จิตปัญญาศึกษา

จิตปัญญาศึกษา
 ผู้บันทึก :  นางส่าวจตุพร ตันตะโนกิจ
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฎิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 21 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 23 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  จิตปัญญาศึกษา
  วันที่บันทึก  29 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               จากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจิตปัญญาศึกษา ได้สรุปผลการเรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุม ดังนี้ กระบวนการจิตปัญญาศึกษา เป็นกระบวนการในการพัฒนาจิตของตนเอง โดยใช้วิธีการคิดอย่างใคร่ครวญ ฟังอย่างตั้งใจ และห้อยแขวนการตัดสินใจ ทำให้เราได้เข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น และทำให้เข้าใจสังคมและบุคคลอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษาบุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบ ถ่ายทอดองค์ความรู้และต้องดูแลนักศึกษาในการจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องเข้าใจบริบทสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การสอนและดูแลนักศึกษาได้เข้าถึงปัญหาและบริบทของการเกิดปัญหา มากขึ้น เนื่องจากนักศึกษามีอารมณ์ มีบริบทและมีเงื่อนไขของชีวิตที่แตกต่างกัน และการที่ครูต้องการให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะอะไรหรือต้องการให้นักศึกษา แสดงพฤติกรรมที่อาจารย์คาดหวัง อาจารย์ซึ่งเปรียบเสมือนแม่เป็ดต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างและให้สิ่งนั้นกับ นักศึกษา คือให้ความรัก ความปรารถนาดี คิดบวก อยู่เสมอ ดังนั้นการพัฒนาอาจารย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะการพัฒนาตนโดยใช้กระบวน การจิตปัญญา ซึ่งจะทำให้ครูได้พัฒนาตนเองและประยุกต์ใช้ในการดูแลนักศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1. กิจกรรม Who am I ฉันคือใคร ต้องการอะไร เป้าหมายของเราคืออะไร โดยการมองตัวเองว่าเราความคาดหวังและแรงบันดาลใจ มุมมองต่อโลก นิสัย บุคลิกภาพ และให้เพื่อนมองเรา ซึ่งสะท้อนให้ได้รู้จักตนเองมากขึ้น 2. กิจกรรม Check in โดยการใช้ อานาปานสติ นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ ผ่อนคลาย อยู่กับปัจจุบันขณะ ทำให้มีสมาธิกับสิ่งที่จะปฏิบัติและปล่อยวางสิ่งอื่น 3. กิจกรรม Make a difference โดยการฟังบทละคร ครูทอมสันและนักเรียนชื่อ Teddy สะท้อนให้ผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นครูได้เข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีบริบทและมี เงื่อนไขของชีวิตที่แตกต่างกัน ฉะนั้นความต้องการของอาจารย์ที่ต้องการให้นักศึกษาเป็นหรือคาดหวังต้องปรับ เปลี่ยนไปตามบริบทของนักศึกษา 4. กิจกรรม การจับคู่ และสลับกันเป็นผู้พึ่งพิง สะท้อนให้เห็นมนุษย์ต้องพึ่งพากัน และแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน ไม่มีใครที่สามารถอยู่คนเดียวได้โดยไม่ต้องการช่วยเหลือหรือปฏิสัมพันธ์กับ ใคร 5. กิจกรรม การต่อของมีค่าของตนเองให้สูงที่สุด โดยมีสมาชิกในกลุ่มละ 5-6 คน และให้มองในมุมมองต่างๆ ทำให้ผู้เข้าอบรมได้สะท้อนว่า ต้องยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น คิดบวก พูดบวก และสะท้อนให้เห็นว่าคนแต่ละคนมีมุมมองของอย่างเดียวกันไม่เหมือนกัน 6. กิจกรรม กวี ตะเกียง ทำให้สะท้อนว่า สิ่งแวดล้อม คน สัตว์ ทุกอย่างมีปฏิสัมพันธ์กัน ทุกคนมีแสงสว่างในตัวเอง ในความไม่เหมือน มีความเหมือน เราสามารถมองและดึงสิ่งดีจากแต่ละบุคคลและอยู่กับสิ่งที่ดีของเขา 7. กิจกรรมจักรวาลแห่งความสัมพันธ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าจักรวาลของคนเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย สถานการณ์ และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและลบ สะท้อนการเห็นความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆในแต่ละช่วงวัย 8. กิจรรมการเลือกดูภาพที่ชอบและสะท้อนความรู้สึกที่ชอบและไม่ชอบของตนเอง 9. กิจกรรมเล่าเรื่องจากวัยเด็กถึงปัจจุบัน ที่ทำให้ตนเองเป็นตนเองในวันนี้ 10. กิจกรรมการดูหนังเรื่อง ครู Gee Erin ในเรื่อง The writing hunter ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างครูอาจารย์ โดยสามารถบูรณาการการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับบริบทของเด็ก ครูมีความคิดเชิงบวกกับนักศึกษาและพร้อมที่จะพัฒนาให้เด็กมีการปรับเปลี่ยน ด้วยใจของครู เข้าใจเด็กและส่งเสริมให้เด็กเห็นศักยภาพของตนเอง เพิ่มคุณค่าใจตนเอง และทำให้มีพลังอำนาจในการพัฒนาตนเอง ให้พื้นที่ปลอดภัยให้เด็กได้กล้าคุย กล้าแสดงออก มองทุกอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมใช้ กระบวนการจิตปัญญาคือ 1. Deep listening ฟังอย่างตั้งใจให้ได้ยินเสียงสะท้อนจากข้างใน 2. Suspending การห้อยแขวนการตัดสินใจ การตัดสินคำถาม 3. Respectin การเคารพ การยอมรับ 4. Voicing การสะท้อนเสียงที่อยู่ภายใน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – งานพัฒนานักศึกษาให้มีจิตปัญญาศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - งานพัฒนานักศึกษาให้มีจิตปัญญาศึกษา

(375)

Comments are closed.