๑. วัตถุประสงค์ในการประชุมในครั้งนี้ คือเพื่อหาข้อสรุปที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางแก่ผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน การจัดอบรมประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลต่อไป (อันสืบเนื่องมาจากการร้องเรียนของผู้ที่สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ ช่วยพยาบาล เช่น การขอให้บรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่ง
ผู้ช่วยพยาบาล การระบุขอบเขตหน้าที่ในการทำงานที่ชัดเจนของผู้ช่วยพยาบาล ระบบการจ่ายเงินเดือน ค่าเวรและค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา การขอให้มีสิทธิแต่งกายชุดขาว สวมหมวกและมีขีดกลางตามประกาศรับสมัคร
๒. สรุปแนวทางในการจัดการประเด็นข้อร้องเรียน
เนื่อง จากหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อการอบรมเพื่อให้เกิดทักษะต่างๆในการดูแลช่วย เหลือผู้รับบริการเท่านั้น มิใช่การจัดการศึกษา ดังนั้นสถาบัน การศึกษาใดที่จัดอบรมหลักสูตรดังกล่าว ขอให้ระมัดระวังการใช้คำ (ให้ใช้คำว่า”อบรม”มิใช่”การศึกษา”) ส่วนการจ้างงานเป็นเรื่องของแต่ละหน่วยงานว่าจะจ้างในลักษณะใด ค่า ตอบแทนเป็นอย่างไร ซึ่งนั่นคือการจ้างงานในลักษณะลูกจ้าง มิใช่บรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรดังกล่าวสามารถจะเลือกที่จะทำ งานที่ไหนก็ได้ตามที่ตนเองพอใจในค่าตอบแทน ดังนั้นสถาบันการศึกษาใดที่ประกาศรับสมัครบุคคลเข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวขอให้ระวังการใช้คำในประกาศว่า “ สามารถบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล ”
- สำหรับขอบเขตหน้าที่ในการทำงานของผู้ช่วยพยาบาล ที่ ประชุมมีความเห็นว่าหน้าที่ต่างๆได้ถูกบรรจุอยู่ในระเบียบกระทรวงสาธารณสุข (ข้อ ๗ ) อยู่แล้ว (ฉบับล่าสุดได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า ๗ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๒๗ ง ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓) และสภาการพยาบาลจะทำหนังสือเชิญผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลของแต่ละหน่วยงานเข้า รับฟังการชี้แจงจากสภาฯพร้อมขอความร่วมมือเรื่องการมอบหมายหน้าที่การทำงาน แก่ผู้ช่วยพยาบาลตามขอบเขต มิให้ล่วงล้ำเข้ามาในขอบเขตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ
- ระบบการจ่ายเงินเดือน ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำกันในแต่ละหน่วยงาน รวมถึงค่าเวรและค่าตอบแทนล่วงเวลา ขอให้ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานที่ว่าจ้างและความพึงพอใจของทั้ง ๒ ฝ่ายคือผู้ถูกว่าจ้างและผู้ว่าจ้าง
- เรื่องการแต่งกายด้วยชุดขาว สวมหมวก มีข้อสรุปดังนี้ สำหรับการประกาศในใบประกาศรับสมัครเข้าอบรม ขอให้ประกาศเฉพาะชุดฟอร์มขณะเข้ารับการอบรม ส่วนหลังสำเร็จการอบรมไม่ต้องประกาศ เนื่องจากแบบฟอร์มในการปฏิบัติงานขอให้ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานที่ว่าจ้างว่าจะให้แต่งกายในลักษณะใด สำหรับหมวก ซึ่งขณะนี้มีความแตกต่างกันจนเป็นข้อร้องเรียนนั้น หลังจากพิจารณาในที่ประชุมแล้ว ได้ ข้อ สรุปว่าขณะนี้ผู้ช่วยพยาบาลที่มีปัญหาไม่สามารถให้สวมหมวกได้คือบุคคลที่ทำ งานอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๘ หน้า ๘ ในฉบับเดียวกันดังข้างต้น ส่วนหน่วยงานอื่นๆที่มิได้อยู่ภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข สามารถสวมหมวกได้ตามระเบียบของแต่ละหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาลของกองทัพเหล่าต่างๆ
อย่าง ไรก็ดี เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างในเรื่องการสวมหมวก สภาการพยาบาลจะดำเนินการเสนอเรื่องการขอให้ผู้ช่วยพยาบาลทั้งหมดมีสิทธิ์สวม หมวกไปให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ชี้ขาดอีกครั้ง
|