ผู้บันทึก : นางสาวอมรา ภิญโญ | |
กลุ่มงาน : งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | |
ฝ่าย : ฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : นิเทศงานราชการสาธารณสุขระดับเขต | |
เมื่อวันที่ : 19 พ.ค. 2553 ถึงวันที่ : 21 พ.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สำนักงานสาธารณสุขเขต 6 | |
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี | |
เรื่อง/หลักสูตร : รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2553 | |
วันที่บันทึก 29 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 ได้กำหนดไว้ 3 ภารกิจ 4 ประเด็นหลัก 13 หัวข้อ 21 ตัวชี้วัด ผลจากการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2553 เขต 6 พบว่า คณะที่ 1 การติดตามนโยบายและปัญหาเร่งด่วนและการตรวจราชการแบบบูรณาการ การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พบว่า เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขให้แต่ละพื้นที่ประเมินตนเองตามแนวทางที่กระทรวง กำหนด พบว่าในเชิงปริมาณทุกจังหวัดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยมถึงร้อยละ 60 และเมื่อวิเคราะห์ถึงเชิงคุณภาพ พบว่า ประชาชนสามารถเข้ารับบริการในเชิงรุกด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะใน สถานีอนามัยที่ได้ยกระดับเป็น รพ.สต. ต้นแบบ แต่ก็ยังพบปัญหาการขาดแคลนของบุคลากรอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะสาขาพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเวชปฏิบัติ ที่ยังไม่ครอบคลุมทุก สอ.ที่ยกระดับ เป็น รพ.สต.เป้าหมาย ได้มีข้อเสนอแนะให้ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.แต่ละด้านทั้งระดับจังหวัด และอำเภอ จากทุกภาคีเครือข่าย 2. จัดทำแผนแม่บทที่ครอบคลุม สอดคล้องกับสภาพปัญหา และบริบทของพื้นที่ โดยสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดแผ่นให้ครอบคลุมทุกระดับ พร้อมทั้งควบคุมกำกับให้เป็นไปตามแผน 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรใน รพ.สต. และพัฒนาระบบข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกันมากขึ้น และส่งเสริมให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้องทุก ภาคส่วน คณะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และระบบหลักประกันสุขภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนาระบบริการสุขภาพ ยังมีการแยกส่วนของแผนคน เงิน และงบลงทุน ทำให้ไม่เห็นเงินในภาพรวมของจังหวัด แต่จะมีแผนที่ชัดเจนให้เห็นบ้างที่ครอบคลุมทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิในโรงพยาบาลระดับจังหวัดบางจังหวัด สำหรับการพัฒนาระบบส่งต่อ ถึงแม้ในระดับในระดับเขต จะแต่งตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานระบบส่งต่อ แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และความคุ้นเคยของผู้รับบริการและผู้ให้ บริการเดิมทำให้มีปัญหาอุปสรรคในการวางระบบการส่งต่อ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล อย่างเป็นระบบ และบางจังหวัด ยังขาดการรวบรวมข้อมูลจัดบริการขั้นพื้นฐาน และขาดความเข้าใจในการใช้ Case Mix Index ในการประเมินบริการที่เหมาะสมกับสถานบริการได้มีข้อเสนอแนะให้ 1. จังหวัดมีการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการ (Service plan) ที่ครอบคลุมทุกระดับ 2. จัดบริการขั้นพื้นฐาน (Basic service) ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ถือเป็นบริการที่ต้องดำเนินการ เป็นงานประจำ 3. จัดตั้งหน่วยงานประสานการส่งต่อกลางระดับเครือข่าย เพื่อประสานการส่งต่อระหว่างหน่วยงานและควรมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อย 3 เดือน / ครั้งเพื่อติดตาม ประเมินผล รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันและวางแผนการพัฒนาศักยภาพการบริการใน ระยะยาว คณะที่ 3 การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การขับเคลื่อนและบูรณาการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวมระดับ จังหวัด พบว่าบางจังหวัดยังไม่มีคณะกรรมการดำเนินงานฯ ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นระบบและขาดการบูรณาการระหว่างกลุ่มงานที่ เกี่ยวข้อง การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกจังหวัดให้ความสำคัญประกาศเป็นนโยบายหลัก ในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มเป้าหมายในเขตเมืองเข้าถึงบริการของรัฐได้ยากกว่าในเขตชนบท เพราะหน่วยบริการมีไม่ครอบคลุม ต้องรอคิวนาน จึงทำให้กลุ่มนี้ รวมถึงกลุ่มสวัสดิการข้าราชการไปรับการตรวจบริการที่คลินิก หรือโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลจึงได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน การดูแลสุขภาพในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นมีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุน้อย กว่า 20 ปี เพิ่มขึ้นทุกจังหวัดในเขต 6 ได้มีข้อเสนอแนะให้มี 1. การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง โดยมีการจัดทำแผนงาน โครงการ มีระบบการเฝ้าระวังหรือมี ฐานข้อมูลปัจจัยเสี่ยง และกำกับการติดตามประเมินผล 2. แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัดจากกลุ่มงาน / ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนบูรณาการงาน ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในภาพรวมระดับจังหวัด 3. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ขอให้ทุกจังหวัดจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากร หญิงวัยเจริญ พันธุ์ 30 – 60 ปี เพื่อติดตามการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ให้ครบถ้วนภายใน 5 ปี คณะที่ 4 การบริหารจัดการระบบสุขภาพ มีปัญหาการขาดสภาพคล่องในทุกจังหวัดของบางสถานบริการ ซึ่งทำให้ส่งผลต่อปัญหาการจ้างบุคลากร ในอัตราลูกจ้างชั่วคราว ต้องจ่ายเงินล่าช้า และเชื่อมโยงกับระบบจ่ายค่าตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ บางหน่วยบริการอาจก่อให้เกิดปัญหาการร้องเรียน และแผนบูรณาการงานส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเชิงรุกระดับพื้นที่บาง พื้นที่ยังมีปัญหาเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล ได้มีข้อเสนอแนะ คือ 1. ด้านการเงินการคลังขอให้ทุกจังหวัดกระตุ้นให้มี CEO ระดับอำเภอ และประมวลผลข้อมูลทุก 1 เดือน ส่วน CEO ระดับจังหวัดประมวลผลข้อมูล ทุก 3 เดือน และใน CEO ระดับเขต ทุก 6 เดือน 2. จัดทำแผนบูรณาการเชิงรุกระดับจังหวัดและมีการกำหนดมาตรการในการแก้ปัญหาใน แต่ละ โครงการให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้จริง 3. ให้จังหวัดควรกระตุ้นบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ มีการให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการกอง ทุนสุขภาพตำบล เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้สามารถเชื่อมโยง กิจกรรมการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสอดคล้องกับแผนพัฒนา สุขภาพระดับจังหวัด
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
– การนิเทศงานด้านสาธารณสุข
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
- การนิเทศงานด้านสาธารณสุข |
(287)