การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่การวิจัย ครั้งที่ 3

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่การวิจัย ครั้งที่ 3
 ผู้บันทึก :  นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์ และนางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 14 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 16 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่การวิจัย ครั้งที่ 3
  วันที่บันทึก  11 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ช่วงที่ 1 เวลา 08.00น. ณ ห้องรอยัล จูบีลี่ บอลรูม ซึ่งมีผู้ร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน โดยมีท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร. พรรณศิริ กุลนาถศิริ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พิธีเปิดเริ่มต้นด้วยวิดิทัศน์ เครือข่าย R2R ก้าวไกล สาธารณสุขไทยก้าวหน้า ที่เล่าเรื่องการทำงานวิจัยในงานประจำ ของพยาบาลแผนก ICU ที่ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางการพยาบาล เป็นการพัฒนางานด้านการพยาบาล ที่ส่งผลไปสู่ผู้รับบริการอย่างตรงจุด ซึ่งสิ่งนี้ได้สร้างความภาคภูมิใจและเสริมกำลังใจของทีมงาน นอกจากนี้วิดิทัศน์ยังเล่าถึง เครือข่าย R2R ที่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง และใต้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของฟันเฟืองของคนทำงานตัวเล็กๆ ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนางานประจำของตนเอง ผ่านเครื่องมือที่ไม่ยากอย่างที่คิด นั่นคือการวิจัย เป็นการจุดประกายให้นักวิจัยหน้าใหม่เข้ามามีส่วนร่วม ช่วงที่ 2 เป็นเวทีการอภิปราย การพัฒนาระบบสุขภาพ เครือข่าย R2R คือคำตอบ ซึ่งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่ายงานต่างๆ อาทิ ศ .นพ. วิจารณ์ พานิช ซึ่งได้กล่าวว่า งานประจำคือสมบัติที่มีค่ายิ่งที่ทำให้เกิด ความสุข ปัญญา และความก้าวหน้า โดยได้ขยายความว่า สามารถทำงานประจำให้ไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้ โดยสร้างความสนุกจากงาน ก่อให้เกิดความรู้ทางปัญญา ก้าวไปสู่ความก้าวหน้าของงาน ซึ่งจะทำให้เกิด สังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด เครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันนั่นคือ R2R ช่วงที่ 3 เป็นการบรรยายโดย นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ที่ชี้แนะแนวทางและให้กำลังใจนักวิจัยหน้าใหม่ ให้เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ 10 ข้อควรจำ เพื่อไต่สู่นักวิจัยขั้นเทพ 1. เริ่มต้น (หาเรื่องที่ใช่ประเด็นวิจัยที่ชอบ) หาเรื่องที่สนใจ เลือกเรื่องที่มีประเด็นไม่กว้างจนเกินไป และต้องเลือกประเด็นที่เราอยากรู้ 2. ค้นคว้า (ก่อนลงมือวิจัยรู้อะไรอยู่ก่อนบ้าง) หาความรู้เพิ่ม เลือกอ่านเฉพาะงานที่มีคุณภาพ 3. หาเป้า(อยากรู้อะไรอีกจากที่ไปค้นคว้ามา) ต้องรู้ว่าเราอยากรู้อะไร หาส่วนที่ขาดแล้วต่อยอดเรื่องที่รู้ไปสู่สิ่งใหม่ 4. เหลาโจทก์ (ลับคำถามวิจัยให้แหลมคม) คำถามวิจัยที่ดี มาจากแนวคิดที่ดี และข้อมูลที่ดี 5. กำหนดวิธีการ(เลือกวิธีการหาข้อมูลมาตอบคำถาม) วิธีการวิจัยขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะรู้ ที่สำคัญคือจะต้องรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละวิธี 6. ทำงานภาคสนาม (เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ) เข้าใจธรรมชาติของข้อมูลและแหล่งข้อมูล 7. ถามหาความรู้ใหม่(ข้อมูลที่ได้บอกอะไรใหม่) นักวิจัยที่ดีต้องไม่เป็นผู้รายงานข้อมูล แต่ต้องเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ๆที่สร้างสรรค์และมีความสำคัญ 8. ใช้บทคัดย่อนำทาง(คิดให้ชัดจัดลำดับความสำคัญ) เพราะบทคัดย่อคือการสกัดส่วนที่สำคัญที่สุด 9. นำเสนออย่างสร้างสรรค์(สื่อสารความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง) เชื่อในสิ่งที่เสนอและหากลุ่มเป้าหมายให้เจอ 10. มุ่งมั่นสู่ขั้นเทพ(เดินทางหมื่นลี้เริ่มต้นที่ก้าวแรก) ต้องจำไว้ว่างานวิจัยชิ้นแรกน่าอายเสมอ ฉะนั้นอย่ากลัวที่จะเริ่ม ช่วงบ่าย 13.00-16.30 น. การนำผลงาน R2R ไปใช้ประโยชน์ในระบบบริการปฐมภูมิ ซึ่งมีการนำเสนอผลงานทั้งหมด 12 เรื่อง ภาคอีสาน 2 เรื่อง ภาคใต้(พัทลุง) 1 เรื่อง ภาคเหนือ 3 เรื่อง ภาคกลาง 1 เรื่อง ลักษณะผลงานส่วนใหญ่เป็นงานโครงการพัฒนาหรือประเมินผลกิจกรรม ซึ่งจะเป็นการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลโครงการ รูปแบบการดูแลผู้ป่วย กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ระเบียบวิธีวิจัยก็มีทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาได้มีการนำไปพัฒนาในงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ปฏิบัติการสู้ภัยมะเร็งปากมดลูก..ภัยเงียบที่คุกคามหญิงไทย ผลลัพท์ของการใช้โปรแกรมลูกไม้หล่นไกลต้นในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวาน จะเห็นได้ว่าหน่วยงานระดับปฐมภูมิ เริ่มมีความตื่นตัวในการพัฒนาโดยใช้ประเด็นการปฏิบัติของงานประจำไปสู่การวิ จัย ซึ่งเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธีที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่สามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาได้ วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 การทำ R2R ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการอภิปรายโดยผู้ที่มีประสบการณ์ทำวิจัย ทั้งผู้ที่เพิ่งจะเริ่ม และผู้ที่มีความชำนิชำนาญ มาเล่าเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมี คุณอู่ทอง นามวงษ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย มีการเล่าประสบการณ์ในการทำวิจัยตั้งแต่ การเริ่มต้น ซึ่งบางท่านบอกว่าไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี หรือบางท่านระบุว่า มีหัวข้ออยู่ในใจแล้ว หรือบางท่าน ถูกบังคับเชิงนโยบาย จึงจำเป็นจะต้องทำวิจัย บางท่านไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อนเลย ผู้นำอภิปรายได้ไล่เรียงคำถามเป็นขั้นตอน ให้ผู้ร่วมอภิปรายเล่าประสบการณ์ ทำให้ผู้ฟังได้ step ของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งไม่พ้นการเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ 10 ข้อควรจำ เพื่อไต่สู่นักวิจัยขั้นเทพ ( ของ นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์) ได้เข้าใจมากขึ้นในระเบียบวิธีวิจัยแบบ RAP (Rapid Assessment process) ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยประยุกต์ซึ่งใช้หลักการของการวิจัยเชิงชาติพันธ์ วรรณาและ Grounded Theory ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งทำให้กระบวนการวิจัยใช้เวลาสั้น มีการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ สร้างสมมติฐานและเก็บข้อมูลต่อไป และใช้การจัดระบบข้อมูลด้วยรหัส วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 วิเคราะห์สังเคราะห์บทสรุปภาพรวมของการประชุม เป็นการอภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิ การทำงานในระบบบริการสุขภาพ หากมีการสร้างและใช้ความรู้ โดยการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นอกจากจะทำให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ (สุขภาพดีขึ้น บริการที่ดีขึ้น ) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ยังได้ประโยชน์ด้วย(พัฒนาความสามารถตนเอง ในงาน)


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ และการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพการพยาบาล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ และการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพการพยาบาล

(579)

กสจ.พบสมาชิก

กสจ.พบสมาชิก
ผู้บันทึก :  นางสาคร ฤทธิ์เต็ม และ นายเลอพงษ์ ยิ้นลิ้ง
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 14 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 14 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  กสจ.พบสมาชิก
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554

 รายละเอียด
-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ  จัดตั้งขึ้นโดยกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง บริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์  โดยมีธนาคารกรุงไทยจำกัดมหาชนคอยดูแลควบคุมการใช้จ่ายของบริษัทหลักทรัพย์-เพื่อให้เกิดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานและตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน  กสจ.  ก.พ. จึงมีมติให้กำหนดบทบาท หน้าที่ และภารกิจงาน กสจ.เกี่ยวกับการรับสมาชิกและการจัดทำทะเบียนสมาชิก  เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ของทุกส่วนราชการ  ส่วนหน้าที่และภารกิจที่เกี่ยวข้องกับงานหักและจ่ายเงินสะสม  การเบิกและจ่ายเงินสมทบ  การนำส่งเงินเข้าบัญชีกองทุน และการบันทึกรายการบัญชี  ให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานการเงินและบัญชีของทุกส่วนราชการ

-กำหนดอัตราหักเงินสะสมส่วนของลูกจ้าง  โดยหักจากเงินค่าจ้างในอัตราร้อยละ 3 และกรมบัญชีกลาง  จ่ายสมทบให้ในอัตราร้อยละ 3  และนำส่งเข้าบัญชีกองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้าง  หากส่งล่าช้ากว่าสามวันทำการส่วนราชการต้องจ่ายเงินเพิ่มให้กองทุนฯ ในอัตราร้อยละ  5  ต่อเดือน ของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น

-ค่าธรรมเนียมธนาคารในการนำส่งเงินเข้ากองทุน กสจ.  ให้คิดตามพื้นที่ที่ใช้บริการ  ดังนี้

       -พื้นที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร  นนทบุรี  ปทุมธานี  และสมุทรปราการ  ซึ่งเรียกว่าเขตสำนักหักบัญชีกรุงเทพมหานคร   คิดค่าธรรมเนียมในอัตรารายการละ  10  บาท(สิบบาทถ้วน)

       -พื้นที่ใช้บริการอื่นนอกจากเขตสำนักหักบัญชีกรุงเทพมหานคร  คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ  15  บาท (สิบห้าบาทถ้วน)

ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการนำส่งเงินเข้ากองทุน กสจ. เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามภารกิจของส่วนราชการ  ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายได้ตามนัยหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0502/ว101  ลงวันที่  10 กรกฎาคม  2533     และเมื่อส่วนราชการนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบของสมาชิกแล้ว    ให้ส่งรายละเอียดการหักเงินของสมาชิก  ตามไปด้วย  โดยส่งทาง  mail  หรือทางจดหมายพร้อมใบนำส่งเงินผ่านธนาคาร 

-สมาชิกภาพของสมาชิก 

                                 สมาชิกภาพของสมาชิก  กสจ.  เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานบริหารบุคคลของส่วนราชการได้ทำการรับลงทะเบียนใบสมัครสมาชิก  กสจ.  ตามแบบที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด  และส่วนราชการนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน  โดยสมาชิกภาพของสมาชิกจะเริ่มตั้งแต่วันที่  1 ของเดือนที่ส่วนราชการนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน

                          -การสิ้นสุดการเป็นสมาชิก

                               1.ตาย

                               2.เกษียณอายุราชการ

                               3.ลาออกจากราชการ  หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ

                               4.ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ

                               5.กองทุนเลิก                       


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
  สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น  รักษาผลประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่  ที่เป็นลูกจ้างประจำ     


(297)

หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น รุ่นที่ ๒๑

หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น รุ่นที่ ๒๑
ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 13 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 15 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น รุ่นที่ ๒๑
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554

 รายละเอียด

       ความรู้พื้นฐานทางการบริหาร

              - ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

               - การจัดการระบบสารสนเทศสุขภาพ

                - การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบ   (PBL/Portfolio)

       การพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร

     -  ภาวะผู้นำ

     -  หลักระบาดวิทยาในการบริหาร

     -  กระบวนการคิดอย่างเป็น

     -  การบริหารการเงินงบประมาณ

      การสนับสนุนทางการบริหาร

    -    ปรัชญาพอเพียง

 ส่วนที่  ๑  กฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

          -  หลักกฎหมายเอกชน

          -  หลักกฎหมายมหาชน

          -  วินัยข้าราชการ

          -  ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

          -  ความรับผิดชอบของละเมิดของเจ้าหน้าที่

 

การจัดการระบบสารสนเทศสุขภาพ

-  แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศสุขภาพ

-  ระบบสารสนเทศสุขภาพในประเทศไทย

-  ผู้บริหารกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพเพื่อการจัดการ

-  ทิศทางและแนวโน้มการจัดการระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ

การวิเคราะห์และการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบ  PBL/Portforio

ขั้นตอนการเรียนรู้มี

คำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

ปัญหาในเรื่องนี้

กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้  

       -  เข้าใจปัญหาก่อนโดยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่มหรือเอกสารตำราอื่น ๆ

       -  ระบุปัญหาอธิบายปัญหาทั้งหมด โดยต้องมีความเข้าใจต่อปัญหาที่ถูกต้อง

       - หาสาเหตุปัญหา สมติฐาน การวิเคราะห์ปัญหา แก้ไขปัญหา อันสมเหตุสมผล

       -  ข้อมูลจากวิทยากร

       -  สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

       -  ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม

   ส่วนที่ ๒  การพัฒนาศักยภาพผู้นำ

     -  ภาวะผู้นำ

          คุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร

      -  หลักการครองตน

     -  หลักการครองงาน

     -  หลักการครองคน

     -  หลักธรรมาภิบาล

     -การคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

           *  ประเมินการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

     *  การจัดการระบบความคิด

        -  ความคิดโดยใช้หมวก  ๖ ใบ

             -  การคิดอย่างสร้างสรรค์

        -  การคิดโดยใช้จินตนาการ

        -  การคิดเชิงบวก

       -  การใช้แผนที่ความคิด

       -  การพัฒนาบุคลิกภาพและความเชื่อมั่น

องค์ประกอบของคุณลักษณะ

                                     

     -  การสื่อสาร

     -  สติปัญญา

     -  ความคิดสร้างสรรค์การมีส่วนร่วม

     -  จริยธรรมและวิชาชีพนิยม

     -  ความสามารถในการตัดสินใจ

     -  คุณธรรม ความรับผิอชอบ  วุฒิภาวะทางอารมณ์

    การบริหารการเงินงบประมาณ

     -  หลักการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการ

     -  จ่ายตาม กฎ ระเบียบที่กำหนดไว้

หลักระบาดวิทยาสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข

     -  การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา

     -  การสอบสวนโรค/ ภัยสุขภาพ

     -  การศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน ที่ตนเองรับผิดชอบ พัฒนาทีมงาน

(401)

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของสถาบันพระบรมราชชนก

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของสถาบันพระบรมราชชนก
 ผู้บันทึก :  นางสาวจามจุรี แซ่หลู่
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 5 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 7 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของสถาบันพระบรมราชชนก
  วันที่บันทึก  15 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย คือการปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้เข้าร่วมวิจัย (protect research participants) คณะกรรมการต้องยึดหลักการทางจริยธรรมของการวิจัยในคนเป็นแนวทางในการพิจารณา งานวิจัย ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ประการ คือหลักความเคารพในบุคคล (respect for person) หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย (beneficence, non-maleficence) และหลักยุติธรรม (justice) หลักความเคารพในบุคคล คือการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นคน การเคารพในการมีอิสระในการตัดสินใจให้คำยินยอมโดยมีข้อมูลที่เพียงพอ การเคารพในศักดิ์ศรีของบุคคลที่อ่อนแอ เปราะบาง (vulnerable person) ซึ่งด้อยความสามารถทางร่างกาย/จิตใจ เช่น ผู้ป่วยโรคจิต เด็ก ผู้เยาว์ หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ถูกคุมขัง การเคารพในความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย หมายถึงการชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงและผลประโยชน์ ประโยชน์ที่ได้ต้องมากกว่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และความเสี่ยงนั้นอาสาสมัครยอมรับได้ ซึ่งความเสี่ยงนี้ครอบคลุมถึงความเสี่ยงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ชื่อเสียงเกียรติยศ ผู้วิจัยต้องลดอันตรายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด (minimizing harm) ผู้วิจัยต้องป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอาสาสมัครหรือหากป้องกันไม่ ได้ควรจะหาทางให้เกิดอันตรายน้อยที่สุด อาสาสมัครต้องไม่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรใช้ตัวอย่างการวิจัยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะตอบคำถาม การวิจัยได้ในการวิเคราะห์ผลทางสถิติ นอกจากนี้นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะพึงมีแก่อาสาสมัครโดย ตรงด้วยนอกเหนือจากผลประโยชน์แก่ตนเอง/สังคม/วิชาการ หลักยุติธรรม คือความเที่ยงธรรม (fairness) และความเท่าเทียมกัน (equity) ผู้วิจัยต้องปฏิบัติต่ออาสาสมัครแต่ละคนอย่างถูกต้องยุติธรรมและเท่าเทียม กัน จากการหลักการดังกล่าวเมื่อพิจารณางานวิจัย คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย ต้องพิจารณาโครงร่างการวิจัยในหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 1. ผู้วิจัยจะต้องบอกถึงความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำการวิจัยในคน 2. ผู้วิจัยต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ระบุประโยชน์และความเป็นไปได้ 3. ผู้วิจัยต้องแสดงหลักฐานผลการศึกษาในห้องทดลอง หรือผลการวิจัยอื่นอย่างเพียงพอที่จะยืนยันถึงความปลอดภัยและเหมาะสมที่จะนำ มาวิจัยในคน 4. มีระเบียบวิธีวิจัย (research methodology/design) ที่ดีและเหมาะสม สามารถตอบคำถามการวิจัยได้ การวิจัยที่ออกแบบไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์จะทำให้มีคนต้อง เสี่ยงโดยไม่เกิดประโยชน์ 5. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถประสบการณ์เพียงพอที่จะดำเนินการวิจัยในคน ได้ โดยการแสดงหลักฐานคุณวุฒิการศึกษา การฝึกอบรมและผลงาน 6. ผู้วิจัยต้องระบุกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมที่จะใช้ในการวิจัยซึ่งไม่มากเกิน ความจำเป็นหรือน้อยเกินไปจนไม่สามารถให้ค่าทดสอบที่เชื่อถือได้ทางสถิติ 7. ผู้วิจัยต้องจำกัดความเสี่ยงให้มีน้อยที่สุดต่ออาสาสมัคร 8. ในกระบวนการขอความยินยอม ผู้วิจัยต้องทำเอกสารคำอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้อาสาสมัครทราบก่อน ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เปิดโอกาสให้มีการซักถามและมีเวลาสำหรับตัดสินใจ สำหรับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องบอกให้อาสามสมัครรับทราบคือ – วัตถุประสงค์ พร้อมวิธีการวิจัยที่จะปฏิบัติต่ออาสาสมัคร – ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งอาสามสมัคร ผู้อื่น หรือวงวิชาการ – ความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่ออาสาสมัคร – ทางเลือกในการรักษาหรือตรวจวินิจฉัยที่จะเป็นประโยชน์ต่ออาสาสมัคร – วิธีการ/ขอบเขตดูแลเก็บรักษาข้อมูลของอาสาสมัครไว้เป็นความลับ – การดูแลรักษา/ระยะเวลา ที่ผู้วิจัยจะจัดให้อาสาสมัคร – การจ่ายเงินชดเชยหรือค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดอันตราย หรือเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการทำวิจัย ขึ้นกับอาสาสมัคร – สิทธิของอาสาสมัครที่จะถอนตัวออกจากโครงการได้ทุกเมื่อ โดยยังคงได้รับการดูแลรักษาบริการตามปกติที่พึงได้รับ – ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ของผู้วิจัย เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถามได้ – การจ่ายค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์แก่อาสาสมัคร ต้องระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าค่าตอบแทนจะเป็นการรักษาหรือเงินก็ตาม ซึ่งจะต้องไม่มากเกินไปจนล่อใจให้เข้ามาเป็นอาสาสมัคร (unduce inducement) โดยทั่วไปอาจเป็นค่าเดินทาง ค่าเสียเวลา หรือค่าอาหาร 9. ผู้วิจัยต้องจัดทำใบยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้อาสาสมัครเซ็นชื่อไว้เป็น หลักฐาน 10. ผู้วิจัยอาจยุติโครงการวิจัยก่อนกำหนดได้เพื่อความปลอดภัยของอาสาสมัคร และเพื่อประโยชน์ต่ออาสาสมัคร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              งานวิจัยและการเรียนการสอนวิชาวิจัยทางการพยาบาล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การเขียนโครงการวิจัย

(356)

อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น

อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น
ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 26 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 28 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  จังหวัด :  มหาสารคาม
  เรื่อง/หลักสูตร :  อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น
  วันที่บันทึก  3 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning outcome) – พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต – พัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาจากเหตุที่แท้จริง – พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง – พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มของผู้เรียน 1. การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ – ประโยชน์ : การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง -วิธีการเรียนรู้:เริ่มที่ตัวเองก่อนแล้วเรียนรู้ตามความต้องการเพราะ “การรอคอยให้ผู้อื่นบอก อาจจะไม่ได้ความรู้ตามที่ต้องการ” – การแลกเปลี่ยนกับเพื่อน “เพื่อนช่วยเพื่อน” ทำให้ทราบข้อมูลลึกซึ้ง สามารถนำไปใช้งานได้ – “เรียนรู้ที่จะค้นคว้า” 2. แนวคิดการเรียนรู้ – มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต – อายุไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้ – การเรียนรู้ต้องไม่อาย – พื้นฐานองค์ความรู้ที่มีของทุกคน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สมาชิก – การหยุดอยู่กับที่ ในขณะที่เพื่อนเดินไปข้างหน้า เท่ากับเราเดินถอยหลัง – จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต – เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป 3. ปรัชญาการเรียนรู้ “การเรียนรู้คือ การพัฒนา การไม่เรียนรู้คือ การไม่พัฒนา เมื่อไม่พัฒนาก็เหมือน ไดโนเสาร์ ที่มันจะตายไปเองตามกาลเวลา” 4. กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม – เป้าหมาย : ขับเคลื่อนงานสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ขัดกัน “ลงเรือลำเดียวกันต้องอยู่รวมกัน” – สิ่งค้นพบ : สร้างความกล้าหาญและโอกาสแสดงความคิดเห็น 5. บทบาท: – ผู้นำกลุ่มต้องพูดน้อยฟังมาก – สมาชิกต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง – การวางแผน บริหารเวลา และประสานงานชัดเจน – มีการแบ่งงาน “ put the right man on the right job” – ระดมความคิด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เรียนรู้ร่วมกัน – ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละ และอดทน 6. ผู้นำ – พูดน้อยฟังมาก สื่อสารเชิงบวก – มีความคิดเชิงระบบ ประมวลความคิด เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ – บริหารเวลา ให้เกิดสมดุลในชีวิตและงาน – ฟังเพื่อประมวลความคิดเป็นข้อสรุปของทุกฝ่าย ป้องกันความขัดแย้ง สิ่งค้นพบ – ผู้นำโดยธรรมชาติมีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานสาธารณสุข – การทำงานต้องเสียสละประโยชน์ส่วนตัวบางส่วนเพื่อสร้างความสุขของส่วนรวม 7. การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ (จากเหตุปัจจัยที่แท้จริง) – ค้นหาปัญหาอย่างเป็นระบบ – วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในเชิงลึกและกว้าง “มีมุมมองกว้างขึ้น”เพื่อหาต้นตอของปัญหา – แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการและข้อมูล – บูรณาการความรู้ในแก้ปัญหาอย่างเข้าใจ สิ่งค้นพบ : บุคคลมีศักยภาพและวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนกัน 8. การมอบหมายงาน – การมอบหมายงานมีความสำคัญ เป็นการแสดงความไว้วางใจซึ่งกันและกัน – วิธีการมอบหมายงานแตกต่างกัน ตามลักษณะความชอบและถนัดของทั้งผู้มอบหมายงานและผู้รับมอบหมายงาน สิ่งค้นพบ: ก่อนมอบหมายงานจึงควรมองคนให้ออก มองคนให้เป็น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การบริหารงานในงานวิจัยและผลงานวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การบริหารงานในงานวิจัยและผลงานวิชาการ และงานวิชาการ

(281)