด็นที่กำหนด 3) สามารถเจาะหาข้อมูลของเรื่องที่ต้องการศึกษาเฉพาะเรื่องได้มากกว่าการเก็บ ข้อมูลแบบอื่นๆ จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือหารายละเอียดของประเด็นเพิ่มเติม 4) ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็น/ให้ข้อมูลได้เต็มที่โดยไม่มีอิทธิพลของบุคคล อื่นมารบกวน 5) สัมภาษณ์ / เก็บข้อมูลจากบุคคลที่เป็นผู้รู้ หรือมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ ที่เรียกว่าผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) เช่น นักการเมือง ผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน ผู้รู้ในชุมชน 6) เลือกสัมภาษณ์จำนวนไม่กี่คน 7) มีการบันทึกข้อมูลระหว่างการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการนั่งสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ เฉพาะเจาะจง มีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้าง ขวาง ลึกซึ้ง และละเอียด ต้องสร้างบรรยากาศกลุ่มให้เกิดพลวัตร มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบโต้ตอบซึ่งกันและกัน องค์ประกอบสำคัญของการจัดสนทนากลุ่ม 1) บุคลากร – ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) – ผู้จดบันทึก (Note taker) – ผู้ช่วย (assistant) 2) แนวคำถาม 3) อุปกรณ์สนาม – เครื่องบันทึกเสียง – อุปกรณ์สำหรับจดบันทึก – อุปกรณ์เสริมบรรยากาศ 4) สถานที่ ขั้นตอนในการจัดสนทนากลุ่ม ก่อนจัดสนทนากลุ่ม 1. สำรวจผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการศึกษา 2. คัดเลือกคนที่จะเข้ามาสนทนากลุ่ม โดยใช้ Screening form 3. จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม 4. ทาบทาม เชิญชวนให้มาร่วมสนทนา 5. นัดหมาย เวลาและสถานที่ ขั้นตอนในการจัดสนทนากลุ่ม ขณะจัดสนทนากลุ่ม 1. เชิญให้เข้านั่งในกลุ่ม 2. แนะนำคณะผู้วิจัยและแจ้งวัตถุประสงค์ของการสนทนา 3. ขอให้ผู้ร่วมสนทนาแนะนำตัว 4. สร้างบรรยากาศความไว้วางใจ และเป็นกันเอง 5. ขออนุญาตบันทึกเสียง (และภาพหากต้องการบันทึก) 6. เปิดโอกาสให้ซักถามก่อน 7. เริ่มการสนทนา โดยยึดแนวคำถามจนครบถ้วน 8. จบการสนทนา และเปิดโอกาสให้ซักถามอีกครั้ง 9. แสดงความขอบคุณ (และมอบของสมนาคุณ) การตรวจสอบสามเส้า TRIANGULATION เป็นวิธีการตรวจสอบ หรือเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูล 1. ใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายวิธี 2. มีผู้ให้ข้อมูล / ใช้แหล่งข้อมูลหลายแหล่ง 3. มีผู้เก็บข้อมูลหลายคน 4. ใช้แนวคิด ทฤษฎีหลายแนวคิด ประเด็นจริยธรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีโอกาสก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ให้ข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากมีการติดต่อโดยตรงกับผู้ให้ข้อมูล มีโอกาสได้รับข้อมูลเชิงลึก ที่อาจเป็นความลับส่วนตัวที่ปกติจะไม่เปิดเผยให้ใครได้รับทราบ แต่ก็ได้เปิดเผยโดยไม่รู้ตัว หรือ ไม่ตระหนักว่ากำลังกระทำเช่นนั้นอยู่ และมีผู้ให้ข้อมูลจำนวนไม่มาก และมักถูกเลือกโดยการเจาะจง ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการนำเสนอ โดย การปกป้องสวัสดิภาพและเกียรติภูมิของบุคคลที่เราศึกษาวิจัย ตลอดจนองค์กรหรือสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา หลักการเขียนรายงานการวิจัย จะต้องรายงานตามความเป็นจริงของข้อมูลที่ได้รับ และได้วิเคราะห์ แปลความหมาย อย่างปราศจากอคติ ผู้เขียนไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดทิ้งข้อมูลหรือเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไปใน เนื้อข้อมูล ขั้นตอนการเตรียมเขียนรายงาน 1. เตรียมเนื้อหาของรายงาน พิจารณาเนื้อหาที่จะครอบคลุม ความต่อเนื่อง และประเด็นที่ ต้องการเน้น ช่วยให้รายงานทั้งฉบับเป็นระบบและต่อเนื่องกันไปทุกบท 2. วางเค้าโครงของรายงาน ช่วยให้บรรจุเรื่องต่างๆ ที่ครบถ้วนตามหลักการเขียนรายงาน 3. กำหนดประเภทของผู้อ่าน เพื่อกำหนดวิธีการเสนอผลการวิจัยที่เหมาะสมกับผู้ใช้ข้อมูล(ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ ชาวบ้าน) ทั้งประเภทของสื่อ รายงาน และภาษา องค์ประกอบของรายงาน 1. ชื่อเรื่อง 2. บทคัดย่อหรือสาระสังเขป (abstract) 3. บทนำ 4. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5. ระเบียบวิธีวิจัย 6. ผลการศึกษา 7. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 8. ส่วนอื่นๆ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิจัยทางการพยาบาล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตงานวิจัยต่อไป

(416)

การพัฒนาวิชาการผู้บริหาร

การพัฒนาวิชาการผู้บริหาร
ผู้บันทึก :  นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 24 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 24 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาวิชาการผู้บริหาร
  วันที่บันทึก  26 ก.ค. 2554

 รายละเอียด
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ โครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดโครงการบัณฑิตคืนถิ่นที่จังหวัด สงขลา โดยให้ผู้อำนวยการและคณะร่วมเป็นเจ้าภาพจัดวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์๑.๒ ปี ๒๕๕๕ กระทรวงให้ผลิตพยาบาลเพิ่ม (๑๑๐๐ คน) เพิ่มภายใน ๖ ปี (ปีพ.ศ. ๒๕๕๕ -๒๕๖๐) เพื่อลงปฏิบัติงานที่ รพ.ส.ต. รับโดยมีเงื่อนไขขออาจารย์แลกเปลี่ยนจากระบบบริการให้วางแผนเป็นรายจังหวัด

๑.๓ ทางสบช. มีโปรแกรมในการประมวลผลข้อมูลเงินเดือน โดยทาง สบช.จะจัดส่งรหัส และตัวคู่มือให้ สามารประมวลข้อมูลได้และส่งมาที่ส่วนกลางได้เลย

๑.๔ อัตลักษณ์ของ สบช.  บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

                S = Service

                A= Analytical thinking

                P= Participation / patient right

 

(322)

จริยธรรมการวิจัยและการวิจัยในมนุษย์

จริยธรรมการวิจัยและการวิจัยในมนุษย์
ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 28 ม.ค. 2553   ถึงวันที่  : 29 ม.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  -
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  จริยธรรมการวิจัยและการวิจัยในมนุษย์
  วันที่บันทึก  17 ก.พ. 2553


 รายละเอียด
               การวิจัยที่กระทำในมนุษย์ หมายถึง การวิจัยใดๆที่เกี่ยวข้องกับตัวมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยทางการแพทย์ที่กระทำต่อ ตัวผู้ป่วย บุคคลทั่วไป (อาสาสมัคร) ที่มีสุขภาพดี การศึกษาจากสิ่งส่งตรวจ ประวัติข้อมูลความเจ็บป่วยของบุคคลหรือการสัมภาษณ์ความคิดเห็น การศึกษาพฤติกรรมในเชิงสังคมจิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวหรือการยินยอมโดยได้รับข้อมูล (informed consent) ความหมาย การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวหรือการยินยอมโดยได้รับข้อมูล (informed consent) ของผู้เข้าร่วมการวิจัย หมายถึง การที่บุคคลผู้เข้าร่วมการวิจัย (participants) ได้รับการอธิบายรายละเอียดของโครงการ ครอบคลุมทุกประเด็นอย่างชัดเจน ไม่มีสิ่งใดปิดบังซ่อนเร้น เป็นการอธิบายด้วยภาษาง่ายๆที่คนธรรมดาทั่วไป (ไม่ใช่นักวิชาการ) สามารถเข้าใจได้ มีโอกาสซักถามและได้รับคำตอบเป็นที่พอใจ แล้วจึงลงนามยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร การขอความยินยอมที่เป็นการยินยอมอย่างแท้จริง เป็นหน้าที่ทางจริยธรรม และเป็นเงื่อนไขทางจริยธรรม (moral obligation) ของผู้วิจัยที่ต้องดำเนินการ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานวิจัยเรื่องนี้เป็นไปตามหลักจริยธรรมของการวิจัยในคน ตามคำประกาศของแพทย์สมาคมโลก ณ เมืองเฮลซิงกิ สืบทอดมาจนถึงการประชุมครั้งล่าสุด เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2008 ณ เมือง เซอูล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งยังย้ำความสำคัญของเรื่องนี้ กระบวนการขอความยินยอม กระบวนการขอความยินยอมเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูล คือ การอธิบายโครงการวิจัย การแจกเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัย การเปิดโอกาสให้ซักถาม การเชิญชวนเข้าร่วมการวิจัย และการลงนามในเอกสารยินยอม ภายหลังจากบุคคลที่จะเข้าร่วมการวิจัยสมัครใจยินยอมเข้าร่วมโครงการ หลักการพื้นฐานของจริยธรรมการวิจัย 1. หลักการเคารพในบุคคล แสดงโดยการเคารพในศักดิ์ศรีของคนหรือกลุ่มชน จาก 1.1 การขอคำยินยอมโดยบอกกล่าวและให้อิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย (Respect for free and informed consent) 1.2 การไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว (Respect for privacy) เช่น ไม่รุกล้ำร่างกาย หรือไม่ถามเรื่องส่วนตัวโดยไม่จำเป็นต่อการวิจัย หรือไม่ขอคำยินยอม 1.3 การเก็บรักษาความลับผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Respect for confidentiality) 1.4 การดูแลกลุ่มศึกษาที่เปราะบางอย่างเหมาะสมและดำเนินการด้วยความระมัดระวัง (Respect for vulnerable person) เช่น เด็กและผู้เยาว์ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยวิกฤติ 1.5 ไม่มีส่วนลบหลู่ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมใด ๆ ในโครงการวิจัย 2. หลักการให้คุณประโยชน์ แสดงโดยการปรับโครงการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความเสี่ยงหรือภยันตราย น้อยที่สุด (Balancing risk and benefit: Minimizing risk, Maximizing benefit) 2.1 หลักการและเหตุผลที่ต้องทำวิจัย การออกแบบวิจัย ได้มาซึ่งคำตอบต่อคำถามการวิจัยได้อย่างถูกต้อง (Scientific merit) 2.2 ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับโดยตรงการรักษาหรือวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับเงินตอบแทน รางวัล (remuneration) ที่ให้กับผู้ป่วย/อาสาสมัคร 2.3 ประโยชน์ที่ผู้ป่วยคนอื่น ๆ จะได้รับจากผลการศึกษา 2.4 ประโยชน์ที่วงการวิทยาศาสตร์ได้รับ 2.5 ประโยชน์เหนือว่าภยันตรายที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ป่วย/อาสาสมัคร และชุมชน 2.6 ผลเสียทางกาย (Physical harm) เช่น เจ็บเล็กน้อยจากเข็มฉีดยา อันตรายจากผลข้างเคียงของยา การบาดเจ็บจากการผ่าตัด หรือ ความไม่สะดวกสบาย (discomfort) จากการต้องลืมตาโดยไม่กระพริบนาน 10 นาทีเป็นต้น 2.7 ผลเสียทางใจ (Psychological harm) ได้แก่ ความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เกิด ภาพหลอน ฯลฯ ซึ่งเป็นผลของยา ความอับอาย เช่น การถามผู้ป่วย/อาสาสมัครเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด การวิจัยที่ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคร้ายแรง โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดถึงบุตรหลาน เป็นต้น 2.8 ผลเสียต่อฐานะทางการเงินและสถานะทางสังคมของผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Social and Economic harms) เช่น การเข้าร่วมโครงการวิจัยทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นมากเกินจำเป็น เสียเวลาโดยไม่มีค่าชดเชย เป็นต้น 2.9 ผลเสียต่อสถานะสังคม การจ้างงาน ของผู้ป่วย/อาสาสมัคร การรับโทษทางกฎหมาย การสูญเสียสิทธิด้านประกันชีวิต ฯลฯ 2.10 ผลการวิจัยไม่ทำลายความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 3. หลักความยุติธรรม แสดงโดย 3.1 ไม่แบ่งแยกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ ฐานะ เชื้อชาติ สีผิว เพื่อให้การกระจายประโยชน์และความเสี่ยงเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม (Distributive justice) 3.2 การให้ยารักษาฟรีแก่กลุ่มตัวอย่างต่อไปอีกระยะหนึ่งหลังเสร็จสิ้นการวิจัยไป แล้ว 3.3 กระบวนการพิจารณาเชิงจริยธรรมที่มีมาตรฐานและโปร่งใส เช่น การแสดงผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) ขั้นตอนการพิจารณาที่เที่ยงธรรม เอกสารคำอธิบายโครงการ หัวใจสำคัญของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัย คือ “การให้ข้อมูลที่ละเอียดและชัดเจน” แก่ผู้ที่จะสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย หรือยินยอมตนเข้าร่วมการวิจัย เพื่อสามารถตัดสินใจยินยอมอย่างอิสระและอย่างแท้จริง ประเด็นสำคัญที่ต้องเขียนในเอกสารคำอธิบายโครงการ หลักการสากลที่คำประกาศของเฮลซิงกิได้ให้แนวทางไว้ว่า มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1. ความเป็นมา 2. วัตถุประสงค์ 3. วิธีการวิจัย 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5. ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 6. ค่าตอบแทน 7. การชดเชย 8. การถอนตัว 9. การรักษาความลับ 10. ทางเลือกอื่นถ้าไม่เข้าร่วมการวิจัย 11. ประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ข้อแนะนำในการเขียนเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัย 1. ทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วม โครงการให้ชัดเจน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ 2. พิจารณาโครงการของตนว่า ประชากรที่จะเข้าร่วมการวิจัยมีลักษณะอย่างไร ระดับความรู้ ความสามารถในการเข้าใจ 3. ศึกษารูปแบบโครงสร้างของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยของสถาบันที่ผู้วิจัยจะ ต้องขอการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรม 4. การใช้ภาษา ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้า ร่วมโครงการ สภาองค์กรนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (CIOMS) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเรื่องนี้ว่า ภาษาที่ใช้ต้องไม่ใช่ภาษาวิชาการ หรือคำศัพท์เฉพาะที่ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป แต่ต้องพิจารณาจากระดับความรู้ ความสามารถในการเข้าใจ รวมถึงอายุของผู้ที่จะอ่าน การใช้ภาษา จึงควรเป็นภาษาธรรมดาที่ง่ายที่สุดที่ทำให้คนธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจ รู้เรื่องก่อนการตัดสินใจ นอกจากนี้จะต้องใช้ภาษาไทยตามวัฒนธรรมการใช้ภาษาของคนไทย ไม่ควรแปลจากภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำ เพราะอาจขัดต่อความเป็นอิสระของบุคคล เช่น ข้อความ “ท่านถูกขอให้เข้าร่วมวิจัย” ภาษาไทยควรเป็น “ท่านได้รับเชิญชวนให้เข้าร่วมวิจัย” 5. การอธิบายเรื่อง “ทางเลือกอื่น” และ “ความเสี่ยง” โครงการวิจัยในคนที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ จะต้องมีหัวข้อที่อธิบายแก่ผู้ที่จะเชิญชวนเข้าร่วมการวิจัยว่า “ถ้าท่านปฏิเสธเข้าร่วมโครงการนี้ ท่านจะได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่ท่านเคยได้รับ หรือ ท่านอาจเลือกไปรับการรักษาที่…………………. ส่วนหัวข้อ “ความเสี่ยง” จะครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้วิจัยพึงคำนึงถึงความไม่สะดวกสบายทางจิตใจ ความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความรู้สึกอึดอัด กังวล อาย การเสียเวลา ผู้วิจัยจะต้องอธิบายว่ามีแนวทางแก้ไขอย่างไร 6. การเขียนเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นเด็ก การให้ความยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยของเด็ก สำหรับประเทศไทย เยาวชนที่อายุครบ 18 ปี สามารถให้ความยินยอมด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย ในทางปฏิบัติแล้ว เด็กที่อายุ 7 ปีขึ้นไปถึง 13 ปี เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ระดับความสามารถในการรับรู้ ความเข้าใจอาจแตกต่างกัน หลักจริยธรรมสากลของการเคารพสิทธิของเด็ก สิทธิของเด็กถือเป็นข้อแนะนำว่า ผู้วิจัยจะต้องขอความยินยอมจากตัวเด็กด้วย ซึ่งเรียกว่า ข้อตกลงยินยอม (assent) ซึ่งจะต้องจัดทำเอกสารคำอธิบายที่เหมาะสมกับความเข้าใจของเด็ก ใช้ภาษาที่เด็กสามารถเข้าใจได้ หรืออาจใช้ภาพการ์ตูนประกอบ สาระสำคัญที่ควรจะต้องบอกแก่เด็กก็ควรครบถ้วนเช่นเดียวกัน การวิจัยที่กระทำในมนุษย์ หมายถึง การวิจัยใดๆที่เกี่ยวข้องกับตัวมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยทางการแพทย์ที่กระทำต่อ ตัวผู้ป่วย บุคคลทั่วไป (อาสาสมัคร) ที่มีสุขภาพดี การศึกษาจากสิ่งส่งตรวจ ประวัติข้อมูลความเจ็บป่วยของบุคคลหรือการสัมภาษณ์ความคิดเห็น การศึกษาพฤติกรรมในเชิงสังคมจิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวหรือการยินยอมโดยได้รับข้อมูล (informed consent) ความหมาย การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวหรือการยินยอมโดยได้รับข้อมูล (informed consent) ของผู้เข้าร่วมการวิจัย หมายถึง การที่บุคคลผู้เข้าร่วมการวิจัย (participants) ได้รับการอธิบายรายละเอียดของโครงการ ครอบคลุมทุกประเด็นอย่างชัดเจน ไม่มีสิ่งใดปิดบังซ่อนเร้น เป็นการอธิบายด้วยภาษาง่ายๆที่คนธรรมดาทั่วไป (ไม่ใช่นักวิชาการ) สามารถเข้าใจได้ มีโอกาสซักถามและได้รับคำตอบเป็นที่พอใจ แล้วจึงลงนามยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร การขอความยินยอมที่เป็นการยินยอมอย่างแท้จริง เป็นหน้าที่ทางจริยธรรม และเป็นเงื่อนไขทางจริยธรรม (moral obligation) ของผู้วิจัยที่ต้องดำเนินการ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานวิจัยเรื่องนี้เป็นไปตามหลักจริยธรรมของการวิจัยในคน ตามคำประกาศของแพทย์สมาคมโลก ณ เมืองเฮลซิงกิ สืบทอดมาจนถึงการประชุมครั้งล่าสุด เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2008 ณ เมือง เซอูล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งยังย้ำความสำคัญของเรื่องนี้ กระบวนการขอความยินยอม กระบวนการขอความยินยอมเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูล คือ การอธิบายโครงการวิจัย การแจกเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัย การเปิดโอกาสให้ซักถาม การเชิญชวนเข้าร่วมการวิจัย และการลงนามในเอกสารยินยอม ภายหลังจากบุคคลที่จะเข้าร่วมการวิจัยสมัครใจยินยอมเข้าร่วมโครงการ หลักการพื้นฐานของจริยธรรมการวิจัย 1. หลักการเคารพในบุคคล แสดงโดยการเคารพในศักดิ์ศรีของคนหรือกลุ่มชน จาก 1.1 การขอคำยินยอมโดยบอกกล่าวและให้อิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย (Respect for free and informed consent) 1.2 การไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว (Respect for privacy) เช่น ไม่รุกล้ำร่างกาย หรือไม่ถามเรื่องส่วนตัวโดยไม่จำเป็นต่อการวิจัย หรือไม่ขอคำยินยอม 1.3 การเก็บรักษาความลับผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Respect for confidentiality) 1.4 การดูแลกลุ่มศึกษาที่เปราะบางอย่างเหมาะสมและดำเนินการด้วยความระมัดระวัง (Respect for vulnerable person) เช่น เด็กและผู้เยาว์ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยวิกฤติ 1.5 ไม่มีส่วนลบหลู่ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมใด ๆ ในโครงการวิจัย 2. หลักการให้คุณประโยชน์ แสดงโดยการปรับโครงการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความเสี่ยงหรือภยันตราย น้อยที่สุด (Balancing risk and benefit: Minimizing risk, Maximizing benefit) 2.1 หลักการและเหตุผลที่ต้องทำวิจัย การออกแบบวิจัย ได้มาซึ่งคำตอบต่อคำถามการวิจัยได้อย่างถูกต้อง (Scientific merit) 2.2 ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับโดยตรงการรักษาหรือวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับเงินตอบแทน รางวัล (remuneration) ที่ให้กับผู้ป่วย/อาสาสมัคร 2.3 ประโยชน์ที่ผู้ป่วยคนอื่น ๆ จะได้รับจากผลการศึกษา 2.4 ประโยชน์ที่วงการวิทยาศาสตร์ได้รับ 2.5 ประโยชน์เหนือว่าภยันตรายที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ป่วย/อาสาสมัคร และชุมชน 2.6 ผลเสียทางกาย (Physical harm) เช่น เจ็บเล็กน้อยจากเข็มฉีดยา อันตรายจากผลข้างเคียงของยา การบาดเจ็บจากการผ่าตัด หรือ ความไม่สะดวกสบาย (discomfort) จากการต้องลืมตาโดยไม่กระพริบนาน 10 นาทีเป็นต้น 2.7 ผลเสียทางใจ (Psychological harm) ได้แก่ ความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เกิด ภาพหลอน ฯลฯ ซึ่งเป็นผลของยา ความอับอาย เช่น การถามผู้ป่วย/อาสาสมัครเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด การวิจัยที่ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคร้ายแรง โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดถึงบุตรหลาน เป็นต้น 2.8 ผลเสียต่อฐานะทางการเงินและสถานะทางสังคมของผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Social and Economic harms) เช่น การเข้าร่วมโครงการวิจัยทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นมากเกินจำเป็น เสียเวลาโดยไม่มีค่าชดเชย เป็นต้น 2.9 ผลเสียต่อสถานะสังคม การจ้างงาน ของผู้ป่วย/อาสาสมัคร การรับโทษทางกฎหมาย การสูญเสียสิทธิด้านประกันชีวิต ฯลฯ 2.10 ผลการวิจัยไม่ทำลายความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 3. หลักความยุติธรรม แสดงโดย 3.1 ไม่แบ่งแยกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ ฐานะ เชื้อชาติ สีผิว เพื่อให้การกระจายประโยชน์และความเสี่ยงเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม (Distributive justice) 3.2 การให้ยารักษาฟรีแก่กลุ่มตัวอย่างต่อไปอีกระยะหนึ่งหลังเสร็จสิ้นการวิจัยไป แล้ว 3.3 กระบวนการพิจารณาเชิงจริยธรรมที่มีมาตรฐานและโปร่งใส เช่น การแสดงผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) ขั้นตอนการพิจารณาที่ เที่ยงธรรม เอกสารคำอธิบายโครงการ หัวใจสำคัญของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัย คือ “การให้ข้อมูลที่ละเอียดและชัดเจน” แก่ผู้ที่จะสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย หรือยินยอมตนเข้าร่วมการวิจัย เพื่อสามารถตัดสินใจยินยอมอย่างอิสระและอย่างแท้จริง ประเด็นสำคัญที่ต้องเขียนในเอกสารคำอธิบายโครงการ หลักการสากลที่คำประกาศของเฮลซิงกิได้ให้แนวทางไว้ว่า มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1. ความเป็นมา 2. วัตถุประสงค์ 3. วิธีการวิจัย 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5. ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 6. ค่าตอบแทน 7. การชดเชย 8. การถอนตัว 9. การรักษาความลับ 10. ทางเลือกอื่นถ้าไม่เข้าร่วมการวิจัย 11. ประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ข้อแนะนำในการเขียนเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัย 1. ทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วม โครงการให้ชัดเจน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ 2. พิจารณาโครงการของตนว่า ประชากรที่จะเข้าร่วมการวิจัยมีลักษณะอย่างไร ระดับความรู้ ความสามารถในการเข้าใจ 3. ศึกษารูปแบบโครงสร้างของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยของสถาบันที่ผู้วิจัยจะ ต้องขอการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรม 4. การใช้ภาษา ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้า ร่วมโครงการ สภาองค์กรนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (CIOMS) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเรื่องนี้ว่า ภาษาที่ใช้ต้องไม่ใช่ภาษาวิชาการ หรือคำศัพท์เฉพาะที่ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป แต่ต้องพิจารณาจากระดับความรู้ ความสามารถในการเข้าใจ รวมถึงอายุของผู้ที่จะอ่าน การใช้ภาษา จึงควรเป็นภาษาธรรมดาที่ง่ายที่สุดที่ทำให้คนธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจ รู้เรื่องก่อนการตัดสินใจ นอกจากนี้จะต้องใช้ภาษาไทยตามวัฒนธรรมการใช้ภาษาของคนไทย ไม่ควรแปลจากภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำ เพราะอาจขัดต่อความเป็นอิสระของบุคคล เช่น ข้อความ “ท่านถูกขอให้เข้าร่วมวิจัย” ภาษาไทยควรเป็น “ท่านได้รับเชิญชวนให้เข้าร่วมวิจัย” 5. การอธิบายเรื่อง “ทางเลือกอื่น” และ “ความเสี่ยง” โครงการวิจัยในคนที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ จะต้องมีหัวข้อที่อธิบายแก่ผู้ที่จะเชิญชวนเข้าร่วมการวิจัยว่า “ถ้าท่านปฏิเสธเข้าร่วมโครงการนี้ ท่านจะได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่ท่านเคยได้รับ หรือ ท่านอาจเลือกไปรับการรักษาที่…………………. ส่วนหัวข้อ “ความเสี่ยง” จะครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้วิจัยพึงคำนึงถึงความไม่สะดวกสบายทางจิตใจ ความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความรู้สึกอึดอัด กังวล อาย การเสียเวลา ผู้วิจัยจะต้องอธิบายว่ามีแนวทางแก้ไขอย่างไร 6. การเขียนเอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นเด็ก การให้ความยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยของเด็ก สำหรับประเทศไทย เยาวชนที่อายุครบ 18 ปี สามารถให้ความยินยอมด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย ในทางปฏิบัติแล้ว เด็กที่อายุ 7 ปีขึ้นไปถึง 13 ปี เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ระดับความสามารถในการรับรู้ ความเข้าใจอาจแตกต่างกัน หลักจริยธรรมสากลของการเคารพสิทธิของเด็ก สิทธิของเด็กถือเป็นข้อแนะนำว่า ผู้วิจัยจะต้องขอความยินยอมจากตัวเด็กด้วย ซึ่งเรียกว่า ข้อตกลงยินยอม (assent) ซึ่งจะต้องจัดทำเอกสารคำอธิบายที่เหมาะสมกับความเข้าใจของเด็ก ใช้ภาษาที่เด็กสามารถเข้าใจได้ หรืออาจใช้ภาพการ์ตูนประกอบ สาระสำคัญที่ควรจะต้องบอกแก่เด็กก็ควรครบถ้วนเช่นเดียวกัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำไปเป็นแนวทางการจัดตั้งและการทำงานคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยฯของวิทยาลัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              แนวทางการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

(700)

โครงหาฝึกอบรม หลักสูตรบุคลากรด้านการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง สำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โครงหาฝึกอบรม หลักสูตรบุคลากรด้านการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง สำหรับหน่วยงานภาครัฐ
 ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 27 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานคลังเขต ๘ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงหาฝึกอบรม หลักสูตรบุคลากรด้านการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง สำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  วันที่บันทึก  29 มิ.ย. 2554

 รายละเอียด

        บริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 ส่วนที่  ๑ 

           ระบบการเงินการคลังของหน่วยงาน

-                   งบประมาณ

-                   พัสดุ

-                   การเงิน

-                   การบัญชี

หลักการบริหารพัสดุ

-                   โปร่งใส

-                   ตรวจสอบได้

-                   มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

กระบวนการบริหารพัสดุ

-                   กำหนดความต้องการ

-                   งบประมาณ

-                   จัดทำแผน

-                   จัดหาพัสดุ

                     -๒-

 

-                   เบิกจ่ายเงิน

-                   การบริหารสัญญา

-                   การควบคุมและจำหน่วยพัสดุ

ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์

           ความเป็นมา

-                   มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งลงประกาศจัดซื้อ จัดจ้าง/ ประกาศประกวดราคา  ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในเว็บไซด์

-                   ระบบ  e –GP เริ่มแรก  ซึ่งเป็นระบบที่ใช้งานในปัจจุบันเน้นให้หน่วยจัดซื้อมาประกาศจัดซื้อจัดจ้าง บนเว็บไซด์ของกรมบัญชีกลางเท่านั้น  ไม่สามารถติดตามความคืบหน้าของการจัดซื้อจัดจ้างในระบบได้

วัตถุประสงค์

๑.      เพื่อ ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าถึงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐมี ความถูกต้องครบถ้วนและทั่วถึงมีต้นแบบการประมูลด้วยอิเล็กทรอนิกส์ครบกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและเชื่อมต่อข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้

๒.      เพื่อให้ผู้บริหาร และส่วนราชการสามารถติดตามสถานะหรือ ความคืบหน้าของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ในลักษณะ Onlime

๓.      เพื่อเร่วรัดให้ส่วนราชการเร่งดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างให้สามารถเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล

ประโยชน์ที่ได้รับ

          e-GP   คือ ศูนย์กลางที่เป็นหน้าต่างในการบริการข้อมูล และดำเนินธุรกรรมทางการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนที่  ๒    การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  e-Auction

แนวทางการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กาทรอนิกส์  พ.ศ.๒๕๕๔

หนังสือ กรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๔๐๘.๓ว ๕๙ ลงวันที่  ๑๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๙

แนวทางการจัดทำร่าง TOR ตามระเบียบข้อ  ๘(๑)

-                   แต่งตั้งคณะกรรมการร่าง  TOR

-                   จัดทำร่าง    TOR

-                   เมื่อทำร่างเสร็จแล้วให้ขออนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานทุกครั้ง

 

-๓-

-                  นำสาระสำคัญที่สามารถเผยแพร่ได้ประกาศทางเว็บไซด์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง  (เผยแพร่ครั้งที่  ๑)

-                  ไม่ว่าจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขก็ต้องนำลงเว็บไซด์เผยแพร่อีกครั้ง (เผยแพร่ครั้งที่ ๒)              

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ  กฎระเบียบ  ขั้นตอน กระบวนการ  การดำเนินการ ด้านพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ


(314)