การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
 ผู้บันทึก :  นางชุติมา รักษ์บางแหลม
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 12 ม.ค. 2553   ถึงวันที่  : 15 ม.ค. 2552
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  -
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
  วันที่บันทึก  18 ก.พ. 2553


 รายละเอียด
               กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ การหาหัวข้อการวิจัย คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย และการทบทวนวรรณกรรม ความคิดจะทำวิจัยมาจากไหน ? 1.การสังเกต ปรากฏการณ์ธรรมชาติ, ปรากฏการณ์ทางสังคม 2. การสนทนา / อภิปราย / สัมมนา ฯลฯ 3. ความสนใจส่วนตัว / ความอยากรู้ / จินตนาการ 4. ความไม่รู้ / ขาดองค์ความรู้ที่พอเพียง 5. รายงานการวิจัย /วิทยานิพนธ์ / ข่าวหนังสือพิมพ์ 6. หน่วยงานให้ทุน 7. ปัญหาในหน่วยงาน/ชุมชน เป็นต้น แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย (4P’s) 1. People ประชากรที่ศึกษา ตัวบุคคล, องค์กร, กลุ่มคน, ชุมชนตัวบุคคล, องค์กร, กลุ่มคน, ชุมชน 2. Problem ประเด็นที่ศึกษา ประเด็นปัญหา, สถานการณ์, ความต้องการ, ความสัมพันธ์, องค์ประกอบประชากร ฯลฯ 3. Program โครงสร้าง, ประสิทธิภาพ, ผลที่ได้, คุณลักษณะ, ความพอใจ, ผู้บริโภค, ผู้ให้บริการ ฯลฯ 4. Phenomena สาเหตุและผลกระทบของความสัมพันธ์, ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ฯลฯ อะไรคือปัญหาวิจัย ? 1. มีช่องว่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่และสิ่งที่ควรจะเป็น 2. เกิดคำถามว่าทำไมจึงมีช่องว่างเช่นนี้ 3. มีคำตอบแก่คำถามอย่างน้อย 2 คำตอบ คำถามวิจัย คำถามวิจัย หมายถึง ข้อความที่ระบุถึงสาระของประเด็นวิจัยที่ชัดเจน ในรูปของประโยคคำถาม 1. คำถามวิจัยหลัก (primary research question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุด และต้องการคำตอบมากที่สุด (มีได้มากกว่า 1 คำถาม) 2. คำถามวิจัยรอง (secondary research question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบเช่นกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา (มีได้มากกว่า 1 คำถาม) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เป้าหมายที่ผู้วิจัยตั้งไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นในการทำวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. วัตถุประสงค์หลัก (main objective) 2. วัตถุประสงค์รอง (sub objective) หลักการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องใช้ข้อความที่ชัดเจน ไม่กำกวม บอกวัตถุประสงค์ หรือความต้องการว่าจะทำอะไร อย่างไร กับใคร ตัวอย่าง คำที่ใช้เขียนขึ้นต้นวัตถุประสงค์ของการวิจัย – เพื่อสำรวจเบื้องต้น ทดสอบ เปรียบเทียบ ค้นหา กำหนด ตรวจสอบ ระบุ ยืนยัน วัดผล อธิบาย บรรยาย ทดลอง เป็นต้น การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ความหมาย : การคัดเลือกเอกสาร (ทั้งที่เป็นสิ่งตีพิมพ์และไม่ใช่สิ่งตีพิมพ์) ตามหัวข้อที่ผู้วิจัย หรือนักศึกษาสนใจ เอกสารเหล่านี้มีสาระ ความคิด ข้อมูล และหลักฐานที่เขียนจากจุดยืนที่มีเป้าหมาย และแสดงความ คิดเห็นในหัวข้อนั้น รวมทั้งแสดงว่าหลักฐานนั้น ได้มาอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการประเมินเอกสารเหล่านี้ในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย / หัวข้อวิทยานิพนธ์ จะไปทบทวนวรรณกรรมจากที่ไหน 1. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2. บรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย 3. บรรณานุกรม (ท้ายเล่มเอกสารที่เกี่ยวข้อง) 4. World Wide Web 5. Social Science citation index 6. เพื่อนนักศึกษา (อดีตและปัจจุบัน) ขั้นตอนการทำวิจัยและการทบทวนวรรณกรรม 1. ค้นหาหัวข้อวิจัย: อ่านเอกสารที่ให้ข้อมูลกว้างๆ เป็นภูมิหลัง (เช่น หนังสือพิมพ์, ตำรา, อินเตอร์เน็ต) 2. พัฒนาคำถามวิจัย : อ่านเอกสารที่มีข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้ได้เกิดคำถามที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการ 3. ระบุเหตุผลของการทำวิจัย : อ่านเอกสารที่มีบริบท/ภูมิหลังทางวิชาการ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการ ทำวิจัย 4. ค้นทฤษฎีมาสนับสนุน : อ่านงานทฤษฎีที่คลาสิกและร่วมสมัย อาจเกี่ยวข้องโดยตรง หรือขยาย แนวความคิดในการทำวิจัย 5. ออกแบบวิธีวิจัย : ทบทวนการศึกษาก่อนหน้าที่ระบุวิธีวิจัยต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกและอ่านวิธีการ เฉพาะที่จะนำมาใช้ 6. ทบทวนวรรณกรรม : จำเป็นต้องทบทวนงานวิจัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับ/ใกล้เคียงกับเรื่องนี้ มักใช้ บทความในวารสาร รูปแบบการทบทวนวรรณกรรม 1. ทบทวนเพื่อรู้ (Self Study Review) 2. ทบทวนบริบท (Context Review) 3. ทบทวนตามประวัติความเป็นมา (Historical Review) 4. ทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) 5. ทบทวนวิธีการวิจัย (Methodological Review) 6. ทบทวนแบบบูรณาการ (Integrative Review) กรอบแนวคิด และ การสร้างแนวคำถาม กรอบแนวคิด หรือ แนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) คือ ความเชื่อหรือข้อสรุปเบื้องต้นของนักวิจัยว่าสิ่งที่จะศึกษานั้นน่าจะเป็น อย่างไร เป็นการประมวลความคิดรวบยอด (Concept) จากการทบทวนองค์ความรู้ ทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสบการณ์และแนวความคิดของผู้วิจัย มาสร้างเป็นแบบจำลอง เพื่อให้แนวทางการวิจัย แนวความคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ -Maxwell (1996) เรียกว่าเป็น ทฤษฏีชั่วคราว (tentative theory) เกี่ยวกับสิ่งที่เราศึกษา จะเป็นแนวทางในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เราศึกษา ว่าเพราะเหตุใดจึงน่าจะเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างที่เราคิด ขณะเดียวกันก็ให้แนวทางในการทำวิจัยว่าเราจะต้องหาข้อมูลอะไรมาพิสูจน์ให้ ประจักษ์ตามแบบจำลองคำอธิบายในกรอบความคิดของเรา “การวิจัยเชิงคุณภาพถือว่า กรอบแนวคิดทฤษฏีไม่ใช่สิ่งที่จะยึดตายตัว แต่ถือเป็นเพียงแนวทางสำหรับหาคำตอบในการวิจัยที่สามารถยืดหยุ่น หรือปรับได้ เมื่อมีหลักฐานคือข้อมูลที่ชี้ว่าควรปรับ ” แนวคำถาม (Interview Guide, Guidelines) – เป็นรายการของประเด็นที่จะศึกษา โดยผู้วิจัยนำมาเป็นหัวข้อการสนทนา ครอบคลุมเนื้อหาของข้อมูลที่ต้องการ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ – เปรียบเสมือนแผนที่ / เครื่องมือช่วยเตือนความจำในการรวบรวมข้อมูล – เป็นเค้าโครงของการสนทนา ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ – มีความยืดหยุ่น ผู้สัมภาษณ์สามารถแทรก หรือตัดคำถาม ให้เหมาะสมกับบรรยากาศกลุ่ม หรือกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการสร้างแนวคำถาม 1. ทบทวนวรรณกรรมและสร้างกรอบแนวคิด 2. นำกรอบแนวคิดมาจำแนกเป็นประเด็นใหญ่ๆ 3. แบ่งประเด็นใหญ่เป็นคำถามหรือประเด็นสนทนา 4. พิจารณาคำถามที่จะใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลนั้นๆ (ตั้งคำถามหลัก และคำถามย่อยสำหรับซักถามต่อเนื่อง ในแต่ละประเด็น) 5. รวบรวมประเด็นและคำถาม เป็นร่างแนวคำถามแรก 6. ตรวจสอบ ปรับปรุง โดยผู้รู้ 7. ทดสอบแนวคำถาม (Pretest) เพื่อดูความราบรื่นและคำตอบที่ได้รับ 8. แก้ไขปรับปรุง (เพิ่ม/ลด/ปรับ/เรียงลำดับ) ลักษณะของคำถาม 1. เป็นคำถามเปิด ที่กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น เล่าประสบการณ์ แสดงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ศึกษา 2. ไม่ใช้คำถามที่จะตอบได้เพียง 2 คำตอบ เช่น “ถูก” / “ผิด” หรือ “ใช่” / “ไม่ใช่” 3. เป็นคำถามที่ไม่เป็นการถามนำ หรือเสนอแนะให้ตอบในแนวทางที่วางไว้ 4. ไม่เป็นคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความรู้สึกอับอาย กลัวเสื่อมเสีย ไม่อยากตอบ 5. ควรเป็นคำถามที่ผู้ตอบสามารถตอบได้บนพื้นฐานความรู้ของตนเอง 6. ในแต่ละคำถามควรมีข้อถามเพียงประเด็นเดียว 7. ควรเน้นคำถามที่เป็นเรื่องความคิดเห็น หรือ เหตุผล ทีสามารถอธิบายคำตอบ เช่น HOW? WHY ? 8. ไม่เน้นคำถามที่ต้องตอบเป็นจำนวน หรือ ปริมาณ เช่น HOW MANY? HOW OFTEN? วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย – การสังเกตและการมีส่วนร่วม – การสัมภาษณ์ระดับลึก – การสนทนากลุ่ม การสังเกต คือการเฝ้าดู ศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ ในสภาพธรรมชาติของสนามการวิจัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้ได้ภาพและความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงองค์ประกอบ และความหมายของพฤติกรรมที่อยู่ร่วมกัน จะต้องมีการวางแนวทางในการสังเกตล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมอะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องค้นหา ประเภทของการสังเกต 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) 2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) การบันทึกข้อมูลจากการสังเกต 1. จดบันทึก เขียนแบบเรียงความ ระบุวันที่ เวลา สถานที่ กลุ่มคน พฤติกรรมที่สังเกต – จดตามประเด็น หรือแบบสังเกต (check list) 2. การถ่ายภาพ สิ่งที่นักวิจัยต้องสังเกต 1. การกระทำ (acts) 2. กิจกรรม (activities) 3. ความหมาย (meaning) 4. ความสัมพันธ์ (relationship) 5. การมีส่วนร่วม (participation) 6. สภาพสังคม (setting) การสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interview) 1) เป็นการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว สามารถสนทนาตอบโต้กันทั้งสองฝ่าย (two-way communication) 2) ผู้วิจัยกำหนดประเด็นต่างๆ ไว้ล่วงหน้าและพยายามซักถามให้ได้ตามประเด็นที่กำหนด 3) สามารถเจาะหาข้อมูลของเรื่องที่ต้องการศึกษาเฉพาะเรื่องได้มากกว่าการเก็บ ข้อมูลแบบอื่นๆ จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือหารายละเอียดของประเด็นเพิ่มเติม 4) ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็น/ให้ข้อมูลได้เต็มที่โดยไม่มีอิทธิพลของบุคคล อื่นมารบกวน 5) สัมภาษณ์ / เก็บข้อมูลจากบุคคลที่เป็นผู้รู้ หรือมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ ที่เรียกว่าผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) เช่น นักการเมือง ผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน ผู้รู้ในชุมชน 6) เลือกสัมภาษณ์จำนวนไม่กี่คน 7) มีการบันทึกข้อมูลระหว่างการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการนั่งสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ เฉพาะเจาะจง มีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้าง ขวาง ลึกซึ้ง และละเอียด ต้องสร้างบรรยากาศกลุ่มให้เกิดพลวัตร มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบโต้ตอบซึ่งกันและกัน องค์ประกอบสำคัญของการจัดสนทนากลุ่ม 1) บุคลากร – ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) – ผู้จดบันทึก (Note taker) – ผู้ช่วย (assistant) 2) แนวคำถาม 3) อุปกรณ์สนาม – เครื่องบันทึกเสียง – อุปกรณ์สำหรับจดบันทึก – อุปกรณ์เสริมบรรยากาศ 4) สถานที่ ขั้นตอนในการจัดสนทนากลุ่ม ก่อนจัดสนทนากลุ่ม 1. สำรวจผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการศึกษา 2. คัดเลือกคนที่จะเข้ามาสนทนากลุ่ม โดยใช้ Screening form 3. จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม 4. ทาบทาม เชิญชวนให้มาร่วมสนทนา 5. นัดหมาย เวลาและสถานที่ ขั้นตอนในการจัดสนทนากลุ่ม ขณะจัดสนทนากลุ่ม 1. เชิญให้เข้านั่งในกลุ่ม 2. แนะนำคณะผู้วิจัยและแจ้งวัตถุประสงค์ของการสนทนา 3. ขอให้ผู้ร่วมสนทนาแนะนำตัว 4. สร้างบรรยากาศความไว้วางใจ และเป็นกันเอง 5. ขออนุญาตบันทึกเสียง (และภาพหากต้องการบันทึก) 6. เปิดโอกาสให้ซักถามก่อน 7. เริ่มการสนทนา โดยยึดแนวคำถามจนครบถ้วน 8. จบการสนทนา และเปิดโอกาสให้ซักถามอีกครั้ง 9. แสดงความขอบคุณ (และมอบของสมนาคุณ) การตรวจสอบสามเส้า TRIANGULATION เป็นวิธีการตรวจสอบ หรือเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูล 1. ใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายวิธี 2. มีผู้ให้ข้อมูล / ใช้แหล่งข้อมูลหลายแหล่ง 3. มีผู้เก็บข้อมูลหลายคน 4. ใช้แนวคิด ทฤษฎีหลายแนวคิด ประเด็นจริยธรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีโอกาสก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ให้ข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากมีการติดต่อโดยตรงกับผู้ให้ข้อมูล มีโอกาสได้รับข้อมูลเชิงลึก ที่อาจเป็นความลับส่วนตัวที่ปกติจะไม่เปิดเผยให้ใครได้รับทราบ แต่ก็ได้เปิดเผยโดยไม่รู้ตัว หรือ ไม่ตระหนักว่ากำลังกระทำเช่นนั้นอยู่ และมีผู้ให้ข้อมูลจำนวนไม่มาก และมักถูกเลือกโดยการเจาะจง ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการนำเสนอ โดย การปกป้องสวัสดิภาพและเกียรติภูมิของบุคคลที่เราศึกษาวิจัย ตลอดจนองค์กรหรือสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา หลักการเขียนรายงานการวิจัย จะต้องรายงานตามความเป็นจริงของข้อมูลที่ได้รับ และได้วิเคราะห์ แปลความหมาย อย่างปราศจากอคติ ผู้เขียนไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดทิ้งข้อมูลหรือเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไปใน เนื้อข้อมูล ขั้นตอนการเตรียมเขียนรายงาน 1. เตรียมเนื้อหาของรายงาน พิจารณาเนื้อหาที่จะครอบคลุม ความต่อเนื่อง และประเด็นที่ ต้องการเน้น ช่วยให้รายงานทั้งฉบับเป็นระบบและต่อเนื่องกันไปทุกบท 2. วางเค้าโครงของรายงาน ช่วยให้บรรจุเรื่องต่างๆ ที่ครบถ้วนตามหลักการเขียนรายงาน 3. กำหนดประเภทของผู้อ่าน เพื่อกำหนดวิธีการเสนอผลการวิจัยที่เหมาะสมกับผู้ใช้ข้อมูล(ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ ชาวบ้าน) ทั้งประเภทของสื่อ รายงาน และภาษา องค์ประกอบของรายงาน 1. ชื่อเรื่อง 2. บทคัดย่อหรือสาระสังเขป (abstract) 3. บทนำ 4. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5. ระเบียบวิธีวิจัย 6. ผลการศึกษา 7. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 8. ส่วนอื่นๆ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิจัยทางการพยาบาล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตงานวิจัยต่อไป

(417)

Comments are closed.